คุณค่าของสิ่งใกล้ตัวที่หลายคนยังไม่เคยลอง “สัมผัส” : บทวิจารณ์สารคดี ที่นี่…ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา โดย เสาวภาคย์ อาชวชาครีย์

คุณค่าของสิ่งใกล้ตัวที่หลายคนยังไม่เคยลอง “สัมผัส”

           ชีวิตของคนในเมืองที่ต่างวิ่งวุ่นอยู่กับภาระงานของตนเอง คงมิได้ฝักใฝ่ในคุณค่าของบางสิ่งบางอย่างมากนัก เช่นเดียวกันกับกีฬาปีนเขาที่ยังไม่ถูกสนับสนุน ทั้ง ๆ ที่ทัศนียภาพในบางพื้นที่ของประเทศไทยนั้นแสนจะเอื้ออานวยจนชาวต่างชาติยังต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาสัมผัสที่นี่…ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา

            สารคดี “ที่นี่…ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา” เป็นสารคดีประเภทท่องเที่ยวเดินทาง เขียนโดยใช้รูปแบบการบันทึก ซึ่งเป็นบันทึกของผู้ที่เดินทางไปค้นคว้าข้อมูลในการจัดทาสารคดี สังเกตได้จากการสอดแทรกความคิดเห็นของผู้จัดทาลงไปหลายส่วน ใช้สานวนภาษาที่ไม่เป็นทางการ แต่ยังคงความเป็นสารคดีท่องเที่ยวที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไร่เลได้อย่างครบองค์ประกอบ ทั้งประวัติความเป็นมาของการเกิดกีฬาปีนเขาขึ้นที่นี่ รายละเอียดของไร่เล ไปจนถึงต้นตอของกีฬาปีนเขา

            ภายในสารคดีกล่าวถึงไร่เล พื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและกีฬาปีนผา ที่ยังไม่ถูกสนับสนุน แม้ว่าชาวต่างชาติมากมายจะเดินทางมายังที่นี่ บางคนติดใจถึงขั้นมาฝึกเรื่อย ๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ยังไม่ถูกคนไทยมองเห็นคุณค่า ผู้เขียนจึงให้แนวคิดที่จะผลักดันประเด็นดังกล่าวรวมถึงถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเองเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้อ่านได้ “ลองสัมผัส” ประสบการณ์นี้ดูสักครั้ง

            ผู้เขียนสารคดีมีจุดมุ่งหมายในการชักจูงให้ผู้อ่านมองเห็นคุณค่าของกีฬาปีนเขา รวมถึงคุณค่าของการผลักดันทรัพยากรในประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้มีการสอดแทรกความพิเศษของไล่เลที่เป็นที่เลื่องชื่อในระดับโลก และสอดแทรกประสบการณ์ของตนเองที่ถูกเพื่อนเกลี้ยกล่อมให้ปีนขึ้นไปยังยอดผาไดมอนด์ แม้ตนเองมิได้อยากจะพิชิตยอดเขาอะไรเลย แต่ใช้ลักษณะเนื้อความที่เข้มข้นในส่วนปิดเรื่องเพื่อโน้มน้าวผู้อ่านให้คล้อยตาม รู้สึกเข้าถึงความอยากพิชิตใจตัวเองของผู้เขียน เพื่อปลุกระดมความอยากของผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกเข้าถึงกีฬาปีนเขา

            การจัดทำสารคดีของผู้เขียนนั้นใส่ข้อมูลความคิดเห็นไว้หลายประการ เช่น “ไร่เลอุดมไปด้วยนักปีนเขามีฝีมือ แต่เป็นเหมือนคนชายขอบที่ไม่ได้รับการนับถือ โดยศักยภาพในทุกด้าน ไร่เลยังสามารถพัฒนาในเชิงคุณภาพได้เป็นอย่างสูง ธรรมชาติเอื้อภูมิประเทศอันเหมาะสมมาให้แล้ว ผู้ชำนาญด้านทักษะเทคนิคมีอยู่มากมาย พร้อมจะให้ความร่วมมือ ขาดแต่การสนับสนุนส่งเสริม” จากข้อความดังกล่าว ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าไร่เลมีทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและศักยภาพ แต่ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ และในข้อความ “ที่ผ่านคนส่วนใหญ่ล้วนได้ยินชื่อไร่เลผ่านทางเอกสารและรายการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่มุ่งเสพความสนุกสนานเพียงครู่คราว มากกว่าทำความเข้าใจถึงปรัชญาและสาระในเชิงลึก” ผู้เขียนให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อที่แสดงให้เห็นภาพลักษณ์ของไร่เลโดยไม่แสดงถึงคุณค่าของไร่เลได้อย่างลึกซึ้ง จึงเป็นการชี้แนะทางอ้อมว่าต้องการให้สื่อนำเสนอคุณค่าของสถานที่ท่องเที่ยวโดยไม่ใช้ความบันเทิงเป็นที่ตั้ง

            ข้อมูลที่ปรากฏในสารคดีมีอยู่หลายประเภท เช่น ข้อมูลภูมิสถาปัตย์ในข้อความ “สัณฐานของไร่เลคล้ายรูปค้อนปอนด์ หัวค่อนทั้งสองข้างเป็นโขดเขาหินปูน มีหาดเล็ก ๆ ที่งดงามมากอยู่ทางด้านนอกชื่อหาดพระนาง ส่วนด้านในมีหาดน้ำเมาทอดโค้งอยู่ทางตะวันออก และมีกาดไร่เลตะวันตกทอดยาวอยู่ในฟากตรงข้าม” ข้อมูลประเภทข้อเท็จจริง ในที่นี้เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผาของอเมริกา ดังข้อความ “ในอเมริกามีผาที่มีชื่อเสียงนามว่า เอล กัปตัน อยู่บนเทือกเขาในอุทยาน โยเซมิติซึ่งเป็นสถานปีนผาติดอันดับ ๑ ของอเมริกา”

            มีการสอดแทรกข้อมูลเชิงสังคมที่เกี่ยวข้องกับไร่เล ดังข้อความ “แต่เดิมไร่เลเป็นชายทะเลรกร้างห่างไกลที่ไม่มีใครสนใจ มีครอบครัวชาวประมงอาศัยอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ไม้สวนของคนแถวนั้น จึงเรียกชื่อกันตามสาเนียงคนปักษ์ใต้ว่าไร่เล”

            กลวิธีการนำเสนอของสารคดี “ที่นี่…ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา” มีการเปิดเรื่องด้วยประเด็นชวนคิด โดยข้อความ “เป็นเรื่องน่าแปลกที่น่าทาความเข้าใจ ว่าทาไมผู้คนในโลกสมัยใหม่ซึ่งมีสิ่งอานวยความสะดวกสบายให้เลือกหยิบฉวยมาปรนเปรอชีวิตได้อย่างล้นเหลือ จึงเลือกที่จะออกมาผจญความลาบากบนผาหินที่มองไม่เห็นผลตอบแทนอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน” จากประเด็นดังกล่าว ผู้เขียนสื่อสารให้ผู้อ่านได้ขบคิดว่าทาไมชีวิตของบางคนที่สุขสบายต้องมาขวนขวายประสบการณ์ที่ไม่ได้รับผลตอบแทน และมีความเข้มข้นของประเด็นนี้แทรกไว้ในข้อความ “แต่หลายคนก็เคยฝ่าข้ามพิชิตถึงยอดเขามาแล้ว เป็นการพิชิตโดยไม่ยึดครองอะไร” ข้อมูลนี้ใช้ภาพพจน์ปฏิพจน์ในการนาเสนอ โดยความขัดแย้งของคำว่า “พิชิต” ที่หมายถึงการเอาชนะหรือคว้าบางสิ่งบางอย่างมา แต่กลับขัดแย้งกับคำว่า “ไม่ได้ยึดครองอะไร” เป็นการเล่นความหมายอย่างลึกซึ้งที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ให้กับผู้อ่านผ่านข้อความที่มีความหมายเชิงขัดแย้ง

            ภาพพจน์ที่ปรากฏในสารคดีมีหลายประการ เช่น ภาพพจน์นามนัยในข้อความ “ในฐานะผู้นำเมล็ดพันธุ์ของเกมกีฬาแห่งความท้าทายมาหว่านลงบนแผ่นดินไร่เล” ภาพพจน์อุปมาในข้อความ “พวกเขาเป็นเหมือนเสาต้นแรก ๆ ที่สร้างรากฐานการปีนเขาให้แก่ไร่เล” โดยเปรียบเทียบเด็กหนุ่มในไร่เลรุ่นแรกเป็นเหมือนเสาต้นแรก ๆ ที่สร้างรากฐานการปีนเขาให้แก่ไร่เล

            ใช้กลวิธีการสื่อผัสสะในข้อความ “เขาพารูปร่างที่ค่อนข้างไปทางเจ้าเนื้อฝืนแรงโน้มถ่วงของโลกขึ้นไปอย่างไม่ยากเย็น ไต่เลาะไปตามหนทางที่มีหลืบหินให้ยึดเกาะ ยันกายขึ้นได้ก็มองหาช่องทางไปต่อ” เป็นข้อความส่วนที่สามารถแสดงลักษณะของตัวบุคคลและท่าทางการเคลื่อนไหวซึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ

            มีโวหารพรรณนาปรากฏภายในส่วนท้ายของเรื่องแสดงจินตภาพผ่านความสวยงามของภาษา ในประโยค “ลมทะเลวี่หวิวผาหินอยู่กรูเกรียว พาใจให้หวั่นไหวในวูบแรก แล้วให้ความรู้สึกเย็นวาบในต่อมา เมื่อสลัดความกลัวทิ้งลงพื้นไปเสียได้ มองผ่านยอดไม้ออกไปยังเวิ้งทะเล เห็นผืนน้ำสีครามทอดโอบล้อมเกาะแก่ง โขดเขา โล่งลิบไปเชื่อมถึงทิวเมฆที่ริมฟ้า ริ้วคลื่นล้อแสงตะวันยามเพล วิบวับเหมือนแฉกดาวประดับทะเลยามทิวา” ผู้เขียนใช้กลวิธีการสรรคำให้เหมาะสมกับบริบทและเหมาะสมกับอารมณ์ที่ต้องการสื่อไปยังผู้อ่าน จากประโยคนี้ ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านมองเห็นความสวยงามและต้องการสื่อสารความสบายใจที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเองส่งผ่านข้อความให้ผู้อ่านรู้สึกตามไปด้วย

            มีการอ้างอิงข้อความจากนักปราชญ์ไว้ว่า “ถ้าอยากเห็นหุบเขาจงปีนภู ถ้าอยากเห็นภูจงไต่เมฆ แต่ถ้าอยากเข้าใจเมฆจงหลับตาและคิด” การนำบทความที่ต้องใช้การตีความสอดแทรกเข้ามาในสารคดี ทำให้เกิดเป็นความหลากหลายของแนวคิด เพราะผู้อ่านแต่ละคนมีความคิดและประสบการณ์ที่ต่างกัน จึงมีการตีความข้อความที่ต่างออกไป ข้อความนี้อาจไม่แสดงแนวคิดแค่เรื่องการปีนเขา หรือความพยายาม แต่ผู้อ่านสามารถตีความได้ตามความคิดและประสบการณ์ของตนเอง เป็นกลวิธีที่กระตุ้นให้ผู้อ่านติดตาม

            กล่าวโดยสรุปคือ สารคดี “ที่นี่…ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา” เป็นสารคดีที่ให้ทั้งข้อมูลและความคิดเห็นของผู้เขียน มีประเด็นใหญ่คือต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนไร่เลให้สามารถสร้างประโยชน์แก่ประเทศได้ เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ต้องการสนับสนุนกีฬาปีนผาให้มีความนิยมมากขึ้นในไทย โดยต้องการจะลบล้างภาพจำผิด ๆ เกี่ยวกับกีฬาปีนผาว่าไม่ได้เป็นกีฬาที่มีแต่ความดุดัน แต่ยังให้ประโยชน์แก่ตัวบุคคลและสามารถส่งเสริมประเทศด้านกีฬาได้ อีกทั้งยังสอดแทรกประสบการณ์ของตนเองที่ไม่เคยปีนผามาก่อนเพื่อให้ผู้อ่านที่ยังไม่เคยปีนผาได้ทราบความรู้สึกที่ได้ “สัมผัส” ประสบการณ์จริง ผู้วิจารณ์จึงมีความคิดเห็นว่าสารคดีนี้มีจุดประสงค์อันชัดเจนที่ต้องการจะผลักดันสังคมและปลุกเร้าอารมณ์ของผู้อ่านให้มองเห็นคุณค่าของไร่เลและกีฬาปีนผาอย่างแท้จริง

 

บทวิจารณ์สารคดี "ที่นี่…ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา"
วิจารณ์โดย เสาวภาคย์ อาชวชาครีย์
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์ ปีที่ 8

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ