‘มนุษยธรรม’ หมายถึงธรรมที่พึงมีต่อกัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องหมายของคนที่อยู่ภายใต้กรอบที่ คอยครอบเราไว้ว่าควรทำ ต้องทำ หรือจำต้องทำสิ่งนั้น กรอบรูปเหมืองแร่ของเรื่องสั้นที่จะกล่าวต่อจากนี้จึง เป็นเพียงส่วนหนึ่งและเป็นส่วนเล็ก ๆ ของกรอบรูปในสังคมไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ไม่เคยได้รับการ แก้ไขเพราะแม้แต่สังคมไทยก็ยังคงยึดติดกับกรอบเดิม ๆ ของตนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นเรื่องปกติของคนใน สังคม ไม่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพราะคนส่วนหนึ่งที่ยอมรับค่านิยมเหล่านั้นไม่ได้รับผลกระทบต่อตนเอง
‘ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม’ เป็นเรื่องสั้นของ ‘อาจินต์ ปัญจพรรค์’ บุคคลผู้เป็นนักมนุษยธรรมที่เน้น งานเขียนเกี่ยวกับมนุษยธรรมโดยชัดเจน สำหรับเรื่องที่จะกล่าวนั้นนับเป็นเรื่องแรก ๆ ที่บุคคลท่านนี้ได้แสดง ประเด็นมนุษยธรรม ผ่านการเล่าภาพของตัวละคร สะท้อนสังคมที่ถูกครอบด้วยกรอบของหน้าที่ ตำแหน่ง และชนชั้น รวมถึงค่านิยมของคนในสังคมไทยและความเหลื่อมล้ำที่ถูกก่อให้เกิดขึ้น
เรื่องสั้นเรื่องนี้ถูกเล่าผ่านตัวละครชายผู้เป็นช่างแผนที่ เริ่มแรกชายผู้นี้เล่าถึงมุมมองของตน ทั้งข้อมูล พื้นฐานอย่างลักษณะการทำงานของเขา ความยากลำบากของเขาที่ต้องเผชิญด้วยหน้าที่ของตนที่ได้รับ และวิถี การทำงานของคนที่ทำงานในเหมือง แสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำที่มีต่ออาชีพกรรมกร คนกรุงเทพฯ และ พนักงานออฟฟิศ ซึ่งเรามักจะถูกกดทับด้วยภาพในอุดมคติเดิม ๆ ว่าคนแบบนั้นต้องเป็นแบบนี้ แม้ช่วงเวลาจะ ผันแปร แต่ทัศนคติของคนบางคนยังไม่สามารถหลุดออกจากกรอบเดิมที่เคยมีอยู่ในสังคมได้
ชายผู้เป็นช่างแผนที่ในเรื่องเหมือนจะอยู่ในกรอบ แต่ก็ไม่อยู่ในกรอบเสียทีเดียว เขายังคงมีความก้ำกึ่ง ระหว่างปฏิบัติตามกับไม่ปฏิบัติตาม ในขณะที่คนอื่นยังปฏิบัติตามคำสั่งของนายฝรั่งอยู่เมื่อฝนตก ดังที่เขา กล่าวว่า
“ข้าพเจ้ามีสิทธิอย่างแน่นอนที่จะไม่โผล่ออกมาจากชายคา...”
สิ่งนี้ไม่ใช่กฎเกณฑ์ แต่เป็นเพียงบรรทัดฐานที่ควรกระทำ ถึงกระนั้นเขายังมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน ดังตอนที่ชายตกงานและหญิงสาวที่กำลังท้องมาขอความช่วยเหลือในการสมัครงาน และให้ความ ช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ ในน้ำใจที่มีต่อพวกเขา เขากลับไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา เมื่อมอง ผิวเผินอาจกล่าวได้ว่าเขาช่างมีมนุษยธรรม แต่ในความเป็นจริงยังมีชาวบ้านหรือคนในพื้นที่ คนงาน และทุกคน ที่อยู่ในละแวกนั้นย่อมได้รับผลกระทบ ดังที่เขากล่าวว่า
“ข้าพเจ้าภาวนาอย่างเสียสติให้ฝนเทลงมาให้ป่นปี้ ให้ถนนพัง ให้ทำนบพังในบัดนี้ เพื่อให้ชายผู้นี้ได้มี งานทำและมีที่นอนให้เมียผู้มีท้อง...” เป็นความคิดที่ขาดการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนและมีความเป็นไปได้ว่าเพียงพวกเขาเป็นคนกรุงเทพฯ เหมือนตน ตนจึงให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ สะท้อนให้เห็นการแบ่งพรรคแบ่งพวก และสะท้อนความคิดที่ มีต่อชาวบ้าน ดังที่กล่าวว่า
“แม้ชาวบ้านก็ตื่นเต้นเผ่นออกจากชายคามาดูและช่วยโดยไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง...”
หากมองย้อนกลับไปข้างต้นที่เขากล่าวประมาณว่าตนมีสิทธิที่จะไม่โผล่ออกไปช่วยคนอื่น ๆ จะเห็นได้ ว่าเขาเป็นคนที่มีความเห็นแก่ตัวอยู่พอสมควรด้วยซ้ำ เขาไม่ได้มีมนุษยธรรมเพราะใจของตน แต่เขามี มนุษยธรรมภายใต้กรอบของบรรทัดฐานที่แบ่งด้วยตนเองว่าควรช่วยเหลือใครที่มีบรรทัดฐานเดียวกับตน ใน เรื่องนี้เหมืองแร่จึงเป็นเพียงฉากหลังของมนุษยธรรม (แสร้งว่าจริง)
เขาเปรียบว่าตนเป็นคนงาน ‘สะเทินน้ำสะเทินบก’ สำหรับ ‘สะเทินบก’ อาจเปรียบได้ว่าเป็นพนักงาน ข้าราชการ พนักงานในห้าง หรือแม้แต่พนักงานออฟฟิศในแผนกอื่น ๆ ที่เหมือนจะเป็นกลุ่มคนที่มีการงานใน ระดับสูงกว่าแม้ไม่ได้ทำงานทุกวัน ส่วน ‘สะเทินน้ำ’ ที่เขาหมายถึงเป็นพวกคนงาน กรรมกร และชาวบ้านที่อยู่ ในพื้นที่นั้น บุคคลที่อยู่ในกลุ่ม ‘สะเทินน้ำ’ ไม่มีสิทธิตัดสินใจหรือต่อรองอะไรได้นอกเสียจากไหลไปตาม สายน้ำนั้น ขณะที่คนในกลุ่ม ‘สะเทินบก’ มักเป็นผู้มีอิทธิพล ผู้ครองครองความคิด คอยตัดสินใจ เป็นคนที่ เติบโตในหน้าที่การงาน และส่งต่อไปรุ่นสู่รุ่น จึงถือว่าคนกลุ่ม ‘สะเทินบก’ เป็นชนชั้นสูงกว่า ‘สะเทินน้ำ’ ใน สังคมไทย ค่านิยมเดิม ๆ ในสังคมที่มีกรอบใหญ่กว่าได้ซ้อนทับกรอบของเหมืองแร่อยู่ หากเรื่องสั้นเรื่องนี้เป็น เรื่องจริงคงมีคนบางส่วนแย้งขึ้นมาทันทีว่าพวกเขาไม่เคยห้ามให้บุคคลกลุ่ม ‘สะเทินน้ำ’ แสดงความคิดเห็นเป็น แน่แท้แต่กลุ่ม ‘สะเทินบก’ ก็ไม่เคยเรียกถามให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นเช่นกัน
ผู้เขียนใช้กลวิธีในการดำเนินเรื่องแบบธรรมดา ไม่มีความสลับซับซ้อน หรือมีการซ่อนปมไว้ในเนื้อหา อย่างไรก็ตามเนื้อหาเหล่านั้นชวนให้คิดตามและเกิดเป็นข้อสงสัยที่มีต่อการแบ่งชนชั้นและความเหลื่อมล้ำ แล้ว ถูกนำไปคิดต่อยอดกับความเป็นจริงว่าควรทำอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้เหตุใดในสังคมเราคนงานที่ถูกใช้ แรงงานทำงานทุกวันจึงได้รับค่าแรงที่ต่ำกว่าที่ควรได้รับ หรืองานที่ใช้แรงงานนั้นไม่ต้องใช้ความคิดเหมือน พนักงานออฟฟิศ เพียงต้องปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น เป็นงานที่ทุกคนสามารถทำได้เรื่องความไม่คุ้มค่านี้เองจึง เป็นเหตุให้ผู้คนกระเสือกกระสนหางานเหล่านี้ทำ คนที่ขาดโอกาสจึงไม่มีทางเลือกมากนัก แม้กรรมกรจะเป็น อาชีพสุจริตก็ยังไม่วายที่จะมีคนดูถูกอาชีพของพวกเขา จึงกลายเป็นชนชั้นที่ถูกแบ่งไปโดยปริยาย
‘ในเหมืองแร่มีมนุษยสัมพันธ์’ เป็นเรื่องสั้นที่มีความสมจริงอยู่ในเนื้อหา อีกทั้งยังสะท้อนกรอบเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีว่าสังคมไทยและตัวละครที่ถูกมองว่ามีน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีมนุษยสัมพันธ์ที่พึงมีต่อกันในเรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นเพียงภาพลวงที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยผู้เขียน ถึงกระนั้นทุกคนย่อมมีเหตุผลที่ต่างกัน จึงไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือใครเป็นฝ่ายผิดจากเรื่องที่กล่าวมาหากช่างแผนที่ช่วยเหลือคน เพียงเพราะเขาเป็นคนกรุงเทพฯเหมือนกันก็ไม่ผิดเช่นกัน ซึ่งผู้เขียนดำเนินเรื่องด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ซ่อนปม แต่แฝงเรื่องไว้ให้คิดและเน้นการสะท้อนความเป็นจริงในสังคม
มนุษยธรรมที่ถูกสร้างอยู่ในกรอบรูปเหมืองแร่
บทวิจารณ์โดย กัลยา ภานุโสภา
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์ ปีที่ 6