ความเป็น “กลาง” ของอาจินต์ : บทวิจารณ์โดย นางสาวพลอย อักษรวงศ์

ความเป็น “กลาง” ของอาจินต์

            ความเป็นกลาง หมายถึง การไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การตัดสินใจโดยปราศจากอคติ กล่าวคือความไม่ลำเอียง การตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง ผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่าไปตามถูก ไม่ถูกครอบงำด้วยอคติและความเป็นพวกพ้อง


            ความรักชาติของชาวเหมืองแร่ เรื่องสั้นโดย อาจินต์  ปัญจพรรค์ เล่าเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตในเหมืองแร่ผ่านมุมมองผู้เล่าบุรุษทีหนึ่งของ อาจินต์เด็กหนุ่มจากเมืองหลวงที่ต้องมาใช้ชีวิตในเหมืองแร่ภาคใต้หลังถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยเขาต้องปรับตัวเปลี่ยนวิถีชีวต และปรับความคิดของตนเพื่อความอยู่รอดและเพื่ออยู่ร่วมกับชาวเหมืองคนอื่น ๆ ความเปลี่ยนแปลงที่อาจินต์ ต้องพบเจอนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในมุมมองของผู้อ่าน สิ่งที่ท้าทายมากกว่าสําหรับอาจินต์คือการปรับเปลี่ยนความคิด การทำความเข้าใจโลกผ่านมุมมองใหม่และทําให้ตนได้เป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งของสมาคมชาวเหมืองที่นี่ให้ได้


             อาจินต์  มีพื้นเพและต้นทุนชีวีตที่แตกต่างจากชาวเหมืองคนอื่น ด้วยความที่เป็นเด็กใหม่ที่นายฝรั่งเพิ่งว่าจ้าง เขาจึงได้รับมอบหมายงานให้ไปซุ่มจับคนขโมยแร่บนเรือขุด การได้ใช้ชีวิตที่ยากลําบากในเหมืองแร่ทำให้อาจินต์และชาวเหมือง “รักใคร่กลมเกลียวกันประดุจทหารหลงแนว” ซึ่งก็ทําให้งานจับหัวขโมยครั้งนี้เป็นงานทีน่าลําบากใจต่ออาจินต์เป็นอย่างยิ่งเขาเปรียบตัวเองเหมือนเป็น “ไอ้คนนอกฝูง”ที่ต้องมาจับผิดเพื่อนกันเอง


             “งานจับขโมย งานจับเพื่อน เป็นงานที่เสี่ยงต่อธรรมะแห่งหมู่มิตรยิ่งนัก” ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำว่า “ธรรมะ” เพื่อเน้นย้ำถึงคุณธรรมความซื่อสัตย์ที่เปรียบ  เสมือนเข็มทิศที่คอยชี้ทางใหอาจินต์ทําในสิ่งที่ถูก แต่ในขณะเดียวกัน “ธรรมะ” ที่เขามีนั้นก็เหมือนว่าจะทำให้เขารู้สึกอึดอัดใจมากยิ่งขึ้น อาจินต์เดินฝ่าหมอกไปยังเรือขุดด้วยความวิตกกังวล เขาตกอยู่ในวังวนของความเป็น “กลาง” ทีต้องเลือกระหว่างความเป็นพวกเป็นพ้องกับความถูกต้อง และความเป็น “กลาง” ดังกล่าวก็ไม่สามารถลบความรู้สึกขุ่นหมองในใจของเขาออกไปได้


             “ตามธรรมดาอากาศยามนี้สูบบุหรี่ได้อร่อยนัก แต่บัดนี้ข้าพเจ้าไม่ได้คิดถึงรสชาติอันนั้นเลยในใจของข้าพเจ้าวุ่นวายไปด้วยการรอคอย การคาดคะเน และคิดล่วงหน้าไปถึงการตัดสินใจ”


              ถึงอาจินต์จะแสดงออกอย่างมั่นใจยึดมั่นในเหตุผลของตนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับก้อง แต่แท้จริงแล้วผู้เขียนอาจตั้งใจปกปิดความไม่มั่นใจของอาจินต์ไว้ในสถานการณ์นี้อาจินต์ต้องตัดสินใจด้วยความซื่อสัตย์และต้องเก็บซ่อนความกลัวจะไม่มีพวกพ้องเอาไวในใจของตน ความรู้สึกไม่มั่นคงและความเชื่อที่ถูกตั้งคำถามถูกแสดงให้เห็นผ่านบทบาทที่สลับไปมาระหว่าง “ผู้ร้าย” และ “นักสืบ” ที่เขาใช้นิยามตัวเอง


              “...ข้าพเจ้าบังปลายบุหรี่ไว้ด้วยอุ้งมือ ไหล่ซ้ายยันอยู่กับลําต้นไม้เยี่ยมหน้าออกมามองไปยังร่างกู้แร่ชั้นล่างอันเป็นที่ตั้งห้องบรรจุแร่ สูบบุหรี่ไปพลาง สอดส่ายสายตาไป นี่ละมั้งท่าทางของนักสืบยามปฏิบัติงาน”


              “...ข้าพเจ้าทําตัวให้บางที่สุด หายใจรู้สึกอึดอัด น่าแปลกจริง ๆ มันเหมือนกับว่าตัวข้าพเจ้าเองสิเป็นคนร้าย ต้องแอบซ่อนและตื่นตระหนก”


              บทบาททีสลับไปมานี้แสดงให้เห็นถึงเข็มทิศในใจของอาจินต์ที่กำลังแกว่งไปมาระหว่างความถูกต้องกับความรักพวกพ้อง ความเชื่อของเขาต้องสั่นคลอน หลังจากได้ยินเหตุผลความรักชาติของก้องกลายเป็นว่าตอนนี้บทบาทของอาจินต์ไม่ได้เป็นผู้ผดุงความซื่อสัตย์หรือผู้ร้ายแล้ว แต่เขากลับถูกตีตราว่าไม่รักชาติเพียงเพราะเขาทําตามคําสั่งของนายฝรั่งและทำตามสิ่งที่ตนเชื่อว่าถูกต้อง


             “ชาติมาก่อนคน แร่นี้เป็นของชาติไทย ใต้ตีนที่คุณยืนเหยียบอยู่นี้คือแผ่นดินไทย แร่ที่อยู่ดินเป็นแร่ของคนไทย” ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำภาษาพูดที่เข้าใจง่ายและสื่อถึงอารมณ์ของตัวละคร การโต้เถียงระหว่างก้องและอาจินต์เร้าอารมณ์ผู้อ่าน ในขณะทีตัวอาจินต์เองก็เริ่มชั่งใจระหว่างความซื่อสัตย์ที่มีต่อนายจ้างกับความรักชาติบ้านเกิด


              เหตุการณ์จบลงด้วยความรู้สึกหงุดหงิดงุนงง และกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ผู้เขียนคลี่คลายอารมณ์ทีรุนแรงของการถกเถียงครั้งนี้ด้วยฉากที่อาจินต์กําลังเดินลุยหมอกกลับที่พัก อาจเปรียบได้เหมือนจิตใจของอาจินต์ที่ถูกปกคลุมไปด้วยหมอกแห่งความโกรธเคือง เจือปนกับความผิดหวังและความรู้สึกหงุดหงิดทีไม่สามารถตัดสินใจได้หวังจะกลับที่พักและได้สงบจิตใจลงบ้าง แต่ก็ยังไม่วายต้องพบกับทากตัวเล็ก ๆ ที่เข้ามาอยู่ในรองเท้าของเขา อาจินต์จะไม่มีกะใจจะจัดการกับมันได้เพียงแต่เดินต่อไปพร้อมกับความเจ็บปวดร่างกายและความอึดอัดใจที่เขาสลัดทิ้งไม่ได้


             สำหรับผู้อ่าน ความเป็น “กลาง” ในอีกนัยหนึ่ง หมายถงึ การตกอยู่ตรงกลางระหว่างนายทุนชาวต่างชาติกับแรงงานเหมืองชาวไทย จุดที่เขาอยู่นํามาซึ่งความอึดอัดใจ จะพดูว่ารักชาติก็พูดได้ไม่เต็มปากเพราะที่มาจับโจรนี่ก็เป็นคำสั่งของนายฝรั่ง จะพดูว่าก้องทำผิดก็พูดได้ไม่เต็มปากเช่นกันเพราะเข้าใจหัวอกคนเหมือง เข้าใจหัวอกคนไทยด้วยกัน “โธ่! ข้าพเจ้าเองก็อาจเป็นไอ้ขโมยได้ ถ้าข้าพเจ้ามีรายได้ต่ำอย่างพวกเขา”


            อาจินต์เปรียบเหมือนตัวแทนชนชั้นกลางที่มักตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเมื่อเกิดการปะทะกันระหว่างชนชั้นนายทุนและชนชั้นแรงงาน  “เมื่อออฟฟิศเปิด นายฝรั่งลงมา เราเผชิญหน้ากัน ข้าพเจ้ามีความรู้สึกเหมือนลูกเสือที่ทำผิดกําลังจะรายงานตัวต่อนายหมู่” อาจินต์ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะฟ้องนายฝรั่ง หรือไม่ เขาไม่เห็นด้วยกับการกระทำของก้อง แต่ก็เข้าใจความลําบากชาวเหมืองที่ทำให้ต้องมาขโมยแร่


            ท้ายที่สุดอาจินต์ตัดสินใจลาออกและไม่เผชิญหน้ากับความอึดอัดใจนั้น ปล่อยให้ปัญหาคลี่คลายไปตามเวลา ถ้านายฝรั่งไม่มาเฉลยว่านี่เป็นเพียงละครที่จัดฉากขึ้น เขาก็คงตัดสินใจลาออกจริง ๆ การลาออกอาจเป็นการตัดสินใจที่เป็น “กลาง” ที่สุด เพราะไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่ถ้าลองพิจารณาดูแล้ว ก็จะพบว่าการตัดสินใจนี้เป็นสิทธิพิเศษที่อาจินต์มีเพราะเขามีต้นทุนชีวิตที่แตกต่างจากคนอื่น เด็กหนุ่มจากเมืองหลวงที่ไม่มีภาระต้องเลี้ยงดููครอบครัว มีทั้งความสามารถ โอกาส และทุนทรัพย์ที่เอื้อให้เขาหางานใหม่ได้ไม่ยาก


            ตอนจบของเรื่องสั้นตั้งคําถามแก่ผู้อ่านว่าความเป็น “กลาง” ของอาจินต์นั้นเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ในสถานการณ์ที่ตัดสินใจลําบากเช่นนี้ การมองแค่ว่าฝ่ายใดถูก ฝ่ายใดผิดนั้นเพียงพอแล้วหรือความเป็น “กลาง” อาจไม่ใช่การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเลย แต่อาจหมายถึงการให้ความสําคัญกับเหตุผลของทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน นําไปสู่การคลี่คลายปัญหาและความเข้าใจกันและกันอย่างแท้จริง

 

ความเป็น “กลาง” ของอาจินต์
บทวิจารณ์โดย นางสาวพลอย อักษรวงศ์
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวจิารณ์ ปีที 7

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ