ดร.ป๊อป : เจ้าของผลงานเดอะ ไวท์โรด นวนิยายแนวแฟนตาซี

ดร.ป๊อป

เดอะ ไวท์โรด นวนิยายแนวแฟนตาซี ที่ได้รับกระแสนิยมจากผู้อ่านตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการเผยแพร่เรื่องราวทางอินเตอร์เน็ท โดยผู้เขียนใช้นามปากกาว่า ดร.ป๊อป ต่อมาอีก 5 เดือน ดร.ป๊อปก็เผยโฉมออกมาว่าเป็นนักเรียนมัธยมปลายยิ่งทำให้ เดอะ ไวท์โรด ได้รับกระแสชื่นชมมากยิ่งขึ้น จนได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มและในระยะเวลาไม่นานก็ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง วันนี้เราจะได้รู้กันว่าทำไมเด็กอายุเพียง 17 ปี สามารถมายืนอยู่บนถนนสายวรรณกรรมตรงตำแหน่งนักเขียนที่อายุน้อยที่สุด…

จุดเริ่มต้นของการเขียนหนังสืออย่างจริง ๆ จัง
ผมชอบเขียนหนังสือมาตั้งแต่เล็กแล้วครับ ตอนเรียนหนังสือเวลาครูให้เขียนบทละคร บทความ ถ้าเขากำหนดให้เขียนหน้าเดียว ผมก็มักจะเขียนเกินที่กำหนดทุกที ผมถือว่าการเขียนเป็นการปลดปล่อยจินตนาการ ซึ่งผมก็จะมีวิธีถ่ายทอดจินตนาการของผมสองทางด้วยกัน คือ การเขียนและการวาดรูป

มาเขียน เดอะ ไวท์โรด ได้อย่างไร
เดิมทีผมแต่งเดอะ ไวท์โรด เป็นการ์ตูนก่อน เขียนมาตั้งแต่ม.3 เรื่อยๆ มา แนวเรื่องจะเอาเพื่อน ๆ ในห้องสร้างเป็นตัวการ์ตูนเตะต่อยกัน ก็สนุกไปอีกแบบ

ตอนนั้นแต่งไปเรื่อย ๆ แบบสะเปะสะปะไม่ได้วางโครงเรื่องไว้เช่นไหม
ผมไม่ได้แต่งสะเปะสะปะครับ เอาจริงเอาจังเหมือนกันมีการวางโครงเรื่องไว้แล้ว แต่ยังไม่ลงรายละเอียดเท่านั้นเอง ซึ่งตอนที่เริ่มเขียนแรกๆ ผมไม่ได้อยากจะนักเขียนหรอก ผมอยากเป็นนักวาดการ์ตูนพอทำไปเรื่อย ๆ ก็รู้สึกว่าใช้เวลาค่อนข้างมาก กว่าจะได้ตอนหนึ่ง ๆ ใช้เวลาเป็นวันๆ ก็มี เพราะต้องนั่งนึกสีหน้าท่าทางของตัวละคร อีกอย่างหนึ่งผมก็เลยคิดว่าเราน่าจะเปลี่ยนมาเป็นเขียนนะ ก็เลยลองเขียนดูประกอบกับตอนนั้นกระแสพ็อกเก็ตบุ๊คก็เริ่มแรง เราก็อยากทำบ้างแต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำได้ดีหรือเปล่าเพราะพื้นฐานภาษาไทยใน ตอนนั้นก็ยังไม่ดี เพียงแต่ตั้งใจอยากจะทำเรื่องของเราให้เป็นเรื่องเป็นราว สำนวนภาษาที่ใช้ก็เยิ่นเย้อมาก พอให้เพื่อนอ่านเพื่อนก็ติว่าให้ภาษาเยิ่นเย้อจนเกินไป แต่เนื้อเรื่องสนุกมาก ผมก็พยายามพัฒนาภาษาขึ้นมาจนได้เป็นภาษาของตัวเองจริง ๆ คือจะกระชับขึ้น หลังจากนั้นผมก็รวบรวมเนื้อเรื่องที่เขียนทั้งหมดเป็น เดอะ ไวท์โรด เอามาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านก็ติด แล้วเอาไปถ่ายเอกสารแจกกันอ่านทั่วห้องเลย เพื่อน ๆ ก็ดันแอบอ่านในชั่วโมงเรียน อาจารย์เห็นเข้าก็เลยริบเอาไปอ่านก็เกิดชอบขึ้น แล้วก็ยังมีลูกศิษย์ของอาจารย์ห้องอื่นมายืมไปอ่านอีก มันก็เลยระบาดกันทั้งโรงเรียนเหมือนกับโรคซาร์สจนเป็นที่รู้กันว่าป๊อปเป็นคนแต่งเรื่องนี้ เวลาก็ผ่านไปเดือนสองเดือนเพื่อนสนิทของผมก็บอกให้เอาไปเผยแพร่ ผมก็เลยเอาไปลงในปาล์มบางปรากฏว่าผู้อ่านจากปาล์มก็สนใจกันมากมีคนมาดาวน์โหลดในอาทิตย์แรก แปดร้อยกว่าคนก็ถือว่าเยอะนะ แล้วเพื่อนก็แนะนำให้ไปลงในเด็กดี(www.dekdee.com) ผมเอาไปลงตอนสองตอนถือว่าได้รับการตอบรับดีมาก มีผู้อ่านติดตามกันเยอะมาก บางก็ติดต่อของเมล์ผมเพื่อของตอนต่อไปได้อ่านก่อน ซึ่งตรงนั้นผมถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจต่อมาก็มีกระแสถามถึงการรวมเล่ม ผมก็แกล้งตอบไปว่ากำลังจะรวมเล่มก็ได้รับกระแสตอบรับดีมากผมจึงตัดสินใจรวมเล่ม

แล้วทำไมจึงไปลงในสนพ.สยามอินเตอร์บุ๊คส์
เดิมทีผมคิดอยู่หลายแห่งมาก ตอนแรกก็ติดต่อพี่เพชรยุพาก่อนเพราะเป็นเพื่อนกับคุณพ่อ แต่คุณพ่อก็ไม่สนับสนุนเพราะอยากให้เราได้เรียนหนังสือก่อนที่ส่งไปสยามอินเตอร์บุ๊คส์ เป็นการจับพลัดจับผลูซะมากกว่า เพราะตอนนั้นผมก็ไม่รู้เรื่องวงการหนังสือว่าเป็นอย่างไร ผมจะสนใจวงการเพลงหรือภาพยนตร์มากกว่า

เป็นด้วยอายุของเราอยู่ในวัยรุ่นอยู่ใช่ไหม
ครับ ซึ่งวัยของผมน่าจะอยู่ตรงไหนมากกว่า ยิ่งเป็นเด็กผู้ชายก็ยิ่งอ่านหนังสือน้อยเข้าไปอีก ซึ่งตอนนั้นผมก็จักสยามกีฬานะ รู้จักสปอร์ตพูลรู้ว่าเขาพิมพ์ "มังกรคู่ กู้สิบทิศ" ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็ดัง ผมก็เลยตัดสินใจส่งต้นฉบับไป พร้อมคอมเมนซ์จากผู้อ่านที่ส่งเข้ามา 400 กว่าข้อความ ภายใน 3 เดือน ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในตอนนั้น เพราะบางเรื่องกว่าจะได้ 200 ข้อความก็ปาเข้าไป 2-3 ปี ก็ปริ้นซ์ส่งซึ่งพี่เอก อัคคี รอฟังผล พี่เอกก็โทรมาที่บ้านรับปากจะพิมพ์

พอเริ่มลงมือจับปากกาเขียนมีติดขัดเรื่องการใช้ภาษาบ้างไหม
ติดครับ ติดมาก ติดจนคิดจะเลิก แต่อีกใจหนึ่งก็อยากจะแก้ไข้อะไรให้ดีขึ้นอีกด้วย ผมก็ใช้วิธีไปถามเพื่อน ๆ ว่าเขียนอย่างนี้เป็นอย่างไรดีหรือยัง บางคนก็บอกว่าตรงนี้ต้องแก้อย่างนี้นะ บางคนก็บอกว่าดีแล้ว ซึ่งก็ช่วยอะไรไม่ได้มากอาจจะด้วยวัยใกล้เคียงกัน เกรดภาษาไทยก็ได้เท่ากัน ๆ ผมก็เลยมานั่งศึกษาว่าเรามีจุดอ่อนตรงไหน อย่างที่เรานั่งหน้าจอคอมฯแล้วอ่านจะไม่รู้เรื่องเลย ผมก็จะปริ้นซ์ออกมาดูว่ามันบกพร่องตรงไหน แล้วก็นั่งเกลาภาษาไปเรื่อย ๆ ไม่รีบร้อนแต่ก็มีติดบางครั้ง ขนาดผมวางโครงเรื่องไว้แล้วก็ยังมีในบางครั้งที่เราไปต่อไม่ได้ไม่รู้ว่าเราจะพูดอะไรในช่วงเวลานั้น ๆ ผมก็จะปล่อยไปเลยครับไม่ทำต่อบางทีก็ออกไปเที่ยวกับเพื่อนบ้าง พอกลับมาถึงบ้านถ้ามีอารมณ์เขียนก็เขียนต่อ ซึ่งบางวันผมเขียนได้สามสิบสี่สิบหน้าหรือหน้าสองหน้าก็มีอาจจะด้วยนิสัย เป็นคนทำอะไรไม่เครียดอยู่แล้วผมถือว่างานเขียนเป็นงานอดิเรก

ถ้าไม่อยากเป็นนักเขียนแล้วอนาคตอยากจะเป็นทำอะไร
จริง ๆ แล้วผมก็ไม่เคยคิดจะมาเป็นนักเขียนอยู่แล้ว ผมก็คิดว่าอาชีพที่ต้องใช้สมาธิอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่ตัวผม ซึ่งตอนนี้ผมก็สนใจวงการมายา ผมชอบแสงสี อยากจะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เพราะตอนที่ผมเขียน ไวท์โรด ภาพต่าง ๆ ผมอยู่ในจินตนาการของผม

สำนักพิมพ์ได้เข้ามายุ่งในการแก้ไข้ต้นฉบับหรือเปล่า
ก่อนที่ผมจะส่งให้บรรณาธิการผมก็ตกลงกันว่า ถ้าจะแก้อะไรในเนื้อเรื่องให้บอกผมแล้วบอกผม ผมขอแก้เอง ถ้าผู้อ่านอ่านแล้วไม่ชอบใจไม่อยากให้ว่าบรรณาธิการแต่ให้ว่าผมโดยตรง อีกอย่างหนึ่งผมชอบภาษาที่มันเป็นของเรามากกว่า เพราะผมถือว่ามันเป็นงานของผมจึงอยากให้เป็นตัวของตัวเองมากที่สุด

รู้สึกอย่างไรกับการก้าวมายืน ณ จุดนี้ ด้วยระยะเวลาอันสั้น
ผมถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนะ แต่ก็เรียกได้ว่าเราก็พอใจในระดับหนึ่ง การที่ผมมายืน ณ จุดนี้ได้อาจเป็นเพราะเรารู้จักใช้อินเตอร์เน็ทให้เป็นประโยชน์อาศัยสื่อเผยแพร่ผลงานซึ่งสื่อตัวนี้เป็นสื่อที่กว้างและครอบคลุม จึงทำให้ผมเป็นที่รู้จักในระยะเวลาอันรวดเร็ว

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ