ไร่เล แดนนักปีนเขา ชุมชนไม่ลับที่คนไทยไม่รู้ : บทวิจารณ์โดย ชุติพันธ์ บูรณาหาร โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 8

ไร่เล แดนนักปีนเขา ชุมชนไม่ลับที่คนไทยไม่รู้

            หากกล่าวถึง "การปีนเขา" ภาพในหัวที่ปรากฏย่อมเป็นภาพคนตัวเล็ก ๆ ที่เกาะผืนผาอันกว้างใหญ่และอันตราย ต่างจากภาพจำในนิตยสารหรือสื่อบันเทิงทั่วไปที่ภาพจะส่งให้ดูห้าวหาญและเป็นอิสระ และบางทีอาจเป็นเพราะความรู้สึกไม่มั่นคงและความกลัวต่อผาอันสูงใหญ่ในใจ จึงทาให้การปีนเขาดูไม่ใช่เรื่องที่ใคร่อยากจะรู้จักและสนใจนัก

 

            แต่หลังจากอ่านสารคดีเรื่อง “ที่นี่… ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา” เรื่องราวที่เล่าเกี่ยวกับไร่เล ที่ซึ่งไม่เพียงมีหาดทรายอันขาวสะอาดและทิวทัศน์อันสวยงามเท่านั้น แต่ยังรายล้อมไปด้วยผาหินอันหลากหลาย บนภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป จากจุดเริ่มต้นของการเล่าสู่ปากต่อปากกลายมาเป็นสถานที่ดังก้องโลก จนทำให้นักปีนเขาต่างแดนพากันเดินทางไกลเพื่อมาเยือนและสัมผัสมนต์เสน่ห์นี้ ซึ่งจะถือว่าสถานที่แห่งนี้ดังด้วยตัวเองก็ว่าได้ แต่กระนั้นไร่เลและชุมชนนักปีนเขาก็ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากหน่วยงานท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ

 

            จากชื่อเรื่อง "ที่นี่... ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา" จะเห็นได้ว่าผู้แต่งใช้คำที่สื่อถึงชุมชนที่คนในท้องถิ่นอาจไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ต่างจากคนต่างถิ่นที่ให้สนใจและเข้ามาเยี่ยมเยียนสถานที่แห่งนี้ ซึ่งจะตรงกับเรื่องราวในสารคดีที่ชุมชนนักปีนเขา กลายมาเป็นชุมชนที่คนในท้องที่หรือหน่วยงานในท้องถิ่นยังไม่ค่อยให้ความสนใจ ต่างจากคนต่างแดนที่เข้ามาสร้างชื่อและเยี่ยมเยียน ถือเป็นชื่อเรื่องที่ค่อนข้างครอบคลุมเลย

 

            ส่วนเนื้อหาตั้งแต่ย่อหน้าแรก “...ทำไมผู้คนในโลกสมัยใหม่ถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายให้เลือกหยิบฉวยมาปรนเปรอชีวิตได้อย่างล้นเหลือ จึงเลือกที่จะออกมาผจญความลำบากบนผาหิน ที่มองไม่เห็นผลตอบแทนอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน” ก็เปิดมาได้น่าสนใจ ดูน่าค้นหาจากคำโปรยที่ชวนตั้งคำถามในใจว่าทำไมกันนะ ทำไม... ผู้คนถึงยังเลือกที่จะปีนเขา ทั้งที่รู้ว่าการปีนเขานั้นอันตราย หรือแม้กระทั่งสิ่งใดที่้เขาเห็นผ่านการปีนเขา ทำให้รู้สึกอยากติดตามเรื่องราวมากขึ้น

 

            พออ่านเรื่องราวต่อไปก็จะเห็นว่าเรื่องราวมีการลำดับไว้อย่างดีแล้ว ตั้งแต่การเล่าถึงไร่เลผูกโยงไปถึงการปีนเขา และประสบการณ์การปีนเขา ซึ่งนำไปสู่บทสรุปพาให้ตีความจากเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งสำหรับเราก็รู้สึกว่าการปีนเขาดูน่าสนใจขึ้น และในไทย "ไร่เล" ก็ควรเป็นที่รู้จักและถูกส่งเสริมมากกว่านี้เช่นกัน เนื่องจากจะได้พารายได้เข้าสู่ท้องถิ่นและสร้างชื่อให้คนทั่วไปรู้จักยิ่งขึ้น เนื่องจากในสารคดี "ที่นี่..ไร่เล ชุมชนคนอื่นเขา" จะเห็นว่ากีฬาปีนเขาและไร่เลยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในหมู่คนไทย

 

            "ทุกวันนี้ ชื่อของไร่เลเป็นที่รู้จักของนักปีนผาทั่วโลก นิตยสารการกีฬาและการผจญภัยการแจ้งระดับโลกเกือบทุกเล่มเคยตีพิมพ์เรื่องของไร่เล แต่สำหรับ ในประเทศไทย มีผู้คนไม่มากที่เคยได้ยินชื่อนี้ ยังไม่ต้องถามถึงว่าจะรู้จักกีฬาปีนเขา"

 

            อีกส่วนที่ชื่นชอบในสารคดีนี้ก็คงเป็นความอ่านง่าย เนื่องจากผู้ประพันธ์ได้ทาการแบ่งเรื่องไว้ด้วยการกำกับตัวเลขและย่อหน้า ส่วนการเขียนก็เห็นได้ชัดว่าการใช้คำมีความเด่นมาก ทั้งการเปรียบเปรยและการพรรณนาที่ถ่ายทอดมาได้ชัดแจ้งและเห็นภาพ

 

            "หลายคนที่มารู้จักกับไร่เลแล้ว ต้องกลับมาเยือนอีกเป็นขาประจำ บางคนมาฝังตัวอยู่เป็นเดือน ๆ เดินสาย สำรวจไปตามหน้าผาต่าง ๆ ราวกับนักแสวงโชคที่มาพบกับดินแดนอันเป็นขุมทรัพย์" ที่เปรียบ 'ไร่เล' เป็นสถานที่ที่นักปีกเขาต้องมาเยือนซ้าไปซ้ามา

 

            ลมทะเลวี่หวิวผาหินอยู่กรูเกลียว พาใจให้หวั่นไหนในวูบแรก แล้วให้ความรู้สึกชื่นเย็นในวาบต่อมา เมื่อสลัดความกลัวทิ้งลงพื้นไปเสียได้ มองผ่านยอดไม้ออกไปยังเวิ้งทะเล เห็นผืนน้ำสีครามทอดโอบล้อมเกาะแก่ง โขดเขา โล่งลิบไปเชื่อมถึงทิวเมฆที่ริมฟ้า ริ้วคลื่นล้อแสงตะวันยามเพล วิบวับเหมือนแฉกดาว ประดับทะเลยามทิวา"

 

            สำหรับส่วนที่คิดว่าอยากให้ผู้แต่งปรับคงเป็นเพียงหนึ่งถ้อยคำในเรื่องคือ "มนุษย์ตุ๊กแกผิวขาวผมทอง" ที่ผู้แต่งใช้เปรียบกับชาวต่างชาติที่ปีนเขา ซึ่งส่วนตัวคิดว่าอาจใช้คำเปรียบเปรยเป็นแบบอื่นได้ เพราะบางคนอาจคิดว่าเป็นการกล่าวเชิงไม่ให้เกียรติคนต่างชาติ

 

            สรุปคือคิดว่าเรื่อง 'ที่นี่…ไร่เล ชุมชนคนอื่นเขา' มีการบรรยายและลำดับเนื้อหาที่ดีและเข้าใจง่าย ยิ่งการพรรณนาและเปรียบเปรย ยิ่งทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นจุดที่ชอบมากเลยในสารคดีนี้ อีกทั้งเรื่องราวประสบการณ์ของผู้แต่งที่ถ่ายทอดออกมาก็ทำให้รู้สึกอินและสัมผัสถึงเรื่องราวได้ ทั้งความเป็นไร่เลและกีฬาปีนเขา โอกาสของไร่เลในการสร้างความรู้จักและการเปิดใจถึงกีฬาปีนเขา ซึ่งถือเป็นจุดที่คิดว่าถ้าใครมาอ่านก็คงไม่ผิดหวังที่จะได้เห็นถึงมุมมองใหม่ ๆ ต่อ "กีฬาปีนเขา" และการได้ทำความรู้จักสถานที่น่าสนใจอย่าง "ไร่เล" ของไทย


 

ไร่เล แดนนักปีนเขา ชุมชนไม่ลับที่คนไทยไม่รู้
บทวิจารณ์โดย นางสาวชุติพันธ์ บูรณาหาร
โครงการ "อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์" ปีที่ 8

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ