หากกล่าวถึง “อาจินต์ ปัญจพรรค์” ผลงานเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ถือเป็นหนึ่งในผลงานของอาจินต์ที่ประสบความสําเร็จอย่างสูงสุดตลอดกาล มีการตีแผ่ชีวิตนักขุดเจาะชําแหละแร่และสารพัดสิ่งในแวดวงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งทําให้สังคมของโลกนักอ่านเมืองไทยได้สัมผัสชีวิตเหล่านั้นผ่านเพียงตัวอักษรอย่างลึกซึ้ง
เหมืองแร่ กลายเป็นพื้นที่สร้างประโยชน์สําหรับนักลงทุนมีแนวคิดล้ำเกินกว่าใคร ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อสร้างเครือข่ายระบบทุนนิยมขนาดใหญ่ในหลายประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะมหาอํานาจต่างชาติที่มีการแพร่สะพัดเข้ามาอย่างมากหลังสนธิสัญญาเบาว์ริงจนถึงปีพ.ศ. 2500 (จามะรี พิทักษ์วงศ์ , 2527) และระบบทุนนิยมจึงทําให้เกิด “นายทุน” ที่มีอํานาจล้นประเทศในชั่วข้ามคืน ส่งผลให้ประชาชนในประเทศที่ถูกระบบทุนนิยมเข้าครอบคลุม แห่กรู่เข้าทํางานเหมืองแร่กันเพื่อหวังที่จะลืมตาอ้าปากได้
ในเรื่องสั้นของอาจินต์หลายเรื่องที่ได้ควักไส้ควักพุงของระบบ “นายทุน” ที่มีอยู่ในสังคมไทยมาตีแผ่ เพียงแต่กําหนดขอบเขตแค่ในสภาวะที่เกิดขึ้นในเหมืองแร่ เฉกเช่นใน “ความรักชาติของชาวเหมืองแร่” ที่กําหนดให้สถานะของนายทุน มีความสําคัญอย่างยิ่งในระบบทุนนิยม มนุษย์ในเมืองแร่ที่ถูกปกครองด้วย ระบอบกฎหมายอยŠางระบอบทุนนิยม ตšองใหšการเคารพนายทุน ชีวิตการทํางานที่ถูกกําหนดกฎเกณฑ์จาก นายทุน โดยชาวเหมืองแร่นิยมเรียกนายทุนเหล่านั้นว่า นายฝรั่ง
นายฝรั่ง จากความรักชาติของชาวเหมืองแร่ ถือเป็นผู้อยู่จุดสูงสุดในสังคมเหมืองแร่ เขาได้สร้างเกมวัดใจเพื่อตรวจสอบคุณภาพของประชากรที่อยู่ภายใต้การปกครองของเขาว่ามีจริยธรรมมากน้อยเพียงใด เกมวัดใจนี้ทําให้เขาสูญเสียประชากรในการทํางานไปมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ หมากหลายตัวในเกมนี้ถูกไล่ออกไปด้วยเหตุหลงในอํานาจของเงิน ยอมหักหลังผู้นําของตนเองเพียงคล้อยในคําพูดของคนที่รักในชาติ ตัวละคร “ก้อง” เสมือนเป็นตัวแทนของมนุษย์ที่มีเปลือกหุ้มตัวไว้ด้วยความรักชาติ แต่แท้จริงแล้วร่างในตัวเขาก็เป็นผู้เสียสละให้แก่ระบอบทุนนิยมจากนายฝรั่งของเขาอย่างสุดหัวใจ ก้องถูกอาจินต์สร้างให้เป็นตัวละครที่ขับเคลื่อนความเลวร้ายในจริยธรรมของการทํางาน เพราะเขากระทําการผิดต่อองค์กรอย่างขโมยแร่เพื่อประทังชีวิตตนให้อยู่รอดในสังคมที่มีโครงสร้างอย่างบิดเบี้ยว นายทุนหรือคนสั่งการรวยขึ้นทุกวัน ส่วนลูกจ้างหรือคนทํางานกลับได้รับค่าตอบแทนเพียงน้อยนิด แต่หากมองก้องเพียงด้านเดียวก็อาจจะใจร้ายเกินไป ต้องกล่าวถึงคุณความดีในการรักหมู่มวลมิตรของเขาอย่างสุดใจ เพราะเขาเลือกที่แบ่งสรรปันส่วนให้กับผู้ร่วมอุดมการณ์ทําผิดต่อนายทุนของพวกเขาอย่างเท่าเทียมกัน และเหตุนี้จึงเป็นชนวนสําคัญที่ทําให้เพื่อนของก้องหลายคนถูกก้องหลอกสําเร็จ บางคนอาจจะให้ใจกับก้องโดยเลือกที่จะช่วยก้องปิดบังความผิดและร่วมมือกับเขาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองและเพื่อนต่อไป แต่หารู้ไม่ว่าเมื่อเขาเลือกตัดสินใจเช่นนี้เขาจะต้องระหกระเหินออกจากเหมืองแร่นี้ไปตลอดกาลเพียงเพราะเหตุรักเพื่อน และความรักชาติที่ก้องนํามาใช้อ้างถึงเท่านั้นเอง
ตัวละคร “ข้าพเจ้า” ซึ่งอาจจะหมายถึงตัวอาจินต์เอง หรือใครก็ตามที่มีแนวคิดขัดแย้งต่อพฤติกรรมการทุจริตของก้อง แม้จะถกเถียงกับก้องเป็นระยะเวลาครึ่งค่อนเรื่อง และก้องเองก็โต้กลับแถมยังโน้มน้าวให้มาเข้าร่วมกับฝั่งของตนด้วยการพูดถึงความหวงแหนทรัพยากรของคนในชาติตน ปลุกระดมความเป็นชาตินิยมแก้แค้นระบบทุนนิยมต่างชาติที่เข้ามาทลายและขโมยทรัพยากรของชาติตนไป แต่ตัวละครข้าพเจ้าเลือกที่จะหนักแน่นในจริยธรรมอันถูกต้องของคนทํางาน และโต้กลับด้วยความถูกต้องที่ควรจะทําในสังคมการทํางานที่ควรจะเป็น
...“ฝรั่งหรือ ฝรั่งใหญ่กว่าใครหรือคุณ คุณเป็นคนชาติไหนไม่ทราบ”
“ไปเอาเรื่องชาติ เรื่องอะไรมาพูดพาล ๆ อย่างนี้จะถูกหรือพี่ก้อง”
“เรื่องนี้เป็นเรื่องของชาตินะคุณคิดให้ดี ๆ “
ข้าพเจ้าหยุดคิด คิดให้ดี ๆ ออกรู้สึกงง การขโมยแร่ตามแบบฉบับของก้อง เหล็กกล้า มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับชาติแฮะ
“ชาติมาก่อนคน แร่นี้เป็นของชาติไทย ใต้ตีนที่คุณยืนเหยียบอยู่นี้คือแผ่นดินไทย แร่ที่อยู่ใตšดินเป็นแร่ของคนไทย”
“อ้าว”
“บอกไม่เชื่อเป็นของคนไทยจริง ๆ คุณตรองดูอีกทีเถอะน่า”
“ก็ที่เรือขุดนั่นเครื่องมือนั่นทุนรอนนั่นเป็นของใคร เป็นของฝรั่งเขามาลงทุนใช่ไหม เงินเดือน เบี้ยเลี้ยงที่ฟาดกันอยู่ทุกวัน ทุกชั่วโมงน่ะของใคร ของฝรั่ง ฝรั่งเขาจ้างใช่ไหม”...
สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทยที่ผู้อ่านสามารถเห็นได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ จากอดีตจนถึงปัจจุบันที่มักมีการทําร้ายร่างกายกันเมื่อมีปัญหาขัดแย้งในการทํางาน หรือขัดผลประโยชน์ของกันและกัน ลองมองกลับกัน เหตุการณ์ในเรื่องสั้นที่เกิดขึ้น ตัวละครข้าพเจ้าอาจถูกก้องฆ่าตายไปแล้วในขณะที่เขาหันหลังกลับไปยังที่พักของเขา เพราะก้องคงไม่ยอมปล่อยให้ใครบางคนมาฉุดรั้งความร่ำรวยที่จะเกิดขึ้นจากการทุจริตของเขาได้
และแม้ว่าก้องจะพรรณนาถึงความรักในชาติเพื่อโน้มน้าวให้ใจของอีกตัวละครเข้ามาอยู่กับฝั่งของตนสักแค่ไหน ทุกอย่างก็กลายเป็นเพียงกลยุทธ์ของเกมที่นายฝรั่งของพวกเขาสร้างมาเพื่อวัดใจประชากรของเขาเพียงเท่านั้น และในเมื่อตัวละครข้าพเจ้า ไม่ได้เห็นดีเห็นงามกับสิ่งที่ก้องทุจริต นายฝรั่งจึงขึ้นเงินเดือนเพื่อเป็นการตบรางวัลแก่เขา ให้สมกับที่เขาได้รับชัยชนะจากเกมที่เขาเผลอตัวลงไปเล่นอย่างไม่รู้ตัว
เกมของนายทุนที่สร้างขึ้นเพื่อวัดใจคนงานในเหมืองแร่ของเขา มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากจะให้กล่าวถึงข้อดีคงมีมากตามขนบทั่วไปของหลักสากลโลก ได้แก่ ทําให้วัดใจคนได้อย่างดี ทําให้ทราบถึงใครจะทํางานกับเขาได้ และใครจะทําให้งานของเขาเสียหาย เป็นต้น แต่ข้อเสียแม้จะมีน้อย แต่กลับทําให้คนไทยที่ได้อ่านอาจจะเจ็บแปลบในหัวใจขึ้นก็เป็นได้ เพราะเกมที่นายฝรั่งของคนไทยในเหมืองแร่บูชานักหนา เลือกที่จะใช้ “ความรักชาติ” ที่มนุษย์ไทยถูกปลูกฝังมาตั้งแต่สมัยอดีตกาลนานนมผสมกับความผิดต่อจริยธรรมในการทํางาน และนํามาฟาดฟันกับความถูกต้องในจริยธรรมของการทํางาน ทําให้อาจมองได้ว่านายทุนต่างชาติที่เข้ามามีอํานาจในเหมืองแร่เช่นนี้มองเห็นความรักชาติของคนไทยเป็นเพียงสิ่งหลอกเล่นตามที่เกิดขึ้นเพียงแต่ในละครและมองถึงความซื่อสัตย์ในการทํางานสําคัญเสียกว่าที่ต้องบูชาสิ่งที่ชาตินิยมที่คนหวงแหนมาอย่างเนิ่นนานดังที่รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (2524) ได้กล่าวไว้ว่า บริษัทการค้าระหว่างชาติ มักสนใจเรื่องการค้ามากกว่าการลงทุนการผลิต และจากคําพูดของนายฝรั่งในตอนท้ายเรื่อง “...นายก้องขโมยแร่นั้นเป็นละครที่ฉันจัดขึ้นและหลายคนมาแล้วถูกฉันพิสูจนŤความซื่อสัตย์ด้วยการให้ไปรู้เห็น คนเหล่านั้นกลับไปขอส่วนแบ่งจากก้อง และฉันก็ให้ออกจากงานไป เมื่อเช้ามืดนี้ก้องไปหาฉัน และเล่ารายละเอียดให้ฟังแล้ว ฉันจะขึ้นเงินเดือนให้เธอ ขอโทษด้วยที่ฉันใช้วิธีขึ้นเงินเดือนให้ทุกคนในเหมืองนี้โดยแบบนี้” เพียงเท่านี้ก็อาจจะตัดสินใจได้ว่าประชาชนใน “ความรักชาติของชาวเหมืองแร่” ก็เป็นเพียงหมากเดินเกมของนายทุนที่ปกครองผู้คนในระบอบทุนนิยมที่เข้ามามีอํานาจอย่างสูงสุด ไม่น่าแปลกใจว่าจนถึงปัจจุบันความเป็นชาตินิยมได้ถูกกลืน
กินไปเกือบจนสิ้นกับความเป็นทุนนิยมที่มีแนวคิดมาจากต่างชาติอย่างมากมาย
บรรณานุกรม
จามะรี พิทักษ์วงศ์. (2527). ระบบทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมชาวนาไทย. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2524). การขยายตัวของทุนนิยมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ :
สํานักพิมพ์สร้างสรรค์.
ขอขอบพระคุณ อาจินต์ ปัญจพรรค์ สําหรับเรื่องสั้นที่ใช้ในการวิจารณ์เรื่อง ความรักชาติของชาวเหมืองแร่
เมื่อ “ความรักชาติของชาวเหมืองแร่” กลายเป็นเพียงเกมของ “นายทุน”
บทวิจารณ์โดย ภูมิพิรัชย์ วงศาสิริโรจน์
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 7