อาคันตุกะ - ธีรภาพ โลหิตกุล อาคันตุกะ :
ผู้ตระหนักถึงข้อพึงปฏิบัติต่อสรรพสัตว์ในพลวัตของสังคม
อาคันตุกะกับความเป็นผู้ตระหนักถึงข้อพึงปฏิบัติต่อสรรพสัตว์ในพลวัตของสังคม
“อาคันตุกะ” เกิดขึ้นผ่านเรื่องราวของ ธีรภาพ โลหิตกุล ที่เปิดหัวเรื่องด้วยข้อเขียนของ ดร.แมคคลัวร์ ว่าด้วยเรื่องความสํานึกในความเป็น อาคันตุกะ ซึ่งเป็นการเปิดเรื่องด้วยข้อความที่โน้มน้าวใจให้ผู้อ่านอยาก อ่านในเรื่องราวระหว่าง “มนุษย์” กับ “สัตว์
ผู้แต่งเปิดเรื่องแทนตัวเองด้วย “ข้าพเจ้า” ว่าด้วยการเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งผู้แต่ง เปรียบให้มนุษย์ที่มาเยือนสัตว์ป่าเป็น “อาคันตุกะ” และเปรียบสัตว์ป่าให้เป็น “เจ้าบ้าน” โดยบอกเล่าครั้งแรก ผ่านความงดงามของแมงมุมที่ผสานสายใยไว้คอยดักเหยื่อในรุ่งเช้ายามน้ำค้างเกาะ และมีการเสียดสีความงาม ของธรรมชาติต่อมหาเศรษฐีและคนชนชั้นกลางเอาไว้
“…ได้กลายเป็นผลงานศิลปะที่หาดูไม่ได้ในงานแสดงตามห้างสรรพสินค้า หรือในแกลเลอรี่หรูใจกลางเมืองหลวง และยิ่งเป็นไปไม่ได้เลย ที่มหาเศรษฐีนักสะสมงานศิลปะหรือนักธุรกิจชนชั้นกลางคนใด คิดจะหาซื้อไว้ประดับบารมี หรือเพื่อ ยกระดับสถานะตนเองให้ดูดีในวงสังคม” ตัวบทข้างต้นนี้ผู้แต่งต้องการบอกและย้ำถึงคุณค่าความงามบางอย่างในธรรมชาติ ว่าสามารถชมเพียงด้วยตา ต่อให้มีเงินมากมายแค่ไหนก็ไม่อาจหาซื้อได้ ทั้งยังเสียดสีคนมีฐานะทางสังคมที่ไม่ใฝ่หาธรรมชาติ มีเพียงแต่ใช้ ของนอกกายราคาแพงไว้ประดับบารมีตนเองเท่านั้น
ต่อมาเป็นการเล่าถึง กวาง ที่ได้ป่ากลับคืน จากที่เมื่อก่อนป่าแห่งนี้เป็นสนามกอล์ฟ แม้สัตว์จะได้บ้าน กลับคืนมาแต่ก็สายไปเสียแล้ว เนื่องด้วยสัตว์ป่าเหล่านี้คุ้นชินกับมนุษย์จึงส่งผลเสียกับสัตว์เหล่านี้ในระยะยาว เพราะมีกวางออกมากลางถนนแล้วเกิดเหตุสลด ถูกคนในพื้นที่ขับรถกระบะชนจนตายคาที่
“หากคนขับรถทุกคนมีสํานึกว่าตนเองเป็นเพียงอาคันตุกะ มิใช่เจ้าของบ้าน เจ้าของถนน เหตุการณ์อันน่าสลดใจ เช่นนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น” ผู้แต่งได้สะท้อนถึงความเป็น “เจ้าบ้าน” กับ “อาคันตุกะ” หรือแขกผู้มาเยือนว่า ต่อให้เราจะเป็นเจ้าถิ่นก็ไม่ ควรประหม่ากับทุกอย่าง ให้พึงสํานึกเสมอว่าเป็นเพียงแขกผู้มาเยือนเท่านั้น ต้องปฏิบัติตามคุณสมบัติของแขก ก็จะเป็นอันดี
“แต่ไม่มีเจ้าบ้านคนไหน ที่อยากออกมาพบกับอาคันตุกะที่เอะอะโวยวายจนไม่แน่ใจว่ามาร้ายหรือมาดี”
จากตัวบทข้างต้น เป็นการแสดงถึงผู้แต่งกําลังจะบอกความนัยของชื่อเรื่องอย่างชัดเจน ซึ่งได้มีการ เปรียบเปรยถึง ป่าเบญจพรรณ” กับ “ลับแล” กล่าวคือ ในเมืองเว้ประเทศเวียดนามนั้นนิยมสร้างบ้านแบบ บ้านสวน ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางพรรณไม้ มีประตูชั้นในที่กั้นด้วยมวลไม้ต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า ลับแล
จุดเด่นของเรื่องนี้คือผู้แต่งมีกลวิธีในการเล่าเรื่องที่ดี ใช้การยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่าง ชัดเจนว่า ลับแลจะช่วยให้เจ้าของบ้านมีเวลาพิจารณาแขกมากยิ่งขึ้น ประหนึ่งกับในอุทยานแห่งนี้ จะมีสัตว์ป่า หลายชนิด เป็นประตูชั้นหน้าไว้คอยพิจารณาแขก หรือ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนอุทยานแห่งนี้
ผู้แต่งได้สะท้อนจากที่พบเห็นเรื่องราวผ่าน ลิงกัง ผู้เป็นเจ้าบ้านที่ไม่คัดกรองแขกเหมือนกับชาวเมืองเว้ จึงทําให้ได้พบมนุษย์มากมาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือลิงกังตายจากกระเพาะอาหารอุดตัน ซึ่งเกิดจากฝีมือของ แขกที่มาเยือน
“การทําเช่นนี้แทนที่จะเป็นความเมตตา กลับเป็นการฆ่าลิงทางอ้อม เข้าทํานองทําคุณบูชาโทษ” ฃ
กล่าวคือ การกระทําของมนุษย์ที่คอยแต่มาให้อาหารสัตว์ดังเช่นลิงกัง สัตว์เองก็จะเกิดความเคยตัว เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางธรรมชาติ ไม่ออกหาอาหาร รอคอยเพียงแต่มนุษย์ ก็จะทําให้สัตว์ต่าง ๆ มีอัตรา การตายที่สูงขึ้น เนื่องจากสัตว์จะออกมาเพ่นพ่านและเสี่ยงที่จะถูกรถชนตายในที่สุด ซ้ํายังมนุษย์มีความมักง่าย ให้อาหารสัตว์โดยไม่มีการชําแหละ ให้ไปทั้งที่มีถุงพลาสติกคลุมไว้อยู่ สัตว์ไม่เลือกทานจนทําให้ต้องตายจาก กระเพาะอาหารอุดตัน
ตัวบทนี้ยังแสดงให้เห็นถึงกลวิธีทางภาษาของผู้แต่ง ที่สามารถนําเอาแนวในทางพระพุทธศาสนามา เล่นกับสํานวนถึงเรื่องราวได้อย่างสวยงาม
เมื่อเรื่องราวดําเนินทางมาถึงข้อความข้างต้น ผู้แต่งย้ําถึงเรื่องราวที่มนุษย์ควรตระหนักต่อสัตว์ นั่นคือ บทเรียนของจิ๋มจิ๋ม หรือ ลูกวัวกระทิงที่รอดชีวิตจากการไถ่โดยเจ้าอาวาส แต่แล้วเจ้าหน้าที่อุทยานเขาใหญ่ก็ นําวัวกระทิงตัวดังกล่าวมาเลี้ยงไว้เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว
“จ๋มจิ๋มไม่ได้ถูกพรานป่าใจโหดคนใดทําร้ายเหมือนแม่ของเขา จิ๋มจิ๋มไม่ได้ประสบอุบัติเหตุถูกรถชนอย่างที่ทุกคนที่รู้ ข่าวคาดคิดแต่จิ๋มจิ๋มตายเพราะความรักของนักท่องเที่ยวมอบให้กับเขา!”
ท้ายที่สุดวัวกระทิงตัวนี้ก็ตายด้วยเนื้อมือของ อาคันตุกะ เพราะความมักง่ายที่เกิดขึ้น จนทําให้วัวกระทิงตัว ดังกล่าวกระเพราะอุดตัน ในท้องเต็มไปด้วยพลาสติก เศษแก้ว ลูกกอล์ฟ ฯลฯ ซึ่งเกิดจากฝีมือของแขกหรือ นักท่องเที่ยวนั่นเอง
เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความมักง่ายของมนุษย์ที่พรากชีวิตสัตว์ให้ดับสูญ เพราะเบื้องต้น วัวกระทิงตัวนี้เกือบตายจากฝีมือนายพราน แต่ก็รอดชีวิตได้จากพระท่านผู้มาไถ่ขอชีวิต แต่ยิ่งเป็นการย้ําถึง ด้านมืดของจิตใจมนุษย์ เพราะนายพรานไม่มองถึงบุญบาป มองเพียงผลประโยชน์คือเงินที่ใช้เป็นตัวแลกเอาวัว กระทิงตัวนี้ แม้สัตว์ตัวนี้จะโชคดีถูกอุทยานเอามาชุบเลี้ยง แต่ท้ายที่สุดก็ต้องตายเพราะเนื้อมือของเหล่ามนุษย์
ในปัจจุบันแม้กรณีตัวอย่างของวัวกระทิงตัวนี้จะถูกสตัฟฟ์เอาไว้เพื่อเป็นตัวอย่างแก่นักท่องเที่ยว แต่ผู้ แต่งก็ได้พบเห็นนักท่องเที่ยวรุมให้อาหารสัตว์ป่าอยู่เป็นประจํา และผู้แต่งได้ปิดเรื่องราวด้วยข้อความของ ดร.แมคคลัวร์ ที่ว่าด้วยสํานึกในความเป็น “อาคันตุกะ” ไว้อย่างแยบยลว่า
“ท่านเป็นอาคันตุกะ จึงควรปฏิบัติตนอย่างอาคันตุกะผู้หนึ่งเท่านั้น”
จากที่กล่าวมาทั้งหมดทําให้เห็นแง่คิดในประเด็นที่ว่า “อาคันตุกะกับความเป็นผู้ตระหนักถึงข้อพึง ปฏิบัติต่อสรรพสัตว์ในพลวัตของสังคม” เพราะมนุษย์นั้นควรตระหนักถึงชีวิตของเพื่อนร่วมโลกด้วยกันนั่น คือสัตว์ ต้องมีเส้นตรงกลางในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข อาจเห็นได้จากเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผู้แต่งได้สะท้อน ผ่านสารคดีเรื่องนี้
“อาคันตุกะ” เป็นเรื่องที่แสดงถึงปมปัญหาระหว่าง “มนุษย์” กับ สัตว์” ที่ผู้แต่งได้ใช้กลวิธีที่ เฉียบแหลมในการเปรียบเรื่องราวดังกล่าวให้เห็นภาพอย่างแยบยล กล่าวคือ ชื่อเรื่องมีนัยยะสําคัญ มีแฝงถึง มนุษย์ผู้เป็นนักท่องเที่ยวในอุทยาน ซึ่งเปรียบเป็นแขกที่เข้าไปในบ้านของคนอื่น ในคุณสมบัติของแขกก็ไม่ต่าง อะไรกับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเยือนที่อยู่อาศัยของสัตว์ ถ้ามนุษย์เป็นแขกที่ดี ไม่ล้ําเส้นไปยุ่งเรื่องส่วนตัวของ เจ้าของบ้าน ก็จะเกิดผลดีต่อแขกและเจ้าของบ้าน แต่ถ้าหากนักท่องเที่ยวมาเยือนแล้วเกิดการทําร้ายสัตว์ ก็ไม่ ต่างอะไรกับการที่ล้ําเส้นไปก้าวก่ายเจ้าบ้านจนเกิดผลเสียในที่สุด
ดังนั้นถ้าหากมนุษย์ทุกคนตระหนักถึงการกระทํากับสัตว์ที่ไม่มักง่าย อยู่กับสรรพสัตว์เหล่านี้อย่าง สันติภาพก็จะไม่มีเหตุการณ์อันน่าสลดใจเหล่านี้เกิดขึ้น ในเรื่องอาคันตุกะนี้นับว่าเป็นสารคดีอีกหนึ่งเรื่องที่น่า ยกย่อง เพราะมีความเป็นเหตุเป็นผลและก่อให้เกิดแง่คิดที่ดีที่จะให้ผู้อ่านได้พึงตระหนักและเกิดแรงขับเคลื่อน ขึ้น ขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้ดีขึ้น ปฏิบัติตนไปตามพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่พึงมี ถ้าเป็นเช่นนี้ได้ ไม่เพียงแต่ คนกับสัตว์ที่เกิดผลดีเพียงเท่านั้น แต่สังคมของเราทุกคนก็จะดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย
ดั่งข้อความเตือนใจที่ว่า...ท่านเป็นอาคันตุกะ จึงควรปฏิบัติตนอย่างอาคันตุกะผู้หนึ่งเท่านั้น