มีพระรูปมีคลิปอยู่ดูซ้ำซ้ำ เพื่อตอกย้ำว่าจงรักและภักดี:
กวีนิพนธ์สะท้อนความจงรักภักดีต่อ ร.9 ด้วยคำ ภาพ เสียงที่เรียงร้อยอย่างงดงาม
รําลึกวันที่ 13 ตุลาคม 2559 กราบถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นบทกวีนิพนธ์ของชมัยพร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจําปี 2557 ที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี และความไว้อาลัยต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 นับว่าได้นําเสนอแนวคิด การใช้คําการสร้างสรรค์ภาพ และการเรียบเรียงเสียงที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยแบ่งเป็นประเด็นนําเสนอการวิจารณ์ด้วยการร้อยเรียงตามฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11 ดังนี้
แนวคิดเทิดทูนให้ สรรค์ภาพกระจ่างตา
วิไลคําภาษา เสียงเสนาะไพเราะรมย์
แนวคิดเทิดทูนไท้: สะท้อนความจงรักภักดีและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อรัชกาลที่ 9
กวีเปิดเรื่องด้วยการระลึกถึงอดีตในวันเสด็จสวรรคตของ ร.9 ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน กวีก็ยังจดจําไม่ลืมเลือน “นานกี่ปีกี่เดือนและกี่วัน ก็ยังฝันยังไหวอยู่ไม่หาย” รวมทั้งสะท้อนพฤติกรรมของ ประชาชนทุกคนที่ร่วมไว้อาลัยแด่การสวรรคตของรัชกาลที่ 9 เช่น ร้องไห้จนน้ำตาไหลอย่างเนืองนอง “ยังจําวันสายน้ำตาที่บ่านอง” ประชาชนในประเทศร่วมใจกันสวมเสื้อสีดำไว้อาลัย “ยังจําดำทั้งเมืองได้ติดตา” ประชาชนมีจิตใจที่หม่นหมอง “ยังจำผองผู้คนที่หม่นตาม”
กวียังกล่าวถึงว่า ถ้าหากพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ “โอ้ พระองค์ ถ้าพระองค์ยังคงอยู่” ไม่ว่าประเทศไทยและประชาชนจะประสบปัญหาอะไร พระองค์ทรงพร้อมที่จะรับรู้ และทรงมีความรู้สึกเป็นทุกข์ ไปด้วย “ไหนโควิดไหนบ้านเมืองเรื่องแผ่นดิน พระภูมินทร์จะทุกข์ในพระทัยนัก” รวมทั้งพระองค์จะทรงคิดวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผ่านพ้นไปได้ โดยเฉพาะหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็น พระราชดําริของพระองค์เอง “พอเพียงคงเป็นหลักให้ยืนมั่น ขณะเศรษฐกิจทรุดสะดุดพลัน ทฤษฎีพระองค์นั้นประจักษ์ตา” นอกจากนี้ ถ้าหากประชาชนมีความรัก ความสามัคคี และมีน้ำใจ จะเป็นพลกําลังเสริมให้พระองค์ เมื่อประเทศชาติจะประสบปัญหาอะไร ก็คงจะอยู่ต่อไปได้ด้วยพระมหากษัตริย์และประชาชนร่วมใจกันแก้ไขปัญหา “หากอยู่ได้พอเหมาะเพราะความรัก ความพร้อมพรักและน้ำใจมีให้กัน”
กล่าวโดยสรุป บทกวีนี้นับว่ามีแนวคิดที่สื่อสารออกมาเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อการสวรรคตของ รัชกาลที่ 9 แสดงความจงรักภักดี รวมถึงสอดแทรกพระราชกรณียกิจบางประการที่ทำให้เรารําลึกถึงพระองค์
วิไลคําล้ำภาษา: การสรรค์งดงามเรียบง่ายและสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจน
ถึงแม้ว่าจะเป็นบทกวีนิพนธ์ที่มีเนื้อหาและแนวคิดกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งปกติแล้วการกล่าวถึง เรื่องนี้ กวีมักจะใช้ศัพท์สูงที่หลายคนไม่รู้ความหมาย แต่ในกวีนิพนธ์นี้ กวีมีความสามารถในการใช้คําที่ เรียบง่าย แต่สละสลวย และสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจน ซึ่งมีลีลาบทกวีที่เสมือนเป็นเรื่องเล่า อย่างง่าย ๆ สร้างความน่าสนใจให้แก่ผู้อ่านเป็นอย่างมาก เช่น
“รําลึกในพระมหากรุณาธิคุณ มีพระรูปมีคลิปอยู่ดูซ้ำซ้ำ
วันเก่าเก่ายังอบอุ่นยังอิ่ม เพื่อตอกย้ำว่าจงรักและภักดี”
การใช้คําว่า “พระมหากรุณาธิคุณ” และ “พระรูป” ซึ่งเป็นคําราชาศัพท์ที่สูงส่ง แต่ก็เป็นคําที่ผู้อ่าน ทราบความหมาย เหมือนเป็นคําทั่วไปคําหนึ่ง การใช้คําว่า “คลิป” ซึ่งเป็นคําทับศัพท์จากภาษาอังกฤษที่ หมายถึงภาพเคลื่อนไหวหรือวีดีโอ ก็สื่อความได้ชัดเจนอย่างกระชับคํา รวมถึงกลุ่มคําว่า “รําลึก” “อบอุ่น” “จงรัก” “ภักดี” ก็เป็นคําเรียบง่ายทั่วไปที่เน้นย้ำแนวคิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้อีกด้วย
ในบทกวีนิพนธ์นี้มีการซ้ำคําอยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะการซ้ำคําว่า “ยังจำ” หน้าบาทอยู่หลายวรรค เช่น “ยังจําวันพระสุเมรุเอนทลาย” “ยังจําเสียงเพลงทุกคําร้อง” เพื่อเน้นย้ำความหมายและความรู้สึกกับอดีตที่ผ่านมาว่า กวี “ยังจํา” ได้ เพราะ “จะนานสักแค่ไหนก็ไม่ลืม” นอกจากนี้ ยังมีการซ้ำคําว่า “ก” “นานกี่ปีก เดือนและกี่วัน” คําว่า “ไหน” “ไหนโควิดไหนบ้านเมืองเรื่องแผ่นดิน” คําว่า “โลก” “โลกทั้งโลกเปลี่ยนไป ไม่เหมือนเก่า” และคําว่า “ฟ้า” “ฟ้าทั้งฟ้าก็เห็นจนเป็นน้ำ” เพื่อเน้นความหมายของคําและบริบท โดยรอบให้เด่นชัดขึ้นได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ ยังมีการเล่นคําซ้ำเพื่อเน้นย้ำความหมาย เช่น “วันเก่าเก่ายัง อบอุ่นยังอิ่ม...” “มีพระรูปมีคลิปอยู่ดูซ้ำซ้ำ”
กล่าวโดยสรุป การใช้คําของกวีทําให้ผู้อ่านทุกเพศทุกวัย สามารถอ่านได้อย่างเข้าใจ ซาบซึ้ง และเข้าถึง อารมณ์ความรู้สึกที่กวีต้องการจะสื่อสารแก่ผู้อ่านได้ เหมือนคําของคนพูดน้อย แต่ทําให้คนฟังนิ่งงันได้ แต่บทกวีนี้อาจจะทำให้ผู้อ่านหลายคนน้ำตาไหลก็เป็นได้
สรรค์ภาพกระจ่างตา: การสร้างสรรค์จิตนภาพน่าประทับใจ
กวีสามารถเรียงร้อยถ้อยคําทําให้เกิดภาพได้อย่างชัดเจน ทั้งแสง สี เสียง ในบทแรก ๆ สามารถสื่อภาพ ของอดีตในการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 9 ที่ทําให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ จนสะเทือนอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรง
“นานกี่ปีกี่เดือนและกี่วัน ยังจําวันพระสุเมรุเอนทลาย
ยังจําดําทั้งเมืองได้ติดตา ยังจําเสียงเพลงทุกคําร้อง
ก็ยังฝันยังไหวอยู่ไม่หาย ยังจําสายน้ำตาที่บ่านอง
ยังจําฟ้าทุกฟ้ามีสีหมอง ยังจําผองผู้คนที่หม่นตาม”
บทกวีนี้แสดงภาพความทุกข์ในอดีตกับการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 9 ที่ยังตราตรึงอยู่ในใจของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น “พระสุเมรุเอนทลาย” เป็นภาพความเคลื่อนไหวที่เกินจริง “สายน้ำตาที่บ้านอง” เป็นภาพน้ำตา ของคนร้องไห้ที่มากมายจนเนืองนองไปทั่วแผ่นดิน “ดําทั้งเมืองได้ติดตา” สะท้อนภาพการสวมชุดดําของ ทุกคนในบ้านเมือง “ฟ้าทุกฟ้ามีสีหมอง” เป็นภาพเกินจริงของท้องฟ้าทุกแห่งที่มีสีหม่นหมอง “เสียงเพลง ทุกคําร้อง” ภาพของเสียงเพลงไว้อาลัยที่ยังสถิตอยู่ในหูไม่รู้หาย และ “ผองผู้คนที่หม่นตาม” เป็นภาพของ ประชาชนที่ทุกข์ตรมและหม่นหมองไปตาม ๆ กัน
โดยเฉพาะการกล่าวเกินจริงว่าวันสวรรคตเป็นเหมือนวันที่เขาพระสุเมรุถล่มทลายลง “ยังจำวัน พระสุเมรุเอนทลาย” วรรคนี้สื่อภาพของเขาพระสุเมรุที่มันโอนเอนก่อน แล้วค่อยทลายถล่มลง กวีสามารถ เรียบเรียงได้อย่างกระชับ วรรคนี้ยังสะท้อนให้เห็นการนําขนบวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทยที่มักจะเปรียบ การประสบปัญหา หรือการมีความทุกข์เหมือนเขาพระสุเมรุถล่มลง
การกล่าวเกินจริงว่า “ยังจำฟ้าทุกฟ้ามีสีหมอง” เพราะท้องฟ้าทั้งหมดอาจจะไม่ได้มีสีหมองคล้ำก็เป็นได้ แต่กวีสื่อภาพความทุกข์ของประชาชนบนแผ่นดินที่ส่งไปถึงท้องฟ้าจนหมองคล้ำไปทั่วทุกแห่งหนได้
“ถวายบังคมพระองค์พระทรงฤทธิ์ พระสถิต ณ สถานพิมานเวหา
ระฆังทุกข์แว่ววหวานกังวานนภา ฟ้าทั้งฟ้าก็เห็นจนเป็นน้ำ”
บทกวีนี้มีการใช้ภาพความขัดแย้งที่ทำให้เกิดความรู้สึกต้องจากลาและคิดถึง “ระฆังทุกข์แว่วหวาน กังวานนภา” วรรคนี้สื่อภาพความขัดแย้งของเสียงระฆังที่เป็นเสียงแห่งความทุกข์ แต่ไป “แว่วหวานกังวาน” บนท้องฟ้าจนทําให้ “ฟ้าทั้งฟ้าก็เห็นจนเป็นน้ำ” สื่อความหมายว่าบนท้องฟ้าทั้งหมดก็ร้องไห้จนเป็นน้ำ
แต่คงเป็นน้ำตาที่เปลี่ยมล้นด้วยความสุขอย่างแน่นอน เพราะบทนี้อาจจะสื่อถึงว่า การเสด็จสวรรคตของพระองค์นั้นสร้างความทุกข์ให้แก่โลกมนุษย์ แต่สร้างความยินดีปรีดาให้แก่โลกสวรรค์ เพราะพระองค์ผู้ทรงบุญญาบารมีมหาศาลได้เสด็จขึ้นมาประทับบนผืนฟ้าอันยิ่งใหญ่แห่งนี้
กล่าวโดยสรุป ภาพที่กวีสร้างขึ้น สามารถสื่อสารจินตภาพให้ผู้อ่านได้อย่างชัดเจน โดดเด่น และน่าสนใจ ด้วยภาพพจน์ต่าง ๆ ตามขนบวรรณศิลป์ของวรรณคดีไทย เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจดจําภาพที่กวีสร้างขึ้นได้ อย่างแน่นอน
เสียงเสนาะไพเราะรมย์: การผสานของเสียงและอารมณ์สะเทือนใจ
กวีสามารถสรรคํามาเรียงร้อยในแต่ละวรรคได้อย่างประณีต งดงาม และไพเราะเป็นอย่างยิ่ง ด้วยจังหวะ ของเสียงที่เน้นหนักเบา สั้นยาว และรับส่งสัมผัสอย่างลงตัว เมื่ออ่านแล้วทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจและ เกิดความคิดคล้อยตาม
การสรรคําที่มีเสียงพยัญชนะสัมผัสกันได้อย่างลื่นไหล เช่น เสียงพยัญชนะ // “ระฆังทุกข์แว่วหวาน กังวานนภา” เสียงพยัญชนะ /อ/ “วันเก่าเก่ายังอบอุ่นยังอิ่ม” รวมทั้งเสียงสัมผัสในที่มีอยู่เกือบทุกวรรค เช่น “โลกทั้งโลกเปลี่ยนไปไม่เหมือนเก่า” “เพื่อตอกย้ำว่าจงรักและภักดี”
นอกจากนี้ บางวรรคยังปรากฏว่า มีการใช้คําเกิน แต่เป็นคําเกินที่เติมเต็มไปด้วยความรู้สึกที่เด่นชัด ย้ำความหมายที่ลึกซ้ำและเป็นการลงจังหวะได้อย่างสะเทือนอารมณ์และความรู้สึก เช่น “พระสถิต ณ สถาน พิมานเวหา
กล่าวโดยสรุป บทกวีนี้มีเสียงเสนาะที่เกิดจากการสรรคํามาบรรจุลงในแต่ละวรรคได้อย่างลงจังหวะ ไพเราะ และผสานอารมณ์สะเทือนใจให้แก่ผู้อ่านได้อย่างแท้จริง
รําลึกวันที่ 13 ตุลาคม 2559 กราบถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ของชมัยพร บางคมบาง นับว่าเป็นกวีนิพนธ์สั้น ๆ เพียงไม่กี่บทที่งามอย่างง่าย ๆ ทั้งคํา ภาพ และเสียงได้เรียงร้อยกันเป็นความงามที่ชวนมอง ชวนจดจํา และสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาตาม ความรู้สึกของกวีผู้มีฝีมือเลื่องชื่อที่นําแนวคิดความจงรักภักดีต่อรัชกาลที่ 9 สถาบันพระมหากษัตริย์ และเน้นย้ำให้ประชาชนทุกคนสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม แม้ว่าเวลาจะ ผ่านไปนานแค่ไหน หรือสังคมจะแปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างไรก็ตาม แต่หัวใจต้องไม่เปลี่ยนไป เพราะเรามี
“มีพระรูปมีคลิปดูอยู่ซ้ำซ้ำ มีพระรูปคลิปดูอยู่ซ้ำซ้ำ
เพื่อตอกย้ำว่าจงรักและภักดี เพื่อตอกย้ำว่าจงรักและภักดี”
บทวิจารณ์กวีนิพนธ์โดย นายธันวา คำประสิทธิ์
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย