“ใด ใด ในโลกนี้ล้วนอนิจจัง”
ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ที่เที่ยงแท้คงอยู่อย่างจีรัง เฉกเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ที่ในไม่ช้าความชราค่อยคืบ คลานเข้ามาในชีวิต ทั้งกายภาพและจิตใจล้วนแพ้พ่าย จากเด็กหญิง เด็กชาย สู่ คุณปู่ คุณยาย ตามกาลเวลา
คุณชมัยภร บางคมบาง ได้ประพันธ์กวีนิพนธ์ ชื่อว่า “ชรากาล ที่น่ารัก” เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ตัวบทกวีนั้นได้นําเสนอมุมมองที่น่าสนใจ สร้างจินตภาพให้ผู้อ่านให้เห็นถึงความชราที่มนุษย์ ทุกคนต้องประสบพบเจอตามกาลเวลา โดยแฝงกลวิธีการประพันธ์ที่หลากหลาย จนออกมาเป็นกวีนิพนธ์อัน สมบูรณ์แบบชิ้นนี้
ผู้ประพันธ์ได้ ได้นําความชรามาเปรียบเป็นมนุษย์ (บุคคลวัต) เพื่อแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นถึงพลัง หรืออํานาจของความชราที่มีต่อคน ค่อย ๆ เปลี่ยนจากความแข็งแรงของมนุษย์เป็นความอ่อนแอ หรือ เปลี่ยนจากสติปัญญาอันเฉียบคม เป็น ความโง่งม หลงๆ ลืม ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประพันธ์ยังมีการเล่นคํา เน้น หรือ คําว่า “ยอม” อย่างได้น่าสนใจ เพื่อสนับสนุนใจความข้างต้นที่ว่า ความชรานั้นเป็นสิ่งที่มีอํานาจ เหนือมนุษย์ และมนุษย์ต้องพ่ายแพ่ให้ความชราไม่ช้าก็เร็ว ดั่ง “ขอมเป็นคนอ่อนล้าซึ่งหลังค่อม” และ “ยอม เป็นคนโง่งมบางเวลา”
ผู้วิจารณ์สามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า กลวิธีการแต่งของผู้ประพันธ์เพื่อนําเสนอใจความสําคัญนั้น ส่งผลให้เกิดจินตภาพในจินตนาการของตัวผู้อ่าน ให้เกิดความเกรงกลัวต่อความชรา ไม่อยากให้ความชรา เข้ามามีบทบาทในชีวิต เพราะทางผู้ประพันธ์นั้นได้นําเสนอมุมมองของคนชราให้เห็นว่า คนชรานั้นย่อม ป่วยง่าย มีริ้วรอย เจ็บปวด อ่อนล้า แพ้พ่ายต่อสิ่งต่าง ๆ และโง่งม ตามกาลเวลา ไม่เหมือนดังเมื่อก่อนที่มีแต่ ความสุข ความแข็งแรง
อย่างไรก็ตาม อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากการที่ผู้ประพันธ์ได้นําเสนอมุมมองที่น่าเกรงขามของความ ชรา คือผู้ประพันธ์ได้กล่าวถึงข้อดีของความชรา ที่ทําให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความจริงที่ว่า ถึงแม้ความชรา จะพรากหลายสิ่งไปจากชีวิต อาทิ ความแข็งแรง ความสวยงาม แต่ความชรานั้นได้มอบข้อคิดที่สําคัญที่สุด
ในชีวิตแก่มนุษย์ ทำให้มนุษย์ได้ทบทวนถึงเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ ที่ประสบในชีวิต รวมทั้งเข้าใจความ เป็นไปของสิ่งต่าง ๆ แยกแยะข้อผิดพลาด เรียบเรียงคุณงามความดี เพื่อสอนลูกหลานให้เป็นคนที่ดีกว่าตน คั่ง “ประสบการณ์ชีวิตสนิทแนบ ความเข้าใจอิงแอบสม่ำเสมอ” และ “จนแยกแยะความยับเยินได้หยดย้อย จนรัคร้อยความจริงได้เหมาะสม จนเรียบเรียงความเป็นไปได้เฉียบคม จนรู้จักการติ-ชมตามสมควร”
สุดท้ายนี้ผู้วิจารณ์ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ยืนยันได้ว่า กวีนิพนธ์ชิ้นนี้เป็นกวีนิพนธ์ ชั้นหนึ่งที่มีความ น่าสนใจ สมบูรณ์แบบ ผู้ประพันธ์มีการใช้กลวิธีการประพันธ์ได้อย่างสร้างสรรค์ มีการใช้บุคคลวัต เปรียบ ความชราเป็นมนุษย์ มีการเล่นคํา ส่งผลให้กวีนิพนธ์ชิ้นนี้มีน้ำเสียงที่เป็นกันเอง สนุกสนานและน่าอ่าน มี การใช้คําที่สวยงาม สัมผัสสระ สัมผัสอักษร นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ยังนําเสนอใจความสําคัญได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ไม่เพียงแต่นําเสนอถึงความน่าเกรงขามของความชรา แต่ยังนําเสนอมุมมองข้อดีของความชรา ได้อย่างแยบยล
“เธอนามว่า ชรากาล บันดาลใจ
เธอนามว่าชรากาลบันดาลจริง”
"ชรากาลค่อยคืบคลานเข้ามาในชีวิต"
บทวิจารณ์โดย ธนกร ก้อใจ
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 6