มือนั้นสีขาว : เป็นกวีนิพนธ์ที่อ่านแล้วทำให้รู้สึกกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง

มือนั้นสีขาว

 

ถึง หลานรักของย่า


               สวัสดีจ้ะหลานรักของย่า เป็นอย่างไรบ้างช่วยนี้ สบายดีหรือเปล่า? หลานไม่ได้ส่งจดหมายถึงย่านานมากแล้ว ได้ข่าวว่าหลานเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยแล้วย่ายินดีด้วยนะจ๊ะ ย่าเองก็ยุ่งนิดหน่อยกับ การทางานหน้าที่ใหม่ ในครั้งนี้ย่าจะมาตอบคาถามของหลานที่เคยถามแล้วในจดหมายฉบับก่อนหน้า จากที่หลานเคยถามถึงเรื่องวรรณกรรมที่ย่าพอจะแนะนาให้หลานได้อ่าน ย่านึกขึ้นได้มีหนึ่งเรื่องที่อยากแนะนาหลานนะจ๊ะ เผื่อหลานสนใจอยากอ่าน เรื่องต่อไปนี้ค่อนข้างเก่าหน่อย แต่เชื่อเถอะว่าหลานอ่านแล้วต้องรู้สึกเหมือนเป็นยุคสมัยเดียวกับหลานแน่นอน


              “มือนั้นสีขาว” เป็นกวีนิพนธ์ที่ย่าอ่านแล้วทาให้รู้สึกว่าตัวเองกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง หลานทราบไหมว่า มือนั้นสีขาว เป็นกวีนิพนธ์ที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือที่เรียกให้เข้าใจง่ายคือรางวัลซีไรต์ ประจาปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ผลงานจากปลายปากกาของศักดิ์สิริ มีสมสืบ เพียงรางวัลที่ได้รับพอจะทาให้หลานสนใจเพิ่มมากขึ้นไหมนะ แต่ไม่เป็นไรย่าเชื่อว่าหลังจากอ่านจดหมายฉบับนี้แล้ว หลานต้องหามามือนั้นสีขาวอ่านอย่างแน่นอน ทาความเข้าใจก่อนนะว่าย่าอาจมีการวิจารณ์ วิพากษ์ หรือสรุปเรื่องจากหนังสือในบางช่วง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนว่า มือนั้นสีขาว น่าอ่านมากเพียงใด


              จากคาโปรย “มือที่สะอาดเท่านั้น จึงทาให้โลกสะอาดได้” สะท้อนความเชื่อและความคิดของกวี และได้ขยายออกมาในรูปของบทกวีจานวนทั้งสิ้น ๓๔ บท ซึ่งเป็นบทกวีที่เป็นบทสรุปของสภาพสังคมไทยในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้เป็นอย่างดี


              ประการแรกนะจ๊ะ ที่ทาให้มือนั้นสีขาว มีความโดดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์คือรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่ถือว่าผู้ประพันธ์ได้นารูปแบบของฉันทลักษณ์โบราณมาประยุกต์รวมกับฉันทลักษณ์ที่ผู้ประพันธ์ได้คิดค้นขึ้น จนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะตัว มีการเลือกสรรคาได้เหมาะสมกับลักษณะของคาประพันธ์ และสื่อถึงอารมณ์ การเคลื่อนไหวของตัวละครได้เป็นอย่างดี มาถึงตรงนี้หลานอาจยังไม่เข้าใจว่าฉันทลักษณ์ที่ผู้ประพันธ์เลือกใช้เป็นอย่างไร ย่าจะยกตัวอย่างจาก “หมานาเกวียน” ซึ่งเป็นหนึ่งในบทกวีที่อยู่ในมือนั้น สีขาวให้ลองอ่านดูนะ “ตะขลุกตะขลักสะบักสะบอมกระมอมกระแมม เมื่อไหร่หลังคาจะโผล่จะแพลม หร็อมแหร็มราไรสักหลังสองหลัง” จะมีการเล่นเสียงหนัก – เบา สลับจังหวะกัน เสียง “ตะตึกตะตึก ตะตึกตะตึก ตะตึกตะตึก” เมื่อลองอ่านออกเสียงและแบ่งวรรคตอน จะพบว่าหลานกาลังนั่งอยู่บนเกวียนไปพร้อมกับลุงคนขับเกวียนในเรื่อง จังหวะที่เกิดจากการนาคาเดิมที่มีอยู่สองพยางค์ มาเพิ่มพยางค์เข้าไป “ขลุกขลัก” เป็น “ตะขลุกตะขลัก” “มอมแมม” เป็น “กระมอมกระแมม” เหมือนเสียงของล้อเกวียนที่กาลังหมุนไปอย่างเชื่องช้าและเป็นจังหวะ


              “ระทวยระทดสลดสละขนิษฐ์ขนาง ระเหระหนกระวนกระวายระคายระคาง จะแรมจะร้างอนงค์อนาถนิราศนิรา เพราะยลเพราะยินระบิลรหัสสนัดสนั่น” ที่ย่าต้องยกตัวอย่างบทประพันธ์ข้างต้นมานั้น เพื่อให้เห็นว่าหากพิจารณากวีนิพนธ์หมานาเกวียนในบทที่ยกตัวอย่างมากับบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะพบว่ามีการเล่นคาและส่งสัมผัสในลักษณะที่คล้ายกัน ตามแบบฉบับของกลบทตะเข็บไต่ขอนหรือเป็นลักษณะของกาพย์ฉบังที่ไม่เคร่งครัดในฉันทลักษณ์มาก นี่เพียงแค่เหตุผลเพียงประการแรกเท่านั้นนะจ๊ะที่หลานควรอ่าน มาดูกันอีกสักหน่อยเถอะว่ามือนั้นสีขาว จะมีดีซ่อนอยู่ตรงไหนอีกบ้าง

 

               ประการที่สองที่ทาให้ มือนั้นสีขาว น่าอ่านก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวของความเป็นเด็ก ที่ย่าต้องบอกเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้ประพันธ์ในนาเรื่องราวของเด็กถ่ายทอดผ่านการกระทาต่าง ๆ ที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ภายในจิตใจ ดวงตาและหัวใจของเด็ก ๆ ที่ยังไม่ถูกกิเลสเข้าครอบงา กับมุมมองของผู้ใหญ่ที่มองในเรื่องเดียวกัน แต่ให้เหตุผลและมุมมองต่างจากเด็ก ในบางเรื่องหลานอาจเคยเห็นในชีวิตประจาวัน หรือในบางเรื่องหลานอาจไม่คิดว่าแบบนี้ก็เกิดขึ้นในสังคมเราด้วยหรือ ย่ายกตัวอย่างนะ เช่น “หลับ” เป็นการนาเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนรถเมล์ที่แออัด ชายหนุ่มที่นั่งจับจองเก้าอี้แกล้งหลับหรือมองออกนอกหน้าต่างไม่สนใจกับหญิงตั้งครรภ์ หรือพระสงฆ์ที่กาลังจะขึ้นรถมา หลานคงเคยเจอบ่อยในเมืองหลวง หรือในเรื่อง “เด็กกางร่ม” ที่นาเสนอเรื่องราวของเด็ก ๆ สี่คนที่อยู่ในร่มคันเดียวกันกับแมวอีกหนึ่งตัว ท่ามกลางสายฝน ถึงแม้ทุกคนจะเปียกแต่ก็มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือกัน หลายเรื่องที่หลานได้อ่านคงทาให้หลานนึกถึงวัยเด็กตอนที่หลานเจองูในสวนหลังบ้าน แล้วหลานตกใจร้องลั่นบ้านเลย หลานคงต้องอยากอ่าน “สาวน้อยในสวน” ที่เล่าเรื่องราวของเด็กหญิงที่เดินชมความงามของดอกไม้ในสวน แต่พบกับความระลอกความเคลื่อนไหวที่เป็นทางผ่านสวนดอกไม้ จนในที่สุดก็ทราบว่าเป็นงูที่ซุ่มอยู่ในสวนั่นเอง

 

               ประการที่สามที่ย่าคิดว่ามือนั้นสีขาว มีจุดเด่นอีกจุดหนึ่งซ่อนอยู่ เป็นการแทรกข้อคิดที่ย่าเองยังต้องหันกลับมามองตัวเอง ว่าย่าเคยทาแบบที่ผู้ประพันธ์ต้องการสื่อหรือเปล่า หรือเป็นเรื่องราวในสังคมที่เราอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติ บางเรื่องอาจจะต้องอาศัยการตีความมากหน่อย แต่ย่าก็อยากให้หลานพยายามอ่านนะ เรื่อง “เปลี่ยน” เป็นเรื่องราวของเด็กชายกลุ่มหนึ่งที่ใช้ปืนที่ทาจากไม้เล่นกันตามประสาเด็ก แต่เด็กชายที่เป็นคนพี่กลับไปฟ้องพ่อเมื่อถูกแกล้ง ผู้เป็นพ่อไม่เข้าใจก็ไปทาร้ายเด็ก ทาให้แนวคิดใน การมองโลกเปลี่ยนไป จากชอบกลายเป็นผิด หรือในเรื่อง “กล” ที่สะท้อนให้เห็นถึงการถูกครอบงาจากวัตถุนิยม การเล่นกลของคณะงูเห่า การให้เช่าวัตถุมงคล ที่เด็กกลับมาอวดแม่ที่บ้านว่าเห็นเขาปล่อยงูอย่างตื่นเต้น ส่วนแม่ก็อวดปลัดขิกอันใหม่ที่เพิ่งบูชามา หรือ “นางไม้” ที่เป็นการสะท้อนให้เห็นความข่มขืนของหญิงสาวที่ไม่สามารถเลือกทางเดินชีวิตที่ดีกว่าได้ จึงต้องหันมาเป็นโสเภณี ที่ผู้ประพันธ์ใช้การเปรียบเทียบต้นไม้ในป่ากับการเปลี่ยนสภาพของป่าไม้ หลายครั้งหลายคงเคยตัดสินคนอื่นจากการมองเพียงภายนอกหรือจากการที่รู้จักกันเพียงชั่วครู หลานจาเป็นต้องอ่าน “ด่า” ที่พระสงฆ์ขับรถจักรยานยนต์อย่างรวดเร็วด้วยตัวเอง เพื่อให้กลับไปทันดูใจแม่ที่ป่วย กลับถูกชาวบ้านข้างทางด่าตามหลัง และในเรื่อง “หาบน้า” ที่ได้สอนเราในเรื่องของการรู้จักผ่อนปรน เบาแรงตามความเหมาะสม หรือว่าเป็นการวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จึงจะสามารถทากิจวัตรหรือภารกิจที่มุ่งหมายได้ หลานเรียนตอนนี้คงจะเข้าใจได้ว่าในสังคมเรานั้น การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าสามารถทาได้เราก็อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

                ย่าบ่นมาซะยืดยาว เป็นอย่างไรบ้างจ๊ะสาหรับมือนั้นสีขาวที่ย่าแนะนาให้หลานอ่าน คงไม่ยากไปใช่ไหมที่หลานจะเริ่มทาความรู้จักกันโลกใบใหม่ในหนังสือเล่มใหม่ ที่พร้อมพาหลานโลดแล่นไปสู่จินตนาการและความทรงจาที่ได้ตระหนักรู้ ย่าขอแนะเป็นแนวไว้หน่อยนะว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะยากหน่อย ภาษาที่ใช้อาจเป็นยุคเดียวกันกับสมัยที่ย่าคุ้นเคยดี เนื้อหาในบางบทอาจจะดูห่างไกลจากตัวหลาน แต่เมื่อหลานอ่านเสร็จหลานจะได้พบมุมมองใหม่ที่ส่งผลสาคัญต่อชีวิตของหลานไปอีกหลายปีเลยทีเดียว


               สุดท้ายนี้ย่าขอให้หลานสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมหวังในสิ่งที่หวังทุกประการ ตั้งใจเรียนนะจ๊ะ เมื่อไหร่ที่คิดถึงย่าก็ส่งจดหมายมาได้ตลอด ย่าเองก็จะพยายามเขียนถึงหลานบ่อย ๆ ไว้หลานปิดเทอมคราวนี้ย่าจะไปหานะ โชคดีนะหลานรักของย่า

 

                                                                                                                                                                                 ด้วยรักและห่วงใย
                                                                                                                                                                                 ย่า

 

บทวิจารณ์โดย นายปณิธาน หินผา

 

Writer

The Reader by Praphansarn