ความน่าจะเป็น : ความเปลี่ยนแปลง หรือ ความน่าจะเป็น ในมุมมองย้อนกลับของชีวิต

ความน่าจะเป็น

 

               “ฉันจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง” ประโยคนี้ปรากฏอยู่ทั่งต้นเรื่องและท้ายของ เรื่องสั้น ความน่าจะเป็น เรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ประจาปี พ.ศ.2545 ประโยคนี้ดูเหมือนว่าจะยืนยันความคิดของตนเองไว้อย่างมั่นคง แต่ชื่อเรื่องว่า “ความน่าจะเป็น” กลับเป็นคาที่แสดงถึงความไม่แน่นอน ความโอนไหวของทุกสรรพสิ่ง ซึ่งสุดท้ายแล้ว ความมั่นคงแน่แท้ หรือความเปลี่ยนแปรเป็นไป คือคาตอบสุดท้านของทุกสิ่ง เป็นมุมมองหนึ่งที่น่าคิดของเรื่องสั้น ที่มีทั้งความขบขันและปัญหาชวนคิดของ ปราบดา หยุ่น


                ความน่าจะเป็น เรื่องสั้นความยาว 18 หน้า ที่ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้ดาเนินเรื่อง ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการเล่าเรื่องชีวิตของตัวเองตั้งแต่เด็กจนถึงช่วงวัยทางาน การดาเนินเรื่องเช่นนี้ทาให้ผู้อ่านได้มองเห็นมุมมอง ของคนในช่วงวัยที่ต่างกัน การเล่าเรื่องตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน อีกทั้งแฝงความขบขันทา


ความคิดเอาไว้ ซึ่งอาจทาให้หลายคนเผลอยิ้มออกมา แต่กระนั้นหากอ่านอย่างวิเคราะห์พิจารณาอย่างละเอียด และขบคิดถึงสิ่งที่สะท้อนออกมาจากเรื่องราว เรื่องสั้นที่มีชื่อว่า “ความน่าจะเป็น” เรื่องนี้ อาจทาให้เกิดความรู้สึกหนักอึ้งขึ้นในหัวใจ เพราะสิ่งที่แฝงอยู่ในเรื่องถ่วงน้าหนักเสียเหลือเกิน


                แบบใดถึงจะเรียกว่า เป็นคนดี หนึ่งปมขบคิดของเรื่องนี้ ผู้เขียนใช้คาคมที่ว่า “หากคุณอยากเป็นคนดี แสดงว่าคุณไม่ใช่คนดี” เป็นประเด็นชักนาสู้การตั้งคาถามต่อนิยามของตัวเอง บางคนเห็นด้วยกับข้อความนี้ แต่บากคนอาจเห็นต่าง ในเชิงตรรกศาสตร์อาจแปลงประโยคนี้ได้ว่า “คนดีทุกคนไม่อยากเป็นคนดี คุณอยากเป็นคนดี ดังนั้นคุณไม่ใช่คนดี” ประโยคนี้ถือว่าสมเหตุสมผลในเชิงตรรกศาสตร์ แต่หากมองถึงความน่าเชื่อถือของประโยค จัดว่าเป็นประโยคที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะในด้านเนื้อหาถือเป็นการเหมารวมเอาว่า คนดีคือคนที่ไม่อยากเป็นคนดี ซึ่งอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ในตัวบทตัวเอกซึ่งยังเป็นเด็ก ถูกอกถูกใจประโยคนี้อย่างมาก และได้บอกกับตัวเองว่า “ฉันต้องไม่อยากเป็นคนดี แต่ต้องประพฤติตนให้คนอื่นประจักษ์ว่าฉันเป็นคนดี” ผู้เขียนได้บอกกับเราว่า สิ่งที่คิด ไม่สาคัญเท่าสิ่งที่ทำ


               มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เมื่อเกิดมาบนโลกใบนี้ เราทุกคนย่อมหนีไม่พ้น “การเข้าสังคม” ผ่านเรื่องสั้นความน่าจะเป็น ผู้เขียนได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการตีกรอบทางสังคมให้เด็ก ผ่านคาพูดของแม่ที่มีต่อลูกว่า


              “ พามาอยู่ในโลกแล้ว ยังสั่งโน่นสั่งนี่ตามอาเภอใจ บังคับให้เข้าโรงเรียน บังคับให้กินผัก บังคับให้นอน พยายามวางโครงสร้างชีวิตให้ ลูกควรประกอบอาชีพนี้ ลูกควรแต่งงานกับคนแบบนั้น ลูกต้องไหว้คนนั้น นับถือคนนี้ เรียกคนนั้นว่าลุง เรียกคนนี้ว่าป้า”


               นี้คือสิ่งสะท้อนค่านิยมการตีกรอบในสังคม สิ่งที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมา คงทาให้หลายคนต้องกลับไปทบทวนตัวเองเสียใหม่ โดยส่วนตัว ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบการตีกรอบทางสังคม โดยกาหนดให้เด็กต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ ผมมองว่า ทาแบบนี้ไม่ต่างจากการปฏิบัติต่อเด็กเหมือนกับเป็นหมากตัวหนึ่ง ผมจึงรู้สึกขอบคุณผู้เขียน ที่ถ่ายทอดเรื่องนี้ออกมาให้คนได้ตระหนัก คนแต่ละรุ่นย่อมแตกต่าง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน คนเราย่อมต้องเปลี่ยน ดังที่ครั้งหนึ่ง นักชีววิทยาชื่อก้องโลกอย่าง ชาร์ล ดาร์วิน ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่ใช่ผู้แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด ที่จะอยู่รอด หากแต่เป็นผู้ที่ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด”

               อีกตัวละครที่น่าสนใจในเรื่อง คือ ปู่และย่าของตัวเอก ถึงแม้เป็นตัวละครที่มิได้มีชีวิตอยู่ในระหว่างการดาเนินเรื่อง แต่ถูกใช้เป็นตัวละครที่เชื่อมโยงไปสู่การเสียดสีสังคมในเรื่องหนึ่งคือ ความไม่เท่าเทียมระหว่างชายและหญิง ได้อย่างแนบเนียน


              “พ่อเล่าให้ฟังว่าปู่เป็นทนาย...ย่าต้องเป็นเมียทนาย ซึ่งเมื่อขึ้นชื่อว่าเมียแล้ว จะเป็นเมียหมอ เมียครู เมียภารโรง ย่อมไม่แตกต่างกันมาก แม้กระทั่งเมียงู ก็เป็นมนุษย์ปรนนิบัติผัวอยู่วันยังค่า งูกลับมาบ้าน เหนื่อยหรือไม่เหนื่อยก็ต้องมีข้าวปลาอาหารเพียบพร้อมอยู่บนโต๊ะ งูเมื่อยก็ต้องมีคนนวดให้ งูหิวน้าก็ไม่ต้องเลื้อยไปหาเองตามบ่ตามบึง”


               แม้ทุกวันนี้จะมีการส่งเสริมความเท่าเทียมกันระว่างชายหญิงมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้เท่าใดนัก โดยเยาวชนมักถูกกระทารุนแรงทางเพศจากแฟนของส่วนเอง ส่วนผู้หญิงมักจะถูกกระทาความรุนแรงจากสามี มองแง่คิดนี้ผ่านเรื่องสั้น ผู้เขียนได้สะท้อนถึงความคิดแนวคิดสมัยใหม่ที่ต่อต้านความไม่เท่าเทียมนี้


              “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” สานวนนี้หมายถึง ประพฤติตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน ผู้เขียนได้นามาสอดแทรกในเรื่องสั้นเอาไว้ โดยได้ใช้เพื่อการเสียดสีสังคมไทย ที่มักชอบทาตามคนส่วนใหญ่ ใช้เส้นสายเพื่อความก้าวหน้าของตัวเอง จนสังคมไทยกลายเป็นสังคมอุปถัมภ์ที่ความก้าวหน้าขึ้นกับว่าเป็นเด็กใคร


               ในชีวิตการทางานของตัวเอก ผู้เขียนเล่าเรื่องในช่วงชีวิตการทางานเป็นไปอย่างราบรื่น จบไปได้งานทาทันที ผลงานมีผู้ยอมรับ ช่วงชีวิตที่ง่ายดายนี้ มีจุดที่น่าสนใจมากอยู่ประการหนึ่งคือ มุมมองและจิตใจที่เป็นผู้ใหญ่ของตัวเอก ทั้งความภูมิใจในเครื่องแต่งกายราคาแพง ความเย่อหยิ่งในการเป็นรุ่นพี่ ความคิดอ่านสร้างผลงานโฆษณาที่เน้นให้ติดหูและขายได้เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ทาให้ตัวเอกดูเป็นคนลุ่มหลงและจิตใจแคบคับ และอาจทาให้หลายคนไม่ชอบนิสัยของตัวเอก แต่หากเราลองใช้ตัวเอก เป็นกระจกเงาสะท้อนตัวเอง เราคงได้คิดทบทวนตัวเองมากขึ้น


                สิ่งที่ผู้เขียนได้แสดงให้เราเห็นผ่านตัวเอกในวัยทางาน คือความไม่จริงใจของคน “อย่าเชื่อคาที่ออกจากปากของฉันจนเกินไป มันไม่ตรงกับใจจริงๆ จะเอาไม้บรรทัดยี่ห้อไหนมาวัดก็ไม่ตรง” ผู้เขียนได้สร้างตัวเอกให้มีกิเลส ความโลภความหลงแบบคนทั่วไป ผลงานโฆษณาลูกอมที่ตัวเอกภูมิใจ ก็สร้างออกมาโดยคานึงเพียงเพื่อให้ขายสินค้าได้เท่านั้น ตัวเอกในโฆษณาที่เป็นแดร็กคูล่าผู้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ สามารถสร้างความขบขันได้ดี เรื่องราวของท่านเคานต์ผู้นี้ ทาให้ผมอมยิ้มด้วยความหรรษา เรื่องราวที่ดูเหมือนจะไร้สาระเรื่องนี้ เมื่อได้ลองวิเคราะห์พิจารณาดูให้ดี ผมคิดว่าผู้เขียนได้ซ่อนข้อคิดที่เกี่ยวกับกรอบความคิดและสังคมเอาไว้ การเปลี่ยนศาสนาของท่านเคานต์ เปรียบเหมือนการเปลี่ยนเงื่อนไขทางสังคมของตัวเอง ทาให้นักปราบผีไม่สามารถทาอะไรเขาได้ และดูเหมือนนักปราบผีเอง ก็ยอมรับเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปนี้ด้วย จึงทาให้นักปราบผีผู้กล้า พ่ายแพ้ต่อท่านเคานต์ไป


               ในวัยเด็ก เราล้วนได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว การที่เราได้รับการขัดเกลาอย่างไรต่อครอบครัว มักส่งผลอย่างยิ่งต่อความคิดอ่านของเรา อีกตัวละครที่ส่งผลต่อตัวเองหลายด้าน คือตากับยายโดยจะเห็นได้จากผลงานโฆษณาที่ตัวเองได้กล่าวว่าตัวเองภูมิใจอย่างมาก ก็เป็นหนึ่งในความทรงจาใน วัยเด็กที่ได้รับจากตาและยาย ในช่วงท้ายของเรื่อง ตัวละครเอกเล่าถึงตัวเองที่ขับรถกลับบ้านไปหายาย พร้อมกับนาผลงานที่ตัวเองภูมิใจกลับไปอวดยาย แต่ดูเหมือนความสนใจของยายจะไม่ได้อยู่ที่ผลงานที่เขานากลับไป ความสนใจของยายอยู่ที่ตัวเขา อาจเป็นเพราะวัยที่แตกต่าง ขณะที่เขาให้ความสาคัญกับชื่อเสียงเงินทอง แต่ยายกลับมองเพียงตัวเขา หลานที่ยายเลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก เวลาที่ผ่านไปนานไม่ได้ทาให้ความรักของยายที่มีต่อเขาลดลง ไม่แน่ว่าวันเวลาที่อยู่ห่าง อาจทาให้ความคิดถึงเบ่งบาน และบ่มเพาะความรักของยายให้มากขึ้นทึกวัน


               หากพูดถึงคาว่า “ความน่าจะเป็น” ในทางคณิตศาสตร์ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นจานวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด แต่ความน่าจะเป็นในเรื่องสั้นความน่าจะเป็นนี้ ผมมองว่าผู้เขียนได้ให้นิยามความน่าจะเป็น คือ “ความไม่จีรัง” ผู้เขียนได้เริ่มเรื่องด้วยข้อความคมชัดบนกระดาษว่า “ฉันจะไม่เปลี่ยนแปลง” แต่เปลี่ยนแปลงจากอะไรนั้น ตัวเอกกลับจาไม่ได้ เป็นหนึ่งปมที่ชวนให้น่าสงสัยของเรื่องนี้ และจนสุดท้าย ตัวเอกก็ยังนึกไม่ออกว่าเรื่องที่ตัวละครเอกบอกว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงคืออะไร ตลอดทั้งเรื่อง เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ทั้งที่เป็นความเปลี่ยนแปลงของตัวละครเอกเอง และความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆรอบตัวเขา เรื่องสั้นของปราบดา หยุ่น เรื่องนี้

 

บทวิจารณ์โดย นายวิทยา  สิงห์สนั่น

Writer

The Reader by Praphansarn