ดอกไผ่ : วาทกรรมคำอันตราย : โดยกันต์ศักดิ์ ทองสอาด

ดอกไผ่ : วาทกรรมคำอันตราย

ดอกไผ่ : วาทกรรมคำอันตราย

      นักเขียนที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งในเนื้อหาการเรียนวิชาวรรณกรรมไทยร่วมสมัย คือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์ และเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและ ประสบการณ์ตรงค้านการเมือง อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ ๑๔ เดือน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖

 

      การที่เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคยมีประสบการณ์ทางคั่านการเมืองมาก่อน ผลงานแต่ละชิ้นย่อมมีการสอดแทรกเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับการเมืองลงไปด้วย หากใครอยากศึกษาเหตุการณ์ทางการเมือง ที่มีการเล่าเรื่องอย่างมีวรรณศิลป์และไม่น่าเบื่อ ผลงานของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

 

     "ดอกไผ่" เป็นเรื่องสั้นที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมหลายค้านภายในเรื่องเดียว ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการใช้คำทางการเมือง อย่างคำว่า "คอมมินิสต์" ดังข้อความ "ตอนนั้นเอ็งยังเล็กมาก ไม่รู้อะไรหรอก... มันว่าข้เป็นลูกน้องนักศึกา แล้วพวกนักศึกษาน่ะเป็น พวกคอมมิวนิสต์" (น. 2)

 

     คำว่า "คอมมิวนิสต์"ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ มีความหมายว่าระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมที่มีอุคมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และ ให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่างเสมอภาคกันทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็นผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์

 

     หากอ่านเพียงสิ่งที่ให้ความหมายมาข้างต้น คำว่า "คอมมิวนิสต์" เป็นคำที่มีความหมายไม่ได้เลวร้ายอะไร ขังแสดงถึงความเท่าเทียมทางสังคม ในแง่ของการกระจายรายได้ได้อีกด้วย แต่ความหมายที่สะท้อนออกมาจากภายในเรื่อง มีความแตกต่างจากการให้ความหมาขของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ เรียกได้ว่ามีความหมายคนละขั้วก็ว่าได้ ตัวอย่างข้อความในเรื่อง "มันว่าประวัติข้าไม่ดี...ทางตำรวจเขาเพิ่งแจ้งมา" "มันว่าเคยพาชาวบ้านไปร้องทุกข์ตอนน้ำท่วมใหญ่ หลายปีก่อน"

 

     "ตอนนั้นเอ็งยังเล็กมาก ไม่รู้อะไรหรอก... มันว่าข้าเป็นลูกน้องนักศึกษา แล้วพวกนักศึกษาน่ะเป็นพวกคอมมิวนิสต์""ข้าไม่รู้เรื่องอะไรทั้งนั้นแหละ รู้อย่างเดียวว่าปีนั้นนาล่มกันทั้งหมู่บ้าน จะอดดายอยู่แล้ว" (น.2)

 

     จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าคำว่า "คอมมิวนิสต์" นั้นเป็นคำที่ให้ความหมายไปในทางที่ไม่ดีอาจด้วยเป็นภาพจำของคนในสังคมว่า คอมมิวนิสต์เป็นพวกต่อต้นรัฐบาล ก่อความวุ่นวาย เป็นกบฏต่อบ้านเมือง กล่าวอย่างเข้าใจง่ายคือ "คนไม่ดี"

 

      เหตุการณ์ภายในเรื่องที่ว่ามีการประทั่วงของตัวละคร สามารถพบเห็นได้ในสังคมไทย ในช่วงที่มืการชุมนุมประทั่วงมีหลายช่วงอายุวัย แต่พบวัยนักเรียนนักศึกษาก่อนข้างมาก อาจเนื่องด้วยเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดไม่ตรงกับรัฐบาล หรือปัญหาด่ง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ที่ไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดภายในเรื่องหรือเกิดขึ้นในชีวิตจริงของสังคมของเรา ล้วนแต่มีการตอบกลับเช่นเดียวกันจากคนในสังคมบางส่วนว่าการ ไปชุมนุมเป็น "พวกล้มเจ้า" "พวกสร้างความวุ่นวาย" "พวกชังชาติ" และมีกระแสว่าการที่ไปร่วมชุมนุม เมื่อไปสมัครงานจะไม่มีที่ไหนรับเข้าทำงาน อาจด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นคนที่ก่อความวุ่นวายในสังคมเมื่อรับทำงานแล้วอาจจะมีปัญหาได้

 

     "คอมมิวนิสต์" มีการใช้อย่างแพร่หลายในอดีต เป็นคำที่สามารถใช้ทำร้ายคู่แข่งได้ เพราะมีความสำคัญทางการเมืองในแง่ลบ ปัจุบันยังพอมีให้เห็นบ้าง จากข่าวสารการหลบหนีของบุคคลที่ถูกกว่าว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" ที่หลบหนีไปอยู่ด่างประเทศ บางคนเป็นคนที่เรียกร้องสิทธิและเรื่องต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับ แต่การกระทำของเขาอาจจะทำให้ความมั่นคงของใครคน ใดคนหนึ่ง หรือกนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสั่นคลอน จึงถูกขัดคำว่า "คอมมิวบิสต์" ให้ เป็นการกำจัดอย่างง่ายดาย

 

      อดีตจนถึงปัจจุบันมีการ ใช้คำว่า "คอมมิวนิสต์" เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่เมื่อพิจารณาจากอะไรหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นในสังคมของเรา "คอมมิวนิสต์" เหมือนเป็นวาทกรรมอย่างหนึ่ง คนที่ถูกกล่าวว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" ไม่ใช่คนที่ไม่ดีเสมอไป อาจจะเป็นคนที่ถูกกล่าวหา ทั้งที่ไม่มีเจตนาที่จะก่อความวุ่นวาย เพียงแค่ต้องการรียกร้องสิทธิของตนเท่านั้น การใช้คำว่า "คอมมิวนิสต์" กับใครคนใดคนหนึ่ง ถือว่ามีความอันตราชต่อตัวผู้ถูกกล่าวหาสูงมาก เพราะเป็นคำที่ตราหน้ำบุคคลว่าเป็นคนไม่ดี และส่งผลกระทบต่อบุคคลเหล่านั้นอย่างมาก บางคนอาจถูกทำร้าย บางคนต้องหนีไปต่างประเทศ บางคนหายสาบสูญ คังนั้นการใช้คำว่า "คอมมิวนิสต์" เป็นเหมือนวาทกรรมที่มีความอันตรายไม่ต่างจากอาวุธที่มีกำลังทำลายล้างสูง

 

บทวิจารณ์โดยกันต์ศักดิ์ ทองสอาด

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ