ภาพสะท้อนชีวิตของคนหลังเขาผ่านสารคดีเรื่องหญิงสาวกับลูกนกขุนทอง : บทวิจารณ์โดยไซนับ สะแลแม โครงการ "อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์" ปีที่ 9

ภาพสะท้อนชีวิตของคนหลังเขาผ่านสารคดีเรื่องหญิงสาวกับลูกนกขุนทอง

ภาพสะท้อนชีวิตของคนหลังเขาผ่านสารคดีเรื่องหญิงสาวกับลูกนกขุนทอง

      เมื่อพูดถึงมนุษย์จะนึกได้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือพึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกัน สังคมมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากการรวมกลุ่มของกลุ่มชนหลายๆชาติพันธุ์มาอาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกัน  ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือชนบท ชายขอบหรือบนเขา สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของมนุษย์ที่แตกต่างกันไป การดำเนินชีวิตที่แตกต่างและหลากหลายนั้น นำมาซึ่งการดำรงอยู่ของกลุ่มแต่ละชาติพันธุ์ในปัจจุบัน

      เรื่องหญิงสาวกับลูกนกขุนทองเป็นสารคดีที่พูดถึงชีวิตของสามีภรรยาคู่หนึ่งที่อาศัยอยู่กับชาวม้ง ซึ่งทั้งคู่ได้อาศัยอยู่ที่นั่นนานนับหลายปี อาจจะนับพวกเขาเป็นชาวม้งเลยว่าได้ ซึ่งทั้งคู่ทำอาชีพเกษตรกร โดยพวกเขามีไร่ผักไว้ปลูกมะเขือเทศ มะเขือยาว และกระเจี๊ยบไว้ใกล้ๆบ้าน  สามีภรรยาคู่น้ีครองรักกันหลายปีผ่านสุข ร่วมทุกข์ด้วยกันมานาน แต่ไม่มีทายาทมาสืบทอด เมื่ออยู่วันหนึ่งเขาได้อยู่กับธรรมชาติ บรรยากาศที่เงียบสงบ ห่างไกลจากผู้คน เขาครุ่นคิดและนึกขึ้นได้ว่าอยากมีสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน เวลาต่อมาเขาได้ลองเลี้ยงเต่าที่อยู่ แถวภูร่องกล้า ทางภาษาม้งเรียกว่าปูลู ซึ่งเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ตามลำห้วยภูห้วยภูเขา แต่เลี้ยงได้ไม่นานเขาก็คืน เจ้าของกลับไป ต่อมาเขาได้เลี้ยงเหี้ยลายกลอนเหลืองสลับดำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความเชื่องและเป็นมิตร แต่แล้วก็ เลี้ยงได้ไม่นานเช่นกัน สุดท้ายก็ต้องยกให้คนอื่น แต่แล้วเขาก็ได้พบกับลูกนกขุนทองและได้ไปเสนอต่อผู้เป็น ภรรยา ทำให้ทั้งคู่รับมันเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว ด้วยนิสัยของมันที่มีความเชื่องและขี้อ้อนเหมือนเด็กเล็ก แต่แล้วเมื่อมันเจริญเติบโตขึ้นจากลูกนกจนสามารถบินได้ มันก็ถูกสามีภรรยาคู่นี้ขริบที่ปีกเพื่อไม่อยากให้มัน บินจากไป ถึงกระนั้นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็ได้เกิดขึ้นเมื่อลูกนกขุนทองได้บินจากไปและหายไป เมื่อกลับมา อีกครั้งก็อยู่ในสภาพที่ใกล้จะสิ้นลมหายใจ จนสุดท้ายก็ได้หมดลมหายใจอยู่ในอ้อมอกของเธอผู้ที่เป็นภรรยา หรือแม่ของลูกนกขุนทอง การจากมันของมันนำมาซึ่งความทรงจำและบทเรียนแก่สามีภรรยาคู่น้ี  สารคดีเรื่องหญิงสาวกับลูกนกขุนทองสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวม้งที่อาศัยอยู่ตามภูเขาอยู่ตาม ธรรมชาติ ห่างไกลจากเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ห่างไกลจากความเจริญ ทำงานหนักอยู่แต่ในไร่ ทำให้พวก เขาขาดการติดต่อสื่อสารจากภายนอก ซึ่งในอดีตคนกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นคนหลังเขาที่ไม่รู้ความเป็นไปของบ้านเมือง เห็นได้จากประโยคที่ว่า “เราช่วยกันพลิกไร่เก่าให้กลายเป็นแปลงมะเขือยาวกับมะเขือเทศ ลง กระเจี๊ยบไว้หัวร่องเผื่อทำแยมป่าต่างของหวาน” จากประโยคดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าชาวม้งนั้นจะทำอาชีพ เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำงานไร่และทำสวน ซึ่งพวกเขาจะใช้แรงในการทำอาชีพนี้อย่างหนักมาก และ ที่เห็นได้เด่นชัดคือ พวกเขาคลุกคลีอยู่กับธรรมชาติตลอดเวลา ทำให้มีการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ ความ เชื่อเกี่ยวกับภูตผีปีศาจต่างๆ และประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ก็จะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ  นอกจากนี้การดำรงชีวิตของชาวม้งจะเหมือนมนุษย์ในอดีตที่หาของกินจากป่า ล่าสัตว์เป็นอาหาร ไม่ รู้จัก เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เห็นได้จากข้อความที่ว่า “เมื่อผมสร่างจากไข้เธอมักจะออกหาของกินตาม หมู่บ้านคนม้งเพื่อบำรุงผมไว้ให้มีแรงป่วยครั้งต่อไป แต่อาหารดีๆ หายากพอกับหารักแท้ บางที่เธอได้ไก่ไข่มา เพียงสามฟอง และหลายครั้งก็มีเพียงเห็ดหูหนูที่เธอเดินเก็มเอาตามรายทาง” หรือ “ครั้งหนึ่งที่เธอกลับมา พร้อมด้วยสีหนาแววตาตื่นเต้นกว่าทุกวัน มือหิ้วห่อใบต่อขนาดใหญ่มาด้วย พอแก้ออกดูก็เห็นว่ามันคือกระจง” จึงแสดงให้เห็นว่าคนม้งนั้นยังไม่ได้รับการเข้าถึงจากภายนอก ทำให้พวกเขาต้องอาศัยเหมือนกับคนในอดีตที่ ต้องเข้าป่าหาอาหาร ออกไปล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารใช้รับประทานประทังชีวิต ขาดการเข้าถึงทางเทคโนโลยี ขาดการติดต่อสื่อสาร จึงทำให้พวกเขาไม่ทันความก้าวหน้าของโลก

      หากพิจารณาภายในเรื่องจะพบว่าผู้เขียนนอกจากจะเกริ่นถึงความสวยงามของธรรมชาติแล้ว ยังพูด ถึงปัญหาของธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่อต้องมาใช้ชีวิตอยู่ในป่าอย่าง ไข้ป่า ซึ่งสามารถเรียกอีก ชื่อหนึ่งว่ามาลาเรีย เป็นโรคที่เกิดจากการติดเอโปรโตซัวในกลุ่มพลาสโมเดียมที่มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็น พาหนะนำโรคไข้มาลาเรียสู่คนจากการเข้าป่าและถูกยุงกัดจนทำให้มีไข้สูง และก่อให้เกิดอาการรุนแรงอาจถึง แก่ชีวิตได้ ดังนั้นไข้ป่าหรือมาลาเรียจึงถือเป็นภัยร้ายแก่คนม้ง “ไข้ป่าครอบครองเลือดเนื้อของผมอยู่เกือบ ตลอดปี มันเป็นปีศาจร้ายที่ตรงต่อเวลาที่สุด” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของไข้ป่ามาลาเรียที่มีความ ทรมานจนไม่อาจที่จะทนได้ ราวกับเอาความทุกข์ทุกอย่างมาไว้ที่ตัวเขาคนเดียวจนไม่สามารถแบกรับมันไว้  นอกจากไข้ป่าที่เป็นความทุกข์ของชาวม้งที่ต้องพบเจอแล้ว ความเหงาก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ต้องพบ เจออีกเช่นกัน เพราะว่าการที่สามีภรรยาใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติมานาน ขาดการติดต่อสื่อจากผู้คน ความเหงาก็ จะค่อยๆ แทรกซึมเข้ามาในจิตใต้สำนึก จนสุดท้ายทั้งคู่ก็ต้องหาสิ่งที่สามารถกำจัดความเหงานั้นหายไป “ชีวิต ป่ามีความสงัดสุขแต่ก็แฝงไปด้วยความรันทดบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องเป็นความทุกข์ มันเหมือนกับการที่เรานั่ง อยู่คนเดียวในสวนสาธารระ ครุ่นคิดถึงอะไรสักอย่างพอให้น้ำตาคลอ ไม่ต้องการคำทักทายจากผู้คนที่ผ่านไป ผ่านมาแต่ก็อยากให้มีนกสักตัวมาเกาะกิ่งไม้ใกล้ๆ ด้วยความรู้สึกทำนองนี้ผมจึงอยากมีสัตว์ไว้เป็นเพื่อน เอาไว้ เป็นสีสันของบ้าน เป็นเพื่อนเดินทาง และเป็นลูกสมมุติของเราสองคน” จากเนื้อเรื่องผู้เขียนได้นำเสนอตัว ละครให้หายจากความเหงาด้วยการเพิ่มตัวละครขึ้นมาอีกหนึ่งชีวิต คือ ลูกนกขุนทอง โดยลูกนกขุนทอง เปรียบเสมือนเด็กแรกเกิดที่รอการดูแล อบรมสั่งสอนจากผู้ที่เป็นผู้ปกครอง และเป็นความสุขให้แก่ผู้เป็นพ่อ เป็นแม่ ดังนั้นลูกนกขุนทองจึงเป็นอีกหนึ่งความสุขที่มาสร้างสีสันให้กับสามีภรรยา ด้วยนิสัยที่ขี้อ้อนเหมือนเด็ก พวกเขาทั้งสองจึงรับเป็นลูกของตัวเอง

          การที่มนุษย์ต้องการสัตว์เลี้ยงมาเป็นเพื่อนหรือมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน เพราะว่า สัตว์เลี้ยงสามารถที่จะ เยียวยาชีวิตของมนุษย์ได้ แม้มันเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถพูดได้แต่การกระทำของมันสามารถที่จะทำให้มนุษย์มี ความสุข ยิ้มได้เวลาที่พบเจอความทุกข์ ดังนั้นสัตว์เลี้ยงจึงเป็นยารักษาโรคหนึ่งที่ช่วยบำบัดให้มนุษย์มีความสุข ขึ้นมาได้

          และหากพิจารณาจะเห็นได้ว่าผู้เขียนได้นำเสนอข้อขัดแย้งจากเหตุการณ์ที่ตอนแรกผู้เขียนได้นำเสนอ ความสวยงามของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์เลี้ยงที่สามีภรรยารับลูกนกขุนทองเป็นสมาชิกใหม่ของ ครอบครัว แต่แล้วผู้เขียนก็ได้ผูกปมขึ้นมาใหม่เมื่อสามีภรรยาได้ขริบปีกนกขุนทองให้สั้นจนไม่สามีบินได้ ด้วย ความรักความหวงที่มีต่อลูกนกขุนทองจึงไม่อยากให้บินจากไป แต่ถึงกระนั้นแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ลูกนกขุนทองได้บินจากไป แล้วกลับมาอีกคร้ังด้วยการสิ้นลมหายใจอยู่ในอ้อมอกผู้เป็นแม่

          นอกจากนี้ผู้เขียนได้สะท้อนให้เห็นถึงความสวยงามของความรักจากความรักของสามีภรรยา โดยทั้งคู่ นั้นเป็นสามีภรรยาทีค่ ู่ครองกันมายาวนาน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในยามทุกข์และสุขก็อยู่เคียงข้างกัน เห็นได้ จากที่พวกเขาทั้งคู่ช่วยกันทำงานด้วยกัน แบ่งเบาภาระหน้าที่ให้เท่าๆ กัน “เราช่วยกันพลิกไร่เก่าให้กลายเป็น แปลงมะเขือยาวกับมะเขือเทศ ลงกระเจี๊ยบไว้หัวร่องเผื่อทำแยมป่าต่างของหวาน ขณะที่ผมผ่าฟืน เธอนั่งสาน กะทอ และเมื่อผมซอยยาสูบก็มักเห็เธอซนฟืนเคี่ยวชาป่าไว้ให้ดับกะหาย” หรือ ยามที่เขาป่วยผู้ที่เป็นภรรยาก็ จะค่อยดูแลหายารักษาและหาอาหารให้รับประทาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสวยงามของความรักที่ทั้งคู่คอยอยู่ เคียงข้าง ดูแลซึ่งกันและกันในฐานะสามีภรรยา

          สารคดีเรื่องหญิงสาวกับลูกนกขุนทองผู้เขียนได้สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนม้งที่ยังใช้ ชีวิตเหมือนคนสมัยอดีตที่ยังไม่มีการเข้าถึงของเทคโนโลยี และยังสะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการฝืนกฎธรรมชาติที่ มนุษย์ไม่ควรทำ เพราะจะนำมาซึ่งให้แก่ตนเอง จากในเรื่องสองสามีภรรยาได้ขริบปีกนกเพื่อไม่ให้นกบินไปจาก เขา ซึ่งเป็นการฝืนธรรมชาติ จนท้ายที่สุดลูกนกขุนทองก็ได้จากพวกเขาทั้งสองไป ทิ้งไว้แค่ความทรงจำและ บทเรียนที่ราคาแพงแก่สามีภรรยา

          ชีวิตของมนุษย์มีความหลากหลายและแตกต่างกันทั้งทางด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆ สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงต้องเคารพและยอมรับในความ แตกต่าง อย่างเอาเปรียบคนอื่นหรือแม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มนุษย์ก็ตาม ทุกชีวิตล้วนมีสิทธิ์และศักดิ์ศรีเป็นของตน

 

ภาพสะท้อนชีวิตของคนหลังเขาผ่านสารคดีเรื่องหญิงสาวกับลูกนกขุนทอง
บทวิจารณ์โดย นางสาวไซนับ สะแลแม
โครงการ "อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์" ปีที่ 9   
 

Writer

The Reader by Praphansarn