สัตว์ป่าแอฟริกา : ปองพล อดิเรกสาร กับผลงานสารคดีภาพชุด สัตว์ป่าแอฟริกา

สัตว์ป่าแอฟริกา

สัตว์ป่าแอฟริกา ปองพล อดิเรกสาร

 

ผ่านตากันมาหลายผลงานกับนักเขียน-นักการเมืองมากความสามารถอย่าง คุณปองพล อดิเรกสาร อาทิ นิยายคามิเลียนแมน, แม่โขง, พ่อภาค1-2, สุจิปุลิ และผลงานเล่มอื่น ๆ ล่าสุดคุณปองพลมากับผลงานสารคดีภาพชิ้นใหม่ ชุด สัตว์ป่าแอฟริกา ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมรายละเอียดของสัตว์ป่าแอฟริกามากกว่า 100 ชนิด นก 90 ชนิด และแหล่งธรรมชาติที่มีชื่อเสียง 13 แห่ง ของแอฟริกา พร้อมด้วยภาพถ่ายจำนวนกว่า 600 ภาพ ซึ่งจะให้ความเพลิดเพลินและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในธรรมชาติ และนักท่องเที่ยวซาฟารีใน 6 ประเทศของแผ่นดินใหญ่แอฟริกา อันได้แก่ แคนยา แทนนาเซีย ซิมบับเว บอสสวานา นามีเบีย และแอฟริกาใต้ พร้อมทั้งประเทศมาดากัสการ์ซึ่งอยู่นอกชายฝั่ง

คุณปองพลเล่าถึงการทำงานเขียนที่ผ่านมารวมทั้งหนังสือเล่มนี้ว่า
ในความเป็นนักเขียนสิ่งที่ต้องมีมากที่สุดคือ ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเขียนนิยายหรือสารคดี ข้อมูลก็ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญมากพอๆ กัน อย่างการเขียนแนว Fiction สิ่งแรกเลยคือ เราต้องมีข้อมูลก่อนจากนั้นเรื่องราวถึงจะตามมา แล้วจึงเสริมส่วนที่เป็นจินตนาการเข้าไป ส่วนในการเขียน nonfiction ข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นแน่นอนอยู่แล้ว

ผมเองเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นหนังสืออ้างอิง แล้วก็สนใจเรื่องของรูปภาพ ผมจะเก็บสะสมภาพต่าง ๆ ที่มีเอาไว้ บางภาพในหนังสือเล่มนี้ถ่ายเมื่อปี 2530 หรือ 2526 เลยก็มี อยากบอกว่าทุกคนมีแหล่งข้อมูลของตัวเอง นั่นคือประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมามากมาย ใครที่อยากเป็นนักเขียนสามารถเป็นได้ เพราะทุกท่านมีเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์แค่ยังไม่มีโอกาสที่จะมาถ่ายทอด หลายท่านก็ทราบดีว่าผมเป็นนักการเมือง หากถามว่ามาเป็นนักเขียนแล้วจะขัดกับการเป็นนักการเมืองไหม คำตอบคือ ไม่เลย... การเป็นนักเขียนจะต้องใช้คำพูดให้น้อยคำที่สุด แต่การเป็นนักการเมืองต้องใช้คำพูดมาก พูดซะจนลิงหลับ เพราะฉะนั้นการเป็นนักเขียนจะช่วยให้เราสามารถลำดับเหตุการณ์สรุปเรื่องให้กระชับ เท่ากับว่าการเขียนช่วยลับสมองของการเป็นนักการเมืองให้ดีขึ้นต่างหาก

มเคยคุยกับช่างตัดผมคนหนึ่ง คุยกันมา 30 ปี ก็เลยบอกกับเขาว่า คุณน่าจะมีประสบการณ์เรื่องราวต่าง ๆ มากมายเลยนะ เพราะลูกค้าคนไหนมานั่งให้ตัดผม ก็ต้องเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟัง คนขับแท็กซี่ก็เช่นกัน เขาจะได้ฟังเรื่องราวต่างๆ จากผู้โดยสารมากมาย รวบรวมเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้สิ ก็เหมือนอย่างนักเขียนบางท่าน ทำงานบนเครื่องบิน ก็เอาประสบการณ์มาเขียน หรือบางท่านเป็นหมอหรือนางพยาบาล ผ่านผู้คนมามาก ก็เลยรู้เรื่องต่างๆ มาก ก็สามารถหยิบเรื่องราวมาเล่าให้ฟัง ถ้ามองตลาดหนังสือทุกวันนี้จะเห็นว่าคนไทยเป็นนักเขียนกันมาก ซึ่งแต่ละเรื่องเป็นเรื่องที่เขาประสบกันมาทั้งนั้น ฟังดูนักเขียนอาจคล้ายนักเล่าแต่มันต่างกันที่ นักเล่าคือการถ่ายทอดด้วยคำพูด แต่นักเขียนถ่ายถอดด้วยตัวอักษร และบางเล่มก็มีการถ่ายทอดด้วยภาพ อย่างหนังสือสัตว์ป่าแอฟริกาเล่มนี้

สำหรับแรงบันดาลใจในการทำหนังสือเล่มนี้เกิดจากการที่ผมเขียนหนังสือมาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย และเมื่อเดือนสิงหาคนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปที่ประเทศเคนย่า ก็ไปที่ร้านหนังสือ ผมก็เห็นหนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า ทั้งหมดเขียนโดยชาวต่างชาติ หลากหลายภาษา แล้วก็มีภาพประกอบเยอะมาก พอเห็นบางภาพในหนังสือเหล่านั้น ผมก็คิดได้ว่าเราก็มีภาพแบบนี้ เลยคิดได้เดี๋ยวนั้นเลยว่า ผมน่าจะมาทำหนังสือเกี่ยวกับสัตว์ป่าแอฟริกาเป็นภาษาไทย เอาไว้ให้คนไทยได้อ่านบ้าง ซึ่งหนังสือภาษาไทยเราไม่ค่อยมี ผมก็เลยไปถ่ายภาพเพิ่มเติมเพื่อเอามาลงหนังสือ โดยปกติเวลาที่เขาถ่ายภาพลงหน้าปกเขาจะถ่ายภาพหน้าตรงของสัตว์ ผมก็เลยถ่ายเก็บไว้พอกลับมาก็รวบรวม แล้วก็ปรับ Photoshop เอง ทุกหน้าส่งให้โรงพิมพ์แบบนั้น แล้วก็พิมพ์ตามนั้นเลย จากนั้นผมก็มานั่งดู ปรากฏว่ายังขาดภาพของสัตว์และนกอีกหลายชนิด ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาผมเลยกลับไปถ่ายภาพเพิ่มเติม

การท่องซาฟารีนั้น มันจะไม่เหมือนสัตว์ป่าของไทย เพราะที่นั่นไม่ใช่ป่าทึบ ถ้าเป็นป่าทึบสัตว์มันจะซ่อนตัวอยู่ตามที่ทึบๆ แต่ในแอฟริกา มันก็จะเป็นทุ่งหญ้ากว้าง เวลาไปดูสัตว์ที่นั้นก็ต้องนั่งรถเปิดประทุนไป ขับไปตามสัตว์ พื้นดินที่นั่นก็แข็ง สามารถจะเข้าไปได้ทุกที่ที่มีสัตว์ ใช้รถบุกเข้าไปเลย อยู่ห่างจากสิงโตสามเมตรก็ยังถ่ายรูปได้ ซึ่งเขาก็ไม่ได้สนใจไม่กลัวอะไรเลย เพราะว่าในการไปท่องซาฟารีที่แอฟริกาต้องนั่งรถแบบนี้ แล้วสัตว์ป่าพวกนี้เขาก็เห็นรถแบบนี้มาตั้งแต่เกิด เขาเห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของรถ แต่ว่าห้ามลงจากรถเด็ดขาด เพราะถ้าท่านก้าวขาลงจากรถท่านจะถือเป็นเหยื่อตัวหนึ่ง มีนักท่องเที่ยวหลายคนถูกสัตว์ป่าทำอันตราย และที่โดนทำร้ายมากที่สุดคือชาวญี่ปุ่น คือเขาค่อนข้างจะกล้าหรือจะใช้คำว่าบ้าบิ่นก็ได้ ธรรมชาติของสิ่งโตเวลามันนอนอยู่กับครอบครัว มันจะนอนเล่นแล้วก็นอนหงาย หยอกล้อเล่นกัน บางคนบอกน่ารักอยากลงไปเกาคางเล่น ผมบอกว่าไม่ได้นะ สิงโตนี่มีอยู่กันเป็นครอบครัว แล้วก็จะมีตัวผู้หนึ่งหรือสองตัวเป็นพี่น้องกันคุมฝูง อาจจะมีตัวเมียห้าหกตัว ลูกอีกเจ็ดแปดตัว แล้วเวลาไปล่าสัตว์ ตัวเมียจะเป็นคนล่า แต่ตัวผู้จะกินก่อน แล้วมันก็จะไประวังภัยให้ตัวเมียกับลูก บางคนไม่รู้ลงไป ตัวผู้มันก็คอยกระโจนเข้าอยู่แล้ว การไปดูสัตว์แอฟริกานั้น ตราบใดที่อยู่บนรถจะไม่มีอันตราย มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมขับรถไปไม่เจออะไรเลย ซักพักก็ไปเจอสิงโตตัวเมีย มันกำลังล่าควายป่า ซึ่งเราก็อยู่ห่างแค่สามเมตร แต่มันไม่สนใจเราเลย กลับมองไปที่ควายป่า นี่คือข้อแตกต่าง เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพสัตว์ป่าที่แอฟริกาจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก อย่างสัตว์บางชนิด ผมไปกี่ครั้งๆ ก็ไม่เจอ แต่หลากชนิดไม่คิดว่าจะพบก็พบ ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จึงมีสัตว์อยู่หลายร้อยชนิด ซึ่งบางชนิดผมก็ต้องกลับไปถ่ายภาพเพิ่มเติม

เรื่องราวและขั้นตอนของการไปถ่ายภาพสัตว์ป่าแอฟริกาก็คือ พอเรานั่งรถไปก็จะมีสัตว์ป่าที่เรียกว่า บิ๊กไฟว์ หรือผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 5 ได้แก่ช้าง สิงโต แรด ควายป่า แล้วก็เสือดาว ใน 5 ชนิดนี้ เสือดาวดูยากที่สุด แต่ผมได้ภาพมาภาพหนึ่งซึ่งหายากมากเลยคือภาพเสือดาวกำลังคาบลูก ซึ่งขนาดคนที่ขับรถให้ผมเค้าบอกว่าขับรถมาหลายปี เจอแต่เสือดาวล่าเหยื่อ แต่ไม่เคยเห็นภาพเสือดาวคาบลูกเลย เค้าเลยขอภาพนี้ด้วย ให้ผมส่งให้ ซึ่งถือว่าโชคดีมากเพราะปกติเสือดาวเป็นสัตว์นักล่า แต่ก็ยังมีสัตว์นักล่าที่ล่าลูกเสือดาวเหมือนกัน คือหมาในและลิงบาบูน เพราะฉะนั้นเสือดาวก็จะระวังตัว เมื่อลูกของมันมีอายุประมาณสามสัปดาห์มักจะเป็นเหยื่อของลิงบาบูน กับหมาใน ลองคิดดูนะครับลิงบาบูนมากันยี่สิบกว่าตัวเสือดาวก็ต้องวิ่งหนี ผมถ่ายรูปลิงบาบูนกำลังล่าเสือดาวที่หางขาดเลยนะ เสือดาวต้องวิ่งหนีขึ้นต้นไม้ เสื้อที่ดุร้ายก็ยังมีดุร้ายกว่า ในหนังสือเล่มนี้ก็มี อย่างรูปเสือดาวอยู่ในโพรงไม้ ตอนแรกผมก็เห็นเขาอยู่ในโพรงไม้แล้วก็ลงมามอง จากนั้นก็เข้าไปในโพรงไม้อีก แล้วก็คาบอะไรซักอย่างอยู่ในปาก ตอนแรกก็นึกว่าเหยื่อ คนขับรถก็บอกว่าไม่ใช่นั่นลูก ซึ่งเขาจะคาบย้ายอยู่ตลอด นี่คือธรรมชาติ เพราะอย่างนั้นเวลาไปถ่ายรูปสัตว์ป่าต้องศึกษา ผมเองจะไปถ่ายภาพมาทำหนังสือก็ต้องศึกษา ซึ่งยังมีสัตว์อีกบางชนิดที่หาภาพไม่ได้ ผมเลยไม่ได้เอามาลง ภาพที่เห็นทั้งหมดนี้มีภาพอยู่สามภาพที่ผมขอเขามา

นอกจากนี้คุณปองพลยังแนะนำสำหรับผู้ที่อยากไปท่องเที่ยวที่แอฟริกาด้วยตนเองว่า มีหลายคนมาถามผมว่าเที่ยวแอฟริกาจะต้องไปที่ไหน จริงๆ แล้วมันแล้วแต่ความสนใจ ถ้ามาถามว่าจะไปช็อบปิ้งที่ไหนอันนี้ผมตอบไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าจะไปดูสัตว์ที่ไหน ดูอย่างไร ผมแนะนำได้ มันแล้วแต่เราต้องการ อย่างการดูส

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ