เราหลงลืมอะไรบางอย่าง : เพลงชาติไทย : ค่านิยมของคนในสังคมไทย

เราหลงลืมอะไรบางอย่าง

               

               เรื่องสั้น “เราหลงลืมอะไรไปบางอย่าง” ของ วัชระ สัจจะสารสิน เป็นงานเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์ ปีพุทธศักราช 2551 ลักษณะเด่นของเรื่อง กวีผูกติดกับความเป็นไปของสังคม เป็นเรื่องราวสะท้อนภาพชีวิตและสังคมในแง่ต่าง ๆ เรื่องสั้น “เพลงชาติไทย” เป็นตอนหนึ่งในรวมเรื่องสั้น “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง” กวีนาเสนอมุมมองของที่มีต่อ “การยืนตรง เพื่อเคารพเพลงชาติ เมื่อยามที่ได้ยินเสียง” กวีตั้งคาถามกับสังคมไทย “การยืนตรงเคารพเพลงชาติ” เป็นการยืนเพื่อสิ่งใด แล้วยืนทาไม หากไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ จะทาให้เอกราชไทยที่มีหมดไปอย่างนั้นหรือ การไม่ยืนตรงเคารพเพลงชาติแสดงถึงการไม่ยอมรับความเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นการยอมรับถึงคอมมิวนิสต์หรือ และการไม่ยืนเคารพเพลงชาติแสดงถึงการที่ไม่ได้เป็นคนไทยอย่างนั้นหรือ การไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ แปลความได้ว่า ไม่ใช่คนดี ไม่ใช่คนปกติ แต่เป็นคนบ้าอย่างนั้นหรือ หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เป็นเพียงเพราะสังคมเป็นผู้กาหนดกรอบของความเป็นชาติไทยหรือไม่ว่า “การเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ จะต้องยืนตรงเคารพเพลงชาติเพียงเท่านั้น”

 

               “เพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพเพลงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย” จากข้อความข้างต้น เป็นคาเกริ่นก่อนเพลงชาติเสมอ ใช้น้าเสียงเข้มแข็ง หนักแน่น และต่อด้วยเพลงชาติไทยที่มีเนื้อร้อง ทานอง ที่ทาให้ใจของคนไทยรู้สึกฮึกเหิม ตลอดจนภาคภูมิใจในความเป็นไทยที่เป็นประเทศที่มีเอกราชมาช้านาน ตามประวัติศาสตร์ เพลงชาติไทยพบว่า เพลงชาติไทยที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ ปรากฏขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอม-เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 คนไทยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2482 นับมาจนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2560 ก็ยังไม่ถึง 100 ปี เพียง 78 ปีเท่านั้น ทั้งที่ประเทศไทยเรามีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แสดงว่า ก่อนหน้านั้นคนไทยใช้เพลงชาติที่เป็นแบบอื่น หรือ อาจเป็นไปได้ว่า ก่อนปี พ.ศ. 2482 ประเทศไทยไม่เคยมีเพลงชาติมาก่อน เป็นคาถามให้ชวนคิด พิจารณาในใจว่า แล้วเมื่อก่อนใช้สิ่งใดกันที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ หรือ ความเป็นชาติไทยกันเล่า จากเนื้อร้องเพลงชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 เป็นการสรรเสริญ ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงความ-จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เพลงชาติฉบับที่ 2 ก็มีวัตถุประสงค์เช่นกัน ซึ่งแต่งขึ้นเพราะรัชกาลที่ 5 มีดาริว่า “ประเทศไทยควรมีเพลงชาติที่แสดงเอกลักษณ์ของชาติไทยได้แล้ว” เพลงชาติฉบับที่ 3 ใช้ในฐานะเป็น “เพลงสรรเสริญพระบารมี” ฉบับที่ 4 ในปีพ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้อาศัยทานองเพลงมหาชัยแล้วประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ขับร้องและบรรเลงปลุกใจประชาชนให้เกิดความรักและสามัคคีกันในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และใช้เพลงนี้เป็นเพลงชาติ ซึ่งเรียกกันว่า “เพลงชาติมหาชัย” ฉบับที่ 4-7 สรรเสริญความกล้าหาญของบรรพบุรุษที่ สละเลือด เนื้อ ชีวิต เพื่อปกป้องรักษาแผ่นดิน ไม่ให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด ดังนั้น เพลงชาติจึงเป็นเพลงของชาติ เป็นเพลงที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นเพลงที่สรรเสริญบรรพบุรุษ เป็นเพลงที่ปลุกใจให้รักชาติ และสามัคคีปรองดองของคนในชาติ จึงเป็นเรื่องไม่แปลกที่ “ควรยืนตรง เพื่อทาความเคารพด้วยจิตสานึก โดยที่มิต้องมีข้อแม้ใดๆ” ดังปรากฏ

 

“ขณะกาลังนั่งคิดอะไรเพลิน ๆ เผอิญเพลงชาติไทยกระหึ่มขึ้นกลางมหาวิทยาลัย
ผู้คนหยุดกึกอย่างกับเครื่องจักรถูกถอดปลั๊ก”

                                                                                                                     (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 83)

 

               กวีนาเสนอถึงความสาคัญของเพลงชาติ ซึ่งแม้ขนาดสุนัขเป็นสัตว์ที่สื่อสารด้วยภาษาไทยไม่ได้ แต่ยังหยุดยืน และร่วมกันหอนคลอ ๆ ไปตามเพลงชาติ หากมองในหลักของจิตสานึก คือ สุนัขรู้และสัมผัสได้ถึงความสาคัญของเพลงชาติไทย มีจิตสานึกที่จะทาความเคารพด้วยการยืนตรงเพื่อสรรเสริญบรรพบุรุษ ภูมิใจที่อยู่ในแผ่นดินไทย แผ่นดินที่มีเอกราชอันยาวนาน หากมองในหลักของวิทยาศาสตร์ เสียงเพลงชาติที่ดังขึ้นในมหาวิทยาลัยนั้น มีความดังของเสียงอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจทาให้กระทบกับประสาทการฟังของสุนัขจึงยืนนิ่งและเปล่งเสียงหอน เพื่อให้เกิดความสมดุลของการได้ยินของสุนัข และเป็นที่สังเกตแน่นอนว่า ไม่มีสุนัขตัวใดเมื่ออยู่ในอากัปกิริยาที่หอน แล้ววิ่งหรือเคลื่อนไหวร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม สุนัขจะหยุดยืน และเปล่งเสียงในเวลาที่เพลงชาติดังเสมอ ดังปรากฏ

 

“…หมาในมหาวิทยาลัยยังร่วมเคารพเพลงชาติไปกับผู้คนด้วยเหมือนกัน
ผมสังเกตเห็นออกบ่อย เมื่อสัญญาณเริ่มต้นเพลงชาติดังขึ้น
หมาสองสามตัว ที่อยู่โยงกับมหาวิทยาลัยลัยมายาวนาน
จะยืนนิ่งชูคอเห่าหอนรับเป็นทอด ๆ ไปจนกว่าเพลงชาติจบ”

                                                                                                              (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 83)

 

               กวีต้องการนาเสนอมุมมองของการที่ไม่ได้หยุดยืนตรงเคารพเพลงชาติ เนื่องจากจิตจดจ่อครุ่นคิดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนลืมสนใจสิ่งรอบข้างว่า เกิดอะไรขึ้น หรือ สังคมรอบข้างทาอะไรอยู่ อีกประการกวี มีความคิดที่ไม่สนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเพลงชาติไทย ที่หลาย ๆ คนให้การเคารพ ยืนตรง แต่ใช่ว่า กวีจะไม่เคยยืนตรงเคารพเพลงชาติเวลาที่ได้ยิน สังเกตจากข้อความนี้ “… ส่วนผมนะหรือก็อย่างที่บอกนั่นแหละว่ากาลังนั่งคิดอะไรเพลิน ๆ อยู่ อาจเป็นเรื่องภาระหนี้สิน เรื่องวุ่นวายในที่ทางาน หรือปัญหาเกี่ยวกับเรื่องบนเตียง” กวีให้แง่มุมถึงการยืนตรง ผู้วิจารณ์มีมุมมองว่า บางทีการยืนตรงเมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติ ยืนด้วยจิตสานึกอยากจะยืนเพื่อเคารพ กับการยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติไม่ได้มีความตระหนักที่จะยืน แต่ยืนเพราะคนอื่นยืน ย่อมไม่ต่างอะไรกับการยืนเฉย ๆ กวีตั้งคาถามกับสังคมทาให้ผู้อ่านเกิดความคิดในใจต่อไปว่า และคุณล่ะยืนด้วยจิตสานึก หรือ ยืนเพราะผู้อื่นยืน ดังปรากฏ

 

“เพลงชาติไทยเริ่มมีขึ้นเมื่อไหร่ผมคร้านจะจดจา มันไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร
สาหรับบ้านนี้เมืองนี้ที่ใคร ๆ ไม่สนใจประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ
ที่นับถือยกย่องกันอยู่ สาหรับผมแล้ว หาได้มีปัญหาใด ๆ
กับเพลงชาติไทยอันเป็นที่รักยิ่งของคนในชาติ”

                                                                                                           (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 84)

 

               กวีนำเสนอมุมมองสะท้อนถึงค่านิยมของสังคมในรั้วมหาวิทยาลัย ความเป็นสังคมประชาธิปไตย รักในเอกราช เพียงเพราะไม่ยืนตรง สามารถมองได้ว่า คนผู้นั้นเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นผู้ไม่รักชาติ ประหนึ่งว่าทาความผิดที่ร้ายแรง กวีต้องการสะท้อนถึงสังคมไทยในปัจจุบันมีค่านิยมเกี่ยวกับ “การยืนตรงเคารพ เพลงชาติ” เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึง การสรรเสริญบรรพบุรุษไทย ตลอดจนสร้างความฮึกเหิม และให้ คนไทยรักและสามัคคีกัน เพราะพลังความสามัคคีจะธารงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย ซึ่งเพลงชาติไทย “อาจเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นประเทศที่มีเอกราช ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร หรือเครื่องหมายประจาชาติ เป็นผู้มีวัฒนธรรม หรือเป็นคนไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” ดังปรากฏ

 

“…อาจารย์ผู้หญิงคนหนึ่งเดินรี่ทาหน้าถมึงทึงเข้ามาหาผม
พร้อมตะคอกถามว่า
“นี่เธอ เป็นคนไทยหรือเปล่า ?” “... แน่ใจหรือว่าเธอเป็นคนไทยแล้ว
ทาไมถึงทาอย่างนี้ล่ะ หรือเธอเป็นคอมมิวนิสต์”

                                                                                                                      (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 85)

 

               กวีนาเสนอมุมมองของ “การยืนตรงเคารพเพลงชาติ” กับ “หน้าที่” ซึ่งหน้าที่ หมายถึง “สิ่งที่ควรกระทา เพราะเป็นความรับผิดชอบ” กวีสะท้อนสังคมที่มีมุมมองต่อเพลงชาติในรั้วมหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่ง มีมุมมองว่า การยืนตรงเคารพเพลงชาติ เป็นสิ่งที่ควรกระทา เป็นสิ่งที่ไม่ควรเพิกเฉย หรือ ลืมได้ เพราะเป็นกิจที่ควรกระทาโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ สาหรับคนไทย เมื่อกล่าวถึงหน้าที่สิ่งที่ตามมาคือ “ความเป็นพลเมือง” คือ สถานภาพของบุคคลที่กฎหมายของรัฐรับรอง ซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) พลเมืองยังมีหน้าที่บางอย่าง เช่น หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ ดังนั้น ในที่นี้ เพลงชาติ เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย ดังปรากฏ

 

“ฉันถามว่า ทาไมเธอไม่ยอมยืนตรงเคารพเพลงชาติ” “ผมลืม” “ลืมเหรอ?”
หล่อนเหยียดยิ้ม “เรื่องแบบนี้จะลืมกันง่าย ๆ ได้เหรอ”
“…พอ ๆ อย่าเฉไฉน่า เธอไม่อายพวกหมามันบ้างเหรอ ขนาดมันเป็นหมาก็ยังรู้หน้าที่”

                                                                                                                       (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 85)

 

               กวีสะท้อนให้เห็นถึง ค่านิยมอันเป็น “กฎหมาย” ที่ให้ยืนตรงเคารพธงชาติ ซึ่งในสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม อันเป็นยุค "ปฏิวัติวัฒนธรรม" ของไทย รัฐบาลต้องการทาให้คนภาคต่าง ๆ รวมเป็น "ประเทศไทยเดียว" ภายใต้วัฒนธรรมเดียวกัน จึงออกข้อกาหนดต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485" โดย มาตรา 6 ให้อานาจรัฐสามารถออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมออกมาใช้ได้ และใครไม่ปฏิบัติตามกฎหมายลูกที่ว่า มาตรา 15 ยังระบุโทษไว้ด้วย คือจาคุก ไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 100 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ ซึ่งหลังจากนั้นก็มีกฎหมายลูกออกตามมา คือ พ.ร.ฎ.กาหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485" โดย มาตรา 6 กาหนดให้ต้องเคารพธงชาติ-เพลงชาติ ซึ่งสมัยนั้น ปรับ 100 บาท แต่ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้ว กวีตั้งคาถามว่า การไม่ยืนตรงเคารพเพลงชาติผิดอย่างนั้นหรือ หรือเป็นการทาลายชาติ หรือขายชาติ หรือล้มล้างประชาธิปไตย หรือเป็นการทาลายความมั่นคงของชาติ ค่านิยมของสังคมไทย ผู้วิจารณ์มีมุมมองว่า เป็นเรื่องที่ผิด การไม่ยืนทาความเคารพเพลงชาตินั้นเป็นความผิด เป็นคนไม่รักชาติ ไม่ยอมรับประชาธิปไตย ทาลายความมั่นคงของชาติ ที่คิดเช่นนั้นเพราะเพลงชาติเป็นเพลงที่แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติ หากคนหลายคนคิดว่า “หากตนไม่ยืนตรงเคารพเพลงชาติเพียงคนเดียว ประเทศชาติคงไม่ล่มจม” และทาเหมือนกันว่าจะไม่ยืนเคารพเพลงชาติ แล้วต่อไปเพลงชาติจะมีความหมายอย่างไร ต่อไปก็คงสูญหายไปตามค่านิยมที่ผิด ๆ เพราะเพลงชาติไทยมีความสาคัญแสดงถึงความเป็นไทยหลายอย่าง เช่น ความเป็นเอกราช ความเป็นชาติประชาธิปไตย ดังปรากฏ

 

“…เดี๋ยวฉันจะเอาเธอเข้าตะราง” “เอาเลยครับ แจ้งความเลย แต่ผมสงสัยว่าการไม่ยืนตรงเคารพเพลงชาติ

นี่มันจะเป็นความผิดด้วยหรือ ถ้าผิดจะเป็นข้อหาอะไรหรือครับ หรือว่าจะเป็นข้อหาทาลายความมั่นคงของ

ชาติ หรือข้อหาขายชาติ หรือข้อหาการกระทาอันเป็นคอมมิวนิสต์หรือร้ายแรงถึงขั้นการกระทาอันเป็นภัย

ต่อชาติในการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย”

                                                                                                                       (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 86)

 

               กวีสะท้อนค่านิยมของการยืนตรงเคารพเพลงชาติของสังคมในตลาดแห่งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากสังคมมหาวิทยาลัยที่ปรากฏเมื่อข้างต้น กวีนาเสนอมุมมองของพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องยืนตรงเคารพเพลงชาติ เพียงเพราะจายอมไม่ให้ตนถูกปรับหรือจาคุก สะท้อนให้เห็นถึง การไม่เห็นความสาคัญของการยืนตรงเคารพเพลงชาติ สังเกตจากข้อความที่ว่า “มันไม่สนุกเลย เสียเวลาทามาหากินเปล่า ๆ และออกจะราคาญเสียด้วยซ้า แต่เสียค่าปรับห้าร้อยบาท ยากที่จะหาคนกล้าเสี่ยง” เมื่อค่านิยมของอีกสังคมหนึ่งมีมุมมองเกี่ยวกับการยืนเคารพเพลงชาติเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ในทางกลับกันไม่คิดบ้างหรือว่า การที่บรรพบุรุษสละเลือด เนื้อ ชีวิต เพื่อรักษาแผ่นดินไว้ให้ลูกหลานได้มีแผ่นดินอยู่อาศัย ทามาหากินได้ถึงทุกวันนี้ ไม่ต้องร่อนเร่ไปประเทศอื่นให้เขาดูแคลน ผู้วิจารณ์มองว่า แสดงถึงการขาดจิตสานึก รักและหวงแหนในแผ่นดินเกิด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าหดหู่ใจยิ่งนัก หากสังคมไทยมีคนที่คิดการเช่นนี้อยู่มาก ดังปรากฏ

 

“ความคุ้นชินต่อการปฏิบัติตัวเช่นนี้ คล้ายภาระหน้าที่อันจำยอม
ของพ่อค้าแม่ค้าในตลาด หลายคนแอบบ่นให้ผมฟังว่า มันไม่สนุกเลย
เสียเวลาทามาหากินเปล่า ๆ และออกจะราคาญเสียด้วยซ้า แต่ค่าปรับห้าร้อยบาท
ยากที่จะหาคนกล้าเสี่ยง”

                                                                                                                       (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 88)

 

กวีให้ภาพของ “คนบ้า” คือผู้ที่ไม่ยืนตรงเคารพเพลงชาติ น้าแสงซึ่งเป็นคนบ้า ผู้วิจารณ์มีมุมมองว่า อาจเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นผู้อยู่นอกจารีต นอกกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามจารีต กฎหมายของบ้านเมือง สังคมเลยมองว่าเป็นคนแปลก ไม่ปกติ ดังปรากฏ

 

“เมื่อเริ่มมีเสียงเพลงชาติดังขึ้นทุก ๆ เช้า น้าแสงกลับเปลี่ยนไป เดินพล่านไปทั่วตลาด แม้อากัปกิริยาแปลก ๆ

ก็เกิดขึ้น ทุกคนรู้ว่าแกบ้า เมื่อรู้ว่าแกบ้าก็ยากที่จะหาเหตุผลใด ๆ มาจัดการได้เลยปล่อยเลยตามเลยเรื่อยมา”

“ถุย” “แกถ่มน้าลายลงพื้น แล้วเอ่ยขึ้น “ประเทศชาติคงไม่ระยาฉิบหายหรอกวะ หากคนอย่างกูไม่เคารพ

เพลงนั่นนะ”

                                                                                                                         (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 90-91)

 

               กวีสะท้อนภาพของการเป็นผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ย่อมต้องถูกลงโทษ ดังน้าแสง ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า เป็นคนบ้า แต่ในมุมมองนี้กวีสะท้อนให้ผู้วิจารณ์ได้เห็นว่า บางทีการยืนตรงเคารพเพลงชาติไม่ได้บ่งบอกว่า คุณเป็นคนไทยที่สมบูรณ์แบบเสมอไป เพราะคนไทยเป็นผู้ที่มีน้าใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี แต่สิ่งที่ตารวจผู้ทานั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควร เป็นการใช้อานาจหน้าที่เกินกว่าเหตุ เพียงเพราะการที่น้าแสงไม่ยืนเคารพเพลงชาติ ถึงขั้นต้องลงไม้ลงมือ ดังปรากฏ

 

“ฝ่ามือตารวจหนุ่มฟาดเข้าบ้องหูน้าแสงเต็มแรง จนหน้าสะท้าน
ชวนเซไปชนกับบานหน้าต่าง เขาไขกัญแจมือออก
น้าแสงรีบกุมมือด้วยความเจ็บปวด”

                                                                                                                     (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 92)

 

               กวีสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยม หรือ ความเป็นไปของสังคมโดยมีนัยแอบแฝง ชวนให้คิด “คนปกติเหมือนบ้าใบ้ดวงตาบอด” ซึ่งผู้วิจารณ์มีมุมมองว่า ตารวจ เป็นสัญลักษณ์ของ “คนไทยที่มีค่านิยมในการยืนเคารพเพลงชาติ” เพราะถูกปลูกฝังให้ยืน เพื่อแสดงออกถึงความเป็นคนไทย ความเป็นเอกราช ความเป็นประชาธิปไตย และความเป็นผู้มีวัฒนธรรม แต่กวีมีมุมมองที่แตกต่างว่า การเป็นคนไทยไม่สามารถวัดได้จากการยืนเคารพเพลงชาติ แต่สังคมเป็นผู้กาหนดกรอบความเป็นไปว่าต้องยืนเคารพเพลงชาติ ส่วนข้อความที่ว่า “คนวิกลจริตกลับปล่อยน้าตาไหลร่วง” คนวิกลจริต หรือ คนบ้า สัญลักษณ์แทน “ผู้ที่ไม่ยืนเคารพเพลงชาติ” ซึ่งการที่ไม่ยืนตรงเคารพเพลงชาติ เพราะมีมุมมองว่า การยืนเคารพเพลงชาติไม่สามารถวัดความเป็นคนไทยที่ดีได้ แต่อยู่ที่การกระทาตัวอย่างอื่นมากว่า ซึ่งสังคมมองว่า การเป็นผู้ที่ไม่ยอมยืนเคารพเพลงชาตินั้น เป็นผู้ไม่ดี กวีต้องการนาเสนอมุมมองให้เห็นถึงบางทีสิ่งที่สังคมตีกรอบไว้ว่า เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องแล้วจริงหรือ แต่ในทางกลับกัน มุมมองของคนนอกจารีตซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ยืนเคารพเพลงชาติเพราะมีมุมมองที่แตกต่างไม่ถูกต้องอย่างนั้นหรือ “การยืนอยู่คนละจุด ทาให้มีจุดยืนทางความคิดแตกต่างกัน” ดังปรากฏ

 

“ทาไมจึงเป็นไปในลักษณะเช่นนั้น เหตุการณ์ที่เคยดาเนินไป
โดยปกติกลับเป็นผิดปกติ คนปกติเหมือนบ้าใบ้ดวงตาบอด
คนวิกลจริตกลับปล่อยน้าตาไหลร่วง”

                                                                                                                           (เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หน้า 92)

 

               บทสรุป เพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงหรือบ่งบอกถึงความเป็นชาติไทย ความเป็นประเทศที่มีเอกราช เป็นผู้ที่มีวัฒนธรรม และความเป็นประชาธิปไตย เพลงชาติเป็นศูนย์รวมจิตใจให้คนไทย รัก สามัคคี หวงแหนในแผ่นดินเกิด แผ่นดินที่บรรพบุรุษได้สละเลือด เนื้อ ชีวิต เพื่อปกป้องแผ่นดิน เพื่อรักษาความเป็นเอกราช ความเป็นปึกแผ่นสืบมา ซึ่งการยืนตรง อาจไม่ใช่คาตอบของทุกอย่างที่กล่าวมา การยืนเคารพเพลงชาติ เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า คนผู้นั้นเป็นคนดี เป็นคนไทยสมบูรณ์แบบเสมอไป “แต่การยืนเคารพเพลงชาติ เพื่อ เคารพ สรรเสริญ ให้เกียรติ สานึกในความกล้าหาญของบรรพบุรุษ” เหตุผลข้อนี้ คงเป็นเหตุผลให้ยืนเคารพเพลงชาติโดยไม่ต้องมีข้อกังขาใด ๆ “จงอย่ายืนเคารพเพลงชาติเพียงเพราะผู้อื่นยืนจึงยืนตาม แต่จงยืนเพราะจิตสานึก สรรเสริญในความกล้าหาญของบรรพบุรุษที่ให้เรามีผืนแผ่นดินไว้อยู่อาศัยทุกวันนี้” “ทุกวันนี้เราอย่าหลงลืมการเป็นคนดี ที่รู้จักหน้าที่หรือสิ่งที่พึงกระทา”

 

บทวิจารณ์โดย นางสาวอนิศา ใจเป็นใหญ่

 

 

 

 

 

 

 

 

Writer

The Reader by Praphansarn