เรื่องสั้นในเหมืองแร่มีมนุษยธรรมนั้นถูกเขียนขึ้นโดย อาจินต์ ปัญจพรรค์ ภายในเนื้อเรื่องกล่าวถึงเหมืองแร่ซึ่งเปรียบได้กับ ความหวัง ในที่นี้นั้นเป็นความหวัง ที่ต้องการอิ่มท้องและเป็นความหวังที่ต้องการที่ซุกหัวนอนของกรรมกรชนชั้นแรงงาน โดยใช้หยาดเหงื่อและแรงกายแปลงเป็นเศษเสี้ยวของก้อนเงินที่ได้จากนายทุนเพื่อ เลี้ยงชีพ ภายในเนื้อเรื่องนั้นคุณอาจินต์พยายามแสดงออกถึงความมีมนุษยธรรมของ เพื่อนมุษย์ที่มีต่อกัน โดยสื่อผ่านตัวละครของช่างแผนที่และ ตัวละครสองสามีภรรยาที่มาสมัครงาน แต่เบื้องลึกแล้วนั้นการมีมนุษยธรรมกลับแฝงไปด้วยกลิ่นของความ อธรรมที่มันหอมหวนและตรึงติดอยู่ภายใต้จิตสำนึกของมนุษย์ ในที่นี้ผู้วิจารณ์จะขอนำ เสนอประเด็นที่น่าสนใจผ่านการวิจารณ์ ดังนี้
๑. ช่างแผนที่กับกลิ่นของความอธรรมที่ซุกซ่อน ตัวละครของช่างแผนที่นั้นเป็นตัวละครที่เป็นผู้เล่าเรื่องหรือผู้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มุมมองของความคิดทั้งหมดที่ผู้อ่านได้อ่านนั้นล้วนมาจากความนึกคิด และสิ่งที่ช่างแผนที่ต้องการให้ผู้อ่านได้รับรู้ ความอธรรมที่ปรากฏในตัวละครของช่าง แผนที่นั้นสามารถเห็นได้ชัดตั้งแต่ในต้นเรื่อง ดังนี้
“เมื่องานเสร็จหรือเกือบเสร็จก็วางมือไว้พลางเอาไว้ต่อในวันจันทร์ อวดนายฝรั่ง”
“แต่ในวันอาทิตย์ที่กล่าวนี้ฝนได้กลายเป็นผู้ช่วย ผู้ร้ายคือข้าพเจ้า ผู้ร้ายในการหลบงาน”
จากตัวบทที่ยกมาข้างต้นจะทำให้ผู้อ่านเห็นถึงลักษณะนิสัยของช่างแผนที่ซึ่งย้อนแย้งกับชื่อเรื่องเสียเหลือเกิน ภายในจิตใจของมนุษย์นั้นแม้จะมีความเอื้ออาทร หลงเหลือซุกซ่อนอยู่ภายในซอกหลือบของหัวใจแต่ในเศษเสี้ยวของหัวใจนั้นย่อมมี ความอยากได้ อยากมี และความเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งสิ้น ตัวละครของช่างแผ่นที่ก็ เช่นกัน เขาอยากได้คำชื่นชมจากเจ้านายฝรั่งจึงคิดว่าควรเก็บงานไว้ทำตอนนายฝรั่งอยู่ และตามจิตสำนึกของมนุษย์ย่อมที่อยากจะมีความสบายเป็นทุนของชีวิตอยู่แล้ว ดังนั้น การหลบหลีกงานที่ได้รับมอบหมายเหมือนสิ่งที่ช่างแผนที่ได้กระทำก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่ง ที่มนุษย์ทุกคนย่อมปราถนาเช่นกัน ซึ่งในตัวละครของช่างแผนที่นั้นผู้เขียนกำลังชี้และแสดงให้เห็นถึงความเป็น จริงของมนุษย์ที่ว่า ภายใต้ความดีของมนุษย์ที่แสดงออกมานั้นย่อมมีกลิ่นของอธรรม พัดอ่อจางๆ ควบคู่มาด้วยเสมอ ถึงแม้ว่าตัวละครของช่างแผนที่นั้นจะมีความ สงสารและเอื้ออาทรต่อสองสามีภรรยามากเพียงใดแต่ช่างแผนที่ก็เป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์ที่ต้องการคำชมและความสบายเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าเพราะ เหตุใดในเหมืองแร่ที่มีมนุษยธรรมจึงมีกลิ่นของอธรรมพัดจาง ๆ เคียงคู่อยู่
๒. เหมืองแร่และความหวังที่แบกมาพร้อมห่อผ้าเก่า ภายในเนื้อเรื่องนั้นผู้อ่านจะได้เห็นถึงภาพสองสามีภรรยาที่แต่งตัวไม่สู้ดีนัก ลงจากรถสองแถวและเดินเร่เข้ามายังร้านกาแฟ ภายในอุ้งมือของพวกเขาแบกห่อ ผ้าเก่า ๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นเสื้อผ้าอยู่ด้านใน และจุดมุ่งหมายสำคัญของการมาครั้งนี้ คือมาสมัครงานที่เหมืองแร่
“เขาหันไปบอกเมียของเขาว่าถ้าได้งานบ่ายนี้เราก็มีสิทธินอนในกงสีกรรมกรได้เลย”
จากข้อความข้างต้นถ้าผู้อ่านพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปจะเห็นได้ถึงการเดิน ทางที่มุ่งหน้าตามหาความหวัง ความหวังที่จะมีชีวิตใหม่ มีข้าวกินประทังชีวิต และมีที่ ซุกหัวนอน ความหวังในที่นี้ของสองสามีภรรยาก็คือเหมืองแร่ เมื่อใดที่สามีนั้นได้ ทำงานที่เหมืองแร่เมื่อนั้นภรรยาและลูกในท้องก็จะมีที่ซุกหัวนอน ส่วนห่อผ้าเก่าที่ผู้เป็น สามีถือมานั้นเปรียบได้กับทุกสิ่งอย่างชีวิตที่เขามี ณ เวลานี้ หอผ้าเป็นทั้งผ้าห่มยาม หนาวกาย เป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่แม้จะขาดวิ่น เป็นหมอนที่รองหนุนแม้จะแข็ง ดังนั้นทุก อย่างในชีวิตของผู้ที่เป็นสามีในตอนนี้ที่เหลืออยู่นั่นก็คือ ภรรยา ลูกในท้อง ห่อผ้าเก่า ๆ และความหวังที่จะได้ทำงานในเหมืองแร่ ในส่วนนั้นผู้เขียนกำลังจะสื่อถึงเหมืองแร่ที่เป็นความหวังของสองสามีภรรยาและ กรรมกรชนชั้นแรงงานที่ทำงานอยู่ในเหมืองแร่ทุกคน และเมื่อใดที่ผู้อ่านได้ยินคำว่า เหมืองแร่ ภาพความคิดภายในหัวนั้นย่อมคิดถึงความเฉอะแฉะ ฝุ่น เหงื่อ และความ ยากลำบาก นอกจากนี้ภาพจำของเมืองแร่ก็คือชนชั้นกรรมกรที่หาเช้ากินค่ำในเหมือง แร่ จะมีผู้ใดที่คิดถึงภาพจำอื่นนอกจากภาพจำที่กล่าวมานี้ แม้แต่ในเหมืองแร่ที่เป็น แหล่งที่อยู่ของชนชั้นกรรมกรหาเช้ากินค่ำก็ยังปรากฏความมีมนุษยธรรมแก่เพื่อนมนุษย์ แต่ในความมีมนุษยธรรมนั้นย่อมต้องอย่าลืมว่ามีกลิ่นของอธรรมผัดโบกอยู่ข้าง ๆ เสมอ
เรื่องสั้นในเหมืองแร่มีมนุษยธรรมนั้นเป็นเรื่องสั้นที่แสดงให้เห็นถึงมนุษยธรรมที่ ปะปนไปด้วยความอธรรม แสดงให้เห็นถึงชนชั้นแรงงานที่ทำมาหากินเพื่อความอยู่ รอดของตนเองและครอบครัว แสดงให้เห็นถึงชนชั้นเจ้านายที่คอยตัดสินชีวิตของผู้ที่ อยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง และแสดงให้เห็นถึงความหวังของหัวหน้าครอบครัวที่จะ ทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือรอดพ้นจากความหิวโหยที่กำลังมาเยือน นอกจากนี้ผู้เขียนยังสื่อให้เห็นถึงเหมืองแร่ที่ใคร ๆ อาจมีภาพจำว่า สกปรก อับชื้น และมีแต่พวกกรรมกรชนชั้นแรงงานทำงานด้วยหยาดเหงื่อที่โทรมกายแต่เหมืองแร่ก็ยัง มีมนุษยธรรมและยังเป็นความหวังของผู้ที่หมดสิ้นในทุก ๆ อย่าง แต่อีกประการหนึ่ง ที่สำคัญคือ ถึงแม้ว่าในเหมืองแร่จะมีมนุษยธรรมแต่จงอย่าลืมว่าผู้ที่อยู่ในเหมืองแร่คือ มนุษย์ และมนุษย์ย่อมมีเศษเสี้ยวของหัวใจที่มีกลิ่นของอธรรมซุกซ่อนอยู่เสมอ
ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม: กับกลิ่นความอธรรมที่ซุกซ่อน
บทวิจารณ์โดย นางสาวมนิศรา ชมป้อม
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์ ปีที่ 6