“รถไฟสายแสงตะวัน” เป็นกวีนิพนธ์ที่เข้ารอบ Long List รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2564 และตีพิมพ์ในนิตยสาร “ทางอีศาน” ปีที่ 10 ฉบับที่ 112 เดือนสิงหาคม 2564 มีความโดดเด่นในเรื่องของกลวิธีในการแต่งที่มีความเป็นเอกภาพค่อย ๆ ไล่ประเด็นไปทีละระดับเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้อย่างลึกซึ้งและเกิดการตั้งคาถามเพื่อค้นหาคำตอบว่า … กวีนิพนธ์เรื่องนี้แท้จริงแล้วซ่อนสารบางอย่างเอาไว้ให้เราได้ค้นหาจากสิ่งที่ผู้แต่งถ่ายทอดออกมานั่นเอง รวมไปถึงภาษาที่ใช้มีความสละสลวย กระตุ้นความสนใจ เร้าความรู้สึกให้ผู้อ่านเกิดการคิดตาม สามารถเข้าใจได้ง่าย และการสะท้อนถึงเรื่องการเมืองในสังคมปัจจุบันเอาไว้เป็นอย่างดี โดยกวีนิพนธ์เรื่องนี้ได้มีการนำเสนอให้เห็นถึงระบบการทำงานของคณะผู้นำที่บริหารประเทศ การรอคอยซึ่งประชาธิปไตย และความหวังของเหล่าประชาชนทุกวัยที่ยังคงรอคอยการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การพัฒนาที่ดีกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่ากวีนิพนธ์เรื่องนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งนี้ผู้อ่านจะได้เล็งเห็นถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีการซ่อนเอาไว้ตั้งแต่ชื่อเรื่อง เช่น ผู้แต่งมีการนำเสนอให้รถไฟเป็นดั่งสัญลักษณ์ แห่งการเดินทางพาเหล่าผู้คนที่มารอคอยที่ชานชาลาไปสู่แสงสว่างที่มีความหวัง จากสัญลักษณ์ดั่งกล่าว สะท้อนให้เห็นว่ากวีนิพนธ์เรื่องนี้มีความน่าสนใจที่ทำให้เกิดการกระบวนคิดหลายประการอันชวนให้ผู้อ่านตีความและนาไปสู่การเข้าถึงแนวคิดของผู้เขียนมากยิ่งขึ้น ในประเด็นต่อไปนี้
รถไฟ : ภาพสะท้อนคณะผู้นาที่บริหารประเทศ
“…ขบวนรถไฟสายแสงตะวันส่อง คงเรืองรองสว่างไสวในใจข้า
ดวงแดดร้อนคงเริงรื่นชื่นชีวา ชานชาลาคงกู่ร้องกึกก้องดัง…”
หากจะกล่าวถึง “รถไฟสายแสงตะวัน” ที่เป็นชื่อเรื่องกวีนิพนธ์นี้ผู้แต่งได้ซ่อนสารเอาไว้ผ่านขบวนรถไฟอันเป็นสัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนคณะผู้นาผู้ทาหน้าที่บริหารประเทศไปสู่แสงสว่างแห่งความเจริญและการพัฒนาที่ดี แต่ในทางกลับกันความจริงแล้วนั้น แสงตะวันที่เป็นความหวังนี้เป็นเพียงแสงแห่งความหวังที่ยังคงรอคอยให้เกิดขึ้นเพียงเท่านั้น จะเห็นได้จากตัวบทที่กล่าวว่า
“…คือภาพฝัน ณ ริมรางอันว่างเปล่า สถานีแสนเหงาเศร้าสิ้นหวัง
มีเพียงรถขบวนเก่าร้าวผุพัง นาน ๆ ผ่านมาครั้งยังเหมือนเดิม…”
แสงสว่างที่เป็นความหวังของเหล่าประชาชนเป็นเหมือนกับภาพฝันที่วางเปล่าเหมือนกับรางรถไฟ ที่รอคอยให้ขบวนรถไฟแสงตะวันนั้นวิ่งผ่านมาซ้าแล้วซ้าเล่าอย่างมีความหวัง แต่แล้วความหวังที่รอคอยนั้นกลับเป็นรถไฟขบวนเก่าที่ผุพังวิ่งผ่านมาแทน กล่าวคือ ไม่ว่าประชาชนจะรอคอยอย่างมีความหวังสักเท่าไรคณะผู้นำประเทศคณะเดิมก็ยังคงทำหน้าที่บริหารประเทศอยู่เหมือนทุก ๆ ครั้ง มิได้มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไป นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงคณะผู้นำประเทศผ่านสัญลักษณ์ของรถไฟแล้วนั้น ผู้แต่งยังสะท้อนให้เห็นถึงระบบการทำงานของกลุ่มคนเหล่านี้จากตัวบทที่ว่า
“…บนขบวนไม่เคยเปลี่ยน ดูผิดเพี้ยนเจียนบ้ามาแต่เริ่ม
หน้าเก่าใหม่หลายหน้ามาเพิ่มเติม ที่นั่งเสริม ที่นั่งเก่า เก้าอี้ดนตรี…”
จะเห็นได้ว่านอกจากขบวนรถไฟที่ผ่านมานาน ๆ ครั้งจะเป็นขบวนเดิมที่มีการผุพังแล้วนั้น ภายในขบวนรถไฟก็เต็มไปด้วยกลุ่มคนเดิม ๆ ที่ยังคงทำหน้าที่บริหารประเทศ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ ภายในขบวนรถไฟคันนี้ โดยอาจเข้ามาด้วยระบบอุปถัมภ์ ระบบอาวุโสที่มีอยู่แต่เก่าก่อน หรือการแย่งเก้าอี้คนอื่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของคณะผู้นำประเทศ เห็นได้อีกจากตัวบท
“…บ้างกีดกัน ดันดึง ถอง ทึ้ง ผลัก บ้างทายทัก ถุยคาด่า หันหน้าหนี
เล่นตามบท ตามใบสั่ง กันทั้งปี เมื่อวานดี วันนี้ร้าย เข้าใส่กัน…”
จะเห็นได้ว่าตัวบทนี้ผู้แต่งได้มีการตอกย้ำให้เห็นถึงระบบการทำงานที่มีการชักจูง การแย่งชิง การใช้อำนาจ การเถียงกันไปมาไม่รู้จบสิ้นของคณะผู้นำประเทศซึ่งเป็นการทำงานที่แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสไม่มีความซื่อตรงต่อกันและกัน
การเลือกใช้ “รถไฟ” เป็นภาพสะท้อนคณะผู้นำที่บริหารประเทศ ในการแต่งกวีนิพนธ์เป็นการขับเน้นให้เห็นภาพของการทำงานของผู้คนเหล่านี้ออกมาได้อย่างแนบเนียน โดยมิได้มีการนำเสนอให้ผู้อ่านได้เกิดกระบวนการคิดและการตั้งคำถามในตนเอง ถึงสัญลักษณ์ผู้แต่งนั้นซ่อนเอาไว้ภายใต้ขบวนรถไฟที่ผุพัง
ชายชรา : ภาพสะท้อนของกลุ่มคนรุ่นเก่าที่กาลังหมดหวัง
“…มาแล้วไปคล้ายเรื่องเก่าเคยเล่าขาน ประสบการณ์ยืนกรานว่าไม่ใช่
ถูก จริง แท้ แห่งประชาธิปไตย ขบวนรถสายใหม่ยังไม่มา
ถอดความหวังทั้งชีวิตหมดสิทธิ์สู้ มิอาจอยู่ทู่ซี้ มิเงยหน้า
วินาทีเนิ่นนาน ณ ชานชาลา ชายชราขออาลาสถานี…”
ชายชราที่ปรากฏในจากตัวบทที่ยกมาข้างต้นในกวีนิพนธ์เรื่องนี้ เป็นภาพสะท้อนของคนรุ่นเก่าที่รอคอยรถไฟสายแสงตะวันที่ผ่านมาอย่างมีความหวังจนแทบจะถอดใจ ณ ชานชาลา กล่าวคือ กลุ่มคนรุ่นเก่าเหล่านี้ต่างก็เฝ้ารอแสงสว่างจากขบวนรถไฟหรือคณะผู้บริหารประเทศรุ่นใหม่นาพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตยอันแท้จริง นำไปพาไปสู่การพัฒนาที่ดีและความเจริญในด้านต่าง ๆ จนแทบจะถอดใจเพราะยิ่งรอคอยนานเท่าไรความหวังที่จะได้รับประชาธิปไตยที่แท้จริงก็เลือนรางลงไปทุกที แต่ท้ายที่สุดผู้แต่งก็ได้นำเสนอให้เห็นว่าความหวังที่เหลือเพียงน้อยนิดก็สว่างกลับขึ้นมาได้ ในขณะที่คนรุ่นเก่ากาลังหมดหวังลงไปทุกที ก็มีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ยังคงเติบโต รอคอยและต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันแท้จริงอยู่ เหมือนกับการรอคอยรถไฟสายแสงตะวันเมื่อฝัน ยังมีหวัง ก็จงยึดมั่นเชื่อในประชาธิปไตยต่อไป ดังตัวบทที่ว่า
“…หันหลังให้เส้นทางที่เคยเชื่อ พร้อมหยาดเหงื่อหยดไหลในตานี่
แล้วภาพพร่าเลือนพลันดันเกิดมี ใครอีกคนที่ยืนอยู่ที่ชานชาลา…”
จะเห็นได้ว่าการที่ผู้แต่งเลือกใช้ “ชายชรา” เป็นภาพสะท้อนของกลุ่มคนรุ่นเก่าที่รอคอยประชาธิปไตยอันแท้จริงมาอย่างยาวนานจนแทบจะถอดใจ เป็นการชี้ชัดให้เห็นว่าคณะผู้นำประเทศยังขาดประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ แต่อย่างไรก็ตามผู้แต่งได้บอกผ่านสัญลักษณ์นี้ให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงความยึดมั่นถือมั่นในรถไฟแห่งความหวังว่าไม่ได้มีแค่กลุ่มคนรุ่นเก่าที่ต่อสู้และรอคอยเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นแต่ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตและรอคอยรถไฟแห่งความหวังไปด้วยกัน ดังนั้นคนรุ่นเก่าจะต้องยืนหยัดต่อสู้ไปพร้อมกับคนรุ่นใหม่ที่มีความหวังไปสู่ประชาธิปไตยอันแท้จริง
เด็กน้อย : ภาพสะท้อนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความหวัง
“…ภาพเด็กน้อยคอยรถไฟด้วยใจหวัง เติมพลังชีวิตดวงจิตข้า
ย้ำเตือนตน อีกหนนะ ไอ้เพื่อนยา ชายชรากลับกล้าแกร่งเพราะแรงใจ...”
“ภาพเด็กน้อย” ที่ผู้แต่งนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อถึง “คนรุ่นใหม่” ซึ่งยังรอคอยรถไฟอย่างมีความหวัง ช่วยตอกย้ำให้ “ชายชรา” ที่สื่อถึง “คนรุ่นเก่า” ที่สิ้นความหวัง ได้กลับมามีความหวังใหม่อีกครั้ง สะท้อนภาพสังคมปัจจุบันอย่างชัดเจน โดยในปัจจุบัน “คนรุ่นเก่า” ได้หมดสิ้นความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว อาจด้วยเพราะอายุที่มากเกินกว่าจะมีแรงที่จะออกไปเรียกร้องสิ่งที่หวัง หรือด้วยเพราะแนวความคิดของคนรุ่นเก่าที่ถูกสั่งสอนมาให้เชื่อและยอมรับกับสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมาโดยห้ามตั้งคำถามถึงความเป็นจริง เหล่านี้ทำให้คนรุ่นเก่าที่ไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต้องจำใจยอมรับกับสภาพสังคมและชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผิดกับคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีอายุไม่มาก ยังมีไฟในการใช้ชีวิต มีความกล้าที่จะเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง อีกทั้งคนรุ่นใหม่ยังเติบโตมาพร้อมกับยุคสมัยที่สอนให้กล้าที่จะตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นการที่ผู้แต่งเลือกใช้ “ภาพเด็กน้อย” มาแทน “คนรุ่นใหม่” ที่มีความหวัง และเป็นผู้จุดไฟหวังให้กับคนรุ่นเก่า สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมมีคนหลายรุ่น (Generation) ซึ่งการที่คนหลายช่วงอายุอยู่ร่วมกัน ย่อมก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิด และนำไปสู่การพัฒนาสังคมได้ จะเห็นได้จากตัวบทที่กล่าวว่า
“…ปณิธานผ่านหัวใจวัยอ่อนล้า วันข้างหน้าเป็นเวลาคนรุ่นใหม่
เพื่อวันนั้นต้องยึดมั่นฝันต่อไป รถสายประชาธิปไตยจะต้องมา...”
จะเห็นได้ว่าตัวบทนี้สะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นเก่ากลับมามีความหวังอีกครั้ง เพราะได้รับพลังจากคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมแพ้ และความหวังจะนำไปสู่การพัฒนาและทิศทางที่ดีอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ตัวบทดังกล่าวยังเป็นบทสรุปของกวีนิพนธ์บทนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า “วันข้างหน้าเป็นเวลาคนรุ่นใหม่” หมายถึง ณ วันนี้เป็นช่วงเวลาของคนรุ่นเก่าที่จะต้องมีหวังและหยัดยืนอยู่ต่อไปเพื่อจะได้มีวันข้างหน้าให้คนรุ่นใหม่ ซึ่งอาจเป็นลูกหลานหรือครอบครัวของเรา ได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่ดีมีความเป็นประชาธิปไตย มีสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกัน
กวีนิพนธ์ “รถไฟสายแสงตะวัน” เป็นกวีนิพนธ์ที่เด่นเรื่องการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารเพื่อสะท้อนภาพสังคมออกมาได้อย่างแจ่มชัด ในทิศทางที่สร้างสรรค์ และเป็นแนวทางที่สร้างคุณค่าให้แก่ผู้อ่าน ดังตัวบทที่ว่า “เพื่อวันนั้นต้องยึดมั่นฝันต่อไป รถสายประชาธิปไตยจะต้องมา” ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกฮึกเหิม พร้อมที่จะยืนหยัดสู้เพื่อรอคอยแสงแห่งความหวังต่อไป เพราะทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่าหรือคนรุ่นใหม่ เชื่อมันเป็นอย่างยิ่งว่าสักวันรถไฟสายประชาธิปไตยจะมาถึงอย่างแน่นอน
บทวิจารณ์โดย ทิพยรัตน์ อินต๊ะวงค์
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 8