(แล่)เหมืองและความเป็นมนุษย์ : บทวิจารณ์โดย ชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์

(แล่)เหมืองและความเป็นมนุษย์

(แล่)เหมืองและความเป็นมนุษย์

     เมื่อคนเราอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมซ้ำ ๆ กฏเกณฑ์เดิมซ้ำ ๆ คนเราจะคุ้นชินจนอาจไม่สามารถจินตนกา การถึงสภาพแวดล้อมที่ตาเราไม่อาจเห็นแต่มนุษย์อื่น ๆ ต้องเจอ การนึกถึงความเป็นมนุษย์ในบริบทที่ไม่เหมือนกับ ชีวิตตนเองนั้นต้องการระยะห่างจากความเคยชิน “ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม” พาผู้อ่านเข้าสู่ชุมชนที่ราวกับเป็น โลกอีกใบก่อนจะเผยให้เราเห็นว่าความเห็นอกเห็นใจอันเป็นต้นกําเนิดมนุษยธรรมนั้นเกิดขึ้นได้ทุกที่

 

     “ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม” เป็นเรื่องสั้นของอาจินต์ ปัญจพรรค์ เล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของชาวกรุงเทพ ที่กลายมาเป็นช่างแผนที่ ผู้เล่าหรือ “ข้าพเจ้า” นั้นต้องทํางานอยู่ในแถบเหมืองแร่ วันหนึ่งได้พบกับสามีภรรยาคู่ หนึ่งที่ตกงานและต้องการงานอย่างยิ่ง ท้ายที่สุดสามีภรรยาคู่นี้ก็ได้รับงานแม้จะมีข้อบังคับห้ามจ้างจากสมาคม เหมืองชาวยุโรป เพราะนายจ้างฝรั่งมองว่าการมีภรรยาและลูกที่กําลังจะเกิดทําให้คนเป็นสามีนั้นไม่ได้เป็นชายโสด นักสไตรค์อีกต่อไปแล้ว

 

      เรื่องราวเริ่มต้นด้วยการเล่าถึงวันอาทิตย์ สําหรับคนงานเหมืองแร่นั้นไม่ใช่วันพักผ่อนแบบคนกรุงเทพ เพราะเป็นเพียงวันเปลี่ยนกะ และหากวันไหนเกิดฝนตกก็ต้องไปซ่อมถนนที่ชํารุดเพราะ “สายน้ำที่พุ่งแรงราวหอก ดาบจากร่องภูเขาลงมาแทงถนนดินของเราให้ขาดกลาง” (หน้า 1-2) ความลําบากที่อาจเกิดขึ้นในอาทิตย์เช่นนี้ก็ เกิดขึ้นกับผู้เล่าที่แม้จะมีตําแหน่งในออฟฟิศแต่ก็ต้องลงสถานที่เช่นกัน สภาพและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ทําให้ผู้อ่าน เห็นว่าเหมืองนั้นราวกับเป็นโลกอีกใบ ในโลกนี้เวลาเดินต่างออกไปเมื่อทุกอย่างจะกลับมาบรรจบ กะทํางานที่ เปลี่ยนทุกวันอาทิตย์จะบรรจบทำให้ต้องอยู่กะดึกอีกครั้ง ไม่มีวันหยุดแบบคนออฟฟิศและต้อง “รับใช้เวรกรรม .. ก้มหน้าและดัดหลังของเขาต่อไป” (หน้า 1) โดยทั้งหมดนี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความเป็นเมืองนอกจากร้าน กาแฟ ทว่าเต็มไปด้วยความคาดเดาไม่ได้จากธรรมชาติที่พร้อมทำลายผลงานของมนุษย์อย่างถนนและสร้างความ วุ่นวายได้เสมอ

 

       ทั้งนี้ ตัวผู้เล่าเปรียบเสมือนลูกผสมระหว่างความเป็นเหมืองและความเป็นเมือง ทั้งเพราะมีตำแหน่ง ออฟฟิศและการเติบโตมาในกรุงเทพอันเป็นลักษณะของชาวเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้ชีวิตตามเวลาที่เวียน วนและไร้การพักผ่อนของชาวเหมือง แต่ค่อนข้างชัดเจนว่าตัวผู้เล่านั้นมองตัวเองว่าค่อนไปทางชาวเมือง เพราะ “ยามบ่ายอันเปล่าเปลี่ยว ข้าพเจ้าก็ติดรถงานกลับไปนั่งเล่นในร้านกาแฟไม่แยแสต่อเสียงหวูดเลิกงานเลย” อันเป็น ลักษณะของเมืองไม่กี่อย่างท่ามกลางโลกของเหมืองแร่นั้น

 

      เมื่อพบเจอกับสามีภรรยาผู้เป็นคนกรุงเทพและทราบว่าทั้งคู่ต้องการงานในเหมืองอย่างยิ่งเพราะไม่มีเงิน แต่กําลังจะมีลูก ผู้เล่า “รู้สึกอึดอัดยิ่งกว่าความทุกข์ของข้าพเจ้าเอง” และแม้กระทั่ง “ภาวนาอย่างเสียสติให้ฝนเท ลงมาให้ป่นปี้ ให้ถนนพัง ให้ทํานบพังในบัดนี้ เพื่อให้ชายผู้นี้ได้งานทำและมีที่นอนให้เมียผู้มีท้องของเขาในคืนนี้”

 

       ความรู้สึกและการภาวนาเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจที่มนุษย์สามารถรู้สึกแก่กันได้ ตัวผู้เล่าไม่เคยและ ไม่ได้กําลังพบเจอประสบการณ์เช่นสามีภรรยาคู่นี้และควรต้องรู้ดีในฐานะคนทํางานว่าการที่ถนนหรือทํานบพังนั้น จะลําบากตัวเอง แต่ความรู้สึกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนั้นมาก่อนความคิดตรรกะแบบคนทํางาน ทั้งยังมีพลังมาก พอที่ทําให้ตนเองยินดีที่จะลําบากหากช่วยผู้อื่นได้ ในฉากนี้ ผู้เล่าแสดงให้เห็นว่า แม้จะอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นชินและ แตกต่างจากความเป็นเมืองจนกฎและวิถีชีวิตที่รู้มานั้นแทบจะใช้การไม่ได้ ความเห็นอกเห็นใจของมนุษย์ก็ไม่อาจ ถูกพรากไปและยังเข้มขึ้นเสียด้วยซ้ำ

 

      ทั้งนี้ ความเห็นอกเห็นใจที่ผู้เล่ามีต่อสามีภรรยานั้นยังคงมีความคลุมเครือว่าเกิดจากการเห็น “เพื่อน มนุษย์” หรือ “เพื่อนกรุงเทพ” เพราะไม่มีการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่น แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกของผู้เล่า ยังคงชัดเจนว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเองโดยปราศจากกฎและการบังคับ และอย่างน้อยแสดงให้เห็นว่าตราบใดที่ มนุษย์สามารถมองคนอื่นว่ามีความเป็นพวกเดียวกัน ความเห็นอกเห็นใจนั้นก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอและนี่คือ “มนุษยธรรม” ที่ถูกถ่ายถอดมาในเรื่องสั้นนี้

 

     ในฉากสุดท้าย นายฝรั่งเลือกที่จะรับสามีเข้าทำงาน แม้จะทราบดีว่าสามีเคยสไตรค์จนทําให้สมาคมเหมือง ชาวยุโรปมิให้เหมืองใดรับเข้าทำงาน ฉากนี้มีความน่าสนใจเนื่องจากนายฝรั่งนั้นคือ “คนอื่น” อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะ จากถิ่นกําเนิด สีผิว สําเนียง ไปจนถึงธรรมชาติของการทำงาน และตามธรรมชาติแล้วยังควรเชื่อสมาคมเหมือง ยุโรปที่ตนเองเป็นสมาชิกด้วย การเลือกจ้างสามีนั้นเป็นการตอกย้ำว่าความเห็นอกเห็นใจอันเป็นรากของ มนุษยธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และยังสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ต้องมีอะไรร่วมกันเลย นอกจากความเป็นมนุษย์

 

     มุมหนึ่งที่ควรถูกกล่าวถึง คือ “มนุษยธรรม” ในเรื่องสั้นยังคงเป็นมนุษยธรรมในยุคก่อน คําพูดของนายฝรั่ง ว่า “เขาเป็นคนละคนกับชายโสดนักสไตรค์” (หน้า 6) สะท้อนให้เห็นถึงการมองว่าการสไตรค์เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และควรกําจัด ความคิดเช่นนี้กลับจากยุคปัจจุบันที่มองว่าการประท้วงคือสิ่งที่พึงมีและพึงกระทําได้เพื่อให้ มนุษย์ทุกคนสามารถเรียกร้องความยุติธรรมในการทํางานหรือชีวิต มนุษยธรรมในเรื่องจึงเป็นมนุษยธรรมที่ตั้งอยู่ บนฐานของความสงบและประณีประนอมมากกว่าการเรียกร้องและการต่อสู้แบบปัจจุบัน อย่างไร ประเด็นนี้ไม่ได้มี ผลกระทบกับคุณเรื่องความเห็นอกเห็นใจที่เรื่องนําเสนอเลยแต่อย่างใด

 

     ท้ายที่สุดแล้ว “ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม” นั้นจึงเป็นเรื่องสั้นที่ถูกเขียนเพื่อแสดงธรรมชาติที่ไม่ผันแปร ของมนุษย์แม้จะอยู่ในบริบทที่ห่างจากความคุ้นเคย และคู่ควรแก่การอ่านเป็นอย่างยิ่ง

 

(แล่)เหมืองและความเป็นมนุษย์
บทวิจารณ์โดย ชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์

โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 6

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ