คำพิพากษา : ความเป็นชายขอบและสิทธานุมัติทางสังคม

คำพิพากษา

          คำพิพากษา เป็นงานวรรณกรรมประเภทนวนิยาย ประพันธ์โดย ชาติ กอบจิตติ ได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2524 และรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (South East Asia Writers Award : S.E.A. Write) พ.ศ. 2525 เล่าเรื่องของ “ฟัก” ชายหนุ่มผู้ตกเป็นจาเลยสังคมจากความผิดที่ตัวเขาเองไม่ได้ก่อ ถูกตีตราว่าเป็นคนเลวที่ประพฤติผิดแผกไปจากจารีตประเพณีอันดีงามของสังคม กระทั่งกลายเป็นตัวประหลาด เป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์ ได้รับความสมเพชจากคนในสังคม ท้ายที่สุดก็ต้องพบจุดจบอันน่าเวทนา สิ้นชีวิตไปอย่างไร้เกียรติ ไม่ต่างจากสัตว์ตัวหนึ่งที่ไม่มีใครใส่ใจ ซ้ายังมีแต่คนปีติยินดีที่ตัวอัปรีย์ในหมู่บ้านสูญสิ้นไปได้เสียที วรรณกรรมเรื่องนี้นาเสนอประเด็นเรื่องความเป็นชายขอบและสิทธานุมัติทางสังคมได้อย่างชัดเจน

 

          ปมขัดแย้งหลักของ คาพิพากษา คือความเข้าใจผิดของสังคมที่มีต่อฟัก กล่าวหาว่าฟักประพฤติผิดในกามกับ “นางสมทรง” ซึ่งมีสถานะเป็นแม่เลี้ยงของตน กระทั่งได้รับการลงโทษทางสังคมโดยการถูกผลักออกจากการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ผู้ประพันธ์เปิดเรื่องด้วยกล่าวถึงปมปัญหานี้ในบทนา เล่าต้นตอของปมปัญหา แล้วจึงบรรยายชีวิตของฟักตั้งแต่เด็ก พร้อมกับบรรยายลักษณะของสังคมที่ฟักอาศัยอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจจักรวาลของเรื่องอย่างคร่าว ๆ จากนั้นในเนื้อหาภาคแรกและภาคหลังจึงประพันธ์ให้เรื่องราวดาเนินไปตามลาดับเหตุการณ์โดยใช้การเล่าเรื่องแบบผู้รู้จากัด คือเล่าโดยเน้นที่การรับรู้ผ่านมุมมองของตัวละครหลักเป็นหลัก

 

          ฟัก ตัวละครเอกของเรื่องผู้ตกเป็นจาเลยสังคมนี้ ครั้งหนึ่งเคยบวชเณร ร่าเรียนอยู่ใต้ร่มเงาของพุทธศาสนาอยู่นับปี ความเก่งกาจทางด้านศาสนาของสามเณรฟักทาให้เป็นความหวังของชาวบ้านว่าต่อไปจะมีพระอาจารย์ที่น่าเคารพอยู่คู่วัดอีกองค์หนึ่ง หลายคนถึงขั้นเรียกสามเณรฟักว่า ‘อาจารย์ฟัก’ ก่อนที่ฟักจะตัดสินใจสึกออกมาเพื่อดูแล “ฟู” ผู้เป็นบิดา กระนั้น ฟักก็ยังมิวายได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลตัวอย่างประจาตาบล เนื่องด้วยความประพฤติอันดีงามที่ฟักได้กระทาอยู่เป็นนิจ

 

          จุดเปลี่ยนของชีวิตฟักเกิดขึ้นเมื่อพ่อเสียชีวิตลง นอกจากอาชีพภารโรงที่ฟักได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากพ่อแล้ว พ่อยังได้ทิ้งสมทรง หญิงไม่เต็มเต็งที่ตนรับเข้ามาอยู่ร่วมชายคาในฐานะภรรยาไว้ให้ฟักดูแลอีกด้วย กระทั่งเกิดข่าวลือว่าฟักได้สมทรงเป็นภรรยา นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ชีวิตของฟักดาเนินไปถึงจุดต่าสุดของชีวิต เพราะหลังจากวันนั้น ฟักก็เป็นที่โจษจันของชาวบ้านร้านตลาดว่า ‘เอาแม่เลี้ยงเป็นเมีย’ ต่อมศีลธรรมของคนในตาบลเริ่มทางาน วิพากษ์วิจารณ์ฟักกันอย่างสนุกสนาน แต่หาได้มีผู้ใดใส่ใจจะถามหาความจริงจากปากของฟักไม่ นานวันเข้าเมื่อฟักไม่ออกมาโต้แย้งเรียกร้องความยุติธรรมให้ตนเอง ก็เหมือนยอมรับกลาย ๆ ว่าที่ชาวบ้านพูดกันนั้นเป็นเรื่องจริง ฟักมีแต่จะเป็นที่รังเกียจของชาวบ้าน ไม่มีใครคบหา ยิ่งเมื่อฟักได้ลองลิ้ม รสสุราจนกระทั่งติดใจที่มันเป็นสิ่งที่ทาให้ตนหนีห่างจากโลกความจริงอันเจ็บปวดรวมทั้งความเครียดที่สะสมพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ความน่าเชื่อถือในตัวก็ยิ่งเหือดหาย จะพูดจะกล่าวอะไร หาได้มีใครเชื่อไม่ ซ้าร้าย ฟักยังถูกกระทาจากคนในสังคมอีกนานัปการ เช่น ถูกครูใหญ่โกงเงิน ถูกลอบดักทาร้ายร่างกาย ในขณะที่เรื่องราวเข้าใจผิดที่ชาวบ้านมีต่อฟักก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้นว่า ไอ้ฟักมีอะไรกับสมทรงในสวนที่รับจ้างดายหญ้ากลางวันแสก ๆ โดยไม่อายฟ้าดิน ไอ้ฟักโกหกหลวงพ่อผู้เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน ไอ้ฟักกล่าวหาครูใหญ่ ไอ้ฟัก ฯลฯ

 

          ผู้ประพันธ์ใช้วิธีเน้นย้าปมปัญหาเดิม คือความเข้าใจผิดที่คนในสังคมมีต่อฟัก ในการทวีความซับซ้อนของเรื่อง เพิ่มอุปสรรคและความยากลาบากแก่ฟักให้หนักหนายิ่งขึ้น โดยเสริมเข้าไปที่ปัญหาเดิมซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว วิธีนี้ทาให้เรื่องราวไม่ซับซ้อนมากนัก ผู้อ่านจึงได้มุ่งเน้นเรื่องราวไปที่สิ่งที่เกิดขึ้นกับฟักเพียงอย่างเดียว แต่มีความสงสารเวทนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความทุกข์ที่ฟักได้รับ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้อ่านเกิดความเวทนาฟักในฐานะผู้ที่ตกเป็นจาเลยสังคม ถูกสังคมพิพากษาในความผิดที่ไม่ได้ทาแล้ว ผู้ประพันธ์กลับเฉลยให้ประจักษ์ว่าตัวฟักเองก็ไม่ต่างจากชาวบ้านคนอื่น ๆ คือทาตัวเป็นไม่บรรทัด ตัดสินผู้อื่นที่ตนคิดว่ามีสถานะต่ากว่าตน จุดนี้มีข้อดีคือทาให้ผู้อ่านได้รู้จักฟักในอีกมิติหนึ่ง

 

          เรื่องราวดาเนินมาถึงจุดวิกฤติหลังเมื่อฟักถูกครูใหญ่โกงเงินและไปประณามครูใหญ่ถึงโรงเรียน ฟักถูกจับตัวไปคุมขังในคุกเป็นเวลาหลายชั่วโมงกระทั่งเกิดอาการอยากสุรา (ลงแดง) จนเสียชีวิตหลังได้รับการปล่อยตัวเพียงไม่นาน หลังจากนั้นเรื่องราวจึงค่อย ๆ ดาเนินผ่านจุดคลี่คลายและสู่จุดจบของเรื่อง คือการจัดการศพของฟักอย่างไร้เกียรติ แม้วิญญาณของฟักจะสูญสิ้นไปแล้ว แต่ร่างกายของฟักยังอยู่ ศพของฟักถูกนามาใช้สาหรับทดลองเตาเผาศพแบบใหม่ ไม่ได้รับการประกอบพิธีทางศาสนาอย่างที่ควรจะเป็น ฟักสิ้นชีวิตอย่างไร้เกียรติ คงไว้แต่เรื่องตานานความเลวให้เป็นที่กล่าวขานกันเรื่อยไป โดยที่ฟักไม่มีโอกาสแม้แต่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตนเอง

 

          เมื่อพิจารณาเนื้อหา กล่าวได้ว่า คาพิพากษา เป็นวรรณกรรมชายขอบที่นาเสนอภาพของคนชายขอบหลายกลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกคือคนที่ถูกเชื่อว่าเป็นผู้ทาผิดจารีตประเพณีของคนหมู่มาก แม้ครั้งหนึ่งเคยได้รับการยกย่องนับถือจากคนในสังคม แต่เมื่อใดก็ตามที่บุคคลผู้นั้นถูกเข้าใจว่าประพฤติตนดังว่า สังคมก็พร้อมผลักมันผู้นั้นให้ออกจากความเป็นปกติของสังคมทันที กลุ่มถัดมาคือคนที่กลายเป็นชายขอบเนื่องจากปฏิเสธความเชื่อหรือค่านิยมหลักที่สังคมยึดถือ ไม่ยอมประพฤติตนและรับเอาความเชื่อที่สังคมยึดถือว่าดี และกลุ่มสุดท้ายคือคนที่ดาเนินชีวิตของตนตามปกติ แต่สังคมกลับหยิบยื่นสถานภาพความเป็นชายขอบให้อันเนื่องมาจากทัศนคติบางประการของคนในสังคม

 

          ฟัก เป็นตัวแทนขอบคนชายขอบกลุ่มแรก ความเข้าใจผิดที่คนในสังคมมีต่อฟักคือการผิดประเวณี ร่วมเพศกับนางสมทรงซึ่งมีสถานะเป็นแม่เลี้ยงคนเอง สาหรับสังคมเล็ก ๆ อย่างตาบลที่ฟักอาศัยอยู่แล้ว พฤติกรรมเช่นนี้น่ารังเกียจเกินกว่าจะรับได้ กรอบจารีตที่คนในตาบลนี้ยึดถือมีพื้นฐานตั้งอยู่บนความเชื่อทางพุทธศาสนา การกระทาของฟักที่ถูกเข้าใจผิดนี้ถือได้ว่าผิดศีลข้อที่สาม คือการประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ‘ผู้อื่น’ ในที่นี้หมายถึงพ่อบังเกิดเกล้าของตนด้วยแล้ว การกระทาของฟักในข่าวลือเรื่องนี้จึงเรียกได้ว่าเลวทรามต่าช้าไม่ต่างจากพฤติกรรมของสัตว์เดรัจฉาน ไม่ใช่พฤติกรรมที่คนปกติในสังคมจะทากัน ดังที่ “ละมัย” ต้นตอข่าวลือยกข้อสังเกตของตนมาเสริมว่า “…คงมีแต่หมาเท่านั้นที่หื่นกระหายอยู่ในเดือนนี้…” (คาพิพากษา, 2524 : 11) เมื่อเป็นเช่นนี้ ฟักจึงค่อย ๆ ถูกสังคมผลักให้กลายเป็นคนชายขอบในชั่วข้ามคืน หลังจากที่ข่าวลือจากปากนางละมัยแพร่ออกไปให้เป็นที่รู้กันในวงกว้าง

 

          เมื่อกลายเป็นคนชายขอบแล้วก็ยากที่ฟักจะกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอีกครั้ง ฟักไม่ได้พยายามอธิบายความจริงให้คนในสังคมเข้าใจตั้งแต่ต้นว่าตนนั้นหาได้ประพฤติผิดในกามกับแม่เลี้ยงไม่ แต่หวังเพียงว่าสักวันหนึ่งชาวบ้านจะเข้าใจและเลิกคิดว่าตัวเขาไม่ได้มีความประพฤติดังว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อมีโอกาส ฟักก็พยายามอธิบายว่าตนกับสมทรงไม่ได้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งอันใด แต่สายไปเสียแล้ว ความจริงที่ออกจากปากฟักกลายเป็นคาแก่ตัว เรื่องเล่าสนุกปากที่ออกจากปากคนนั้นคนนี้ เพิ่มเสริมเติมแต่งไปไม่รู้เท่าไรต่างหากที่กลายเป็นความจริงแทนที่ ความเป็นชายขอบที่สังคมหยิบยื่นให้ฟัก ทาให้เขากลายเป็นบุคคลที่ อ่านไม่ออก มองไม่เห็น ไร้ซึ่งพลังอานาจใด ๆ ในสังคมอีกต่อไป

 

          ในขณะที่นางสมทรง เป็นตัวแทนของคนที่ปฏิเสธความเชื่อหรือค่านิยมหลักที่สังคมยึดถือ ไม่ยอมประพฤติตนและรับเอาความเชื่อที่สังคมยึดถือว่าดี อาการทางประสาทของนางสมทรงสื่อถึงแนวความคิดที่แตกต่างจากคนหมู่มาก ทั้งนี้ แนวคิดและจารีตประเพณีของคนในสังคมที่นางและฟักอาศัยอยู่นั้นตั้งอยู่บนหลักของพุทธศาสนา

 

...วัดเป็นเสมือนศูนย์รวมของผู้คนในตาบลแห่งนี้ ลูกเกิดก็ต้องมาที่วัด ให้หลวงพ่อตั้งชื่อให้

ตามวันเดือนปีของเด็กที่เกิดเพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวลูก ส่วนพวกที่มีลูกหลานอายุครบบวชก็

ต้องมาบวชที่วัด จาพรรษาอยู่ที่วัด แน่นอนคนตายก็ต้องเอาศพมาเผกันที่วัด ใครจะพบปะ

สังสรรค์ กานันจะประชุมลูกบ้านต่างต้องมาที่วัด เจ้าหน้าที่จากอาเภอจะมาทาบัตร

 ประจำตัวให้ประชาชนก็ต้องมาทาที่วัด... (คาพิพากษา, 2524 : 11)

 

          สำหรับนางสมทรงแล้ว แนวคิดนี้ไม่ได้อยู่ในซอกหลีบความคิดของนางเลย สาหรับนาง วัดเป็นเพียงแหล่งอาหารที่ช่วยให้นางอิ่มท้อง และเป็นโรงมหรสพชั้นเลิศยามมีงานบุญหรืองานศพของคนใหญ่คนโต หาได้เป็นศูนย์รวมใจหรือที่ที่จะมาหาความสงบสุขใต้ร่มเงาของพุทธศาสนาไม่ กล่าวคือ นางไม่ได้มีความคิดด้านศาสนาอยู่ในห้วงคานึงของนางเลย นางไม่รู้จักบุญ ไม่รู้จักบาปใด ๆ ทั้งสิ้น นางพอใจกับชีวิตหรรษาของนาง มีความสุขกับการลัดเลาะเที่ยวหาสมบัติอันได้แก่เศษขยะที่ชาวบ้านโยนทิ้งไว้

 

          ประเด็นนี้ได้รับการตอกย้าให้ชัดเจนขึ้นในฉากวันบังสุกุลกระดูก ในวันนี้ คนในสังคมที่ยอมรับความเชื่อทางพุทธศาสนาอันเป็นจารีตหลักของสังคมต่างแต่งกายด้วยชุดสีขาว-ดา ขณะที่นางสมทรงแต่งกายด้วยเสื้อลายดอกแดงกับผ้าถุงสีส้มซึ่งเป็นชุดเก่งของนาง “ชุดเก่ง” ในที่นี้ เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อหรือแนวคิดที่นางยอมรับยึดถือ ไม่ว่าแนวคิดดังกล่าวจะเป็นความเชื่อใด แต่เมื่อความเชื่อของนางขัดกับชุดขาว-ดา อันเป็นสัญลักษณ์ของจารีตที่คนส่วนใหญ่ยอมรับแล้ว นางก็ถูกผลักให้กลายเป็นคนชายขอบ เป็นที่รังเกียจของคนในสังคมทันที ไม่มีใครคบค้าสมาคมกับนาง เพียงเพราะแนวคิดของนางไม่เหมือนคนอื่น “...สีแดงดอกเคลื่อนไปทางไหน สีขาว-ดาก็แหวกออกเป็นทาง…” (คาพิพากษา, 2524 : 71)

 

          นางสมทรงคงจะดาเนินชีวิตบนความเชื่อของตนไปอย่างปกติสุข หากนางไม่อุตริไปยุ่งย่ามกับความเชื่อที่คนส่วนใหญ่นับถือ แต่เมื่อใดก็ตามที่นางตั้งคาถามหรือกระทั่งลบหลู่ความเชื่อที่คนส่วนใหญ่ยืดมั่นถือมั่นแล้ว นางก็จะถูกคนในสังคมลงโทษทันที

 

...นางเดินออกจากศาลาโรงทึมไปได้สักระยะหนึ่ง พลันสายตาไพล่ไปมองที่เจดีย์ซึ่งตั้งอยู่ทาง

ด้านข้างวิหาร มีคนกลุ่มหนึ่งกาลังนั่งพนมมือจับสายสิญจน์อยู่รอยเจดีย์ พระสี่รูปยืนถือ

ตาลปัตรจับสายสิญจน์สวดอยู่ ม่ายสมทรงหันเหทางเดินเข้าไปดู นางหยุดยืนค้าหัวคนนั่ง ยืนดู

อยู่สักครู่ก็ส่งเสียงหัวเราะออกมา โดยไม่มีใครรู้ว่านางขบขันอะไร

...


ทันใดนั้นม่ายสมทรงถลกผ้าถุงสีส้มขึ้นจนถึงเอว แอ่นเนินเนื้อไปทางคนกลุ่มนั้น ทิดส่งสุด

    ระงับโทสะเอาไว้ได้ เขาและพี่น้องเหมือนโดนลบหลู่กันถ้วนหน้า ไม่เพียงเท่านั้น แต่เป็นการ

      ลบหลู่ต้นตระกูล ลบหลู่สิ่งที่เคารพบูชาอีกด้วย ทิดส่งวิ่งไล่กวดจนทันนาง ลงมือฟาดไม่ยั้งไม่

    นับ ตีจนไม้หักกระเด็นคามือ ม่ายสมทรงวิ่งพลางล้มลุกคลุกคลานหนีเอาตัวรอดตกใจกลัว มี

รอยแดงเป็นแนวติดไปทั้งตัว...
(คำพิพากษา, 2524 : 73)

 

          ในขณะที่สัปปะเหร่อไข่เป็นตัวแทนของคนที่ดาเนินชีวิตของตนตามปกติ แต่สังคมกลับหยิบยื่นสถานภาพความเป็นชายขอบให้อันเนื่องมาจากทัศนคติบางประการของคนในสังคม ในกรณีนี้คือทัศนคติที่คนในสังคมมีต่ออาชีพสัปปะเหร่อ ชาวบ้านมองอาชีพสัปปะเหร่อว่าเป็นอาชีพที่สกปรก เนื่องด้วยลักษณะของงานนั้นต้องอยู่กับศพซึ่งเป็นสิ่งสกปรก มีกลิ่นเลือดและน้าหนองคาวคลุ้ง ไม่มีใครอยากสุงสิงกับสัปปะเหร่อไข่เท่าใดนักเนื่องด้วยเกรงว่าสิ่งสกปรกโสมมดังกล่าวจะกระเด็นกระดอนมาต้องร่างกายอันสะอาดผุดผ่องของตน ยามสัปปะเหร่อไข่ใส่บาตรพระ ก็ไม่มีพระรูปใดหรือเด็กวัดคนไหนทานอาหารของสัปปะเหร่อไข่

 

...จากอาชีพสัปปะเหร่อมันแสนสกปรก คลุกคลีกับคนตาย กลิ่นเน่าเหม็นของศพ คราบ

เหนียวเหนอะหนะของน้าเหลือง เข้า-ออกโกดังเก็บศพที่เหม็น อับชื้น หนู หนอนชอนไชศพ

สิ่งเหล่านี้น่ารังเกียจแต่แกกลับคลุกคลีอยู่กับมันได้ พลอยให้นึกคลื่นเหียน สิ่งเหล่านี้คงอบร่า

ให้แกเป็นคนสกปรก และกับข้าวที่แกใส่บาตรคงต้องติดเชื้อแห่งความสกปรกนั้นมาอย่างไม่

ต้องสงสัย... (คาพิพากษา, 2524 : 116)

 

          ฟัก สมทรง และสัปปะเหร่อไข่ต่างถูกสังคมหยิบยื่นความเป็นชายขอบให้ด้วยกันทั้งสามคน แต่น่าสังเกตว่าในจานวนนี้มีเพียงฟักคนเดียวที่พยายามกลับเข้าไปอยู่ในสังคมอีกครั้ง ฟักหวังอย่างยิ่งยวดว่าสักวันหนึ่งคนในสังคมจะเข้าใจกระจ่างชัดว่าเขากับสมทรงนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งอันใดต่อกัน เป็นเพียงแค่คนร่วมชายคาเดียวกันเพียงเท่านั้น ความเครียดที่ถาโถมเข้ามาหาฟักนั้นเกิดจากการที่ฟักใส่ใจคาวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ฟักปรารถนาให้สังคมชื่นชมตนอย่างที่เคยเป็น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้มองเขาอย่างคนปกติทั่วไปในสังคมก็เพียงพอ การเพียรทางานของฟัก นอกจากจะเพื่อหลีกหนีจากความเครียดที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดหย่อนแล้ว ยังเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อสังคมว่าเขาเองไม่ใช่คนไร้ค่า เขายังสามารถทางานได้ดีไม่ต่างจากแต่เก่าก่อน เขายังมีประโยชน์ต่อสังคม สังคมจึงควรอ้าแขนรับเขากลับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งเสียที

 

          ตรงกันข้ามกับสมทรงและสัปปะเหร่อไข่ ทั้งคู่ไม่ได้ใส่ใจกับความคิดของคนในสังคมมากนัก สมทรงใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ในโลกของตัวเอง ในขณะที่สัปปะเหร่อไข่เองแม้จะเศร้าใจอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ยอมปล่อยให้มันเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตเช่นกรณีของฟัก ทั้งสัปปะเหร่อไข่และสมทรงจึงใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข แตกต่างกับฟักอย่างสิ้นเชิง

 

           ท้ายที่สุด กระบวนการที่สังคมทาให้คนกลุ่มหนึ่งกลายเป็นชายขอบ ก็ไม่ต่างกับการหยิบยื่นความอยุติธรรมที่ทาบนพื้นฐานของภาพมายาทางศีลธรรมที่สังคมตีกรอบขึ้นมานั่นเอง

 

           นอกจากประเด็นเรื่องความเป็นชายขอบ คาพิพากษา ยังนาเสนอประเด็นเรื่องสิทธานุมัติทางสังคม (social sanction) สิทธานุมัติทางสังคม คือวิธีการสร้างระบบการควบคุมและลงโทษทางสังคม ที่สังคมสร้างขึ้นเพื่อให้คนในสังคมปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่สังคมสร้างขึ้น หากผู้ใดไม่ประพฤติตนตามบรรทัดฐานที่สังคมยอมรับ แต่พฤติกรรมนั้นไม่ได้ถือเป็นความผิดพอที่จะทาให้ผู้นั้นได้รับการลงโทษทางกฎหมาย คนในสังคมก็จะลงโทษด้วยตนเอง ในกรณีของฟัก บทลงโทษที่ฟักได้รับจากสังคมคือการถูกติฉินนินทาและถูกผลักให้ออกจากการมีส่วนร่วมในสังคม ยิ่งมีข่าวลือของฟักในทางลบมากขึ้นเท่าใด เขาก็เหมือนถูกผลักให้ห่างออกจากขัณฑสีมาของความเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคมมากขึ้นเท่านั้น ประเด็นที่น่าสนใจคือ ในกรณีของฟัก เขาถูกลงโทษจากสังคมทั้ง ๆ ที่ยังไม่เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมโดยรวมว่าเขาได้เสียกับนางสมทรงจริง ๆ ด้วยซ้า กล่าวคือ ข่าวลือที่แพร่ออกไปเกี่ยวกับตัวเขาเป็นเรื่องเข้าใจผิด ไม่มีเค้ามูลความจริงใด ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับสารนี้ไปก็หลงเชื่ออย่างง่ายดายและนาไปแพร่กระจายต่อจนกระทั่งนาความกลัดกลุ้มมาสู่ตัวฟัก

 

           เนื่องจากฟักได้กลายเป็นคนชายขอบกระทั่งทาให้ฟักกลายเป็นกลุ่มคนที่สังคม อ่านไม่ออก มองไม่เห็น คาพูดของฟักจึงไร้ซึ่งความน่าเชื่อถืออีกต่อไป สังคมเลิกใส่ใจความจริงจากปากฟัก แต่กลับยึดถือเอาคาบอกเล่าปากต่อปากจากคนอื่นเป็นสาคัญ ไม่ใช่ว่าฟักไม่เคยปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ แต่ฟักไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะมีอานาจโน้มน้าวใจใครได้อีกต่อไป ไม่ใช่เณรน้อยฟักหรืออาจารย์ฟักผู้เป็นที่เลื่อมใส ไม่ใช่พ่อฟักที่เป็นบุคคลตัวอย่างประจาตาบล แต่เป็นแค่ไอ้ฟักที่อุตริเอาเมียพ่อเป็นเมียตัวเอง ตรงกันข้าม คนที่มีอานาจพอจะทาให้สังคมเห็นดีเห็นงามไปด้วยและมีพลังพอจะโน้มน้าวสังคมได้ คือคนที่มีคุณลักษณะหรือประพฤติตามกรอบขนบประเพณีของสังคมหรือครอบครองคุณค่าที่สังคมยอมรับ ในที่นี้คือ ยศถาบรรดาศักดิ์ เงินทอง และศาสนา ด้วยเหตุนี้ ครูใหญ่ กานัน และหลวงพ่อ จึงเป็นตัวแทนของอานาจในวรรณกรรมเรื่องนี้ ทุกคาพูดของตัวละครทั้งสามจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นความจริงเสมอ เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างคนชายขอบในสังคมอย่างฟัก กับบุคคลที่ได้รับการนับหน้าถือตาในสังคมอย่างครูใหญ่ จึงไม่แปลกที่สังคมจะเลือกเชื่อคาพูดของครูใหญ่มากกว่าจะฟักความจริงจากปากฟัก

 

          ลีลาการประพันธ์ของ ชาติ กอบจิตติ ในวรรณกรรมเรื่องนี้ที่โดดเด่นอย่างหนึ่ง คือการบรรยายรายละเอียดในแต่ละฉากอย่างละเอียด โดยเฉพาะการบรรยายอากัปกิริยาของฟักที่บรรยายแทบทุกอิริยาบถ การบรรยายรายละเอียดเช่นนี้ทาให้ผู้อ่านจินตนาการได้ชัดเจนทั้งภาพ เสียง กลิ่น ผู้ประพันธ์ไม่เพียงบรรยายถึงสิ่งที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส แต่ยังบรรยายกระทั่งความรู้สึก ห้วงคานึง และกระแสสานึกที่โลดเล่นอยู่ในสัมปชัญญะของฟัก ดังฉากต่อไปนี้

 

...นางนี่ก็ชอบดอกไม้เหมือนกัน ยิ่งดอกพู่ระหงสีแดงด้วยละก็เห็นไม่ได้ทีเดียว ไม่รู้เป็น

อะไร จะว่าบ้าก็ไม่ใช่ ไม่เคยเห็นอาละวาดสักที แต่ชักไม่น่าไว้ใจเสียแล้ว นึกยังไงนะถึงเปิด

นมให้ครูปรีชาดู เมื่อหัวค่านี้ยังจะมาขอนอนด้วยอีก ชักยังไงอยู่ ฮื่ย... ไม่มั้ง คงไม่ใช่อย่างนั้น

หรอกน่า รึว่ามันคลั่งเพราะมันอยากวะ พ่อตายไปตั้งเดือนกว่าแล้วนี่หว่า ไอ้ทากันนี่เขาว่า

เสพติดนะ ลองได้เคยแล้วมันจะเลิกไม่ได้ง่าย ๆ เฮ้อ กิเลส... แล้วมันจะบ้ารึเปล่าวะนี่ ถ้าเกิด

บ้าขึ้นมากูจะทายังไง เฮ้อ พ่อ... เอาห่วงมาทิ้งไว้ให้ข้าแท้ ๆ ถ้าไม่มีนางเสียคนหนึ่ง ข้าคงจะ

บวชให้พ่อไปแล้ว ไม่ต้องมาเป็นทุกข์วุ่นวายใจอย่างทุกวันนี้ นี่ชื่อเสียงไม่เหลือแล้ว หมด

แล้ว...เอาเมียพ่อมาทาเมียตัวเอง... ไม่มีใครเชื่อเลยสักคนว่าข้าไม่เคยยุ่งกับเมียพ่อ พ่อรู้อยู่ใช่

ไหมว่าข้าไม่เคยยุ่งจริง ๆ แล้วทาไมไม่มีใครยอมเชื่อข้าล่ะ ครูใหญ่ยังไม่ยอมเชื่อเลย นางก็

ปากไวดันไปด่านางละมัยเขาเข้า ไม่รู้พูดออกมาได้ยังไง น่าอายจริง เฮ้อ... ถ้าได้ผู้หญิงคนอื่น

เป็นเมียก็คงไม่มีอะไร หรือว่าจะไล่มันไปอยู่ที่อื่นดีวะ... (คาพิพากษา, 2524 : 47)

 

          การบรรยายอย่างละเอียดกระทั่งลึกลงไปถึงระดับอารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ ทาให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกร่วมกับตัวละคร ก่อให้เกิดความเห็นใจตัวละครที่ต้องประสบทุกข์เวทนานั้นและได้เข้าไปอยู่ในจักรวาลแห่งความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในระดับลึกซึ้ง (intimate) ถึงขีดสุด

 

          นอกจากนี้ วรรณกรรมเรื่องนี้ยังเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ ผู้ประพันธ์นาเสนอสัญลักษณ์เป็นภาพแทนของสิ่งต่าง ๆ ในสังคมผ่านการกระทาของตัวละครในเหตุการณ์ต่าง ๆ การสอดแทรกสัญลักษณ์นี้หลายครั้งก็นาเสนอพร้อมกันกับการใช้การเปรียบเทียบ เช่น เสียงระฆังในฉากวันสงกรานต์เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่สังคมเทิดทูนบูชา เช่น เกียรติยศ เงินทอง ยศถาบรรดาศักดิ์ และชาติตระกูล สิ่งเหล่านี้หาได้มีคุณค่าในตัวเองแต่แรกเริ่มไม่ แต่มนุษย์เป็นผู้มอบความหมายและตีค่าให้แก่มัน กระทั่งเอามาเป็นสิ่งวัดคุณค่าของมนุษย์ด้วยกัน ในขณะที่ “มือ” ที่ปรากฏในฉากเดียวกันนั้น เป็นสัญลักษณ์ของอคติของคนในสังคมที่คอยกดฟักไว้ไม่ให้กลับมายืนได้อย่างปกติในสังคม เป็นสิ่งที่มีแต่จะผลักให้ฟักกลายเป็นคนชายขอบมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

           สัญลักษณ์ที่น่าสนใจมากอย่างหนึ่งคือ สุนัขสีดาที่มีท่าทางคล้ายสุนัขบ้า สุนัขตัวดังกล่าวเข้ามาในโรงเรียน กระทั่งพบเจอกับกลุ่มนักเรียน ครูใหญ่สรุปว่าอาการของสุนัขดังกล่าวคืออาการของสุนัขบ้า เพราะฉะนั้นจึงจาเป็นต้องฆ่าทิ้งเสียก่อนที่มันจะมาทาร้ายนักเรียนหรือคนอื่น ๆ ไม่มีใครตรวจสอบให้แน่ชัดว่าสุนัขตัวนี้เป็นสุนัขบ้าจริงหรือไม่ แต่ยึดเอาตามอาการเท่าที่เห็น แล้วจึงแถลงเป็นข้อสรุป หยิบยื่นความตายให้แก่มัน อาจด้วยเห็นว่ามันเป็นเพียงสุนัขตัวหนึ่งซึ่งไม่ได้ครอบครองชีวิตที่มีค่าเท่าใดนัก เมื่อพิจารณาจะเห็นว่า สุนัขตัวนี้เป็นเสมือนตัวแทนของฟักทั้งในอดีต ปัจจุบัน และยังเป็นภาพทานายอนาคตของฟัก กล่าวคือ ฟักถูกเข้าใจผิดว่าได้เสียกับนางสมทรงโดยไม่มีผู้ใดมีหลักฐานมารองรับข้ออ้างดังกล่าว เช่นเดียวกับที่สุนัขตัวนี้ถูกเข้าใจว่าเป็นสุนัขบ้า ทั้งที่อาการที่มันเป็นอยู่มีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นอาการของโรคชนิดอื่น ฟักถูกก่นด่าสาปแช่งจากชาวบ้าน เป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์จากชาวบ้านร้านตลาด ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่สุนัขตัวนี้ได้รับจากครูและนักเรียนในโรงเรียน ท้ายที่สุด สิ่งที่สุนัขตัวนี้ได้รับคือความตาย ไร้ซึ่งผู้เห็นใจ ตรงกันข้าม กลับมีแต่คนยินดีที่มันตายไปเสียได้ เช่นเดียวกับฟักในตอนจบที่ต้องสิ้นชีวิตอย่างไร้เกียรติและน่าเวทนา ศพของสุนัขตัวนี้ไร้ผู้ใส่ใจ เสมือนหนึ่งว่าเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง หาใช่ร่างกายที่เคยมีวิญญาณอันบริสุทธิ์อยู่ไม่ เช่นเดียวกับศพของฟักที่ถูกใช้ในการทดลองเตาเผาศพแบบใหม่ ไม่มีใครใส่ใจว่าควรจะนาไปประกอบพิธีตามศาสนาอย่างที่ควรจะเป็น

           คำพิพากษา ของ ชาติ กอบจิตติ ถือเป็นงานประพันธ์วรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นโศกนาฏกรรมสามัญที่เกิดขึ้นอยู่เป็นนิจในสังคมไทยได้อย่างดีเยี่ยม มีลีลาการประพันธ์ที่สามารถนาพาผู้อ่านเข้าสู่จักรวาลในเรื่องในระดับที่ลึกถึงระดับความรู้สึกจิตในของตัวละคร ในขณะเดียวกันก็แทรกความหมายแฝงผ่านสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในเรื่องได้อย่างแยบยล สมควรแก่รางวัลที่ได้รับมาทั้งสองรางวัล

 

_______________________________

บทวิจารณ์โดย วุฒิชัย ม้องพร้า

 

 

Writer

The Reader by Praphansarn