หญิงสาวกับลูกนกขุนทอง: สะท้อนชีวิตจริงของสังคมมนุษย์ : บทวิจารณ์โดย จุฑาทิพย์ ลุนนู

หญิงสาวกับลูกนกขุนทอง: สะท้อนชีวิตจริงของสังคมมนุษย์

      " ความเหนื่อยยากประจำวันนานเนิ่นกว่ามาตรฐานของนาฬิกา ความใฝ่ฝันบางอย่างครอบคลุมไกลกว่าวันพรุ่งนี้ "

      มนุษย์ล้วนพบเจอสิ่งที่ทำให้เหนื่อยยากในแต่ละวันแตกต่างกัน ซึ่งความเหนื่อยยากนั้นขึ้นอยู่กับตัวมนุษย์มีความใฝ่ฝืนทะเยอทะขานที่จะทำตามสิ่งที่กำหนดไว้ได้มากน้อยเพียงใด

      สารคดี หญิงสาวกับลูกนกขุนทอง ต้องการนำเสนอ ความจริงของมนุษย์ ผ่านเรื่องราว ภาษาอันน่าแยบยล โดยให้ตัวละคร "ผม" เป็นผู้เล่าเรื่อง ดำเนินเรื่องในเวลาเดียวกัน

      ผมกับผู้หญิงคนรัก อาศัยอยู่ปะปนกับชาวม้ง ใช้ชีวิตในป่า ปลูกข้าว ปลูกผักไว้กิน การอยู่ในป่าทำให้เป็นไข้ป่าได้ง่ายถึงแม้จะอยู่มาป็นเวลานาน ไข้ป่าถือว่าเป็นเรื่องปกติของคนอาศัยอยู่ในป่า ผมเป็นไข้ป่าเกือบตลอดทั้งปีมีผู้หญิงคนรักดูแลอยู่ไม่ห่าง จัดหุงหาอาหารมาให้กินจนหายดี

     ผมได้หาสัตว์มาให้ผู้หญิงคนรักได้เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นเต่า เหี้ยลายพาดกลอนเหลืองสลับดำ สัตว์สองตัวนี้ ผู้หญิงคนรักไม่สามารถเลี้ยงได้ ผมจึงนำลูกนกขุนทองมาใ ห้เลี้ยง ผมและคนรักเลี้ยงลูกนกขุนทองเป็นอย่างดี เหมือนกับลูกตัวเอง เจ้าขุนทองจะตามผมกับคนรักไปทุกที่

     จนกระทั่งถึงวันที่ไปทำธุระบนภูร่องกล้า เป็นคืนวันสุดท้ายก่อนเจ้าขุนทองจะจากไป เหลือเพียงความทรงจำ

     ประเด็นที่สามารถสะท้อนในเรื่อง หญิงสาวกับลูกนกขุนทอง ประเด็นแรก คือ การอยู่อาศัยของคนที่อยู่ในป่าต่างมีชีวิตที่งียบสงบ แต่ก็มีความรันทดซ่อนอยู่นั่นคือ "ความเหงา" ซึ่งถือว่าเป็นความทุกข์ที่ไม่เป็นความทุกข์ เห็นจากข้อความ " ชีวิตป่ามีความสงัดสุขแต่ก็แฝงไปด้วยความรันทดบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องเป็นความทุกข์ มันเหมือนกับการที่เรานั่งอยู่คนเดียวในสวนสาธารณะ กรุ่นคิดถึงอะไรสักอย่างพอให้น้ำตาคลอ ไม่ต้องการคำทักทายจากผู้คนที่ผ่านไปมา แต่ก็อยากให้มีนกสักตัวมาเกาะกิ่งไม้ใกล้ ๆ "จะเห็นได้ว่าข้อความที่ยกมา แสดงให้เห็นถึง แม้ว่าจะมีความเหงามากมายเพียงใด เจอเรื่องที่เลวร้ายมากมายขนาดไหน สิ่งที่ต้องการไม่ใช่คำพูดของใครสักคน แต่เป็นเพียงใครสักคนหรือสัตว์สักตัวคอยอยู่ข้าง ๆในวันที่โลกมันโหดร้ายกับเรา

      ประเด็นต่อมา กล่าวถึง การถูกคุมขังหรือกักขัง เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ต่างไม่ชอบการถูกคุมขัง กักขังให้อยู่ในอาณาบริเวณพื้นที่จำกัด เนื่องจากทุกชีวิตรักความเป็นอิสระ มีความต้องการที่แตกต่างกันเห็นจาก "ผมทำกลอนไว้หลังบ้านเพื่อผูกมันเวลาต้องการเขียนหนังสือ ไม่เช่นนั้นแล้วเพื่อนก็จะกระ โดดไปทั่วจนทำงานไม่ได้ แต่มันไม่ชอบอยู่อย่างนั้น และมักจะส่งเสียงร้องเหมือนเด็กที่ถูกขัดใจ เมื่อเราคนใดคนหนึ่งทำใจไม่ได้ ออกไปปลดเชือกและยื่นแขนให้ เจ้านกสีดำก็จะกระโดดมาเกาะทันที เสียงร้องหายไปราวปลิดทิ้ง แววตาใสแจ๋วมองเราเหมือนตัดท้อต่อว่า"

      จากข้อความจะเห็นได้ชัดว่าถึงแม้ว่าสถานที่อยู่หรือพื้นที่บริเวณกักขังนั้นจะดีขนาดไหน หากใจเราไม่ต้องการก็จะเกิดการประท้วงเหมือนดัง "นกที่ส่งเสียงร้องเหมือนเด็ก"

      อีกประเด็นที่ได้จากข้อความข้างต้น คือ ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก พ่อแม่จะไม่สามารถมองเห็นน้ำตาหรือความทุกข์ใจ เศร้าใจของลูกได้ เมื่อลูกเกิดความทุกข์ใจ เศร้าใจ พ่อแม่จะยื่นมือของตัวเองเข้ามาช่วยลูกอยู่เสมอ เห็นจาก "เมื่อเราคนใคคนหนึ่งทำใจ ไม่ได้ ออกไปปลดเชือกและยื่นแขนให้ "

      หากแต่ความรักของพ่อแม่ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยถูกนั้นอาจจะไม่ดีเสมอไป เนื่องจากส่งผลให้ลูกคิดว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นลูกไม่ต้องพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เพราะรู้ว่าพ่อแม่จะช่วยตัวเองเสมอการช่วยเหลือลูกในทุกเรื่องเป็นเหมือนกับ "พ่อแม่รังแกฉัน" ไม่ยอมให้ลูกได้เรียนรู้ ได้ใช้ชีวิตในสิ่งที่คิดสิ่งที่ฝัน เป็นการตัดโอกาสการเดิบ โตของลูกที่ต้องยืนหขัดด้วยกำลังขาของตัวเอง โดยที่ไม่รู้ว่าความสามารถของลูกจะสามารถนำพาตัวเองโบยบินไปได้ใกลเพียงใด เห็นได้จาก "ความรักความห่วงใยทำให้เราต้องทำร้ายมันด้วยการขริบปีก... ไม่รู้เลยว่าการฝืนกฎป่าเช่นนั้นทำให้เราต้องสูญเสียงลูกสมมุติของเราไป"

      อีกหนึ่งประเด็น กล่างถึง การรับรู้ในเรื่องของความจริง เมื่อทุกคนรู้ความจริงที่ปรากฏในใจ ความจริงนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการรับรู้ หรือยอมรับความจริงไม่ได้ คนมักจะสร้างดำโกหกขึ้นมาให้หลอกล่อตัวเองให้รู้สึกสบายใจ ถึงแม้ว่าความหวังที่มีจะริบหรี่ก็ตาม เห็นได้จาก "ในใจภาวนาว่าขอให้เป็นเพียงการออกไปฝึกบิน แต่ก็เป็นความหวังที่แห้งโหยเต็มที เพราะรู้อยู่ว่าเราขริบปีกมันจนสั้นนิดเดียว"

      จะเห็นได้ว่าสารคดี หญิงสาวกับลูกนกขุนทอง สะท้อนความจริงทุกสิ่งทุกอย่างใน โลกของความเป็นจริง ซึ่งในปัจจุบันยังสามารถพบเจอสิ่งที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอในเรื่องได้เป็นอย่างดี โดยที่ผู้เขียนไม่ได้บอกสิ่งที่ต้องการนำเสนอไปโดยตรง แต่ต้องผ่านการคิด วิเคราะห์ พิจารณา ผ่านเรื่องราวที่ถ่ายทอด ผ่านตัวหนังสืออันสละสลวย คมคาย จึงจะสามารถเข้าใจและนำไปปรับใช้กับชีวิตได้จริง

 

บทวิจารณ์โดย จุฑาทิพย์ ลุนนู
โครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์” ปีที่ 9

Writer

The Reader by Praphansarn