เมื่อลูกเป็นสุภาพบุรุษกับการย้อนแย้งทางความคิด : โดย สุนิษา คำยนต์

เมื่อลูกเป็นสุภาพบุรุษกับการย้อนแย้งทางความคิด

            เรื่องสั้น เรื่องเมื่อลูกเป็นสุภาพบุรุษของ ชมัยภร แสงกระจ่าง เป็นเรื่องสั้นที่นำเสนอเกี่ยวกับการที่ผู้หญิงคนหนึ่งที่แทนตนเองว่า “แม่” ในเรื่อง ผิดหวังจากการใช้ชีวิตคู่กับพ่อซึ่งเหตุเกิดจากวันแต่งงานของแม่นั้นมีผู้หญิงท้องคนหนึ่งมาบอกว่แม่ว่าคนที่แม่กำลังจะแต่งงานด้วว คือพ่อของลูกในท้องของเธอ ซึ่งตอนนั้นแม่เองก็กำลังตั้งท้องดินได้สามเดือนเช่นกัน แม่จึงหันไปถามพ่อกับเรื่องที่เกิดขึ้นซึ่งพ่อไม่ยอมรับว่าเป็นคนทำผู้หญิงคนนั้นท้อง เพราะความไม่ซื่อสัตย์ของพ่อทำให้แม่ตัดสินใจยกเลิกงานแต่งงานและเลือกที่จะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว โดยแม่ได้ตั้งความหวังไว้กับดินว่าดินคือลูกผู้ชายจะต้องเติบโตมาแข็งแกร่งและอดทนเช่นเดียวกับนักเขียนในดวงใจของแม่คือ “ศรีบูรพา” ผู้ทำให้แม่ซาบซึ้งกับคำว่าสุภาพบุรุษอันมีความหมายว่าผู้ที่เกิดมาเพื่อคนอื่น แม่เฝ้าเลี้ยงดูดินให้เป็นสุภาพบุรุษให้สมดั่งใจหวัง จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งมีผู้หญิงชื่อฟ้าใสมาบอกว่าเธอท้องกับดิน ผู้เป็นแม่ตกใจและพูดคุยกับฟ้าใสเกี่ยวกับเรื่องรางต่างๆ จนถึงตอนที่ดินกลับมาแม่เลือกที่จะถามดินและดินก็ยอมรับว่าตนเองทำฟ้าใสท้อง แม่รู้สึกผิดหวังในตัวดินที่ดินโกหก แต่กินก็ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรแม่ถึงโกรธทั้งๆ ที่เขาก็ทำตัวเป็นสุภาพบุรุษตามที่แม่ต้องการ สุดท้ายแม่ทราบความจริงที่ว่าดินยอมรับว่าเป็นพ่อของลูกเป็นเพราะคำพูดของเธอ “ถ้าเด็กในท้องเป็นลูกของดินเธอจะได้เรียนหนังสือ” สุดท้ายแม่เลยยอมรับที่จะเลี้ยงหลานแม้ไม่ใช่หลานของตนเอง

 

            เรื่องสั้น “เมื่อลูกเป็นสุภาพบุรุษ” เป็นการเล่าเรื่องแบบไม่ตรงตามลำดับเวลาคือเป็นการเล่าจากเวลาปัจจุบันย้อนไปสู่อดีต ซึ่งความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละครหลักได้แก่ ตัวละคร “แม่” นั้นนำมาสู่การเกิดจากความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับตัวละครคือ พ่อและแม่ ความขัดแย้งดังกล่าวคือเป็นการผูกปมของเรื่อง “...แม้กระทั่งพ่อของลูกที่ทำผู้หญิงท้องแล้วไม่รับ”

 

            “คุณนันท์ คุณเล่นอะไรของคุณพี่” แม่หันไปตอบพ่อชัดเจน “ฉันไม่ได้เล่นฉันพูดจริงฉันของเชิญคุณออกจากบ้านฉันไปได้เลย ฉันยกเลิกงานแต่ง” จากตัวบทเราจะเห็นได้ว่าจากการที่พ่อทำผู้หญิงท้องแล้วไม่รับนำมาสู่การยกเลิกงานแต่งงาน เพราะพ่อไม่ซื่อสัตย์และไม่เป็นสุภาพบุรุษ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการผูกปมของเรื่องให้น่าสนใจและชวนติดตาม นอกจากนี้ยังชี้ให้เราเห็นว่าเหตุผลของการที่ตัวละครแม่เลี้ยงดินให้เป็นสุภาพบุรุษเกิดจากปมในใจของเธอเอง ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจต่อไปว่า “สุภาพบุรุษในความคิดของแม่เป็นอย่างไร..สุดท้ายการคลายปมก็เป็นการที่แม่ยอมรับหลานที่ไม่ใช่หลานของตนเองเพียงเพราะลูกมีความเป็นสุภาพบุรุษสมดั่งที่แม่ตั้งใจ”

 

            โดยผู้เล่าเรื่องในเรื่องสั้นเรื่องนี้คือตัวละคร “แม่” ซึ่งทำให้เรามองเห็นผ่านมุมมองของผู้หญิงและวิธีการเลี้ยงลูกแบบที่ตนอยากให้เป็น โดยการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของผู้เป็นแม่ ทำให้ผู้วิจารณ์มองเห็นประเด็น ดังนี้

 

         1. ความย้อนแย้งทางความคิด

จากเนื้อเรื่องเราจะเห็นได้ถึงความย้อนแย้งทางความคิดผ่านมุมมองเรื่องของแม่ผ่านเรื่องของความเป็นผู้หญิงผู้ชาย ดังนี้ “ลูกรักแม่ยังจำวันที่ลูกเกิดมาได้เสมอแม่เจ็บปวดทุกข์ทรมานปานว่าจะขาดใจตายแต่แม่ก็ไม่ได้ร้องสักน้อยเดียว” “ได้สิ” แม่ยืนยันรู้สึกเหมือนตัวเองยืนอยู่บนโต๊ะและพ่อยืนอยู่ที่พื้น ดินมันต่างระดับกันมากแม่รู้สึกอย่างนั้น จากตัวบทเราจะเห็นได้ว่าผู้เขียนและผู้เล่าเรื่องกำลังสร้างกรอบความคิดที่ว่าผู้หญิงแข็มแข็ อดทน และอยู่เหนือกว่าผู้ชาย แต่ในทางกลับกันที่เหมือนจะชื่นชมความเป็นผู้หญิงนั้นกลับกดขี่และจำกัดความสามารถของเพศหญิงสังเกตได้จากตัวละครแม่มีความอยากให้ลูกชายเป็นสุภาพบุรุษอันหมายถึงผู้ที่เกิดมาเพื่อคนอื่นจึงเกิดคำถามย้อนกลับไปว่า แล้วผู้หญิงเป็นสุภาพบุรุษไม่ได้หรือ แท้จริงแล้วความเป็นหญองชายนอกจากเพศสภาพที่ต่างกันแล้วยังมีกฏเกณฑ์ทางสังคมบางอย่างมาตัดสิน

 

            นอกจากนี้มุมมองของผู้เล่าเรื่องจะสะท้อนความคิดเกี่ยวกับความเป็นลูกผู้ชายที่ผู้หญิงพึงปรารถนาและหากไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ผู้ชายคนนั้นจะไม่ใช่ลูกผู้ชายไม่สมควรกับการเป็นคู่ครอง ถึงจะเห็นได้จากข้อความที่ว่า “คนที่ไม่เป็นลูกผู้ชายเป็นพ่อของลูกได้ แต่เป็นสามีของแม่ไม่ได้” หรือแม้แต่ข้อความของฟ้าใสซึ่งเป็นเด็กรุ่นใหม่แต่ก็ยังชอบผู้ชายที่มีความเป็นลูกผู้ชายและอยากได้มาครอบครอง “ไอ้บอยมันไม่ยอมรับหรอก เพราะมันร้ายขืนไปบอกมันมันได้ตบหัวกระโหลกเบี้ยว หนูว่าดินนี่แหละมันดีที่สุดเท่าที่หนูเจอมา” จากตัวบทเราจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงในรุ่นของ “แม่” หรือ “ฟ้าใส” ล้วนต้องการลูกผู้ชายที่แท้จริงมาดูแลเป็นคู่ครองด้วยกันทั้งสิ้นจึงสามารถอนุมานได้ว่าแท้จริงแล้วผู้เขียนนั้นอาจจะสื่อความต้องการถึงลักษณะของผู้ชายในอุดมคติของผู้หญิง ผ่านเรื่องนี้ก็เป็นได้

 

            2. หรือความเป็นสุภาพบุรุษแท้จริงแล้วคือความซื่อสัตย์เพียงอย่างเดียว

“สุภาพบุรุษ” อันมีความหมายว่า “ผู้ที่เกิดมาเพื่อคนอื่น”

“ลูกเกิดมาสำหรับคนอื่น อันที่จริงต้องพูดว่าลูกนั้นเกิดมาสำหรับคนอื่นตั้งแต่วันที่ลูกปฏิสนธิในท้องของแม่” จากตัวบทข้างต้นเราจะเห็นได้ว่า “แม่” มีความคิดว่าความซื่อสัตย์ต่างหากที่เป็นตัวตัดสินความเป็นสุภาพบุรุษ “พ่อไม่ซื่อสัตย์ต่อเธอ โดยการมามีแม่อีกคนหนึ่ง ดังนั้นคนไม่ซื่อสัตย์เช่นนี้ก็ไม่ควรได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแม่” “ในที่สุดลูกก็ไม่ใช่สุภาพบุรุษลูกเป็นผู้ชายเหมือนคนอื่นๆ เหมือนแม้กระทั่งพ่อของลูกที่ทำผู้หญิงท้องแล้วไม่รับลูกไม่ซื่อสัตย์ลูกไม่พูดความจริง...ลูกไม่เป็นสุภาพบุรุษ ลูกก็รับแล้วแต่ทำไมแม่จึงผิดหวัง...ฟ้าใสได้โทรศัพท์มาหาแม่เธอบอกแม่ว่า “เด็กนั่นเป็นลูกของไอ้บอยค่ะ” หนูไม่รบกวนคุณแล้ว ” จากตัวบทเราจะเห็นว่า “แม่” ตัดสินความเป็นสุภาพบุรุษที่มีความซื่อสัตย์ “ไม่ใช่” การทำเพื่อคนอื่นอย่างที่บอกตอนแรกไว้ แม้ลูกจะยอมรับในสิ่งที่ตนทำแต่เพียงไม่พูดความจริงไม่ซื่อสัตย์แม้ถึงกับบอกว่าลูกของตนไม่ใช่สุภาพบุรุษ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นความย้อนแย้งทางความคิดของผู้เขียนด้านความเป็นสุภาพบุรุษ

 

           3. ความต้องการของแม่ดีกับลูกจริงหรือ

เรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นมุมมองที่ผู้อ่านได้เห็นถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกใส่ความปรารถนาของผู้เป็นแม่ลงไปว่าอยากให้ลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แท้จริงแล้วมันเป็นทางออกที่ดีหรือไม่ จากการที่ตัวละคร “ดิน” ยอมรับเลี้ยงลูกของฟ้าใสเพียงเพราะจะได้เป็นสุภาพบุรุษตามที่แม่ต้องการ หากมองในมุมผู้อ่านมันอาจเป็นภาระที่หนักเกินไปสำหรับเด็กที่ยังไม่จบมหาลัยและก็เกิดคำถามในใจผู้อ่านต่อไปว่าแล้วการเลี้ยงดูเช่นนี้ชีวิตของลูกจะมีความสุขหรือเป็นการตัดโอกาสอื่นๆ ในชีวิตลูกกันแน่

 

            บทสรุป การวางโครงเรื่องดังกล่าวนับว่ามีความสมเหตุสมผล โดยเกิดจากการผูกปมโดยความขัดแย้งในตัวละครและความขัดแย้งระหว่างตัวละครด้วยกันเอง จนทำให้เกิดการดำเนินเรื่องที่น่าติดตามและมีการคลายปมของเรื่องผ่านการให้ตัวละครสมหวังตามความปรารถนา จากการวิเคราะห์เนื้อเรื่องอย่างละเอียด ซึ่งทำให้พบ 3 ประเด็นที่น่าสนใจในเนื้อหา ได้แก่ ความย้อนแย้งทางความคิดของผู้เขียนที่เหมือนจะนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้หญิงให้ดี แต่ในทางกลับกันก็จำกัดขีดความสามารถของผู้หญิงไว้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ประเด็นต่อมาคือ หรือความเป็นสุภาพบุรุษแท้จริงแล้วคือความซื่อสัตย์เพียงอย่างเดียว กล่าวคือผู้เขียนให้นิยามคำว่าสุภาพบุรุษไว้ว่า คือการทำเพื่อคนอื่น แต่ตัวละครเลือกที่จะตัดสินความเป็นสุภาพบุรุษเพียงแค่ความซื่อสัตย์หากไม่พูดความจริงไม่ซื่อสัตย์ไม่ใช่สุภาพบุรุษ ทำให้ผู้อ่านเกิดความย้อนแย้งในใจว่าสรุปแล้วสุภาพบุรุษความหมายแท้จริงคืออะไร ความต้องการของแม่ดีกับลูกจริงหรือ ซึ่งสะท้อนให้คนอ่านย้อนคิดว่าวิธีการเลี้ยงลูกตามความต้องการของแม่นั้นดีหรือไม่ จากประเด็นดังกล่าวทำให้เราเห็นถึงการสะท้อนความคิดในหลากหลายเรื่องทั้งวิธีการเลี้ยงลูก ความหมายของคำว่าสุภาพบุรุษหรือลูกผู้ชายในอุดมคติและความจำกัดด้านความสามารถของหญิงชายว่าปัจจุบันของเรายังมีอยู่หรือไม่หรือความคิดและประเด็นดังกล่าวล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน คุณค่าของเรื่องจึงอยู่ที่การตั้งคำถามในใจผู้อ่านว่าประเด็นต่างๆ เหล่านี้หากยิ่งอยู่ในสังคมจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรตามมา

 

 

เมื่อลูกเป็นสุภาพบุรุษกับการย้อนแย้งทางความคิด
บทวิจารณ์โดย : สุนิษา คำยนต์
โครงการ “อ่าน  เขียน  เรียนรู้  สู่งานวิจารณ์ ” ปีที่ 5 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ