ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน : ประชาธิปไตย...ต้นไทรกลางพายุ

ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน

 

               การเมืองการปกครองไทยมีความผันผวนมานาน เกิดการปฏิวัติ การรัฐประหาร และเหตุการณ์ทางการเมืองอื่นๆอีกมากมายอันมีผลต่อการพัฒนา เปลี่ยนแปลงประเทศ ก่อเกิดเป็นประวัติศาสตร์ย้าเตือนคนไทยรุ่นหลังอยู่เสมอ

               วินทร์ เลียววาริณ ดาเนินชีวิตบนเส้นทางสายน้าหมึกโดยไม่มีบทบาทเกี่ยวเนื่องกับการเป็นบุคคลทางการเมืองแต่อย่างใด หนึ่งในเส้นทางของเขาคือการจรดปลายปากกาถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์การเมืองเหล่านี้ผ่านหนังสือ “ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน” นวนิยายอิงประวัติศาสตร์รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมอาเซียน (ซีไรท์) พ.ศ. ๒๕๔๐ ควบตาแหน่งการันตีคุณภาพจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ เป็นนวนิยายรางวัลดีเด่น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และหนังสือดีเด่นสาหรับเด็กและเยาวชน (อายุ ๑๖-๑๘ ปี ) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ - ๒๕๔๒

 

               “ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน” เป็นนวนิยายจาลองเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนขึ้นมาไม่นานหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬสิ้นสุดลง แสดงถึงวิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทย ตลอดระยะเวลาหกสิบปี หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สะท้อนถึงพฤติกรรมของมนุษย์เมื่อพบเจออิทธิพลของการเมืองอันฉาบฉวยเช่นละครเรื่องหนึ่งที่หาบทสรุปไม่ได้ ผ่านตัวละครหลักคือ ตุ้ย พันเข็ม และเสือย้อย

 

               เปิดเรื่องมาด้วยปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหตุการณ์หลักในนวนิยายทั้งหมดสิ้นสุดลงจากนั้น วินทร์ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องย้อนเวลาไปในแต่ละปีเพื่อเชื่อมโยงสู่การจาลองเหตุการณ์ทางการเมืองเด่นๆในแต่ละเหตุการณ์ หลายเหตุการณ์มักมีตัวละครสาคัญอย่างเสือย้อยและตุ้ย พันเข็ม มาเกี่ยวข้องเสมอ ตุ้ย พันเข็ม เป็นตารวจมือดีนายหนึ่ง ฉายาจ่าตุ้ยปืนผี เขาสูญเสียบิดาผู้เป็นนายทหารจากเหตุการณ์กบฏ บวรเดช จ่าตุ้ยได้รับคาสั่งจากอธิบดีกรมตารวจสิบแปดเดือนหลังเกิดเหตุการณ์กบฏบวรเดช ให้ตามจับเสือย้อย แต่โชคชะตามักเล่นตลก จากศัตรูเปลี่ยนเป็นมิตรภาพ เพราะเสือย้อยช่วยชีวิตจ่าตุ้ยจากงูเห่าครั้งดวลปืนกันที่บ้านเห่าดง ทั้งยังเป็นตัวปลุกปั่นให้จ่าตุ้ยเกิดแรงสู้ไม่ยอมพ่ายแพ้และทิ้งชีวิตไปกับขวดเหล้า จุดเริ่มต้นจากศัตรูกลายเป็นมิตรของทั้งสองนั้นดาเนินไปอย่างไม่คาดฝัน มิตรภาพนี้เหนียวแน่นมากขึ้นเมื่อมีความบังเอิญให้ตุ้ย พันเข็ม เป็นผู้ควบคุมการประหารนักโทษคดีความมั่นคงในอีกหลายปีถัดมา โดยนักโทษคนนั้นคือ เสือย้อย ผู้ถูกกลการเมืองจับลงหลุมพรางเพื่อปิดปากบิดเบือนความจริง แต่เขาก็ใช้สติปัญญาเอาตัวรอดได้ และอีกหลายเหตุการณ์ หลายยุคสมัยที่ทาให้ตุ้ย พันเข็ม กับเสือย้อย ต้องดาเนินบทบาทความเป็นมิตรภาพและความต่างของอุดมการณ์ซึ่งกันและกัน

 

               เสือย้อยหรือหลวงกฤษฎาวินิจ เป็นอดีตนายทหารที่เข้าร่วมกับกลุ่มกบฏบวรเดช มีทัศนคติติดลบต่อสถานการณ์การเมืองอันผันผวน จึงเป็นแรงผลักดัน บังคับให้เขาต้องจับปืนเป็นโจรการเมืองในภายหลัง ตลอดเวลาหกสิบปี เสือย้อยมีบทบาทสาคัญในการตอบโต้อานาจของกลุ่มบุคคลมากมายหลายรัฐบาล ด้วยวิธีการของอุดมการณ์แตกต่างกัน ชักนาให้เกิดเหตุการณ์ที่มีอานาจเป็นเหตุผลหลักแต่ถูกครอบคลุมด้วยคาว่า “ประชาธิปไตย” เป็นหน้ากากบังหน้า

 

“คนที่แพ้กลายเป็นกบฏ คนที่ชนะกลายเป็นเจ้าของประเทศ มันต่างกันตรงไหน ถ้าคณะรัฐประหาร

๒๔๗๖ เป็นกบฏ คณะราษฎร ๒๔๗๕ ก็เป็นกบฏเช่นกัน มันต่างกันตรงที่คุณ ยืนอยู่กับฝ่ายที่แพ้”

                                                                                                                        เสือย้อย (หลวงกฤษฎาวินิจ)

 

               จากบทสนทนาของเสือย้อย สะท้อนแนวคิดที่ว่า การเมืองก็เหมือนกับเกม แข่งขันกันแล้ว ต้องมีผู้ชนะและผู้ที่แพ้ ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะแพ้หรือชนะเท่านั้นเอง ดังนั้นสิ่งที่ใครๆก่อกบฏ ทารัฐประหาร หรือปฏิวัติ ก็เป็นเรื่องของอุดมการณ์ที่ต่างกัน ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก คณะบุคคลที่ทารัฐประหารสาเร็จ ก็ได้กลายเป็นเจ้าของประเทศ ส่วนคณะบุคคลที่ทาไม่สาเร็จ ก็ถูกตราประทับว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินไปโดยปริยาย ตัวละครตุ้ย พันเข็ม และเสือย้อย จึงนับว่าเป็นบุคคลที่ยืนอยู่บนเส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบกัน แม้ทั้งสองมองว่าระบอบประชาธิปไตยส่งผลดีต่อประเทศ แต่ต่างฝ่ายต่างเห็นข้อเสียหากใช้ระบอบนี้ไม่ถูกต้องและไม่ถูกเวลา จ่าตุ้ยมีบทบาทการเป็นผู้รักษากฎหมาย อยู่บนเส้นที่เถรตรงอย่างถูกต้อง มีใจที่มุ่งมั่นอยากให้ประเทศสงบสุข ส่วนเสือย้อย เขาก็มีจุดมุ่งหมายให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปตามแนวเส้นเดียวกับจ่าตุ้ย เพียงแต่วิธีการอันนอกกฎหมายของเขานั้นต่างจากจ่าตุ้ยเท่านั้นเอง

 

               กลวิธีการเขียนหนังสือของวินทร์นั้น แสดงความแปลกใหม่และความตั้งใจในการเขียนนวนิยายเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่องแบบย้อนเวลาสลับไปมาประหนึ่งฉากในภาพยนตร์ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นอารมณ์ของตัวละครและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อัดแน่นด้วยข้อมูลของตัวละครสมมุติ ใช้ข้อมูลของบุคคลทางประวัติศาสตร์จริง เพื่อสร้างน้าหนักให้กับโครงเรื่อง วินทร์ทาให้ผู้อ่านรู้สึกผิดคาดที่คิดว่าประชาธิปไตยบนเส้นขนานเป็นเพียงวรรณกรรมการเมืองที่มีแต่การห่าหั่นกันทางปรัชญาและอุดมการณ์อย่างนักเขียนท่านอื่นเท่านั้น แต่ความจริง วินทร์เล่นกับความคาดหวังของผู้อ่าน โดยใช้รูปแบบการเขียนแบบเรื่องสั้นที่ทิ้งบทสรุปหักมุมในตอนอย่างแพรวพราวชวนน่าติดตาม ผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองทั้ง ๑๑ เหตุการณ์ จนในที่สุดก็ผูกเรื่องในแต่ละตอนทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นนวนิยาย

 

               ความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่วินทร์แสดงให้ผู้อ่านเห็น คือ รายละเอียด วินทร์ใช้กลวิธีการเขียนที่เน้นความสมจริงโดยการลงรายละเอียดอย่างลึกซึ้งทั้งในด้านการจินตนาการและการอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อลาดับโครงเรื่องจากที่ได้ปรากฏในหมวดอ้างอิงท้ายเล่ม ดังบทสนทนาตอนตุ้ย พันเข็ม แสดงหลักฐานที่บ่งชี้ว่าธงชัยเป็นพวกคนร้ายที่บุกยิงบ้านเสือย้อยในตอน ๒๕๓๕

 

“ ปืน เอ็ม.๑๖ เป็นปืนรุ่นเก่าที่นิยมใช้ในหลายประเทศ ขนาดล้ากล้อง ๕.๕๖ มม. บรรจุกระสุนได้

ยี่สิบและสามสิบนัด ออกแบบมาให้สามารถยิงได้แบบอัตโนมัติและแบบกึ่งอัตโนมัติ ความเร็ว ๓๒๕๐ ฟุต

ต่อวินาที ระยะยิงหวังผลที่ ๔๖๐ เมตร และอย่างที่คุณว่าหาซื้อได้ง่ายก็จริง แต่...”

                                                                                                                                                                                                      ตุ้ย พันเข็ม

 

“กระสุนที่ยิงคุณเมื่อกี้นี้อยู่ในปืนกระบอกที่คนร้ายทาตกไว้ มันเป็นกระสุนซ้อมรบ นั่นอธิบายว่า

ทำไมคุณจึงไม่เป็นไรทั้งที่อยู่ในวิถีกระสุนอย่างนั้น พวกนั้นยิงบ้านด้วยกระสุนจริง และยิงคุณด้วยกระสุนซ้อมรบ...”

                                                                                                                                                      ตุ้ย พันเข็ม

 

               จะเห็นได้ว่าวินทร์บรรยายลักษณะของปืนเอ็ม ๑๖ ผ่านบทสนทนาของตัวละครจนเห็นภาพ แสดงถึงความบากบั่นในการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับปืนและกระสุนปืน มากพอที่จะเป็นกลยุทธ์ในการสร้างและสรุปปมคนร้าย รวมถึงปัญหาไล่ล่ากันในเรื่องได้อย่างสมจริง

 

               การใช้โวหารภาพพจน์ถ่ายทอดสภาพอากาศของฉากต่างๆนั้น สานวนที่ใช้เป็นไปอย่างสละสลวย ตลอดจนการใช้อุปมานิทัศน์ ซึ่งคือการเปรียบเทียบโดยยกเรื่องราวหรือนิทานมาประกอบ แนะโดยนัยให้ผู้อ่านเข้าใจแนวความคิดหรือพฤติกรรมของตัวละครมากขึ้น วินทร์ได้หยิบยกนิทานอีสปเรื่อง ต้นไม้ใหญ่กับต้นอ้อ เพียงเปลี่ยนจากต้นไม้ใหญ่เป็นต้นไทรให้เข้ากับโครงเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มาเป็นตัวเปรียบเทียบพฤติกรรมของอิสรา หนุ่มผู้หักหลังฝ่ายเสรีไทย ยอมเป็นเบี้ยล่างไปเข้ากับทหารญี่ปุ่นเพื่อข้อแลกเปลี่ยนอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง จนทาให้เสือย้อยถูกทหารญี่ปุ่นจับได้ขณะส่งสารให้กับรู้ธ

 

“หลังจากนั้นมึงก็เลยกลายเป็นต้นอ้อที่โอนอ่อนไปตามแรงพายุ แต่ไม่เคยอยู่ฝ่ายแพ้ แม้ว่าจะเป็นฝ่ายที่เป็นศัตรูกับคนทั้งโลกก็ตาม”

                                                                                                                                                                            เสือย้อย (หลวงกฤษฎาวินิจ)

 

               อิสราเป็นตัวแทนของมนุษย์ที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ แม้จะดูเห็นแก่ตัวก็ตาม อย่างที่ได้เปรียบเทียบนิทานอีสปเรื่องนี้ต่อเสือย้อย ว่าเสือย้อยพยายามทาตัวเป็นต้นไทรใหญ่ เต็มไปด้วยหลักการ แต่สุดท้ายเสือย้อยก็ต้องหนีภัยรัฐประหารจนแทบเอาชีวิตตัวเองไม่รอด ทั้งยังช่วยประเทศชาติไม่ได้ แต่สาหรับอิสรา เขาเลือกทาตัวเป็นเพียงต้นอ้อเล็กๆโอนอ่อนไปตามกระแสของการเมืองเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด

 

               วินทร์ เลียววาริณ เริ่มเขียนนวนิยายเรื่องนี้หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬสิ้นสุด ซึ่งหมายความว่า เขามีชีวิตรับรู้สถานการณ์บ้านเมืองตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขาเกิดจนถึงช่วงพฤษภาทมิฬได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเขาจะเกิดหลังปี ๒๔๗๕ ก็ตาม (จากประวัติผู้เขียนที่ปรากฏในหนังสือ) แต่การใช้ข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างอิงมากมาย ทาให้เขาสามารถถ่ายทอดแก่นสารของความผันผวนทางการเมืองนี้ด้วยปัจจัยที่เรียกว่า “อานาจ” อันเป็นชนวนสาคัญที่ทาให้ระบอบประชาธิปไตยไหวเอน ดาเนินเรื่องไปตามกระแสการเมืองอย่างการปฏิวัติ การรัฐประหารและการก่อกบฏในแต่ละรัฐบาล มีการเปลี่ยนถ่ายอานาจจากต่าสุดจนถึงสูงสุด หรือแม้แต่ผู้ที่เคยมีตาแหน่งสูง ก็ต้องพบเจอชะตากรรมทาให้ระหกระเหินลี้ภัยต่างแดนสู่จุดต่าสุดในชีวิต อานาจที่เปรียบเสมือนลมพายุยามพัดกรรโชกแรง มีระบอบประชาธิปไตยที่เสมือนต้นไทรใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ พอลมพายุพัดกรรโชก ต้นไทรก็โอนเอนปั่นป่วน บิดเบือนไปตามแรงพายุ

 

               นอกจากระบอบประธิปไตยที่เกิดการปั่นปวน บิดเบือนหลักประชาธิปไตยแท้จริง มนุษย์ในสังคม ก็เป็นผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสพายุนี้เช่นกัน “จ่าเอก” เป็นหนึ่งในตัวละครที่แสดงถึงผลกระทบของการเป็นคนของรัฐหรือประชาชนธรรมดาคนหนึ่งภายใต้สถานการณ์การเมืองที่ห่าหั่นกันอย่างไร้ความยุติธรรม

 

“กูอยู่ที่นี่มาห้าปี โดนตัดหางปล่อยวัด ไม่มีอนาคต ไม่เหลือเหี้ยอะไร ทั้งที่ไม่เคยทางานพลาด

คนพวกนั้นแค่สงสัยว่ากูร่วมกับพวกกบฏบวรเดช เพียงแค่นั้นเองพวกมันก็ย้ายกูมาดองอยู่ที่นี่ ปล่อยเกาะกู

กูเป็นผู้คุมแต่ไม่เห็นมีอะไรต่างจากนักโทษเลย กูต้องจากลูกเมียมาลาบากลาบนกะพวกมึง

เพราะไอ้เรื่องการเมืองบัดซบของพวกมึง เพราะพวกมึงเอะอะอะไรก็จะปฏิวัติรัฐประหารอย่างเดียว

คิดแก้ปัญหาอย่างอื่นไม่เป็นรึไงวะ ผลสุดท้ายคนที่เดือดร้อนก็คือกู คนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย”

                                                                                                                                                              จ่าเอก

 

               จ่าเอกถูกอานาจที่ไม่เป็นธรรมทำร้าย เกิดการป้ายสี และไร้หลักฐานรองรับพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหา เขาจึงรับปากที่จะฆ่าเสือย้อยในคุกตะรุเตาตามคาสั่งเพื่อเป็นการกาจัดศัตรูทางการเมืองของผู้มีอานาจในขณะนั้น แลกกับการได้โยกย้ายตาแหน่งกลับไปประจาบ้านเกิด ผลของอานาจที่ไม่เป็นธรรม ปิดเส้นทางการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างเที่ยงตรง สามารถเปลี่ยนคนดีๆอย่างจ่าเอก มาเป็นตารวจมือมืด สังหารเสือย้อยที่ถูกคุมขังในคุกตะรุเตาเพื่อแลกกับผลประโยชน์ส่วนตน ไม่เพียงแต่จ่าเอกเท่านั้น หลวงเนติสงครามและพระอภิรักษ์สันติธรรม เป็นอีกสองตัวละครที่แสดงถึงการเปลี่ยนฝ่ายอานาจ การใช้การเมืองและบทบาทคนของรัฐเป็นบันไดสู่ตาแหน่งและความมั่งคั่ง ใช้ทุกสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง แม้ขัดต่อจรรยาบรรณผู้พิพากษาและอัยการก็ตาม

 

               สิทธิเสรีภาพ คือ หัวใจหลักของระบอบประชาธิปไตย แต่จากการใช้มาตรา ๑๗ ยุครัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ เป็นการให้อานาจฝ่ายบริหารโดยนายกรัฐมนตรีอย่างไม่มีการถ่วงดุล ทาให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่างๆในประเทศ จนทาร้ายคนบริสุทธิ์มานักต่อนัก มีคนตายเพียงเพราะมีแนวคิดต่างกัน ซึ่งขัดต่อการมีเสรีภาพทางความคิดของประชาชนบางส่วนในสมัยนั้น วินทร์จึงเลือกถ่ายทอดวิถีของมาตรา ๑๗ ผ่านเหตุการณ์การปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยและการประหารนักโทษคดีเพลิงไหม้ตลาดพลู

 

              ตัวละคร “ ครูวัน บุญพา ” คือตัวอย่างของการถูกจากัดสิทธิ ถูกอานาจรัฐสังหาร เพียงแค่ใช้เสรีทางความคิด แสดงความเห็นในเชิงสังคมนิยมแต่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์แท้จริง จนเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลใช้มาตรา ๑๗ สังหารเขาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเพชฌฆาตที่ทาการประหาร คือตุ้ย พันเข็ม นายตารวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคาสั่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเพชฌฆาตไม่ใช่จ่าตุ้ย เรื่องราวคงดูธรรมดาไม่สะเทือนอารมณ์ผู้อ่านมากนัก แต่วินทร์บีบหัวใจผู้อ่านด้วยการสร้างปูมหลังให้ตุ้ย พันเข็ม เคยเป็นลูกศิษย์ของครูวันมาตั้งแต่สมัยเรียนประถมครั้นอยู่สว่างแดนดิน ซ้ายังเป็นเพื่อนสนิทกับเรือง บุญพา ซึ่งเป็นลูกชายของครูวัน การสังหารผู้มีพระคุณเสมือนญาติผู้ใหญ่ ผู้เป็นบิดาของเพื่อนรัก ไม่ใช่ความรู้สึกที่ดีมากนัก แม้เพชฌฆาตคนนี้จะทาตามหน้าที่ ในรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗ ก็ตาม

 

               ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน นับว่าเป็นนวนิยายสะท้อนพฤติกรรมมนุษย์เมื่ออยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี สานวนการเขียน บทสนทนาและการผูกเรื่องของวินทร์ทาให้การเมืองซึ่งเป็นเรื่องยากกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ชวนเร้าใจให้ศึกษาและตระหนักถึงผลในความมักใหญ่ใฝ่สูง โหยหาอานาจเงินตรา ความสูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมืองจากอดีต จะสามารถนาไปเป็นบทเรียนเพื่อสร้างประโยชน์ พัฒนา และเปลี่ยนแปลงประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

 

บทวิจารณ์โดย นางสาวณัฐยา พิมพา

 

Writer

The Reader by Praphansarn