หนังสือเล่มโปรดของ Paul Krugman : นักเศรษฐศาสตร์นอกกรอบ

หนังสือเล่มโปรดของ Paul Krugman

               

            ครุกแมน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 2008 เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่กล้าออกมาทำนายเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียไว้ตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานฟองสบู่เศรษฐกิจเอเชียก็แตกสนั่น หลายประเทศบาดเจ็บกันระนาว ชื่อเสียงของครุกแมนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงเศรษฐศาสตร์ สาขาการเงินและการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการนำเสนอทฤษฎีการค้าใหม่ (New trade theory)

            นอกจากเขาจะเขียนหนังสือ เขียนคอลัมน์ เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ไว้มากมาย เขายังเป็นนักอ่านตัวยงอีกด้วย 

 

หนังสือเล่มโปรดของ Paul Krugman

 

“The General Theory Of Employment Interest And Money” เขียนโดย John Maynard Keynes

              สิ่งที่น่าสนใจที่สุดจุดหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ อยู่ใกล้แค่ชายตามอง นั่นคือชื่อหนังสือนั่นเอง ผู้อ่านเคยสงสัยรึป่าวว่าทำไม Keynes ถึงตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า The General Theory? คำว่า 'General' ที่แปลเป็นไทยว่า 'ธรรมดาๆ' หรือ 'ทั่วๆไป' เนี่ยมันมีความหมายยังไงกับหนังสือเล่มนี้?

              The General Theory ถูกพิมพ์ในปี 1936 บทที่หนึ่งของหนังสือเต็มไปด้วยความมั่นใจ ในบทที่หนึ่ง Keynes บอกว่าคำว่า General ในชื่อหนังสือเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะว่าเขามั่นใจว่าหนังสือเล่มนี้สามารถอธิบายเศรษฐกิจได้ในทุกสถานการณ์เป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ general เพราะอธิบายลักษณะเศรษฐกิจที่ general

 

-------------------------------------------------

 

หนังสือเล่มโปรดของ Paul Krugman

 

“Essays in Persuasion” เขียนโดย John Maynard Keynes 

              เขียนโดย John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ระดับตำนาน ผู้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics) ที่ส่งอิทธิพลต่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคสมัยใหม่เป็นอย่างมาก

              “การอ่านงานของ Keynes ทำให้คุณฉลาดขึ้นในเรื่องหลักทรัพย์การตลาด” และหนึ่งในบทที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ “ความเป็นไปได้ของเศรษฐศาสตร์สำหรับคนรุ่นหลาน” ซึ่ง Keynes ได้คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ตอนนั้นว่า คนยุคปัจจุบันนี้จะทำงานเพียง 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์!

 

-------------------------------------------------

 

หนังสือเล่มโปรดของ Paul Krugman

 

“The Foundation Series” เขียนโดย Isaac Asimov 

               The Foundation นิยายที่ต้องอ่านเพราะมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรา เป็นบันทึกเหตการณ์ในประวัติศาสตร์   Asimov เอามารวบรวมให้เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ นิยายวิทยาศาสตร์ในแนวสังคมวิทยา  เศรษฐศาสตร์ และการเมือง

               เล่มแรกของชุด The Foundation กล่าวถึงการก่อตั้ง สถาบันสถาปนา เมื่อจักร์วรรดิ์กำลังล่มสลาย  ฮาริ เซ็ลดอน หลอกนักวิทยาศาสตร์หัวกระทิ ให้ไปช่วยกันทำ Encyclopedia  ที่พิภพห่างไกลสุดขอบจักรวาล เมื่ออำนาจของจักรวรรดิ์เสื่อมลง  ชาวคณะผู้จัดทำ Encyclopedia ก็อยู่ในสภาพถูกปล่อยเกาะให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว  ท่ามกลางพิภพป่าเถื่อน

               หนทางเดียวที่จะรับมือกับพวกป่าเถื่อน  ก็คือทำให้ตัวเองเป็นผู้วิเศษ จัดตั้งองกรณ์ทางศาสนาขึ้นปกครอง   ทุกกิจกรรมต้องได้รับการเห็นชอบ จากพวกพระ   พระเป็นเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลได้ทุกอย่าง ผู้ใดท้ายทายอำนาจของพวกพระก็จะพบกับความวิบัติในทันที

               กาลเวลาล่วงเลยไป   อำนาจของพวกพระก็เริ่มเสื่อมลง อำนาจอย่างใหม่เข้ามาแทนที่  พลังทางเศรษฐกิจ
เหล่าพ่อค้ามีสินค้าคุณภาพดีราคาถูก  ด้วยยานขนส่งพาสินค้าเร่ขายไปทั่ว ทุกพิภพตกอยู่ภายใต้พลังทางเศรษฐกิจ  สินค้าขิงชาวสถาบันสถาปนาเป็นที่ต้องการอย่างสูง สินค้าที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้   ไม่ต้องกลัวการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ใดบังอาจงัดแงะสินค้าของชาวสถาบันออกดู  มันก็จะถูกทำลายไปเดี๋ยวนั้น แล้วชาวสถาบันสถาปนาก็ยิ่งผยองที่จะเป็นจ้าวจักรวาล  ท้าทายอำนาจของจักร์วรรดิ์

 

-------------------------------------------------

 

หนังสือเล่มโปรดของ Paul Krugman

 

“Dune” เขียนโดย Frank Herbert

                เป็นนิยายวิทยาศาสตร์โดยแฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1965 จำหน่ายได้มากกว่า 12 ล้านเล่มทั่วโลก ได้รับรางวัลเนบิวลาประจำปี ค.ศ. 1965 ดูนมีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกอนาคต กล่าวถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์ วิวัฒนาการ สังคมวิทยา นิเวศวิทยา โดยอ้างอิงถึงเรื่องศาสนา การเมือง และอำนาจ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสองวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดในโลก เทียบเท่ากับ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (จากการสำรวจเมื่อปี 1975)

 

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ