หนังสือแนะนำโดย Walter Isaacson : นักเขียนชีวประวัติของคนมีชื่อเสียง

หนังสือแนะนำโดย Walter Isaacson

     Walter Isaacson นักเขียนที่ชาวไทยน่าจะคุ้นชื่อกันอยู่ มีผลงานการเขียนชีวประวัติของคนมีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น สตีฟ จ็อบส์ , ไอน์สไตน์ และ ลีโอนาโด ดาวินชี่ ซึ่งผลงานที่เขาเขียนได้รับความนิยมในทั่วโลก ทำให้หลายคนอยากรู้ว่า ชายผู้นี้ชอบอ่านหนังสือประเภทไหน ถึงเขียนหนังสือจนขายดีไปทั่วโลก


 


 

Being Nixon: A Man Divided เขียนโดย Evan Thomas

      เรื่องราวอีกหนึ่งมุมมองของ Richard Nixo อดีตประธานาธิปดีของสหรัฐอเมริกา มักจะถูกมองว่าเป็นพวกบ้าสงคราม แต่หนังสือเล่มนี้ ถ่ายทอดเรื่องราวโดย Evan Thomas นักหนังสือพิมพ์มืออาชีพ ที่กล้าออกมาเล่าเรื่องอีกหนึ่งมุมมอง ที่เห็นว่า Nixon อาจจะไม่ใช่คน อ่อนไหว ขี้สงสารนัก แต่มากไปกว่านั้น Nixon เข้าใจ และประเมิณสถานะการณ์ความจริงได้ชัดเจน หากใครสนใจประเด็นผู้นำ การเมือง หนังสือเล่มนี้อาจะเปิดมุมมองของคุณได้อีกเล่ม


 


 

Measure What Matters: How Google, Bono, and the Gates Foundation Rock the World With OKRs เขียนโดย John Doerr

     หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึง ระบบ "OKRs" ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ เป็นกระบวนการง่ายๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายให้ก้าวไปข้างหน้า และช่วยให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ในองค์กรได้ชัดเจนมากขึ้น และที่สำคัญช่วยนำพาให้องค์กรเติบโตเป็น 10 เท่า ระบบนี้ช่วยทำให้ภารกิจที่สุดโต่งและท้าทายของการจัดระเบียบโลกใหม่มีโอกาสเป็นไปได้และประสบความสำเร็จ ระบบนี้ช่วยให้บริษัททำสิ่งสำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นได้อย่างทันเวลา ถูกที่ และถูกทาง

     แม้ผู้เขียนจะรู้ว่าแนวทางไหนดีที่สุด แต่ไม่ได้ชี้แนะ ชี้นำ และบอกว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้ แต่จะเล่าให้ฟังว่าแต่ละองค์กรเขานำเอา "OKRs" ไปใช้อย่างไร ปรับให้เข้ากับองค์กรนั้น ๆ อย่างไร และทิ้งท้ายไว้เสมอว่าทุกอย่างไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัวที่จะนำไปใช้ได้กับทุกองค์กร แต่ละองค์กรจะต้องศึกษา ทดลองนำไปใช้จริง และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร เนื้อหาในเล่มจะช่วยไขปริศนาเรื่องการบริหารผลงานขององค์กรได้ในหลาย ๆ เรื่องที่องค์กรต่าง ๆ กำลังเจออยู่ และหากนำไปใช้จริงก็จะยิ่งช่วยยืนยันได้ว่า เรื่องราวและแนวคิดของหนังสือเล่มนี้เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนาและยกระดับผลงานขององค์กรให้ก้าวหน้าไปได้ดีกว่า เร็วกว่า และยั่งยืนกว่าที่เดินไปด้วยแนวคิดแบบเดิม!


 


 

The New Digital Age: Transforming Nations, Businesses, and Our Lives เขียนโดย Eric Schmidt, Jonathan Rosenberg

     "ดิจิทัลเปลี่ยนโลก" ในหนังสือเล่มนี้ เอริค ชมิดท์ และ จาเร็ด โคเฮน สองผู้บริหารใหญ่ของกูเกิลได้ให้ข้อสังเกตและความรู้ว่า มีความหวังและอันตรายอะไรคอยเราอยู่บ้างในทศวรรษข้างหน้า นี่เป็นเนื้อหาที่ปฏิบัติได้ เป็นแรงบันดาลใจ และชวนให้คิดไปข้างหน้าว่าโลกของเรากำลังมุ่งหน้าไปทางใด และหมายถึงอะไรสำหรับประชาชน รัฐ และธุรกิจต่าง ๆ ด้วยความเชื่อมั่นและความชัดเจนของความเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ชมิดท์และโคเฮน แสดงให้เราเห็นว่า เราต้องมองไปข้างหน้าและต้องระมัดระวังมากแค่ไหน ในขณะที่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกำลังวิวัฒนาการไปในระดับบุคคล ชุมชน และรัฐ ในทุก ๆ พื้นที่และทุก ๆ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

     พวกเขาชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งดีและไม่ดี ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเรา ความเข้าใจตัวเองและสังคมเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ และอัตลักษณ์เสมือนของเราเริ่มเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเรื่อย ๆ ชมิดท์และโคเฮนได้อธิบายไว้ว่า คนทำงานในเมืองอาจจะใช้รถไร้คนขับไปทำงาน เข้าร่วมประชุมผ่านทางโฮโลแกรม และใช้เสียงออกคำสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานบ้าน ชาวประมงหญิงชาวคองโกใช้สมาร์ทโฟนในการสำรวจความต้องการของตลาด และประสานด้านการขาย (ประหยัดค่าตู้เย็นและป้องกันไม่ให้มีการทำประมงมากเกินไป) นอกจากนี้ยังมีคนดังระดับนานาชาติรวมทั้ง จูเลียน อัสสานจ์ ที่มาอธิบายวิสัยทัศน์ของพวกเขาเกี่ยวกับอนาคตที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีอีกด้วย


 


 

Tools and Weapons: The Promise and the Peril of the Digital Age เขียนโดย Brad Smith, Carol Ann Browne

     “AI” (ปัญญาประดิษฐ์) ที่มีศักยภาพมหาศาล วิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วฉับไว จนจะแทนที่มนุษย์ไปโดยปริยาย และทำให้เรา “ตกงาน” ชนิดที่ไม่มีวันสู้ได้ คงต้องยอมรับว่า..ความกังวลนี้มีสิทธิ์เป็นจริง

     แต่..เรื่องอาจไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้นเสมอไป เหมือนที่ Bill Gates เคยกล่าวไว้ว่า “เรามักคาดการณ์เกินจริงไป สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสองปีข้างหน้า และคาดการณ์ต่ำเกินไป สำหรับการเปลี่ยนแปลงในอีกสิบปีข้างหน้า”

     เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โลกเคยใช้ม้าในการเดินทาง ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นรถยนต์ เปลี่ยนเป็นเครื่องบิน
เปลี่ยนแปลง ปรับตัวมาเรื่อย ๆ แต่คำถามสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือ จะเกิดขึ้น “เมื่อไหร่” ต่างหาก และแม้บางงานจะหายไป แต่ก็จะมีงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

     กับ “AI” ก็เช่นกัน แม้จะเข้ามาทำให้หลายอาชีพหายไป แต่ก็จะทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ ขึ้นเยอะ สิ่งสำคัญอาจเป็นการทำให้ตัวเองพร้อม สำหรับอาชีพใหม่ ๆ ที่เราอาจยังไม่รู้จักเลย ซึ่ง ‘Brad Smith’ (President ของ Microsoft)
ผู้เขียนหนังสือ ‘Tools and Weapons’ คิดว่า หากคุณมีสี่ทักษะนี้ จะการเปลี่ยนแปลงใด ก็อยู่รอด

เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา มีทักษะการวิเคราะห์ หาหนทางแก้ปัญหาใหม่ ๆ สื่อสารความคิดให้คนอื่นเข้าใจเป็น รู้จักทำงานเป็นทีม

     หากมีครบถ้วน “AI” ก็คงไม่น่ากลัวขนาดนั้นอีกต่อไป

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ