มัลคอล์ม ทีโมธี แกลดเวล (Malcolm Timothy Gladwell) หรือ มัลคอล์ม แกลดเวล (เกิด 3 กันยายน ค.ศ. 1963) เป็นนักข่าว นักเขียนและนักพูดชาวแคนาดาที่เกิดในอังกฤษ เขาเป็นนักเขียนให้กับ The New Yorker ตั้งแต่ปี 1996 และเขียนหนังสือทั้งหมด 5 เล่ม ได้แก่
- The Tipping Point: How Little Things Can Make a Big Difference (2000)
- Blink: The Power of Thinking Without Thinking (2005)
- Outliers: The Story of Success (2008)
- What the Dog Saw: And Other Adventures (2009) หนังสือรวบรวมบทความ
- David and Goliath: Underdogs, Misfits, and the Art of Battling Giants (2013)
หนังสือทั้งห้าเล่มขายดีติดอันดับของ The New York Times Best Seller นอกจากนี้เขายังมีพอดแคสชื่อว่า Revisionist History อีกด้วย
ว่าแล้วเราลองไปเปิดหนังสือ เล่มโปรดของชายผู้นี้กันค่ะ
“Range : How Genearlists Triumph in a Specialized World” เขียนโดย David Epstein
หนังสือเล่มนี้ “Range: Why Generalists Triumph in a Specialized World “ เหมาะกับพ่อแม่ที่กำลังเลือกเส้นทางให้ลูก , ผู้ที่กำลังสับสนกับชีวิตว่า จะทำอาชีพหรืองานอะไรกัน หรือผู้ที่รู้สึกว่า ตัวเองเริ่มต้นช้ากว่าคนอื่น
Range อธิบายว่า หนังสือ Outliers ของมัลคอล์ม แกลดเวลล์ เรื่องการฝึกฝน 10,000 ชั่วโมง อาจไม่เหมาะกับทุกสถานการณ์เสมอไป
สภาพแวดล้อมมี 2 แบบคือ
-
แบบ “กรุณา” มีกติกาแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง วัดผลได้ง่าย เช่น กีฬา หมากรุก ดังนั้น การส่งเสริมเด็กให้เก่งด้านใดด้านหนึ่งไปเลย จะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแบบนี้ ตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทฤษฎี 10,000 ชั่วโมงใช้การได้กับคนเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ไทเกอร์ วูดส์ ตีกอล์ฟตั้งแต่เด็ก จนเก่งในระดับสุดยอด เพราะกติกากอล์ฟแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย
2. แบบ “ดุร้าย” แต่โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กติกาอาจเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ไม่มีเป้าหมายชัดเจน ดังนั้น การฝึก 10,000 ชั่วโมงหรือเก่งตั้งแต่เด็ก จึงไม่มีประโยชน์ เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนตลอดเวลา
หนังสือเล่มนี้จึงบอกว่า บางคนอาจไม่ได้เก่งตั้งแต่เด็ก แต่ลองผิด ลองถูก ทำ sampling ประสบการณ์ต่างๆ จนแน่ใจแล้ว จึงค่อยโฟกัสด้านนั้นอย่างเต็มที่ ในโลกที่เอไอเก่งขึ้นเรื่อยๆ และเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้นเรื่อยๆ การโฟกัสมากเกินไปตั้งแต่อายุน้อยอาจกลายเป็นผลเสีย ในขณะที่บางคนมาเริ่มทีหลัง อาจไปได้ดีกว่า เพราะได้ทำสิ่งที่ตัวเองชอบจริงๆ และมีประสบการณ์รอบด้านมากกว่า
หนังสือเล่มนี้ สรุปว่า การเก่งตั้งแต่เด็กไม่ใช่กฎ แต่เป็นข้อยกเว้น เพราะคนเก่งๆ จำนวนมากในวงการต่างๆ ไม่ได้เก่งตั้งแต่เด็ก แต่สะสมประสบการณ์และเรียนรู้ด้านต่างๆ แลัวโฟกัสให้เก่งเฉพาะด้านในภายหลัง
Irresistible: The Rise of Addictive Technology and the Business of Keeping Us Hooked เขียนโดย Adam Alter
ในยุคร่วมสมัย พฤติกรรมการเสพติด (Addictive Behaviors) ของมนุษย์ไม่จำเป็นต้องเกิดจากยาเสพติดดังที่เคยเข้าใจกันมาแต่เดิม แต่อาจเกิดได้จากสารเสพติดอื่นและพฤติกรรมต่างๆ ที่เรียกว่า การเสพติดพฤติกรรม (Behavioral Addictions) โดยมนุษย์หมกมุ่น/ครุ่นคิดกับสิ่งนั้นๆ มากเกินไปจนเกิดผลเสียหายแก่ตนเอง เช่น เสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพย์สิน สุขภาพทรุดโทรม ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี ก่อให้ผู้คนในสังคมมีพฤติกรรมการเสพติดเหล่านี้เช่นกัน
Freakonomics: A Rogue Economist Explores the Hidden Side of Everything เขียนโดย Steven D. Levitt, Stephen J. Dubner
หนังสือที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกรอบตัวในมุมที่คาดไม่ถึง ด้วยวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์กับคำถามแปลกๆ ชวนคิด" ไม่ว่าจะเป็นคุณครูที่โรงเรียนกับนักซูโม่มีอะไรเหมือนกัน? พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกไปเล่นที่บ้านเพื่อนคนไหนระหว่างบ้านที่มีปืนเก็บไว้กับบ้านที่มีสระว่ายน้ำ? ทำไมสมาิชิกส่วนใหญ่ในแก๊งค้ายาเสพติดที่มีรายได้มหาศาลยังเกาะพ่อแม่กินไปวันๆ? ทำไมการอนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างเสรีจึงลดการเกิดคดีอาชญากรรมได้มีประสิทธิภาพกว่าการเพิ่มจำนวนตำรวจหรือการเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น? การเลี้ยงดูเอาใจใส่ของพ่อแม่ส่งผลต่ออนาคตของลูกอย่างที่คิดกันจริงหรือ? ชื่อของคุณชี้วัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในชีวิตได้มากน้อยแค่ไหน?
"Steven D. Levitt" นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับการยกย่องจากนิตยสาร Time ให้เป็น "1 ใน 100 บุคคลที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกมากที่สุด" ได้ตั้งคำถามแปลกประหลาดเหล่านี้กับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ไม่เคยมีใครคิดจะถาม ตั้งแต่เรื่องอาชญากรรม ยาเสพติด ไปจนถึงการเลี้ยงดูลูก แล้วใช้วิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์เข้ามาตอบคำถามจนได้ข้อสรุปที่สวนทางกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลก หลังจากอ่านจบ คุณจะเห็นความเชื่อมโยงในเรื่องที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันได้ และเข้าใจสถานการณ์รอบตัวในแง่มุมที่คุณไม่เคยนึกถึงมาก่อน
The Blind Side: Evolution of a Game เขียนโดย Michael Lewis
ในความเห็นของ Gladwell ใครเป็นนักเขียนที่เล่าเรื่องได้ดี แกตอบทันทีแบบไม่ต้องคิดเลยว่า Michael Lewis
หนังสือเล่มนี้ Lewis เล่าเรื่องเด็กวัยรุ่นผิวดำยากจนคนนึงที่บังเอิญสรีระเอื้อต่อการเล่นอเมริกันฟุตบอลในตำแหน่ง Left Tackle ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คอยระวังป้องกันด้านซ้ายของควอเตอร์แบ็ค (ผู้เปรียบเสมือนแม่ทัพในเกมรุก) และด้วยความที่ควอเตอร์แบ็คส่วนมากจะถนัดขวา เวลาเล่นก็มักจะมองไปทางด้านขวา ทำให้ด้านซ้ายเป็นมุมบอด หรือ blind side อันเป็นที่มาของชื่อหนังสือนี่เอง
ความโดดเด่นของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้อยู่แค่เรื่องราวของเด็กหนุ่มคนนี้เท่านั้น แต่เฮีย Lewis ยังอธิบายให้เห็นถึงวิวัฒนาการของเกมบุกและเกมรับของอเมริกันฟุตบอล รวมไปถึงการเปลี่ยนกฎเกณฑ์บางข้อของ NFL (หน่วยงานกำกับดูแลและจัดการแข่งขันอเมริกันฟุตบอล เทียบได้กับ FIFA ในกีฬาฟุตบอล)
นอกจากนี้ ในหนังสือ Lewis ยังแฝงอีกประเด็น คือเรื่องของชนชั้นเอาไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย
อ้างอิงจาก https://whatwereadblog.wordpress.com
Being Mortal: Medicine and What Matters in the End เขียนโดย Atul Gawande
ความแก่ชราและความเจ็บป่วยคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ และการแพทย์สมัยใหม่ก็พยายามต่อสู้ขัดขืนกับความจริงของชีวิตอย่างสุดกำลัง จนกระทั่งละเลยเพิกเฉยแง่มุมอื่นๆ ของชีวิต เพียงเพราะไม่อาจยอมรับได้ว่าการแพทย์สมัยใหม่นั้นไร้ความสามารถในการต่อกรกับวาระสุดท้ายของชีวิต
"อาทูล กาวานดี" ศัลยแพทย์ผู้เผชิญหน้ากับความตายนับครั้งไม่ถ้วน บอกเล่าเรื่องราวของความเจ็บป่วย ความแก่ชรา และความตายของผู้คนในยุคสมัยใหม่จากประสบการณ์ของตัวเขาเอง เพื่อชี้ชวนให้เราตั้งคำถามกับระบบบริการสุขภาพในยุคปัจจุบันที่มุ่งมั่นทำการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยไม่สนใจคุณภาพชีวิตและสภาพจิตใจของทั้งผู้ป่วยและคนในครอบครัว กระทั่งทำร้าย-ทำลาย ทั้งร่างกายและจิตใจของคนจำนวนมากจวบจนวินาทีสุดท้ายของลมหายใจ ด้วยการศึกษาค้นคว้าที่รอบด้านและเรื่องราวที่ลึกซึ้งตรึงใจ "ตาย-เป็น (Being Mortal)" ยืนยันว่าการแพทย์สมัยใหม่อ่อนโยนและทำอะไรได้มากกว่านั้น เพื่อช่วยให้เรามีชีวิตและตายอย่างเปี่ยมคุณค่าและความหมาย