Tim O’Reilly ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ O’Reilly เขาเป็นผู้ริเริ่มคำว่า Web 2.0 และเคยจัดงานสัมมนาให้ความรู้เมื่อสิบกว่าปีก่อน และเขาออกหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากมาย ตัวของทิมรู้และเห็นมามาเค้าจึงมีคำพูดคำคมที่น่าสนใจมาพูดให้ฟังบ่อยๆ ครั้งคือ
“งานไม่ได้หายไปไหนมากหรอก มันแค่เปลี่ยนที่และแปลงรูปไป”
นับว่าเขาเป็นคนที่มีแนวคิดกว้างไกล ในยุคที่เทคโนโลยี ยังไม่เป็นเช่นทุกวันนี้ ว่าแล้ว เราลองไปเปิดหนังสือเล่มโปรดของเขาซึ่งมีทั้งหนังสือเก่าและใหม่ ส่งผลต่อแนวคิดของเขาอย่างไรบ้าง
Code: And Other Laws of Cyberspace เขียนโดย Lawrence Lessig
ในปี 2000 ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย Lawrence Lessig ได้นำเสนอแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการกำกับดูแลในโลกออนไลน์ ผ่านทางหนังสือชื่อ Code and Other Laws of Cyberspace (สมัยนั้นยังนิยมใช้คำว่า cyberspace) ใจความหลักของหนังสือสามารถสรุปรวมได้เป็นประโยคเดียวว่า ‘โค้ดคือกฎหมาย’ (code is law) หลังจากเวลาผ่านไป 20 ปี นานพอที่เราแทบจะไม่ได้ยินคำว่าไซเบอร์สเปซอีกต่อไปแล้ว ยกเว้นในกฎหมายบางฉบับ ในวันที่ Lessig เปลี่ยนความสนใจจากประเด็นด้านกฎหมายและอินเทอร์เน็ตไปเป็นเรื่องคอร์รัปชัน และมีประเด็นเกี่ยวข้องกับการให้เหตุผลฟอกตัวให้กับ Joichi Ito อดีตผู้อำนวยการ MIT Media Lab เกี่ยวกับการรับเงินสนับสนุนจากผู้ถูกกล่าวหาคดีจัดหาเด็กหญิง Jeffrey Epstein อันอื้อฉาว
"The Lean Startup: How Today's Entrepreneurs Use Continuous Innovation to Create Radically Successful Businesses" เขียนโดย Eric Ries
มีคนจำนวนมากอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองและมองเห็นโอกาสที่ผ่านเข้ามา แต่สุดท้ายกลับไม่ลงมือทำด้วยเหตุผลว่า "ยังไม่พร้อม" หารู้ไม่ว่าจริงๆ แล้ว "ความไม่พร้อม" นั่นแหละที่เป็นข้อได้เปรียบ หนังสือ "สร้างธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ต้องเริ่มตอนที่ไม่พร้อม" เล่มนี้ เป็นผลงานของ "เอริค รีส" ซึ่งจะเปิดเผยวิธีใช้ประโยชน์จากความไม่พร้อม และเปลี่ยนมันให้เป็นจุดแข็งของคุณ โดยถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ในการปลุกปั้นบริษัทของตัวเอง รวมถึงเรื่องราวของธุรกิจที่เริ่มต้นทั้งที่ยังไม่พร้อมแต่กลับเติบโตจนก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ถ้าการรอให้พร้อมยังไม่ทำให้คุณมีธุรกิจเป็นของตัวเองสักที...จะดีกว่าไหมถ้าคุณหันมาใช้ประโยชน์จาก "ความไม่พร้อม" แล้วลงมือสร้างธุรกิจที่มั่นคงและทำกำไรตั้งแต่วันนี้เลย!
The 22 Immutable Laws of Branding เขียนโดย Al Ries, Laura Ries
หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนคัมภีร์การสร้างและเปลี่ยนแปลงการรับรู้ (Perception) ของผู้บริโภค และการวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) จุดเด่นอยู่ที่อ่านง่ายไม่เหมือนอ่านตำรา แต่เป็นเขียนคล้ายกับคู่มือไอเดียการตลาดเล่มเล็กๆ ที่คั้นเอาแต่หัวกะทิมาใส่ตลอดเล่ม มีตัวอย่างของความสำเร็จของบริษัทต่างๆ ที่ใช้กฎ 22 ข้อให้เป็นความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
Positioning: The Battle for Your Mind เขียนโดย Al Ries, Jack Trout
คัมภีร์กลยุทธ์การโฆษณา ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด แนวคิดใหม่ที่จุดประกายกับวิวัฒนาการทางการโฆษณา แนวคิดที่สามารถเปลี่ยนชีวิตของคุณได้ จงเรียนรู้ถึงวิธีการแข่งขันและ เอาชนะสงครามโดยการทำให้ตนเองยืนเด่นและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปในตลาด คุณสามารถสร้างภาพพจน์ให้กับสิ่งของทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ การเมือง ประเทศ บริษัท หรือแม้แต่อาชีพ หนังสือเล่มนี้จะแสดงให้คุณดูว่าคุณสามารถทำได้อย่างไร
Built to Last: Successful Habits of Visionary Companies เขียนโดย Jim Collins, Jerry Porras
หนังสือ องค์กรอมตะ BUILT TO LAST นิสัยที่ประสบความสำเร็จของ บริษัท ที่มีวิสัยทัศน์เป็นหนังสือที่เขียนโดย Jim Collins และ Jerry I. Porras สรุปผลลัพธ์ของโครงการวิจัย 6 ปีเพื่อสำรวจสิ่งที่นำไปสู่ บริษัท ที่ยิ่งใหญ่อย่างยั่งยืน
-
ผู้ประดิษฐ์เวลาไม่ใช่ผู้บอกเวลา
-
สิ่งที่มากกว่าคำว่า "กำไร”
-
รักษาแกนหลัก กระตุ้นความก้าวหน้า
-
กล้าที่จะเปลี่ยน
-
เหมาะสมกับวัฒนธรรมในองค์กร
-
การบริหารจากพลังภายในองค์กร
-
ไม่มีคำว่า ^"ดีพอแล้ว^"
-
อวสานของการเริ่มต้น.
"Dune" เขียนโดย Frank Herbert
ดูน (Dune) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์โดยแฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1965 จำหน่ายได้มากกว่า 12 ล้านเล่มทั่วโลก ได้รับรางวัลเนบิวลาประจำปี ค.ศ. 1965 มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกอนาคต กล่าวถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์ วิวัฒนาการ สังคมวิทยา นิเวศวิทยา โดยอ้างอิงถึงเรื่องศาสนา การเมือง และอำนาจ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสองวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดในโลก เทียบเท่ากับ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (จากการสำรวจเมื่อปี 1975)
The Structure of Scientific Revolutions เขียนโดย Thomas S. Kuhn
ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือที่มีอิทธิพลทางความคิดเล่มหนึ่งในศตวรรษที่ 20 อิทธิพลทางความคิดของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะแวดวงวิชาการเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อภาคธุรกิจอีกด้วย หนังสือเล่มนี้ท้าทายการมองปัญหาต่างๆ ที่เป็นอยู่จากมุมมองความคิดแบบเดิมๆ ทำให้เกิดคำศัพท์ที่นิยมพูดแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น คำว่ากระบวนทัศน์ (Paradigm) หรือ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) เป็นต้น