ความจริงเรื่องเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก : บทความโดย นายธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ ผู้อำนวยการสมาคมไทสร้างสรรค์

 ความจริงเรื่องเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก

ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำ งานการศึกษามากว่า ๒๕ ปี รู้สึกสะเทือนใจอย่างมากกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวในวันนี้ เพราะงานที่ทำต้องเกี่ยวข้องกับเด็กๆและโรงเรียนของรัฐ อันเป็นโรงเรียนที่ดำรงอยู่ด้วยภาษีของเรา ด้วยเงินของเรา แต่เราแทบจะไม่สามารถทำอะไรได้กับความจริงที่ว่า เด็กๆของเราจำนวนมากที่เรียนอยู่ในโรงเรียนกว่า ๓๕,๐๐๐ โรงนี้ อยู่ในภาวะอ่านหนังสือไม่ออก สำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเคยออกมายอมรับเมื่อปีที่ แล้วว่า มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สามอ่านหนังสือไม่ออกร้อยละ ๑๒ หรือประมาณ ๘๐,๐๐๐ คน ซึ่งนับเป็นความกล้าหาญอย่างมาก แต่ สพฐ. ก็ไม่กล้าหาญมากพอที่จะบอกความจริงทั้งหมด เพราะความจริงน่ากลัวกว่านั้นมาก และการยอมรับว่าเด็ก ป.๓ อ่านหนังสือไม่ออกนั้น ฟังดูก็เหมือนจะตั้งใจชี้ประเด็นปัญหาเพื่อให้เกิดการแก้ไข แต่วิธีการนำปัญหามาวางบนโต๊ะของเรานั้น มักจะทำเมื่อทุกอย่างสายเกือบเกินแก้แล้วในแทบทุกกรณี รวมทั้งในกรณีนี้ เพราะจำนวนเด็กอ่านหนังสือไม่ออกนั้นมีอยู่ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ป.๓ ที่ท่านพูดเอาไว้ไปจนถึงมัธยมปลาย หากจะคิดคำนวนอย่างง่ายๆ จำนวนนักเรียนเฉลี่ยตามอัตราการเกิดของประชากร ตามข้อมูลด้านล่างนี้ เราก็จะเห็นว่ามีเด็กๆอ่านหนังสือไม่ออกอยู่นับแสนนับล้านคนในปัจจุบัน
 

นักเรียนสังกัดสพฐ*

อายุ๙-๑๕(ป.๓-ม.๓)

ถ้าอ่านหนังสือไม่ออก

ร้อยละ ๕

ถ้าอ่านหนังสือไม่ออก

ร้อยละ ๑๐

ถ้าอ่านหนังสือไม่ออก

ร้อยละ ๑๒

5,034,897 คน

251,744 คน

503,489 คน

604,187 คน

*ที่ มา กระทรวงศึกษาธิการ ตารางที่ 25 อัตราการออกกลางคันระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2550 ( เฉพาะนักเรียนในสังกัด สพฐ. ลบออกกลางคันจำนวน 85,803 คนแล้ว -ผู้เขียน)

 

ตัวเลขจากการคิดคำนวนอย่างง่ายๆตามตารางข้างบนนี้บอกอะไรแก่เรา ? หาก นับรวมเด็กๆที่ออกจากระบบโรงเรียนไปโดยอ่านหนังสือไม่ออกในรอบ สิบปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่าเป็นภาพอันน่าสยดสยองขนาดไหน (แค่ร้อยละ ๕ นั้นก็มากกว่าทหารไทยทั้งกองทัพแล้ว) คำถามที่ตามมาคือกระทรวงศึกษาธิการทำอะไรอยู่กับเรื่องนี้ เราอาจจะได้คำอธิบายมากมาย รวมทั้งคำตอบว่ากำลังพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรกันอยู่ ซึ่งก็เป็นคำตอบที่เราได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เปลี่ยนหลักสูตรและการสอน ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ ๒๕๒๑ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษาที่ใช้เวลาไปแล้วกว่า ๑๐ ปี ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการในทุกระดับเพื่อโดยหวังว่าการศึกษาของเราจะดี ขึ้น ฯลฯ ผู้ เขียนในฐานะบุคคลหนึ่งที่ทำงานการศึกษาพื้นฐานและการอ่านออก เขียนได้ (literacy) มานานพอสมควร เห็นว่าโดยแท้จริงแล้ว สิ่งที่เป็นอยู่ในระบบโรงเรียนขณะนี้ไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการทางการเรียนรู้ ของเด็กๆแต่ประการใด หากแต่สิ่งที่ทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันของบุคลากรส่วนใหญ่ในกระทรวง ศึกษาธิการเป็นเพียงการรักษาตนให้ปลอดภัยจากการประเมินหรือจากระเบียบทาง ราชการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็กๆและประเทศชาติเพียงน้อยนิด ถามว่าทำไมผู้เขียนจึงมองอย่างนั้น คำตอบอยู่ในความจริงเพียงสองสามข้อ

๑. เด็กๆไปโรงเรียนปีละ ๒๐๐ วันๆละ ๘ ชั่วโมง เข้าเรียนจริงวันละ ๕ ชั่วโมง(เป็นอย่างน้อย) ต่อเนื่อง ๖ ปี(เป็นอย่างน้อย) รวม ๖,๐๐๐ ชั่วโมง (เป็นอย่างน้อย) ทำไมจึงยังอ่านหนังสือไม่ออก? แล้วโรงเรียนจะอธิบายต่อพ่อแม่ของพวกเขาอย่างไร?

๒. หลายโรงเรียนบอกว่า นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกนั้นเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่าเป็นเด็กพิเศษ แต่โรงเรียนไม่รู้จริงๆหรือว่าแกล้งโง่ที่ไม่พูดว่าประชากรโลกที่ประสบภาวะ ความพิการนั้นมีประมาณร้อยละ ๑๐ และมีเพียงร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มนี้ที่ต้องการการจัดการศึกษาแบบพิเศษ (ร้อยละ ๘๐ สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ และในจำนวนนั้นยังสามารถแยกประเภทความพิการออกได้อีกหลายสาขาโดยส่วนใหญ่ไม่ เกี่ยวกับความบกพร่องทางการเรียนรู้) แต่ความจริงที่พบเห็นคือ มีเด็กกว่าร้อยละ ๑๐ ในโรงเรียนหลายแห่งที่ถูกตีตราว่า “พิการ” ดังนั้นการอ้างว่าเด็กอ่านหนังสือไม่ออกจำนวนมากเพราะประสบภาวะความพิการจึง ฟังไม่ขึ้น เด็กๆไปโรงเรียนปีละ ๒๐๐ วันๆละ ๘ ชั่วโมง เข้าเรียนจริงวันละ ๕ ชั่วโมง(เป็นอย่างน้อย) ต่อเนื่อง ๖ ปี(เป็นอย่างน้อย) รวม ๖,๐๐๐ ชั่วโมง (เป็นอย่างน้อย) ทำไมเด็กจึงยังอ่านหนังสือไม่ออก? โรงเรียนจะอธิบายต่อพ่อแม่ขแงพวกเขาอย่างไร?

๓. กรมการศึกษานอกโรงเรียน มีหลักสูตรการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ตั้งแต่พ.ศ ๒๕๓๓ ถ้าจำไม่ผิด) สอนผู้ใหญ่ชาวเขาที่พูดภาษาไทยได้เล็กน้อยและอ่านหนังสือไม่ออก ให้อ่านออกเขียนได้ด้วยเวลาเรียนเพียง ๒๐๐ ชั่วโมงเท่านั้น แต่ทำไมเด็กที่เข้าชั้นเรียนกว่า ๕,๐๐๐ ชั่วโมงเป็นเวลาต่อเนื่องถึง ๖ ปีจึงยังอ่านหนังสือไม่ออก

ข้อ เท็จจริงที่เราพบเห็นในโรงเรียนส่วนใหญ่คือ ผู้บริหารโรงเรียนไม่ใส่ใจในกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่เคยสังเกตุการสอน จึงไม่เคยรู้ว่าครูแต่ละคนสอนหนังสืออย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนแบบสอน (Teach) หรือการจัดกิจกรรม(Instruct) แต่มุ่งความสนใจไปในงานทุกอย่างที่ไม่ใช่กิจกรรมในชั้นเรียน ในขณะที่ครูเองก็ให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นๆตามความสนใจและภาระกิจที่ผู้ บริหารมอบหมายเป็นหลัก รวมถึงการทำและรวบรวมเอกสารต่างๆเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะของตนเอง การสอนหนังสือ(ไม่ว่าจะในความหมายใด)กลายเป็นความสำคัญในลำดับท้ายๆเกือบ ทั้งสิ้น ดัง นั้น จึงไม่แปลกที่เด็กๆจำนวนมหาศาลไม่ได้อะไรเลยจากเวลากว่า ๕,๐๐๐ ชั่วโมงที่อยู่ในชั้นเรียน ตรงนี้อาจจะมีเสียงโต้แย้งว่า เด็กๆได้เรียนรู้มากมายหลากหลายมิติแม้จะอ่านหนังสือไม่ออก แต่มีความจริงข้อหนึ่งที่จะต้องทำความเข้าใจร่วมกันเป็นอันดับแรกว่า การออกกฏหมายบังคับให้พ่อแม่ส่งลูกเข้าโรงเรียนที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้นมี พื้นฐานสำคัญที่สุดอยู่ที่การทำให้เด็กๆ “อ่านออกเขียนได้” เพราะการอ่านออกเขียนได้เป็นกุญแจดอกแรกที่จะเปิดประตูไปสู่โลกของการเรียน รู้ และประตูบานแรกนี้คือโอกาสที่จะนำพวกเขาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคือการรังสรรสังคมที่ดีงาม ปลายทางของการอ่านออกเขียนได้จึงยาวไกลเกินกว่าเราจะจินตนาการไปถึง ตรงข้ามกับความมืดมนอับจนหนทางของการไม่รู้หนังสือทั้งในระดับปัจเจกและ สังคม

ผู้ เขียนมีความเชื่อมั่นอยู่สองสามประการเกี่ยวกับการทำหน้าที่ใน ฐานะนักการศึกษาว่า ผู้ที่ถูกเรียกว่า “ครู” นั้นมีหน้าที่หลักเพียงประการเดียวคือสอนหนังสือ และต้องสอนหนังสือให้ดี ภาระกิจประการแรกสุดของครูผู้สอนการศึกษาพื้นฐานคือ จะต้องกระทำทุกวิถีทางให้เด็กๆ “อ่านหนังสือออก เขียนหนังสือได้” การสอนไปวันๆโดยไม่สามารถช่วยให้พวกเขาอ่านหนังสือออกจึงเป็นความบกพร่องและ ความล้มเหลวที่ร้ายแรงที่สุดในฐานะนักวิชาชีพ ส่วนผู้บริหารโรงเรียนนั้นก็มีหน้าที่หลักเพียงประการเดียวเช่นกัน คือการรับประกันต่อพ่อแม่และสังคมว่าครูทุกคนภายใต้การบังคับบัญชาได้ทำหน้า หน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ในหน้าที่การสอน หากไม่เป็นไปตามนั้น ตนมีหน้าที่ต้องใช้อำนาจหน้าที่ทุกประการเพื่อช่วยเหลือแก้ไข หากไม่สามารถกระทำการอย่างนั้นได้ ก็บกพร่องล้มเหลวเช่นกันนอกจากนั้น ครู (ทั้งผู้ทำหน้าที่สอนและผู้ทำหน้าที่บริหาร) จะต้องเชื่อมั่นในจิตสำนึกด้านดีของเด็ก เชื่อว่าเด็กๆทุกคนพร้อมจะเป็นคนดี ทั้งต้องเชื่อมั่นด้วยว่าเด็กๆทุกคนสามารถเข้าถึงศักยภาพของตนเองได้ทั้ง สิ้นไม่ว่าจะเกิดและเติบโตมาในสภาพการณ์อย่างไร พื้นฐานหรือที่มาใดๆไม่ใช่สิ่งที่ครูจะนำมาเป็นสมมุติฐานว่าเด็กจะเรียนได้ หรือไม่ ครูมีหน้าที่ทุกประการที่จะต้องทำให้เด็กๆเรียนได้ โดยไม่มีข้อยกเว้น

ข้อเท็จจริงที่เราพบเห็นในโรงเรียน ส่วนใหญ่คือ ผู้บริหารโรงเรียนไม่ใส่ใจในกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่เคยสังเกตุการสอน จึงไม่เคยรู้ว่าครูแต่ละคนสอนหนังสืออย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนแบบสอน (Teach) หรือการจัดกิจกรรม(Instruct) แต่มุ่งความสนใจไปในงานทุกอย่างที่ไม่ใช่กิจกรรมในชั้นเรียน ในขณะที่ครูเองก็ให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นๆตามความสนใจและภาระกิจที่ผู้ บริหารมอบหมายเป็นหลัก รวมถึงการทำและรวบรวมเอกสารต่างๆเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะของตนเอง การสอนหนังสือ(ไม่ว่าจะในความหมายใด) กลายเป็นความสำคัญในลำดับท้ายๆเกือบ ทั้งสิ้น ใน โครงการทดลองแก้ไขปัญหาการอ่านที่สมาคมฯพยายามทำอยู่นั้น มีเหตุสร้างความสะเทือนใจต่อคณะทำงานและผู้เป็นพ่อแม่อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นกลายเป็นเพียงอุดมคติและความคิดฝันอัน บรรเจิดที่แทบจะไม่มีโอกาสไปถึง ด้วยผู้เกี่ยวข้องที่โรงเรียนคาดหวังเพียงให้เด็กมีชั่วโมงเข้าชั้นเรียนครบ และสามารถ “สะสม” ชิ้นกระดาษที่ถูกเรียกว่า “งาน” เพื่อการประเมินผลงานสร้างความก้าวหน้าแก่ผู้สอน ในขณะที่เด็กๆชั้น ป.๓-ม.๑ เหล่านั้นไม่สามารถเขียนแม้คำง่ายๆ เช่น “คน” “ใจ” ไม่รู้จักสระ -ะ -า หรือ ฐ ฌ ไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะ ท ให้แตกต่างจาก ต ฯลฯ จึงเป็นคำอธิบายว่าทำไมพวกเขาขึ้นถึงชั้นมัธยมได้ทั้งที่ไม่ผ่านเกณฑ์การ อ่าน ป.๑ ที่กำหนดให้เด็กๆต้องอ่านได้ ๖๐๐ คำเป็นอย่างน้อย เพราะผลงานของผู้สอนและภาพลักษณ์ของโรงเรียนสำคัญกว่าสิ่งที่เด็กๆจะได้รับ ดังนั้นตัวเลขเด็กจำนวนเด็กอ่านหนังสือไม่ออก จึงปรากฏดังยกมาข้างต้น แต่กระทรวงศึกษาธิการยังหาคำตอบไม่ได้ว่าผิดที่ใคร และทำการแก้ไขโดยเปลี่ยนหลักสูตรการสอนกันไม่เว้นแต่ละปี

ใน โรงเรียนที่ไปทดลองช่วยเหลือเด็กๆนั้น พบว่าแม้จะมีเด็กๆประสบปัญหาเดียวกันอยู่กว่า ๔๐ คน(จากนักเรียนทั้งหมด ๒๘๐ คน) แต่มีเด็กเข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องเพียง ๑๒ คน (เรียนชั้น ป.๓ ถึง ม.๑) และเหลือ ๗ คนเมื่อเริ่มปีการศึกษาใหม่ (ออกจากโรงเรียนหรือย้ายโรงเรียน) ในเบื้องต้นคณะทำงานตั้งสมมุติฐานว่า หากการอ่านสร้างความสุขให้เกิดขึ้นได้ ทักษะการอ่านและความกระตือรือร้นในการอ่านจะเกิดขึ้นตามมา โดยมีเป้าหมายกระตุ้นแก้ไขการอ่านเป็นเวลา ๑๐๐ ชั่วโมง แต่เมื่อเริ่มกิจกรรมกลับพบว่า เด็กๆทุกคนแบกปัญหาหนักมาจากบ้านทั้งสิ้น ทั้งความแตกแยกของผู้ปกครอง ขาดแคลนที่อยู่อาศัย ต้องหาเช้ากินค่ำ ขาดการดูแล ถูกทอดทิ้งทั้งทางกายภาพและจิตใจ อันเป็นปัญหาที่ไม่มีไครมองเห็น และดูเหมือนจะไม่มีใครตั้งใจจะมองให้เห็น ดังนั้นปัญหาเหล่านี้จึงส่งเด็กๆไปสู่ความล้มเหลวในโรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น แล้วตามด้วยความล้มเหลวต่อๆมา ร่วมกันทำลายความสำนึกถึงคุณค่าของตนเองไปจากพวกเขา เป็นแรงเหวี่ยงส่งพวกเขาไปสู่การแสดงตัวตนอย่างก้าวร้าว รุนแรง เมินเฉย หยาบคาย อันเป็นพฤติกรรมที่เราเรียกว่า “การเรียกร้องขอความช่วยเหลือ” จนกระทั่งมีภาพลักษณ์เป็นตัวปัญหาและสร้างภาระแก่โรงเรียน(ในมุมมองของ บุคลากร) เด็กเหล่านี้จึงไม่เป็นที่ต้องการ ไม่มีใครคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จ

ความ เปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ๓๐ ชั่วโมง เด็กๆบางคนร้องไห้ด้วยความคับแค้นใจที่อ่านหนังสือให้เพื่อนฟังไม่ได้ พ่อแม่ดีใจที่ลูกเริ่มอ่านหนังสือภาพให้ฟัง หลังจากทำงานร่วมกันประมาณ ๕๐ ชั่วโมง เด็กๆส่วนใหญ่เริ่มอ่านหนังสือออกและเริ่มหัดเขียนข้อความสั้นๆ พวกเขาเริ่มผ่อนคลาย สงบลง สุภาพขึ้น แสดงน้ำใจต่อผู้อื่น ชี้ให้เห็นว่าสำนึกแห่งคุณค่าในตนเองเริ่มกลับมา เริ่มรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ ตนเองก็สามารถไปสู่ความสำเร็จได้เช่นเดียวกับผู้อื่น โลกใบนี้มีที่ให้เขายืน มีคนเห็นคุณค่าและได้รับความนับถือเช่นเดียวกับเด็กๆคนอื่น แล้ว ปลายทางอยู่ที่ไหน ภายใต้บริบทที่ขัดแย้งระหว่างคณะทำงานกับวาระสำคัญอันหลากหลายของโรงเรียน ภายใต้บริบทของเด็ก ๗ คนกับเด็กๆอีกนับล้านคนทั่วประเทศ และภายใต้บริบทของคนทำงานการศึกษาอิสระกับโครงสร้างที่เต็มไปด้วยคำอธิบาย แต่ไม่เคยหาคำตอบอะไรได้ของกระทรวงศึกษาธิการ

เหล่า นั้นเป็นคำถามที่เราไม่รู้คำตอบ เราตอบได้เพียงว่า หากสามารถพาเด็กๆทั้ง ๗ คนนี้ไปถึงโลกของหนังสือและการอ่านได้แล้ว ในวันที่เด็กๆเหล่านี้สามารถอ่านวรรณกรรมเยาวชนได้เองอย่างมีความสุข ก็ย่อมหมายความเราส่งพวกเขาถึงชายฝั่งแล้ว หนทางที่เหลืออยู่ก็ขึ้นอยู่กับสื่งที่พวกเขาค้นพบ และคำตอบที่พวกเขาค้นหาได้เองในโลกแห่งการเรียนรู้

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ