เวลาซื้อหนังสือเล่มหนาๆ มาอ่านโดยเฉพาะนวนิยายซึ่งมักจะมีความหนา 300-700 หน้า ในฐานะนักอ่านจะรู้สึกว่านักเขียนช่างเก่งจริงๆ เขียนได้ยังไงหนังสือหนาขนาดนั้น นั่นคือในสายตาคนนอกที่ได้แต่มองนักเขียนอย่างชื่นชม แต่ในความเป็นจริงแล้วมีหลายเรื่องที่เราไม่รู้ เพราะถ้าไม่ได้คุ้นกันจริง นักเขียนก็คงไม่ได้เล่าให้ฟัง
1. คิดไม่ออก สมองตัน เห็นเขียนกันปีละหลายเล่ม นับเฉลี่ยแล้วต้องเขียนทุกวัน วันละเป็นสิบๆ หน้าจึงจะได้ปริมาณขนาดนั้น แต่นักเขียนมีช่วงคิดไม่ออกสมองตันด้วย กับอีกเรื่องที่ยากสำหรับนักเขียนคือ ถนัดเขียนยาวจนมีปัญหาเวลาบก.ให้เขียนเรื่องย่อ 2 หน้ากระดาษ
2. เขียนภายใต้ความกดดันของคนรอบข้าง ไม่มีใครเชียร์เลย ใครจะรู้ว่านิยายที่เราอ่านแล้วจิ้นฟินมีความสุข บางทีคนเขียนทำในภาวะที่มีแรงกดดันสูง ต้องพิสูจน์ตัวเองให้คนใกล้ตัว ครอบครัวยอมรับ ไม่ได้สุขเหมือนในนิยายที่เขียนเลย
3. เขียนนิยายทำเงิน แล้วคนข้างบนคิดว่า ไม่ทำงานทำการ ทำใจไม่ได้กับคำนินทาก็ทำให้เครียดได้เหมือนกัน
4. ฝืนใจเขียน ไม่ได้ชอบพล็อต ชอบบุคลิกตัวละครเลย หรือบางฉากเลย แต่นักอ่านชอบแบบนั้น ก็ต้องเขียนให้ได้ ไม่งั้นอาจไม่ได้รับการต้อนรับ เพราะไม่ได้เขียนไว้อ่านเองนี่นา
5. ให้รีไรท์ ขอเขียนใหม่ดีกว่า ง่ายกว่าเยอะ เพราะที่เขียนไปแล้วจะรู้สึกว่าดีแล้ว ไม่รู้จะแก้ไขตรงไหนเป็นนักเขียนไม่ได้ง่าย เพียงแต่เขาไม่ได้บอกเราเท่านั้น
บทความโดย ณิชกมล เตชะงามสุวรรณ