แอนิมัลฟาร์ม (อังกฤษ: Animal Farm) เป็นนวนิยายสั้นเชิงอุปมานิทัศน์ ที่เขียนโดยจอร์จ ออร์เวลล์ (อ่านประวัติของ George Orwell) ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488
นิยายเรื่องนี้สะท้อนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซียและการครองอำนาจของสตาลิน โดยใช้สัตว์เป็นตัวดำเนินเรื่อง ออร์เวลล์ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย มองว่าสหภาพโซเวียตนั้น "ปกครองอย่างโหดร้าย" และเขาใช้นิยายเรื่องนี้เพื่อเสียดสีการปกครองของสตาลิน
แอนิมัลฟาร์ม ได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ ให้เป็นหนึ่งในนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด 100 เรื่อง ระหว่างปี พ.ศ. 2466–2548 และอยู่ในอันดับที่ 31 ของรายชื่อนิยายที่ดีที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของสำนักพิมพ์มอเดิร์นไลบรารี นอกจากนี้ยังได้รับการดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ จำนวนมาก
ออร์เวลล์เขียนนิยายเรื่องนี้ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ซึ่งในขณะนั้นสหราชอาณาจักรกำลังเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง และชาวอังกฤษส่วนใหญ่ต่างยกย่องสตาลิน แต่ตัวออร์เวลล์เองกลับไม่ชอบใจกับเรื่องดังกล่าว ในตอนแรกต้นฉบับถูกหลายสำนักพิมพ์ปฏิเสธ แต่ภายหลังได้รับความนิยมเนื่องจากความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสงครามเย็น
1. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของออร์เวลล์ในสงครามกลางเมืองสเปน ออร์เวลล์เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน เรื่อง Homage to Catalonia เป็นหนังสือสารคดีในปี 1938 ตอนที่เขาหนีการกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์ในสเปน เป็นแรงบันดาลใจให้เขาแสดงว่า การชวนเชื่อของระบอบเผด็จการสามารถควบคุมความคิดเห็นของคนมีความรู้ในประเทศประชาธิปไตยได้ง่ายเพียงใด" ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นผล
2. T.S. Eliot ยกย่องในหนังสือเล่มนี้ว่า เป็นหนังสือที่เขียนออกมาได้ดี หลังจากได้รับสำเนาจากสำนักพิมพ์ Faber and Faber ที่เขาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการ แต่ T.S. Eliot ยังปฏิเสธที่จะยอมรับหนังสือเรื่องนี้ เว้นเสียแต่ว่าออร์เวลล์นำเสนอมุมมองที่เห็นอกเห็นใจให้กับผู้นิยมลัทธิ Trotskyites มากขึ้น
3. การเขียนเรื่องนี้ เขาได้รับแรงบันดาลใจจากเด็กชายวัย 10 ขวบ หลังจากได้เห็นเด็กชายคนนั้น ที่เฆี่ยนตีสัตว์ลากเกวียน ทำให้เขารับรู้ว่ามนุษย์มีอำนาจเหนือกว่า และใช้ประโยชน์จากสัตว์ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับคนรวยใช้ประโยชน์จากคนชนชั้นแรงงาน
4. สายลับรัสเซียขัดขวางการตีพิมพ์หนังสือของ ออร์เวลล์ ตอนแรกมีปัญหามากในการตีพิมพ์ต้นฉบับสำหรับหนังสือ เรื่องฟาร์มสัตว์ เนื่องจากความกลัวที่เกี่ยวกับความรู้สึกต่อต้านรัสเซีย หนังสือเล่มนี้เริ่มมองเห็นแสงสว่างในวันที่ได้รับการยอมรับจากสำนักพิมพ์ชาวอังกฤษของ Jonathan Cape อย่างไรก็ตาม บริษัทนี้ก็ได้เปลี่ยนความคิดของตนอย่างรวดเร็วหลังจากถูกเตือนจากปีเตอร์ สโมลเลตต์ ซึ่งเป็นข้าราชการ และต่อมาได้ถูกเปิดเผยว่าเป็นสายลับโซเวียต
5. ตั้งแต่ Animal Farm ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 100 นวนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดในนิตยสารไทม์ได้รับรางวัล Hugo Award และรวมอยู่ในหนังสือ Great Books of the Western World ที่ได้รับการยอมรับ แต่ก็มีคำวิจารณ์ออกมาในทางที่ไม่ดีนัก
6. หนังสือ Animal Farm ทำให้ออร์เวลล์ ประสบความสำเร็จในเรื่องยอดขายหนังสือเป็นครั้งแรก และเป็นการปูทางให้เขามีผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงอย่างเรื่อง 1984 รวมถึงผลงานของออร์เวลล์ที่เขียนก่อนหน้านี้ อย่าง Road to Wigan Pier และ Homage to Catalonia
7. Eileen ภรรยาของออร์เวลล์เสียชีวิตก่อนที่จะมีการตีพิมพ์ Animal Farm เพียง 6 เดือน โดยเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวขณะที่ดมยาสลบสำหรับการผ่าตัดมดลูกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1945
8. Animal Farm มีการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ ถึง 2 ครั้ง ในปี 1954 และในปี 1999
9. Animal Farm ไม่ใช่ชื่อเต็มที่ Orwell เขียน เดิมชื่อว่า Animal Farm : A Fairy Story แต่คำบรรยายถูกตัดทิ้งโดยสำนักพิมพ์อเมริกันในปีพ. ศ. 2489 ตั้งแต่นั้นก็ไม่มีชื่อรอง ปรากฎอยู่อีกเลย
10. ในภายหลัง Animal Farm วาดภาพประกอบโดย Quentin Blake ผลงานมีชื่อเสียงของ Quentin Blake คือภาพประกอบชุดหนังสือสำหรับเด็กโดยโรอัล ดาห์ล เขาได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์ในลอนดอนให้วาดภาพประกอบให้กับแอนิมอลฟาร์มด้วย
11. Animal Farm ถูกห้ามในประเทศโลกตะวันออก ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ จนกระทั่งการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปี 1989
12. Animal Farm เป็นหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับการแต่งเพลงอยู่หลายเพลง ตั้งแต่นักร้องฮิปฮอปดูโอ Dead Prez ไปจนถึงวงโพสต์พังค์ Half Man Half Biscuit และยังได้รับการชื่นชมจากวง Radiohead วง R.E.M. และวง Pink Floyd อีกด้วย
13. Animal Farm ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยหลายสำนวน คือ
1) ฟาร์มเดรัจฉาน แปลโดย ม.ล. นิภา ภานุมาศ (พ.ศ. 2502)
2) สัตวรัฐ แปลโดย อุทุมพร ปาณินทร์ สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2515)
3) การเมืองของสัตว์ แปลโดย วิเชียร อติชาตการ สำนักพิมพ์เคล็ดไทย (พ.ศ. 2518)
4) แอนนิมอล ฟาร์ม แปลโดย ศุภรางค์ เผ่าพันเลิด สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2518)
5) ฟาร์มสัตว์ แปลโดย สายธาร สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น (พ.ศ. 2520) และตีพิมพ์ใหม่ในปี 2561
6) รัฐสัตว์ แปลโดย เกียรติขจร ไชยแสงสุขกุล สำนักพิมพ์มติชน (พ.ศ. 2544)
7) แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย พันเอก ดร. ชัยพฤกษ์ ปิลกศิริ สำนักพิมพ์กู๊ดมอร์นิ่ง (พ.ศ. 2549)
8) แอนิมอล ฟาร์ม สงครามกบฏของสรรพสัตว์ แปลโดย บัญชา สุวรรณานนท์ (นักแปลดีเด่น รางวัลสุรินทราชา พ.ศ. 2558) สำนักหนังสือไต้ฝุ่น (พ.ศ. 2555)
9) Animal Farm การเมืองเรื่องสรรพสัตว์ / สรวงอัปสร กสิกรานันท์ 2557
10) แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย เพชร ภาษพิรัช (นักแปลดีเด่น รางวัลสุรินทราชา พ.ศ. 2550) สำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (มีนาคม พ.ศ. 2560)
สั่งซื้อหนังสือได้ที่
Fanpage : http://m.me/praphansarn
LINE : @praphansarn คลิกลิงค์ http://line.me/ti/p/%40krx7353s
_____________
เรียบเรียงโดย : ศิริรัตน์ สุ่นสกุล
ที่มา : 12 things you probably didn’t know about Animal Farm