เราเอาใจคอวรรณกรรมมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์กวีชื่อดัง นักเขียนเรื่องสั้นมือทอง หรือแม้กระทั่งนักเขียนนิยายชั้นเยี่ยม แต่คราวนี้ขอเอาใจคอวรรณกรรมอีกประเภทหนึ่งที่ชอบเรื่องราวความเป็นจริง หรือเนื้อหาชีวิตเข้มข้นที่โลดแล่นอยู่บนหน้าหนังสือ เรากำลังพูดถึงวรรณกรรมประเภท ‘สารคดี’
นัดพบนักเขียนฉบับนี้จึงขอหยิบยกสารคดีขึ้นมาหนึ่งล่มที่ได้รางวัลชนะเลิศในประเภท‘สารคดี (ทั่วไป)’จากเวที ‘เซเว่นบุ๊ควอร์ด’ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2555 โดยเล่มนี้น่าสนใจตรงที่ว่า ผู้เขียนไม่ได้คลุกคลีอยู่ในวงการวรรณกรรม แต่กลับเป็นนายแพทย์ที่มีลีลาการเขียนแพรวพราวอีกทั้งสาระในงานเขียนยังคู่ขนานไปกับความบันเทิงได้อย่างลงตัวนายแพทย์คนดังกล่าวชื่อ ‘เอ้ว – ชัชพล เกียรติขจรธาดา’ ผู้เขียน ‘เรื่องเล่าจากร่างกาย’
ความน่าทึ่งของสาระมาบรรจบกับความบันเทิงได้อย่างไร นั่นคือสิ่งที่เราอยากรู้จากคุณหมอหน้าเด็กคนนี้รวมถึงมุมมองและทัศนคติที่มีต่วรรณกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ที่เขาสนอกสนใจ เรียบเรียงจนเป็นเล่มออกมา
all : จุดเริ่มต้นในการเป็นนักเขียนอย่างจริงจัง
นพ.ชัชพล : ผมเริ่มเขียนด้วยความรู้สึกชอบเฉย ๆ และทำด้วยใจรักเลยจริง ๆ ซึ่งที่บอกว่าชอบ ไม่ได้ชอบเขียนนะ(ยิ้ม)จริง ๆ เป็นคนที่เขียนหนังสือไม่ได้เลย แต่ที่ชอบคือ ชอบเล่า ชอบสอน ตั้งแต่อยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช เพราะเวลาได้สอนหรือเล่าแล้วมันรู้สึกสนุกและน่าสนใจเพราะเราได้แลกเปลี่ยนกับเด็กที่เรียนมีคำถามแปลก ๆ มากมายให้เราได้ขบคิดตลอดเวลา แต่ก่อนเขียนหนังสือจริง ๆ เริ่มมาจากเราเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในวิทยาศาสตร์เราจะเรียกทักษะนี้ว่า ป๊อบชายน์ (Pop Science) คือจะเล่าออกมาเป็นเรื่อง อย่างวลาเรียนวิทยาศาสตร์ ก็จะเป็นลักษณะของตำราหรือนิยามต่าง ๆ ข้อมูลทุกอย่งจะแห้ง เมื่อเปิดหนังสือที่เป็นตำราวิทยาศาสตร์ก็จะเป็นแบบนั้น แต่เวลาเปิดนิยายก็จะเป็นเรื่องราวอีกแบบหนึ่งมีจุดเริ่มต้น เหตุการณ์ และดราม่าเข้ามาอีกมากมาย ทีนี้สิ่งที่ผมพยายามจะทำเป็นป๊อบชายน์ในลักษณะของข้อมูลเชิงอธิบายเข้าใจได้ง่าย และจำเป็นต้องทำให้คนอื่นรู้สึกอินตามแด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น โดยส่วนตัวผมเองตอนหลังกลับไปชอบเรื่องราวของประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งผมรู้สึกว่าเวลาเราเล่าประวัติศาสตร์เราจะกลับไปดูและมองเห็นถึงต้นตอว่ามันเป็นอย่างไร เขาคิดได้อย่างไรกัน ซึ่งบางครั้งยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมาก บางครั้งการค้นพบอาจจะไม่ตรงไปตรงมา นั่นจึงทำให้เราข้าใจและมองโลกได้อย่างหลากมุมมากน เพราะปกติหลักของวิทยาศาสตร์ มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะวิทยาศาสตร์ คือความไม่ก้าวหน้า อย่างเวลาเขียนผมก็จะเล่าที่มาโดยเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 19-20 ว่าเกิดอะไรขึ้น คนคิดอย่างไรกับสิ่งนั้น ซึ่งวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์จะมีทิศทางที่มาที่ไป แต่ไม่ร้อย์ เพราะถือเป็นพาร์ทหนึ่งของเรื่องราวเท่านั้น ยังมีวันเดินหน้าหรือถยหลังลงมาได้
all : การพบปะกับนักวิทยาศาสตร์ และฟังบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญบ่อยครั้งเวลาอยู่ต่างประเทศ ทำให้คุณหมอตัดสินใจจับปากกาเขียนงานของตัวเองเร็วขึ้นหรือไม่
นพ.ชัชพล : ใช่ครับ แต่ผมว่าจริง ๆ มันค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นช้า ๆ มากกว่า ว่าเราน่าจะเขียนขึนบ้างนะ เมืองไทยจะได้มีหนังสือแนวแบบนี้บ้าง ก็เลยบอกกับตัวเองว่า...เออก็ลองเขียนดิ (หัวเราะ) อย่างที่ไปเจอเรื่องนี้มาสนุกมากเลย น่าลองมาเล่าดู ยกตัวอย่างวันหนึ่งผมกลับมาที่เมืองไทย แล้วได้ฟังข่าวทางโทรทัศน์ช่องหนึ่ง เขาบอกว่า รู้ไหม คนที่กินอาหารแคลอรี่สูงโอกาสจะมีลูกเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งผมจะเขียนเรื่องนี้ในเล่มถัดไป เพราะเขาบอกว่าปริมาณของแคลอรี่ส่งผลต่อการเลือกเพศของลูกได้โดยที่แม่ไม่รู้ตัว เนื่องจากร่างกายของเราจะมีสภาวะประเมินสิ่งแวดล้อมว่า อาหารขาดแคลนหรือมีมากอีกทั้งเพศผู้ส่วนใหญ่มักจะต้องใช้แคลอรี่เยอะมากกว่าเพศเมีย แต่ถ้าเล่าตรงนี้ในเวลาสั้น ๆ ก็อาจจะงงเล็กน้อย เลยเลือกที่จะถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือให้คนอ่านดีกว่า แล้วคนอ่านจะได้เห็นภาพเล่านั้นชัดเจนขึ้น ซึ่งการมีกรณีศึกษาหรือตัวอย่างที่น่าสนใจเยอะ ๆ นี่แหละ ที่ทำให้ผมสนใจและค้นคว้าอย่างจริงจัง อีกทั้งจับปากกาเขียนงานตัวเองเร็วขึ้นด้วย
all : แต่พอจะเริ่มเขียนงานจริงจัง กลับพบอุปสรรคชิ้นใหญ่ คือ ไม่รู้จะเริ่มเขียนอย่างไร
นพ.ชัชพล : ใช่ครับ เขียนแล้วก็เลิกอยู่หลายครั้งมาก เป็นสิบ ๆ ครั้งเลยก็ว่าได้ เพราะเรื่องของเรามีอยู่เยอะ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนก่อน ไม่รู้ว่าจะเรียบเรียงอย่างไร ไม่รู้จะเริ่มจากระดับไหน คือไม่รู้อะไรเลยครับ(ยิ้ม)คิดถึงขนาดที่ว่าหนังสือเล่มนี้คงไม่ประสบความสำเร็จแน่นอน เป็นโปรเจ็คต์ที่ล้มเหลว และต้องล้มพับไปในที่สุด ซึ่งบางครั้งผ่านไป6 เดือน ไม่มีอะไรก้าวหน้าเลยก็มี จริง ๆ มันอยู่ในหัวของเรานั่นแหละ แต่เราไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน ไม่รู้จแบ่งหรือตัดส่วนหนออกมาดี หรือจะเล่าอย่างไรให้สนุก ผมเลยเริ่มจากการจัดเนื้อหาก่อนว่ามันควรอยู่ตรงไหน แต่พอจัดเป็นระเบียบเสร็จ ก็ค่อยๆ เรียบเรียงไปเรื่อย จนเข้าที่เข้าทางโดยวิธีของผมคือทำเป็นสตอรี่บอร์ดเลยครับไปซื้อกระดานมา แล้วผมก็จัดการเขียน เริ่มต้นจากเขียนด้วยเรื่องนี้ ไปสู่เรื่องนั้น เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แล้วโยงเรื่องนั้น มาหาเรื่องนี้ แตกเป็นกิ่งไม้หลายกิ่งมากเลยครับ เพราะมันโยงได้สารพัดทิศเลย และอีกวิธีหนึ่งที่ผมมาค้นพบตอนหลังือโพสต์อิท (Post-it) กระดาษแปะเล็ก ๆ นี่แหละครับ เสร็จแล้วเราก็ย้าย ง่ายดี เอาตรงนั้น มาไว้ตรงนี้ เอาตรงนี้ไปอยู่กับตรงนั้น พอตื่นเช้าก็มายืนมองหน่อย เอาอันนี้ไปแปะไว้ตรงนั้นแล้วกัน ข้อดีของมันคือ สิ่งที่เราคิดก็จะค้างอยู่ตรงนี้ ไม่ต้องมาเริ่มต้นศูนย์ใหม่ทุกครั้ง ค่อย ๆ เป็นรูปเป็นร่าง แล้วค่อยๆ เติบโตขึ้นจนเป็นเรื่องราวในที่สุด
all : คุณหมอนิยามแนวหนังสือหรืองานที่ตัวเองเขียนเอาไว้อย่างไร
นพ.ชัชพล : การเขียนหนังสือแนวนี้ เมื่ออ่านแล้วต้องรู้สึกถึงความบันเทิงเป็นอันดับแรกเลย แต่เนื้อหาทั้งหมดจะตั้งอยู่บนหลักของิทยาศาสตร์ล้วน ๆ แต่ไม่ใช่นิยาย ฉะนั้นเวลาคนอ่านผมคาดหวังไว้ว่าคนอ่านจะสนุกและได้สาระไปพร้อม ๆ กัน อย่างผมเองสมัยก่อนตอนเย็น ๆ กลับบ้านจะไม่ทำอะไร มันเหนื่อย ไม่อยากคิดอะไรมาก ก็เลยฟังเพลง ทำอะไรที่มันดูเบา ๆ พอวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ว่าง ๆ ก็อยากนั่งร้านกาแฟ อ่านหนังสืออย่างเพลิดเพลินของเราไป ทีนี้หนังสือป๊อบชายน์สมัยก่อนที่อ่าน ผมไม่ได้อ่านเพราะเป็นคุณหมอแล้วมาก่อน ผมอ่านหนังสือหลายแบบมาก แต่บางเล่มที่อ่านกลับชวนให้ผมคิดเหมือนกับคนเล่นหมากรุก ทั้งใช้สมองและเพลิดเพลินไปกับมันเหมือนกับเราเล่นเกม ๆ หนึ่ง ซึ่งจริง ๆ มีคำเรียกทางวิทยาศาสตร์อยู่คำหนึ่ง เขาเรียกกันว่า โฟลว์ (Flow) หมายถึงอะไรที่ไม่ยากหรือไม่ง่ายเกินไป ลื่นไหล แต่ท้าทายกับตัวเอง ดังนั้นป๊อปชายน์ตอนแรกที่อ่านผมไม่ได้อ่านเพราะเรียนหรือต้องใช้ แต่อ่านเพราะมันน่าสนใจและชวนคิดไปได้เรื่อย ๆ มากกว่า
all : ทำไมต้องเป็น ‘เรื่องเล่าจากร่างกาย’ เป็นเรื่องเล่าอย่างอื่นไม่ได้หรือ
นพ.ชัชพล : ธีมของหนังสือเป็นแบบนี้ครับ โดยเล่มแรกผมพยายามปูพื้นเรื่องวิวัฒนาการก่อน ผมเลยคิดว่าถ้าเราดูสัตว์ สิ่งมีชีวิต สิ่งของ หรือแม้กระทั่งก้อนหินป็น เราก็จะรู้ถึงที่มาของมันจากการที่เราเห็นลักษณะภายนอกนี่แหละ ยกตัวอย่างปลาและก้อนหินที่ผมเขียนไว้ในหน้าของคำนำ ผมเขียนไว้ว่า ลักษณะภายนอกจะบอกเราได้ว่าลักษณะอย่างนี้นักธรณีวิทยาบอกเขาได้ว่า ปลาจะมีอายุเท่าไหร่ สิ่งมีชีวิตอื่นก็เหมือนกัน ถ้าเราอ่านหรือดูเป็น จะสามารถเล่าเรื่องราวร่างกายของเราได้เลย เพราะต่างก็มีพื้นฐานเดียวกัน อีกสิ่งหนึ่ง คือ เนื่องจากมันเป็นป๊อบชายน์ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องวิวัฒนาการ ผมเลยรู้สึกว่า ไม่อยากตั้งชื่อให้คนรู้สึกว่าไกลมากจนจับต้องไม่ได้ จึงอยากให้ชื่อหนังสือออกมาดูพื้น ๆ มาก ๆ ฟังเสร็จแล้วรู้เลยว่า เรากำลังเขียน พูด หรือเล่าเรื่องอะไรอยู่ ซึ่งก็คือระบบร่างกายที่เล่าเรื่องต่าง ๆ ออกมา
all : ‘เรื่องเล่าจากร่างกาย’ กำลังจะสื่อสารอะไรกับคนอ่าน
นพ.ชัชพล : ผมพยายามจะบอกว่า วิทยาศาสตร์คือเรื่องในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นและเป็นอยู่ทำไมเราคิดอย่างนี้ ทำไมเราทำอย่างนั้น ทำไมเราชอบอาหารแบบนี้ โดยทุกอย่างมีที่มีมาและเรื่องราวในตัวเอง รวมถึงวิทยาศาสตร์สามารถเชิอมโยงไปสู่เรื่องหรือสาขาวิชาอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ การตลาด ฯลฯ เพราะกระบวนการวิทยาศาสตร์จะแทรกซึมอยู่ในทุกอย่าง ถ้าเรานำมาใช้ให้เป็น อีกทั้งหนังสือเล่มนี้ยังทำให้เห็นอีกว่าวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีววิทยา ไม่ใช่วิชาไว้สำหรับท่องจำ ทุกอย่างล้วนมีเรื่องราว และคำอธิบายอยู่ทั้งหมด ถ้าคุณเข้าใจ คุณก็จะรู้ถึงคำอธิบายนั้นได้เป็นอย่างดี
all : ‘เรื่องเล่าจากร่างกาย’ เน้นและพูดถึงมากในเรื่องของ ‘วิวัฒนาการ’ แล้วเรารับรู้เรื่องของวิวัฒนาการเพื่ออะไร
นพ.ชัชพล : คนมักจะชอบถามว่า ทำไมเราต้องไปเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องของคนที่ตายมาสัก 3 ล้านปีที่แล้ว เพราะว่าเราเป็นหรืออยู่ได้ทุกวันนี้ มันมีที่มา ถ้าเราไม่เข้าใจที่มา เราจะรู้จุดกำเนิดและตัวตนของเราได้อย่างไร ยกตัวอย่างเหตุการณ์ สมมติว่ามีเด็กสองคนทะเลาะกัน เช่นเดียวกันเราจะเข้าใจกลไกการทำงานของร่างกาย ทำไมร่างกายเราทำอย่างนี้เป็นอย่างนั้น เราต้องไปดูประวัติศาสตร์ ซึ่งพอเราเข้าใจ ทุกอย่างจะไม่เป็นเพียงแค่การท่องจำ แต่เราจะเข้าใจที่มาของสิ่งต่าง ๆ อย่างแท้จริง
all : รางวัล ‘เซเว่นบุ๊คอวอร์ด’ ถือเป็นการวิวัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่ของหนังสือคุณหมอหรือไม่
นพ.ชัชพล : ผมว่าเป็นการเปลี่ยนความรู้สึกมากกว่า ซึ่งแต่เดิมก็ลังเลอยู่บ่อย ๆ ว่า จะทำได้แค่ไหน จะได้อะไรกลับมาบ้าง คล้าย ๆ กับมีคำถามสงสัยอยู่ตลอดว่า เราจะเขียนได้จริงหรือเปล่า จริง ๆ ผมมีเรื่องอยากเขียนหลายเรื่องเลย โดยเป็นเรื่องที่รู้สึกว่าดี น่าสนใจ และยังไม่ค่อยมีคนพูดถึง แต่บางครั้งก็มีความรู้สึกขึ้นมาอีกว่า เราจะเขียนได้ครบไหม หรือจะทำไปนิดหนึ่งแล้วก็พอ คือผมไม่ได้ตั้งใจที่จะเขียนหนังสือขายเพียงแค่ 2-3 เล่ม รู้สึกสนุกแล้วก็เลิกไป แต่พอได้รางวัลการันตีชิ้นงาน กลับทำให้ผมมีความรู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่า คนเขาเห็นถึงสิ่งที่เราทำอยู่ แล้วเขาก็ชอบในสิ่งที่เราทำ ทำให้รางวัลกลายเป็นสิ่งเติมเต็มความรู้สึกในการทำงานของเรา ว่างานที่ออกมามีคุณค่า น่าสนใจแก่ผู้อ่าน และจะเขียนงานต่อไปจนกว่าคนจะหยุดอ่านงานหรือเรื่องของเรา
all : สามารถสรุปได้ไหมว่า วิทยาศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องสาระเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงเป็นทั้งสาระและความบันเทิงไปด้วยพร้อมๆกัน
นพ.ชัชพล : ได้เลยครับ อย่างที่บอก ผมก็ไม่ได้เป็นคนชอบเรียนหนังสือ แต่รู้สึกสนุกทุกครั้งกับสิ่งที่ตนเองค้นพบ สังเกตดูเวลาที่ผมเล่าก็ได้ (ยิ้ม) อีกส่วนหนึ่งที่ผมชอบมากก็คือ บางครั้งบางคนที่ไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์มา แต่เขากลับบอกว่าอ่านงานของเราแล้วสนุกดี มันก็บอกอะไรกับเราไว้อย่างหนึ่งแล้ว ว่างานของเราใช้ได้ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ผมอยากให้คนอ่านเห็น โดยเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ใช่เรื่องของวิชาการ เป็นเรื่องที่อ่านเสร็จแล้วสามารถตอบสนองความต้องการบางอย่างของคุณได้ ซึ่งผมจะรู้สึกดีและเพลิดเพลินมาก ที่เมื่อไร่คุณหยิบเล่มนี้มาอ่าน คุณได้อ่านมันอย่างจริงจัง
all : มีแพลน จะท่องโลก กว้างเพื่อไปหาแรงบันดาลใจใหม่ในเร็วๆนี้อีกหรือไม่
นพ.ชัชพล : ผมชอบท่องเที่ยวครับ โดยเฉพาะโลกของวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ ผมมักจะศึกษาควบคู่ไปด้วยกัน (หัวเราะ) มันทำให้เราเข้าใจความเป็นไปได้ของโลกมากขึ้น ทำให้เราอยากเห็นโลกที่กว้างกว่าเดิม ยกตัวอย่างสมัยก่อน ถ้ามีคนมาถามผมว่า ไปเที่ยวแอฟริกาไหม ไปดูว่าคนหรือชาวเผ่าอย่างชาวมาไซเขาอยู่กันอย่างไร ผมก็เกิดความสงสัยว่า แล้วเราจะไปดูทำไม ดูแล้วได้อะไร เราก็จะรู้สึกเฉย ๆ กับมัน รู้ว่าสารคดีเขาเป็นแบบนั้น แต่พอเราเข้าใจมากขึ้น เราจะรู้ถึงคำอธิบายต่าง ๆ มากขึ้น ว่าทำไมพฤติกรรมเขาเป็นแบบนั้น ทำไมวัฒนธรรมถึงเป็นอย่างนั้น พอไปเที่ยวเราก็จะเริ่มเห็นว่า มันมีคำอธิบายซุกซ่อนอยู่ในประวัติศาสตร์นั้น ๆ ซึ่งสนุกและก่อให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย และผมชอบที่จะค้นหาสิ่งที่น่าสนใจนั้นต่อไป
all : คิดถูกแล้วใช่หรือไม่ที่มายึดอาชีพเป็นนักเขียน ‘นักเขียน’
นพ.ชัชพล : ไม่ใช่ว่าคิดถูกแล้วกัน แต่ถือเป็นงานหนึ่งที่ผมภูมิใจที่ได้ทำ ถามว่าเสียดายของและความรู้เก่า ๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาหรือเปล่า ผมคิดว่าชีวิตคนเราเปรียบเสมือนกับทางเลือกมากที่จะทำงานทั้ง 2 อย่างได้ดี ซึ่งผมมองว่ายังทำไม่ได้ขนาดนั้น แต่ผมมีความรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่ได้เขียนออกมา ทุกวันนี้ตื่นเช้า ผมรู้สึกมีความรู้สึกมีความสุขที่ได้ทำงานที่ผมชอบ ผมอาจจะไม่ใช่คนที่เก่งในเรื่องของงานเขียน แต่เมื่อทำออกมาแล้ว คนอ่านรวมถึงผมรู้สึกสนุก ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น มีผลกระทบต่อไปอย่างไร ผมก็จะยังรู้สึกดีกับงานที่ผมได้ทำ และไม่กลัวอะไรอีกต่อไป....