Todd Henry ผู้ศึกษาเรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์” และตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์ให้แก่องค์กรอย่าง Intel และ P&G ไม่เชื่อเช่นนั้น เขาได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อเรื่องว่า Accidental Creative (ชื่อเดียวกับบริษัทของเขา) โดยมีแปลเป็นภาษาไทยแล้วชื่อ “คิดไม่ต้องเค้น”
ท็อดด์เชื่อว่า ไอเดียจากความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นได้โดยกระบวนการ และสามารถกำหนดลงตารางเวลาได้ว่า เวลาไหนที่เราจะ “คิด” เพื่อสร้างไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมา และนี่คือ “ปัจจัย” แห่งความคิดสร้างสรรค์ที่สกัดมาได้จากแนวคิดในหนังสือเล่มดังกล่าว
Getting Things Done: The Art of Stress-Free Productivity เขียนโดย David Allen
David Allen ได้รับการจัดอันดับจากหลายสถาบันในด้านการมีอิทธิพลทางด้านความคิด และการพัฒนาองค์กร อาทิ Forbes อเมริกา ได้จัดอันดับ David Allen ให้เป็น 1 ใน 5 ของผู้ที่ให้การCoaching ผู้บริหารองค์กรที่ดีที่สุด และ American Management Association (AMA) ได้จัดอันดับ David ให้อยู่ในอันดับ 9 ของผู้นำทางธุรกิจในอเมริกา รวมทั้งหนังสือ Getting Things Done® ของ David Allen ยังได้ชื่อว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดแห่งทศวรรษในด้านพัฒนาองค์กรโดย Time Magazine
หลักสูตร GTD หรือ Getting Things Done® เป็นระบบที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ การเพิ่มผลผลิตและการเรียนรู้ท่ามกลางโลกทุกวันนี้ที่มีข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัด โดยจากสถิติพบว่าในแต่ละวันเราได้รับข้อมูลเนื้อหากว่า 300 เรื่อง หรือเท่ากับ 34GB ที่หน่วยความจำของเราใช้บันทึกข้อมูล โดย GTD จะเป็นเหมือนเครื่องมือที่เข้าไปช่วยให้ที่ผู้ได้เรียนสามารถจัดการกับสิ่งที่ตนเองต้องทำในแต่ละวันให้มีประสิทธิภาพโดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการทำให้สมองปลอดโปร่งก่อน โดยเริ่มจาก 5 ขั้นตอนพื้นฐานดังนี้
1. Capture หรือการรวบรวมสิ่งต่างๆที่เข้ามาดึงความสนใจของเรา
2. Clarify หรือความสามารถในการรับรู้ถึงสิ่งที่เข้ามาหา และรู้ถึงวิธีจัดการกับสิ่งต่างๆเหล่านั้น
3. Organise หรือการจัดเก็บข้อมูลต่างๆให้เข้าที่เข้าทางอย่างเป็นระบบ
4. Reflect and Review หรือทบทวนถึงสิ่งต่างที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
5. Prioritize and Engage จัดเรียงความสำคัญและเริ่มลงมือทำ
Man's Search for Meaning - The Classic Tribute to Hope from the Holocaust เขียนโดย Viktor E. Frankl
เล่มนี้ เป็นเรื่องราวของนักเขียนวิกเตอร์ "อี. แฟรงเคิล" จิตแพทย์ชาวออสเตรีย ที่ชีวิตหักเหสู่สภาพที่เลวร้ายที่สุด เมื่อเขาถูกกักกันอยู่ในค่ายนาซี เขาสิ้นอิสรภาพ ต้องทุกข์ทรมานอยู่กับความทารุณ ไม่มีหวัง ไม่รู้กระทั่งว่าผู้คนที่ตนรักจะยังมีชีวิตหรือไม่ แต่ดอกเตอร์แฟรงเคิล รวมถึงนักโทษบางส่วน กลับสามารถมองหาความหมายในชีวิตได้ บุคคลเหล่านี้เป็นตัวอย่างว่า มนุษย์นั้นอาจจะไม่ได้เกิดมาเพื่อทำให้พ่ายแพ้เสมอไป ตราบใดที่เราไม่ก้มหัวให้ชะตากรรม
So Good They Can't Ignore You เขียนโดย Cal Newport
passion mindset คือเน้นที่ความสุขที่ได้จากงานในตอนนี้ The Passion Hypothesis – สมมติฐานความหลงใหล
สมมติฐานนี้กล่าวไว้ว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้เรามีความสุขกับงานที่ทำ คือหาให้เจอว่าอะไรคือสิ่งที่คุณหลงใหล แล้วจงทำงานที่สอดคล้องกับความหลงใหลนั้น
แต่คาล ผู้เขียนหนังสือ บอกว่าสมมติฐานนี้อาจจะไม่เวิร์คก็ได้
เพราะตอนเราเริ่มทำงาน เราไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่เรารักและหลงใหลจริงๆ คืออะไรกันแน่ และการได้ทำสิ่งที่หลงใหลนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยที่จะทำให้เรามีความสุขกับงาน การออกตามหาสิ่งที่รักหรือ follow your passion เป็นเรื่องดี แต่บางทีก็อาจจะเป็นวิธีมองโลกที่จำกัดตัวเองเกินไป และอาจทำให้เราด่วนตัดสินใจเกินไปหน่อย
Keep Going: 10 Ways to Stay Creative in Good Times and Bad เขียนโดย Austin Kleon
ชีวิตที่สร้างสรรค์ไม่ใช่การเดินทางเป็นเส้นตรงให้ถึงจุดหมายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมการหาแรงบันดาลใจและสิ่งที่อยากทำระหว่างทาง หรือสิ่งที่ยังอยู่ใน 'ลูป' ของชีวิตประจำวันให้ได้ มาหยุดการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตและหันมาให้เวลากับตัวเองมากกว่าที่เคย แล้วลองทำตามกฎง่าย ๆ 10 ข้อ ใน Keep going 10 ways to stay creative in good times and bad ของ ออสติน เคลน ไม่ว่างานออกแบบสร้างสรรค์อะไรก็ไหลลื่น