หนังสือเล่มโปรด Albert Einstein
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์สถิติ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก"การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี
เขาอัจฉริยะขนาดนี้ อยากรู้ใช่ไหมว่าเขาอ่านหนังสืออะไร และมีหนังสือเล่มโปรดเล่มไหนบ้าง แน่นอนว่าต้องเป็นหนังสือที่เก่าแก่มากๆ ตามไปดูกัน
“Don Quijote” เขียนโดย Cervantes Saavedra
เฒ่าสติเฟื่องนามว่า "ดอน กีโฆเต" หลงเพ้อว่า ตนคืออัศวินผู้กล้าหาญ รอนแรมผจญภัยไปกับข้ารับใช้คู่ใจ "ซานโซ ปันชา" เพื่อผดุงคุณธรรม อุดมการณ์แรงกล้าของเขาจะสำเร็จหรือไม่ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความจริงอันโหดร้าย!
“A Treatise of Human Nature” เขียนโดย David Hume
เดวิด ฮูม เป็นนักปรัชญาชื่อดังชาวสก็อตแลนด์ หนังสือเล่มนี้สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และธรรมชาติของมนุษย์ (จึงไม่น่าแปลกใจที่ไอน์สไตน์จะชอบ) โดยต้องถือว่าเป็นหนังสือที่อยู่บนรอยต่อระหว่างอภิปรัชญากับวิทยาศาสตร์ คืออภิปรัชญานั้นจะใช้การคาดการณ์กะเก็ง แต่วิทยาศาสตร์จะใช้การสังเกตข้อเท็จจริง ทำให้สองอย่างนี้แตกต่างกัน นี่จึงเป็นหนังสือเล่มสำคัญเล่มหนึ่งของวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์
“None” เขียนโดย B. Kovner
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นชาวยิว ชื่อ B. Kovner เป็นนามปากกา ชื่อจริงของเขาคือ Jacob Adler ปกติเขาเขียนงานให้กับหนังสือพิมพ์ Jewish Daily Forward เป็นงานประเภทขำขันในภาษายิดดิช ไอน์สไตน์ไม่ได้อ่านเป็นเล่มนะครับ แต่เขารออ่านเป็นตอนๆ ตั้งแต่ลงในหนังสือพิมพ์เลย หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า งานเขียนของ B. Kovner คืองานที่เขาตั้งตารออ่านเสมอในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายของชีวิต
“Isis Unveiled: Secrets of the Ancient Wisdom Tradition” เขียนโดย Helena Petrovna Blavatsky
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแนวจิตวิญญาณ นำเสนอเรื่องราวของลัทธิที่เรียกว่า Pantheism หรือ ‘สรรพเทวนิยม’ คือไม่แบ่งแยกอะไรเลย นับถือเทพเจ้า พระเจ้า ทุกพระองค์ นับถือธรรมชาติ ขุนเขา และทุกสิ่ง คือเห็นว่าธรรมชาติหรือเอกภพกับพระเจ้านั้น แท้จริงคือสิ่งเดียวกัน หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มโปรดของเอลวิส เพรสลีย์ และเป็นหนังสือที่มีอิทธิพลต่อ มหาตมะ คานธี ด้วย
“The Brothers Karamasov” เขียนโดย Dostoevsky
วรรณกรรมคลาสสิคของรัสเซียนั้นมีลักษณะโดดเด่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ นักประพันธ์เอกแต่ละฅนล้วนแต่เป็นต้นสกุลของแนวเขียนที่ตนเองถนัด และถึงแม้ว่าผลงานของพวกเขาจะได้กลายมาเป็นแม่บททางวรรณคดีสำหรับฅนรุ่นต่อๆ มา แต่ก็เป็นการยากยิ่งที่จะเดินตามรอยอักษรของท่านเหล่านั้นได้อย่างถึงที่สุด ฟีโอโดร์ ดอสโตเยฟสกี เป็นนักประพันธ์รัสเซียอีกฅนหนึ่งที่ถ่ายทอดระบบคิดของตนออกมาในรูปของวรรณคดี เป็นระบบคิดที่สลับซับซ้อนมาก พอๆ กับเส้นทางชีวิตของเขา