ทิม คุก ( Tim Cook ) เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบันของบริษัท Apple เข้าร่วมงานกับ Apple ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 ในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส มีความรับผิดชอบหลักในการจัดการปฏิบัติการวันต่อวันที่บริษัท เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หลังสตีฟ จ็อบส์ ประกาศลาออก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลายคนบอกว่าเขามีการบริการงานที่แตกต่างกับ สตีฟ จ็อบส์ อย่างสิ้นเชิง ลองไปเปิดเล่มโปรด หนังสือที่หล่อหลอมความคิดให้เขานำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งหนังสือที่เขาแนะนำที่มาพูดถึงในบทความนี้มี 3 เล่มด้วยกันคือ
Competing Against Time โดย Jr. George Stalk
แนวคิดเรื่องการลดค่าใช้จ่ายในบริษัท การใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เพราะมันเป็นทรัพยากรที่สำคัญเทียบเท่ากับ เงิน ผลผลิต คุณภาพ และนวัตกรรม งานของผู้บริหารก็คือการจัดการทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดนี้ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่การกระจายสินค้า และการขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ Cook นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหาร Apple โดยตลอดนับแต่เข้ารับตำแหน่ง และการทำให้พนักงานมีความสุขของคุกก็ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน นอกจากจะเก็บไว้อ่านเองแล้ว เจ้าตัวก็ชื่นชอบถึงขนาดซื้อเก็บไว้หลายเล่ม เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ร่วมงาน รวมถึงแนะนำให้คนอื่นๆอ่านอีกด้วย
_____________________________________
Bobby Kennedy : The Making of a Liberal Icon
เป็นชีวประวัติของ โรเบิร์ต ฟรานซิล เคนเนดี (Robert Francis Kennedy) หรือที่รู้จักในชื่อ "บ็อบบี" หรือชื่อย่อ อาร์เอฟเค (RFK) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา เจ้าของวาทะเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมือง : "จงอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามตัวท่านเองว่าท่านจะทำอะไรให้ประเทศชาติ" และเป็นน้องชายของจอห์น ฟิตซ์เจอรัลด์ "แจ็ก" เคนเนดี เขาดำรงตำแหน่งเป็นอัยการสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 ถึง 1964 ภายใต้การบริหารของพี่ชาย และประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน และเป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาจากรัฐนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 จนกระทั่งถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1968 ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเพื่อเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต เพื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ผ่านการรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียดทั้งจากเอกสารที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน รวมถึงบทสัมภาษณ์ภรรยาหม้าย และญาติพี่น้องของเจ้าตัวด้วย
_____________________________________
Autobiography: The Story of My Experiments With Truth (1927-1929) โดย Mohandas K. Gandhi (มหาตมา คานธี)
อัตชีวประวัติเรื่องราวการทดลองด้วยความจริงของมหาตมา คานธี เป็นไดอารี่ของผู้นำอินเดียที่ครอบคลุมทุกช่วงชีวิตของมหาตมา คานธีตั้งแต่วัยเด็กจนถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 50 โดยยึดหลักความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีผ่านความจริงและความรุนแรงด้วยตัวท่านเอง
โดยพื้นฐานแล้วท่านคานธีไม่ได้เป็นนักปรัชญาฮินดู แต่ท่านเป็นผู้นำปรัชญาฮินดูมาปฏิบัติในวิถีชีวิตประจำวันและในทางการเมืองในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียต่างหาก. สำหรับคนมีความคิดที่โน้มเอียงไปทางอุดมคตินิยม (idealism) คงจะเห็นท่านเป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมยิ่ง แต่สำหรับบางคนที่เป็นพวกปฏิบัตินิยม (pragmatism) แล้ว อาจเห็นว่าแนวทางของท่านนั้นแม้อาจเป็นจริงในเชิงปัจเจก แต่ในเชิงมหาภาคแล้วมันไม่อาจเป็นจริงได้เลยในโลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง -- หลายคนอาจเข้าใจว่าการได้เอกราชของอินเดียเกิดจากการเคลื่อนไหวของท่าน แต่ในความเป็นจริงแล้วเกิดจากเงื่อนไขอื่นๆมากมาย โดยเฉพาะการเมืองภายในของจักรวรรดิอังกฤษเอง นอกจากนั้น. . .
แม้แต่ความเป็นคฤหสฺของท่านตามคติฮินดู ท่านยังล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า. ไม่ว่าอย่างไร คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่ท่านปฏิบัติและแนวทางอหํสาและสตยาคฺรหฺ ของท่านนั้น สร้างแรงบันดานใจให้คนในโลกนี้อย่างมากมายมหาศาล. และสิ่งหนึ่งที่ท่านได้พิสูจน์ตนเองในแนวทางเหล่านั้นก็คือหนังสืออัตชีวประวัติเล่มนี้. ก็อย่างที่ชื่อหนังสือเล่มนี้กล่าว นี่คือการพิสูจน์สัจจของตัวท่านเองผ่านการเล่าเรื่องราวประวัติชีวิตส่วนตัวของท่าน ซึ่งหากใครได้อ่านแล้วคงจะยอมรับว่า อดีตที่ท่านปฏิบัติและปัจจุบัน ณ เวลาที่ท่านเขียนเรื่องราวของตนเองนั้น ท่านแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ท่านมีความซื่อสัตย์กับตนเองในทดลองชีวิตของท่าน นับจากวัยเด็กจนถึงช่วงการต่อสู้กับจักรวรรดิอังกฤษในอาฟริกาและในอินเดียช่วงแรกๆ และในการเขียนสัจจเหล่านั้นออกมาอย่างตรงไปตรงมาเพียงใด. ใครที่ยังไม่เคยอ่าน ควรอ่านอย่างยิ่งครับ เพราะนี่ไม่ใช่เพียงแต่อัตชีวประวัติของมหาบุรุษคนหนึ่งของโลก แต่เป็นสัจจของสัตตชีวิตที่มนุษย์ทุกคนเป็น
บทความโดย : ศิริรัตน์ สุ่นสกุล
อ้างอิง www.valuewalk.com , www.AdmissionPremium.com