นิยายรัก นิยายชีวิตของวัตตรา : หัวข้อเสวนา "นิยายรัก นิยายชีวิตของวัตตรา"โดย วัตตรา (อภิญญา เคนนาสิงห์)

นิยายรัก นิยายชีวิตของวัตตรา

วัตตรา : ค่ะ ก็จะมีนักวิจารณ์อย่างเช่นคุณไพลิน รุ้งรัตน์ ได้วิจารณ์ลงในสยามรัฐ ว่าเราเขียนงานออกมาแบบนี้เป็นการสะท้อนความจริงเกินไปหรือเปล่า นักวิจารณ์เขาบอกว่าอันนี้คัดลอกคำของเขามาเลยว่า พอเราไปอ่านตอนแรกเราก็จะงงว่าเขาชมหรือว่าอะไร เพราะมีเสียงตอบรับหลายแบบมากทั้งหนังสือพิมพ์หรือวิทยุว่าคนเขียนนวนิยายหนึ่งเล่มต้องคำนึงถึงอะไร ซึ่งพูดได้เลยว่าผู้ใหญ่ในเรื่องไม่มีใครดีเลยสักคนแล้วเด็กที่ออกมาผจญภัยภายนอกก็เจอแต่สิ่งเลวร้ายไม่มีมุมมองที่ดี แต่ในมุมมองของเรากลับมองว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรดีทั้งหมดแต่ในโลกแคบในนวนิยายของเรา แค่ 30 ตอน เราขีดกรอบเขาไว้ตรงนั้นเราไม่ให้เจอสิ่งที่ดีแน่นอน ถ้าเขาเจอสิ่งที่ดี พอเด็กอ่านก็นึกว่าต้องเจอสิ่งที่ดี เด็กก็หนีออกจากบ้านได้เพราะเจอสิ่งที่ดี แต่ที่เราทำเอาไว้ไม่ให้เจอสิ่งที่ดี สภาพความเป็นจริงมันเป็นอย่างนั้น

จำเนียร : ขอเล่าเรื่องย่อ ๆ ของ"ก้าวที่กล้า"ให้ฟังสักเล็กน้อย เพื่อที่เราได้นั่งฟังอยู่จะได้ต่อกันติด คือเรื่อง "ก้าวที่กล้า" เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวละคร ซึ่งช่วงนั้นยังเป็นวัยรุ่น ผู้หญิงเองก็เป็นแค่วัยมัธยมอายุประมาณ สิบหกปี

วัสตรา : สิบสาม สิบสี่เองค่ะ ส่วนตัวผู้ชายก็เหมือนเป็นเด็กที่มีปัญหาหนีออกจากบ้านมา แล้วเมื่อมาเจอกันทุกคนก็มีปัญหาทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ลองคิดดูว่าในสภาพสังคมอย่างนั้นเด็กจะเป็นอย่างไร

จำเนียร : ตรงนี้ที่ว่า "ก้าวที่กล้า" คงหมายถึงผู้เขียนด้วยที่ว่ากล้าที่จะนำเสนอประเด็นทั้งตัวที่เป็นพระเอก กับตัวนางเอกอยู่ในอีกรูปแบบ อย่างตัวนางเอกอาจจะไม่สมบูรณ์ที่จะต้องไปพบกับเจ้าชาย หรือว่าเจ้าหญิง ตัวนี้ก็อาจถูกพูดถึงค่อนข้างมากนิดหนึ่ง ตรงนี้เป็นอย่างไรเมื่องานเขียนถูกวิจารณ์ออกไปค่อนข้างมาก

วัสตรา : มันมีแง่คิดมุมมองนิดเดียวตรงที่ว่า ถ้าเราจะเสนองานสะท้อนสังคมที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในปัจจุบัน เราก็จะเป็นวัสตรา ส.เสือ หากใครเห็นวัสตรา ส.เสือ ก็จะรู้ว่าคนนี้เขียนเรื่องสะท้อนสังคม ในมุมมองของนักเขียนเอง ถ้าเพื่อคนอ่านหนังสือมากหรือเจออะไรมาก แต่ไม่รู้จักถ่ายทอดมาได้อย่างไร แต่เรารู้สึกอย่างไรก็จะถ่ายทอดมาอย่างนั้นโดยเฉพาะมุมของเราก็จะเขียนขอบเขตอยู่ตรงนั้น ฉะนั้นชื่อวัสตราที่สะกดด้วย ส.เสือ จะเป็นงานที่สะท้อนความเป็นจริงของสังคม ตามวัยของเราหรือตามสิ่งที่เราเผชิญ ถ้านามปากกาแบบนี้ พระเอก นางเอกของเรื่องจะไม่ใช่เจ้าชาย เจ้าหญิง อย่างแน่นอน เป็นมนุษย์เดินดินธรรมดาจะดีจะเลวก็คลุกเคล้ากันไปสิ่งที่เขากระทำอยู่ตรงนั้นไปกระทบกัน

จำเนียร : ฉะนั้นเรื่องราวของ "ก้าวที่กล้า" จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัยรุ่น อาจจะเป็นเพราะช่วงนั้นเรายังเป็นวัยรุ่นอยู่หรือเปล่าครับ ไม่ทราบประสบการณ์ของตัวละครในเรื่องเป็นประสบการณ์ตรง หรือว่าประสบการณ์จากข้อมูลข่าวสาร รู้สึกว่าเรื่องราวของปัญหาตรงนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับยาเสพติดเข้ามายุ่งเกี่ยวอยู่เหมือนกัน

วัสตรา : ถ้าพูดถึงในยุคโน้นในความคิดตอนนั้น ช่วงนั้นจะมีเรื่องขอทานเรื่องเด็กหนีออกจากบ้าน พ่อแม่รังแกลูก หรือเรื่องแม่เลี้ยงลูกเลี้ยงมีเยอะ ในแนวที่ตัวเองวางไว้นี้ ช่วงนั้นจะทำงานสัมภาษณ์เกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์บ่อย เราจะรู้ว่าเด็กที่หนีออกจากบ้านหรือเวลามีปัญหาแล้วไม่มีญาติพี่น้องหรือไม่มีใคร เขาจะถูกส่งไปไหน พอเรารู้ปัญหาปุ๊บเราก็จะมาวางโครงเรื่อง เราก็จะไม่อิงหลักการจริงเสียทีเดียว เราไม่อาจจะแตะต้องสถาบันใด หรือหน่วยงานใดอย่างจริงจัง การที่เราวางโครงเรื่องเด็ก 2 คน หนีออกจากบ้านเป็นเรื่องธรรมดา แต่ละครจะมีพื้นฐานของแต่ละครอบครัวต่างกัน อย่างเด็กผู้หญิงหนีออกจากบ้าน ทั้ง ๆ ที่บ้านมีพ่อมีแม่ครบ พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไร

จำเนียร : ต้องถามว่าบ้านเขาอบอุ่นไหม

วัสตรา : เมื่อครอบครัวไม่อบอุ่นเด็กก็ออกจากบ้านได้ ส่วนจอมพลครอบครัวอยู่ต่างจังหวัด เขาหนีออกจากบ้านเพราะความฝัน เขาฝันจะทำงานด้านศิลปะ ถามว่าเป็นใครที่เรารู้จักไหม ก็เป็นจากเพื่อนจากน้องที่อยู่แวดล้อมเอง และบางทีเราก็ใส่ความรู้สึกของคนที่ต้องการทำงานศิลป์ เราก็นำเอาประสบการณ์ที่เราสัมผัสไปใส่ในตัวจอมพล ซึ่งแน่นอนว่าเด็ก สอง คนนี้ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างมีปมในจิต เมื่อคุยกันถูกใจปุ๊บก็ไป เป็นอันว่า ทั้งสองคนก็ต้องเผชิญกับคนรอบข้าง ทั้งหวังผลประโยชน์ ทั้งโกง ที่เราจงใจวางไว้ให้เห็น ไม่ให้มองปัญหาแค่มีคนมารับก็จบเรื่องราว แต่ในความเป็นจริงแล้วจุดจบมันคือความตาย

จำเนียร : ฟังดูก็หนักหน่วงอยู่เสมอกัน ถ้าเราอ่านตามหน้านิตยสารหนังสือพิมพ์จะว่าไปมันก็คือข่าวสารที่เราได้รับรู้ได้เห็นอยู่บ่อย ๆ จนกลายเป็นความชาชินอยู่เหมือนกัน ด้วยมุมมองและสายตาของผู้เขียนเราสามารถจะหยิบ จะจับ จะเขียน สะท้อน บางทีเราอ่านเรื่องราวในข่าวอ่านแล้วก็ทิ้ง แต่พอได้อ่านนิยาย ที่ผู้เขียนได้หยิบ ได้จับทำให้มีสีสัน สามารถสื่อสะท้อนปัญหา ถึงจะไม่ไขปัญหาที่จบสิ้น แต่มันก็โดนใจอยู่เหมือนกัน นี้เราจะทำอย่างไรกับคนรอบข้างกับครอบครัวให้อบอุ่น อย่างน้อยเราก็จะพยายามปลูกสวนดอกไม้ของเรา และแต่ละคนพยายามปลูกดอกไม้ ทำให้สังคมอบอุ่น อาจจะเริ่มต้นมาจากครอบครัวก่อนแม้เป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ก็อาจจะทำให้สังคมดีขึ้นอยู่เหมือนกัน จากในส่วนเรื่องของ"ก้าวที่กล้า"ที่พูดถึงความรักปัญหา วัยรุ่นพอเมื่อวัยขยับเข้ามา คุณแววทำงานอยู่กับสื่อสิ่งพิมพ์ก็อยากจะสะท้อนความรักบ้าง แต่คงจะไม่ใช่เรื่องของคนในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์อย่างเดียว อาจจะเห็นแค่ฉาก แค่โครงเรื่องเท่านั้น นี้เป็นที่มาของเรื่องต่อมาคือเรื่องจัตุรัสรัก เรื่องนี้เขียนขึ้นมาทิ้งระยะห่างจากเรื่อง"ก้าวที่กล้า"นานไหมครับ

วัสตรา : ก็สักสามสี่ปี โตขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่ง ก็จะเจอชีวิต เจอความรัก พอมาจับเรื่องความรัก แต่ว่าก็เป็นความรักเรื่องที่นางเอกคนนี้ ก็จะไม่ใช่นางเอกที่บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ใช่ชายหนุ่มรูปงาม แต่จะเป็นเรื่องของสมมุติฉากเป็นเรื่องของแวดวงทางสิ่งพิมพ์ก็เพราะว่าเราอยู่ในแวดวงสิ่งพิมพ์ เราก็จะเจอประสบการณ์ตรง จากเพื่อนร่วมงานที่มีวิถีชีวิต เช่นนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนในแวดวงสิ่งพิมพ์ต้องเห็นอย่างนี้ทั้งหมดเราวางขึ้นมาเพื่อให้คนมีวิธีชีวิตแบบนี้เพื่อเป็นอิสระในการดำรงชีวิต ดังนั้นการเขียนเรื่องนี้จะสะท้อนให้เห็นความรัก ในบางทีคนที่เรารักอาจจะไม่สมบูรณ์

จำเนียร : อาจจะไม่สมบูรณ์ทั้งหมดดีพร้อมทุกอย่าง

วัสตรา : ใช่ เพราะตัวละครนางเอกก็จะมีปมชีวิต มีแม่ที่ไม่เอาใจใส่อยู่ในวัยสาวมีผู้ชายผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งพอตัวละครตัวนี้โตขึ้นสามารถดำรงชีวิตด้วยตัวเองแล้ว มีเงินก้อนหนึ่งแล้ว ก็อยากจะมีความรัก แสวงหาความรัก อยากจะชดเชยความรักใครก็ได้ที่อยากจะให้เขามีความรัก ทำให้เขาสมปรารถนาดังนั้นหัวใจของเขาก็เลยเหมือนจัตุรัส คือมี สาม สี่อย่าง คือความดีจากผู้ชายคนนี้ก็มี ความน่ารักจากผู้ชายคนนี้ก็มี ความอบอุ่นจากผู้ชายคนนี้ก็มี นั่นเป็นเรื่องของคนที่แสวงหา

จำเนียร : คือจะมองว่าลักษณะของครอบครัวและสังคม ผู้ชายหรือผู้หญิงที่เขามาในชีวิตเรา บางคนอาจจะดีตรงนี้อีกแบบ แต่ว่าในด้านร้ายก็มี ก็กลายเป็นว่าคนนี้ก็ดี นิดหนึ่ง คนโน้นก็ดีอีกแบบหนึ่ง อยากจะขย้ำๆ รวมๆ กันเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น

วัสตรา : น่าจะเป็นอย่างนั้น พอถามว่าแก่นของเรื่องอยู่ที่ตรงไหน อยู่ที่ว่าจุดเริ่มต้นของชีวิตมากกว่า ถ้ามองลึกลงไปมันก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาของคนในครอบครัว การเลี้ยงลูก การดูแลลูกมากกว่า แต่ว่าเราไม่ได้เขียนถึงขณะนั้นแต่ให้รู้ว่าทุกคนมีก็มีปมชีวิต พอมีปมชีวิตก็มีการแสวงหาสิ่งชดเชย ถ้าถามว่าในชีวิตมนุษย์จริง ๆ คนเราต้องแสวงหาอะไรมากมายขณะนั้น แต่ว่าคนเรามันก็มีความหลากหลาย ก็จะเอามาถ่ายทอด ว่าคนเรามันจะแสวงหาอะไรขนาดนี้ จนไม่มีจุดยืนของตัวเอง อย่างว่าคนนั้นก็ดี คนโน้นก็ดี ก็เหมือนใกล้เกลือกินด่าง คนที่จะสามารถเข้าใจตัวเองได้ดีที่สุด ก็คือตัวเอง เมื่อรู้ว่านี้คือสิ่งที่ใช้แต่ต้องยอมรับความจริงว่าคนเราไม่อาจเลือกอะไรได้ดีที่สุด เมื่อผู้หญิงที่ผ่านความรัก มาตั้งเยอะจนในที่สุดแล้วคนที่ใกล้คือคนที่ต้องการจะใช้ชีวิตคู่นั้นเอง แล้วเธอก็ใช้ชีวิตครอบครัวใหม่ของเธอในสิ่งที่เธอขาดมา

จำเนียร : ส่วนใหญ่ที่ได้อ่านงานของคุณวัสตรา บุคลิกของตัวละครไม่ว่าจะเป็นตัวละครเอกทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะสะท้อนภาพสังคมที่เป็นอยู่ที่เราสะท้อนภาพทั่วไป ตัวเอกผู้ชายที่นางเอกเข้าไปพัวพันก็จะมีลักษณะ ที่เรียกว่าชายเทียมอย่างนั้นทำไมถึงมีตัวละครที่มีลักษณะแบบนี้ ซึ่งตัวละครนั้นต้องการอยากจะเป็นผู้ชาย แต่ด้วยปัญหาด้านลึก ด้านใจ จึงไม่สามารถเลือกที่จะเป็นอยากที่พยายามได้ ทำไมจึงเอาตัวละคร ตัวนี้มาใส่ไว้ในเรื่อง

วัสตรา : ก็จะมี อย่างในการเขียนเรื่อง"ก้าวที่กล้า" ก็จะมีตัวละครชื่อทัก ซึ่งสังคมปัจจุบันจะมองไม่ออกว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรจะเป็นได้ทั้งหญิงและชายเราจะมองไม่ออก เห็นรูปร่างหน้าตาดี มาดแมน แต่พอเรามองลึกเข้าไปจะรู้สึกว่าเขาเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเพื่อนเป็นฝูงก็จะรู้สึกได้ อย่างนางเอกเรื่องจัตุรัสรักเขาก็จะพบกับผู้ชายคนหนึ่ง ท่าทาง ดีเนี้ยบทุกอย่าง แต่สิ่งที่อยู่ลึกภายในเขาไม่สามารถรู้ได้ เมื่อเขาตัดสินใจจะอยู่กับผู้ชายคนนี้กับพบว่าเขาไม่ชอบผู้หญิง เขาไม่อาจมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเขาได้ ซึ่งจริงแล้วผู้หญิงมุกคนล้วนแต่ปรารถนาเมื่อแต่งงานก็จะได้สิ่งที่ดีในชีวิตซึ่งในปัจจุบันนี้มันก็มีจริง เราบอกได้เลยว่างานเขียนแต่ละเรื่องก็จะมีบุคคลอ้างอิงมีบุคคลตัวอย่างที่เห็นชัด ไม่ใช่ไปเห็นตรงโน่นตรงนี้แล้วไปหยิบยกมา ซึ่งเรื่องแบบนี้เขาก็ไม่เปิดเผยกันฉากหน้าเขาเป็นอย่างไร ชีวิตครอบครัวชีวิตรักอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ไม่มีใครรู้ได้

จำเนียร : จากการตั้งคำถามอันนี้ขึ้นมาเพราะเมื่ออ่านงานของคุณวัสตรา ตั้งแต่ "ก้าวที่กล้า" "จัตุรัสรัก" แม้แต่ "ม่านรักไฟเสน่หา" งานของเธอก็ยังมีตัวละครที่มีลักษณะแบบนี้ การที่ตั้งคำถามตรงนี้ขึ้นมาเพื่อจะได้กล่าวว่าตรงที่เขามีลักษณะอย่างนั้นจะเป็นความผิดหรือความถูกแต่ความสมจริงของตัวละคร หรือความสมจริงของครอบครัวสมบูรณ์ ในสายตาการเป็นหน่วยย่อยเล็กๆ ก็ต้องการทั้งความเป็นเพศชายและเพศหญิงเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์เป็นเรื่องปกติ แต่เรื่องม่านรักไฟเสน่หาจะมีผู้ชายที่เป็นชายเทียม ตัวละครหญิงก็มีที่เป็นเลสเบี้ยน

วัสตรา : ถ้าพูดเรื่อง "ม่านรักไฟเสน่หา" จะโตขึ้นมาจาก "จัสตุรัสรัก" นิดหนึ่ง ซึ่ง "จัตุรัสรัก" ผู้หญิงคนนี้ก็จะแสวงหาความรักครอบครัวที่อบอุ่น แต่เมื่อมาเป็นม่านรักไฟเสน่หา ปุ๊บผู้คนในปัจจุบัน เราจะได้ยินข่าวเรื่องเมียหลวงเมียน้อย คนเรามีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปเป็นเมียน้อย คนที่ไม่ได้สัมผัสจริง ๆ ก็จะตั้งข้อรังเกลียดมากขึ้น เลยว่าทำไมต้องไปเป็นเมียน้อย แต่ตัวเราเองจะมองทุก ๆ ด้าน ในเรื่องจะเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่มีปมชีวิตไม่สนใจเอาใจใส่ลูก เอาลูกไปไว้ในโรงเรียนประจำ ก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ รสแต่น้ำ แต่ไม่พูดไม่คุยมันก็เติบโตขึ้นมามีชีวิตแต่ไม่มีชีวา นางเอกของเรื่องก็จะไม่ใช้นางเอกที่ผ่องแผ่ว

จำเนียร : มีลักษณะที่เป็นจิตวิทยาหรือเปล่าอย่างตัวนางเอก จะบอกว่าในวัยที่สูงขึ้น ผมอยากจะขอเล่ารายละเอียดสักนิดหนึ่งว่าตัวนางเอกจะจบระดับปริญญาตรีจะว่าไปแล้วเธอก็ไม่ได้เป็นคนที่มีความเด่นในห้อง ไม่ใช่นางเอกของห้อง ไม่ใช่คนมีจุดเด่นในห้อง ยังตกงานต้องอาศัยแม่ด้วยซ้ำ

วัสตรา : เพราะเราวางตัวละครที่รู้สึกว่ามันขาดคนเข้าใจ ขาดคนเอาใจใส่ แม่หาเงินก็ส่งเรียนโรงเรียนแพง เข้าโรงเรียนประจำเพื่อนในโรงเรียนก็จะไม่ค่อยมีใคร เพื่อนที่คบค้าสมาคมก็จะไม่คบผู้ชาย ชีวิตก็ถูกบีบให้อยู่ในกรอบ

จำเนียร : เหมือนประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ตัวละครก็คุณวัสตรามักจะเป็นแบบนั้น

วัสตรา : นางเอกของวัสตราจะเป็นคนธรรมดาไม่ร่ำรวยหรูหรา เป็นคนธรรมดานี่หล่ะ ใครก็เป็นนางเอกของวัสตราได้ แต่ถ้ามีประเด็นที่ถูกใจก็จะหยิบขึ้นมา อย่างผู้หญิงคนนี้ สวยก็ไม่สวย เรียนก็ไม่เก่งแต่ก็จะมีโลกของตัวเองที่จะชดเชยความขาด ก็คือการหาของกระจุกกระจิกมาทำ แล้วพอทำงานก็จะมีตกงานเหมือนคนทั่วๆ ไป ในเรื่องของเพื่อนก็มีไม่มาก และยิ่งเพื่อนผู้ชายก็ไม่มี เมื่อถามว่า ในเชิงจิตวิทยา ว่าผิดปกติไหม ผู้หญิงวัย 20 กว่ายี่สิบเจ็ด ยี่สิบแปดแล้ว จะไม่มีแฟน หาแฟนไม่ได้ พอตกงานก็อยู่กับแม่ ซึ่งอะไรก็ไม่สามารถจะทำได้ ซึ่งมันมีจริง ๆ และจะแย่ขึ้นกว่านั้นอีกเมื่อ 30 ปีกว่า จะไปไหนก็จะมีคนไปส่ง ก็อาจจะสะท้อนให้เห็นว่าลูกชาวบ้านธรรมดาแต่ก็ช่วยตัวเองอะไรไม่ได้มาก ครั้นพอมีงานทำ บ้านที่เธออยู่ก็จะเป็นแบบเธอมีน้องชาย มีน้องสะใภ้ คนในวัยสาว เรา

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ