หนังสือเล่มโปรด มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ : นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

หนังสือเล่มโปรด มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

 

        มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr พ.ศ. 2472-2511) หมอสอนศาสนานิกายแบปทิสและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน (Civil Right) เกิดที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำเนื่องจากนโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะคานธี และจากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทาง ร่วมกับคนผิวขาวที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละบามาและจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้ง

         ในปี พ.ศ. 2507 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากนี้ คิงได้รณรงค์ต่อต้านการทำสงครามเวียตนามและจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกครั้งหนึ่ง

        มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเจมส์ เอิร์ล เรย์ ชาวผิวขาว ซึ่งต่อมาถูกจับกุมได้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและถูกศาสลพิพากษาจำคูก 99 ปี

        หลังจากเขาถูกลอบสังหารในปี 1968 เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้

        ลองไปเปิดหนังสือของเขากันค่ะ

 

 

นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

 

“Civil Disobedience” เขียนโดย Henry David Thoreau

         เฮนรี่ เดวิด ธอโร เป็นนักคิดนักปรัชญาชาวอเมริกัน เป็นทั้งนักเขียน กวี นักต่อสู่ทางการเมืองเพื่อการเลิกทาส ใช้แนวคิดแบบดื้อแพ่งไม่ร่วมมือเสียภาษีให้รัฐเพื่อต่อต้านการที่รัฐเอาเงินภาษีอากรไปใช้ทำสงครามกับเม็กซิโก เป็นนักประวัติศาสตร์ นักสำรวจ นักธรรมชาติวิทยา เป็นลูกศิษย์ และเป็นผู้ช่วยงานบ้านทำสวนดูแลลูกของ Ralph Waldo Emerson กวีนักปรัชญารุ่นอาจารย์.  

         เขาเขียนหนังสือชื่อ Civil Disobedience จนเป็นอิทธิพลต่อโลกปรัชญาและการเมือง “ขบวนการดื้อแพ่ง” ต่ออำนาจรัฐก็เริ่มจากความคิดของ Thoreau ในหนังสือเรื่องนี้และงานเขียนอื่นอีกหลายเรื่อง ความคิด ข้อเขียน และหนังสือของ Henry David Thoreau ส่งอิทธิพลต่อนักคิดนักเขียนคนดังคนอื่นของโลกมาก 

 

 

นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

 

“The Social Contract” เขียนโดย Jean-Jacques Rousseau 

           ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau, ค.ศ. 1712-1778) เป็นชาวฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือชื่อ "สัญญาประชาคม" (Social Contract) ในหนังสือเล่นนี้ รุสโซ กล่าวถึงสัญญาประชาคมว่า หมายถึง สัญญาที่แต่ละคนเข้าร่วมกับทุกคนภายใต้เอกภาพและเจตจำนงอันเดียวกัน โดยที่ประชาชนสามารถก่อตั้งรัฐบาลขึ้นได้และให้อำนาจแก่รัฐบาลเพื่อรับใช้ประชาชนแต่ถ้าเมื่อใดที่ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลก็อาจเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ รุสโซ ชี้ให้เห็นว่าสภาวะธรรมชาตินั้นเป็นสภาวะที่มนุษย์มีความผาสุก มีอิสระเสรี และความเสมอภาค อย่างไรก็ตามแม้มนุษย์จะเกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งมนุษย์ก็ถูกตรึงด้วยโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ แนวความคิดของรุสโซถือว่าเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา

 

 

นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

 

“Republic” เขียนโดย Plato 

          เป็นบทประพันธ์ชิ้นสำคัญของเพลโต (Plato) ปราชญ์ชาวกรีกผู้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักคิดผู้ทรงอิทธิพลตลอดกาลของโลกตะวันตก กล่าวกันว่า รีพับลิก ประพันธ์ขึ้นในช่วงที่ความคิดของเพลโตกำลังผลิบานหรือเกือบสุกงอมเต็มที่ โดยมี โซเครติส (Socrates) ปราชญ์ผู้มีชีวิตอยู่ร่วมยุคร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าเป็นผู้ดำเนินเรื่อง บทสนทนาในเล่มครอบคลุมปัญหาทางปรัชญา ทฤษฎีความรู้ จิตวิทยา และดูจะกินความไปไกลกว่าการเมืองการปกครองอย่างมากมาย

 

 

นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

 

“Politics” เขียนโดย Aristotle 

          อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี

          อริสโตเติลได้แสดงความเห็นว่า รูปแบบ Polity นั้น จัดเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด และ มีเสถียรภาพมากที่สุด อริสโตเติลได้อธิบายว่า Polity เป็นการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ Constitutional Government เป็นรัฐที่ราษฎรส่วนใหญ่เป็นผู้เลือกนักบริหาร ซึ่งมีหน้าที่นการปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม การปกครองแบบ Polity จะเป็นหลักการประนีประนอม ระหว่างหลักการ 2 อย่างคือ เสรีภาพ และ ทรัพย์สิน เป็นการเชื่อมเสรีภาพของคนจน กับ ทรัพย์สินของคนรวย เพื่อที่อำนาจสูงุดจะได้ไม่อยู่ที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนจน หรือ คนรวย อริสโตเติลยอมรับว่า อำนาจเป็นของประชาชนดีกว่า ที่จะเป็นของคนเพียงไม่กี่คน ที่มีศีลธรรม

 

 

Aristotle's Nicomachean Ethics

            สาระสำคัญที่อริสโตเติลนำเสนอคือ จริยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สูงที่สุดและความดีสูงสุดคือความสุข ความดีและความสุขในทัศนะของอริสโตเติลเป็นเรื่องเดียวกัน มีความหมายเหมือนกัน คือ กิจกรรมทางวิญญาณที่สอดคล้องกับคุณธรรมสมบูรณ์ คำว่า คุณธรรมสมบูรณ์ได้แก่ คุณธรรมที่ดีที่สุดที่มนุษย์เลือกมาถือปฏิบัติและเป็นการถือปฏิบัติจนตลอดชีวิต ปฏิบัติจนกระทั่งคุณธรรมนั้นๆกลายเป็นนิสัยประจำชีวิตของมนุษย์

 

 

นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

 

The City of God เขียนโดย Augustine 

           The City of God ออกัสตินใช้วลาในการรวบรวมหลักการในการเขียนหนังสือที่สำคัญยิ่งของยุคกลาง เป็นงานที่สะท้อนปรัชญาศาสนาและปรัชญาประวัติศาสตร์ในยุคกลางได้อย่างชัดเจน งานชิ้นนี้มีอิทธิพลต่อนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ยุคกลางตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

 

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ