ทำไมต้องจัดกิจกรรมการอ่านหนังสือ : 10 นาทีในตอนเช้า

ทำไมต้องจัดกิจกรรมการอ่านหนังสือ

ทำไม?? ต้องจัดกิจกรรมการอ่านหนังสือ 10 นาทีในตอนเช้า
 

          การจัดกิจกรรมการอ่านตอนเช้า จะช่วยกระตุ้นและสร้างสมาธิ ทำให้เด็กเรียนดีไปทั้งวัน และเนื่องจากนิสัยรักการอ่านไม่ได้เกิดจากสัญชาติญาณ ต้องทำซ้ำจนเคยชิน ไม่ต่างไปจากการตื่นนอน อาบน้ำแปรงฟัน ฯลฯ ดังนั้นถ้าเด็กได้ทำซ้ำๆ ทุกวัน ย่อมสร้างนิสัยรักการอ่านติดตัวได้สำเร็จ และเพราะโรงเรียนคือศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของเด็ก คุณครูจึงเป็นบุคคลสำคัญที่สุด โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นฝ่านสนับสนุน

หากโรงเรียนใดจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ผู้บริหารควรพิจารณาจากห้องเรียนที่คุณครูประจำชั้นให้ความร่วมมือก่อน เพราะถ้าบังคับอาจถูกต่อต้านได้ เมื่อห้องใดจัดแล้วได้ผลจริง ห้องอื่นต้องจัดตามแน่นอน คุณครูประจำชั้นจะสอนวิชาอะไรไม่สำคัญ ทุกคนสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านได้หมด อย่าไปคิดว่า การจัดกิจกรรมนี้เป็นการบังคับเด็กๆ ให้คิดว่าคุณครูมีหย้าที่โดยตรงอยู่แล้วที่ต้องชี้นำ ปลูกฝัง และกล่อมเกลา ให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน เพราะเด็กเล็กๆ ยังคิดองไม่เป็น การสร้างเด็กให้รักการอ่านได้สำเร็จ จึงถือเป็นการทำหน้าที่ได้อย่างภาคภูมิใจในวิชาชีพครู


กิจกรรมอ่านหนังสือยามเช้า เปลี่ยนแปลงเด็กๆ และคุณครูได้อย่างไรบ้าง?


จากงานวิจัยของ ดร.นัมมียอง หลังจากกลุ่มตัวอย่างทำกิจกรรมอ่านหนังสือ 10 นาทียามเช้าแล้ว ก็เห็นผลการเปลี่ยนแปลงชัดเจน เช่น


      - เด็กๆ จะช่างซักถามมากขึ้น เพราะการอ่านทำให้เข้าใจบทเรียนส่วนใหญ่ เมื่อเหลือที่ไม่เข้าใจเพียงเล็กน้อยจึงกล้าถามครูมากขึ้น
      - เด็กชอบเขียนมากขึ้น เพราะมีข้อมูลจากการอ่าน จึงเขียนออกมาได้
      - เด็กๆ สนุกกับการเรียน และวิเคราะห์เก่งขึ้น เพราะการอ่านช่วยสร้างสมาธิและดึงศักยภาพต่างๆ ออกมา เช่นความเข้าใจ การใช้จินตนาการ การอนุมานตามหลักเหตุผลการแก้ไขปัญหา
       - เด็กมีเพื่อนใหม่จากการอ่าน เพราะเมื่อการอ่านกลายเป็นแฟชั่น ทุกคนก็ทำตามกัน 
       - ช่องว่างระหว่างคุณครูกับเด็กๆลดลง เพราะช่วงเวลา 10 นาทแห่งการอ่าน คุณครูจะลดวัยลงมาเป็นนักอ่านที่มีความสุขไปกับเด็กๆ
       - คุณครูจะมีความสุขกับความเงียบสงบในชั้นเรียน เพราะเมื่อทุกคนอ่านหนังสือ ก็จะเลิกส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าว
      - คุณครูต้องอ่านตามเด็กและอ่านมากกว่าเด็ก เพราะเมื่อเด็กถามอะไรแล้วต้องตอบได้ สุดท้ายแล้วคุณครูก็จะได้แระโยชน์จากการอ่านไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเด็ก
 


       กิจกรรมส่งเสริมการอ่านทำได้ไม่ยากเลย เราสามารถปรับวิธีต่างๆ ให้เมาะสมกับโรงเรียน และวัฒนธรรมชุมชน เชื่อแน่ว่าหากโรงเรียนและผู้ปกครอง ได้ตั้งเป้าหมายร่วมกัน แล้วมุ่งมั่นทำจนสำเร็จ ประเทศไทยจะก้าวสู่ทศวรรษแห่งการอ่านหนังสือ (พ.ศ.2552-2561) ได้อย่างน่าภูมิใจ ตามที่รัฐบาลกำหนดไว้แน่นอน
 

 

ขอบคุณที่มา :  10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้า สร้างเด็กเก่งจากการอ่าน “

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ