เวลา : โดยสารเวลา

เวลา

 

เสียงติ๊ก-ต็อก ติ๊ก-ต็อก ดังขึ้น


                ผู้อ่านกำลังนึกถึงคา พูดหนึ่งที่คงเกิดขึ้นบ่อยๆกับความรู้สึกของใครหลายคน คือคา พูดที่ว่าเมื่อเราสุขสันต์ รื่นรมย์ เรามักรู้สึกว่าเวลาช่างเคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็วเสียเหลือเกิน และกลับกัน ยามเมื่อเราทุกข์ใจหรือขมขื่น เมื่อนั้นราวกับว่าเข็มนาฬิกานั้นหยุดเคลื่อนไหวและมันกลับกลายเป็นเข็มแหลมที่คอยทิ่มแทง
จิตใจของเราให้เจ็บปวด


                ผู้อ่านค่อนข้างไม่มั่นใจว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตัวเองคืออย่างแรกหรืออย่างหลัง ไม่แน่ใจ แต่อย่างน้อยก็เลือกที่จะเชื่อและเคารพความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ถึงแม้มันจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลาหรือขึ้นอยู่กับสิ่งที่ประสบพบเจอ อย่างหนังสือเล่มนี้ มีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากบรรจงอ่านจนจบคือความรู้สึกศรัทธา ศรัทธาต่อสิ่ง ๆ หนึ่ง เป็นสิ่งล้า ค่าและขณะเดียวกันมันก็สร้างคุณค่าให้กับอะไรอย่างอื่นด้วย สิ่งนั้นคือเวลา


               ‘เวลา’ ผลงานเขียนของ ชาติ กอบจิตติ ซึ่งได้รับรางวัลนวนิยายรางวัลซีไรต์ประจา ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ และรางวัลนวนิยายดีเด่นในปี เดียวกัน เขาฝากผลงานผ่านปลายปากกาไว้มากมายนัก และ ‘เวลา’ หนังสือเล่มที่กำลังกล่าวถึงนี้ เป็นผลงานลา ดับที่ 9 ของเขา ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนังสือนวนิยายแนวใหม่ เขาได้อุทิศหนังสือเล่มนี้แด่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของเขา และของทุก ๆ คน พร้อมกับย้า ตลอดว่าหนังสือของเขาเล่มนี้น่าเบื่อจริงๆ


               เนื้อเรื่องเล่าถึงชายผู้ใช้จังหวะเวลาว่างสองสามวันจากงานกา กับภาพยนตร์เพื่อมาชมละครเวที ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิจารณ์ยกให้มันเป็นละครที่น่าเบื่อที่สุดในรอบปี การแสดงบทเวทีเป็นเรื่องราวของเหล่าคนชราในเรือนผู้ป่ วยและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตีห้าสี่สิบห้าถึงหนึ่งทุ่มตรง ซึ่งถูกเล่าผ่านมุมมอง ผ่านความ รู้สึกนึกคิดของชายคนนี้และตลอดทั้งเรื่องเขามักบ่นกับตัวเองอยู่ตลอดว่าบนเวทีไม่มีอะไรน่าสนใจ เขารู้สึกเหมือนถูกบีบบังคับให้ชม คล้ายกับว่าเขากา ลังฝืนมากกว่าเพลิดเพลินใจ แต่ขณะเดียวกันมันก็ทา ให้เขาย้อนกลับมาคิดถึงเรื่องของตัวเขาเอง


               เรื่องราวบนเวทีเริ่มต้นตอนตีห้าสี่สิบห้า จนเมื่อถึงเวลาหกโมงตรง เหตุการณ์ทุกอย่างจึงเริ่มต้นขึ้นเป็นกิจวัตรประจา วันอันแสนปกติธรรมดาของเหล่าคุณยาย เรื่องราวดา เนินไปประกอบกับมีเสียงนาฬิกาตีบอกเวลาทุกหนึ่งชั่วโมงแข่งกับเสียงชายแก่ใต้เงามืดในห้องลูกกรง ‚ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ‛ จน เรื่องราวทั้งหมดสิ้นสุดลงในเวลาหนึ่งทุ่มตรง

 

               ขอบคุณผู้อ่านอีกครั้งที่ท่าน‘ทน’อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ (เพราะมันน่าเบื่อจริงๆ)‛ เป็นประโยคที่ผู้เขียนกล่าวไว้ก่อนจะเริ่มเรื่อง ซึ่งทา ให้ผู้อ่านค่อนข้างมั่นใจว่าคา ขอบคุณนั้นถูกส่งตรงมาถึงผู้อ่านเข้าอย่างจัง ผู้อ่านอ่านหนังสือเล่มนี้จนจบด้วยความรู้สึก‘ทน’ แต่เป็นการ‘ทน’ที่โปรดปรานยิ่งนัก ทนทานต่อการรับรู้เรื่องราวชีวิตของคนแก่แสนหดหู่ มันเต็มไปด้วยความรู้สึกร่วมที่เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่ตัวละครเผชิญอยู่ ราวกับว่าหลุดเข้าไปอยู่ในจิตใจของคุณยายสักคนในเรื่องและได้กลายเป็นคนที่ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นและเป็นคนแบบนั้นจริงๆ บางท่านอาจกล่าวว่ารู้สึกเหมือนได้นั่งติดขอบหน้าเวทีอย่างสมจริง แต่ด้วยความเคารพ สา หรับตัวผู้อ่านเอง บางทีเผลอคิดไปว่าตัวเองเป็นชายแก่หงาเหงือกที่นอนสลบสไลอยู่บนเตียงไหนสักเตียงและมีเพื่อนสนิทคู่ใจเป็นเพียงเข็มนาฬิกา

 

                ผู้เขียนใช้การเล่าบรรยายสลับกับเล่าผ่านความคิดของชายผู้กา กับในลักษณะของบทภาพยนตร์แต่ยังคงความธรรมดาของเรื่องราว แม้แต่ตอนที่คิดว่าจะมีจุดหักเหของสถานการณ์หรือเป็นสามารถบีบเค้นน้ำตาแห่งความเศร้าโศกได้ ผู้เขียนกลับไม่เล่าไปในทิศทางนั้น อย่างเช่น ในตอนที่ยายทับทิมเดินถือถาดข้าวไปหาลูกชายที่มาเยี่ยมและกา ลังจะเหยียบขวดที่อยู่บนพื้นซึ่งอาจทา ให้แกล้มฟาด แต่สุดท้ายแกก็รู้ตัวก่อนและไม่มีสิ่งสะเทือนใจเกิดขึ้น ผู้เขียนเล่าเรื่องราวในตอนนี้ได้อย่างฉลาด ด้วยการเล่าอย่างคงความธรรมดาตามที่กล่าวไปข้างต้นทา ให้ในส่วนของตอนนี้มีพลังบางอย่าง พาให้เห็นภาพเหตุการณ์อย่างชัดเจนภายใต้ความราบเรียบและเกิดเป็นความรู้สึกโล่งใจอย่างแปลกประหลาด

 

                  ทุกคนต่างแยกย้ายกลับไปยังเตียงของแต่ละคน กลับไปยังบ้านของตัวเอง‛ เป็นประโยคที่ผู้เขียนบรรยายถึงตอนที่เหล่าคุณยายแยกย้ายกันไปหลังจากพากันมุงดูลูกชายของยายทับทิม ผู้เขียนเรียงร้อยถ้อยคาที่ธรรมดาและอ่านง่ายแต่แฝงข้อคิดสะท้อนชีวิตได้ดีเหลือเกิน เป็นประโยคที่แสดงให้เห็นถึงข้อคิดในสถานการณ์ของช่วงบั้นปลายชีวิตว่าสิ่งที่สา คัญที่สุดสา หรับเราในตอนนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่เลิศหรูหรือสิ่งที่เราพยายามไขว่คว้าให้ได้อย่างใจต้องการ แต่เป็นสิ่งที่จา เป็นสา หรับชีวิตและเป็นสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

 

                  หลักธรรมคา สอนทางพระพุทธศาสนาก็ได้ปรากฏสอดแทรกมาในหนังสืออย่างสม่า เสมอ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องทาส เรื่องเงินตรา เรื่องโชคลาภ เรื่องความเป็นไปของชีวิต หรือเรื่องการปล่อยวาง เห็นได้ชัดในตัวละครหนึ่งในเรื่องซึ่งเป็นตัวละครที่ผู้อ่านรู้สึกประทับใจคือ ยายสอน ยายสอนเป็นคนที่ปล่อยวางกับชีวิต ไม่มีความกังวลใด ๆ ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นมาและยิ้มรับกับสิ่งที่แปรงผันไป อย่างเช่น ในตอนที่ยายอยู่ตาย ยายสอนกลับยิ้มออกมา แกรู้สึกอิจฉาเพื่อนที่ผ่านพ้นไปได้เสียที ซึ่งในส่วนนี้เป็นตอนท้าย ๆ ของเรื่องในระหว่างที่เรื่องกา ลังจะดา เนินจบและกา ลังเคลื่อนย้ายร่างอันไร้ลมหายใจของยายอยู่แล้วทุกคนกำลังเดินตามกันออกไป ประโยคที่โผล่ขึ้นมาในแทบทุกฉากก็ดังส่งขึ้นมาอีกครั้ง ‚ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจริง ๆ‛ยายสอนยิ้มราวกับว่าพบของมีค่าที่ตามหามาตลอดชีวิต แกคงได้รับคา ตอบของคา ถามในใจเพราะผมเองก็รู้สึกเช่นนั้น มันคงเป็นบทสรุปเหมาะสมที่สุดแล้วสา หรับทุกสิ่งอย่าง

 

                   ‘เวลา’ ทำให้เข้าใจในเวลา แสดงถึงการค้นพบว่าเราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางเวลา เวลานา พาเราไปเจอเรื่องราวต่างๆทั้งสุขสนั ต์และขมขื่น บ่อยครั้งที่เราอาจหยุดอยู่กับสิ่งใดแต่เวลาก็พาเราเคลื่อนไปอยู่ดี เราต่างอยู่ภายใต้เงื่อนไขและการแปรเปลี่ยน เวลาเป็นสิ่งเดียวที่จะนา พาเราไปพบกับคา ตอบของคา ถามที่ต่างคนต่างต้องเจอด้วยตัวเองและ ‘เวลา’ หนังสือเล่มนี้ก็แหวกทางให้ได้เห็นเค้าโครงลางๆของคา ตอบนั้นแล้ว

 

บทวิจารณ์โดย พัชระ เฟื่องถี

Writer

The Reader by Praphansarn