สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมการอ่านหรือไม่ : สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมการอ่านหรือไม่ เป็นสังคมที่ผู้คนแสวงหาความรู้ด้วยการอ่านหรือไม่ หรือ คนไทยหาความรู้และข้อมูลด้วยการฟังการพูดคุยเป็นหลัก แต่ไม่อ่านหนังสือ

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมการอ่านหรือไม่

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมการอ่านหรือไม่ เป็นสังคมที่ผู้คนแสวงหาความรู้ด้วยการอ่านหรือไม่ หรือ คนไทยหาความรู้และข้อมูลด้วยการฟังการพูดคุยเป็นหลัก แต่ไม่อ่านหนังสือ
ประเด็นนี้โยงไปถึงคำถามที่ว่า ผู้อ่านส่วนใหญ่คาดหวังหรือต้องการอะไรจากการอ่าน ทำไมพวกเขาจึงคาดหวังหรือต้องการเช่นนั้น สาเหตุแห่งความล้มเหลวของวงการหนังสือที่ผ่านมาเป็นเพราะผู้อ่านไม่มีตัวเลือก ไม่มีหนังสือดีพอในตลาด หรือเป็นเพราะวัฒนธรรมการอ่านที่ถูกปลูกฝังกันมาทำให้สนใจอ่านแต่หนังสือแบบพิมพ์นิยมหรือประชานิยมเป็นหลัก หรือว่าเอาเข้าจริง คนอ่านเขาไม่ได้คิดอยากจะซื้อหนังสือ แต่มองหนังสือเป็นเพียงแค่สินค้า มีหน้าที่ให้ความบันเทิง อยากซื้อเรื่องราวข่าวฉาว อยากซื้อสิ่งของที่ถูกพูดถึง อยากก้าวทันแฟชั่น อยากซื้อเพื่อให้พูดคุยกับคนอื่นรู้เรื่อง หรืออยากซื้อเพราะใคร ๆ ก็ซื้อกัน

 

“การอ่าน” เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากระบวนการคิด และภูมิปัญญา นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพคน สังคมและประเทศ

แต่นิสัยคนไทยมักมีค่านิยมของการอ่าน เพื่อความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน แต่ไม่ค่อยอ่านหนังสือประเภทที่จะสามารถสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ หรือแม้กระทั่งการอ่านภาษาอังกฤษ คนไทยก็ยังไม่สนใจอ่าน ซึ่งหนังสือที่คนมักชอบอ่าน เช่น เรื่องย่อละคร หนังสือพิมพ์กีฬา หรือค่านิยมของเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น เล่น Internet , facebook เป็นต้น จนทำให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ มี High Relationship Technology แต่ Low Relationship persons ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลให้คนไทยที่เคยอยู่ในสังคมแบบมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันเริ่มจะจางหายไปจากสังคมลงไปเรื่อยๆ

ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความเป็นอยู่ การศึกษาและค่านิยมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันด้วย เนื่องจากในปัจจุบันการเรียนรู้สิ่งต่างๆในสังคมนั้นมิได้มาจากการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่หากจะมีสื่อชนิดอื่นที่มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นมาในสังคมของเรา เช่น อินเตอร์เน็ต อีเมล์ เป็นต้น ที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และสามารถค้นหาความรู้จากสื่อนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ด้านวิชาการ บันเทิง หรือประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้คนนั้นมีช่องทางในการค้นหาความรู้มากขึ้น เป็นผลที่คนไทยนั้นอ่านหนังสือน้อยลงและหันมาศึกษาหาความรู้จากด้านอื่นมากขึ้น เพราะมีความสะดวกสบาย และประหยัดเวลาอีกด้วย นอกจากนี้การที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยยังเป็นผลมาจาก การที่ถูกสิ่งต่างๆที่น่าดึงดูดและน่าสนใจกว่า เช่น โลกอินเตอร์เน็ตต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อคนในปัจจุบันมาก เนื่องจาก การมีค่านิยมที่ผิดๆ คือ การที่คิดว่าการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ล้าสมัย รวมไปถึงการใช้เวลาของคนที่ไม่ถูกต้องขึ้นในทุกทุกวัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นผลเสียต่อตนเองและสังคมไทยในปัจจุบันและต่อๆไปอีกด้วย

อันที่จริงตัวหนังสือหรือตัวอักษรหรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ไม่มีความหมายอะไร ความหมายนั้นเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในจิตใจของผู้อ่าน ดังนั้น ตัวอักษรจึงเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ทำให้เกิดจินตนาการ หรือความคิดที่มีในจิตใจของผู้อ่านเท่านั้น เราต้องยอมรับว่ากระบวนการของการอ่านหนังสือมิใช่สิ่งที่จะกระทำได้ง่าย และได้ประโยชน์จากการอ่านเท่าเทียมกันทุกคน ถึงแม้ว่าจะเป็นหนังสือเล่มเดียวกันก็ตาม ทั้งนี้เพราะระดับความสามารถในเชิงอ่านของแต่ละคนมีต่างกัน

 

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมการอ่านหรือไม่

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ