กว่าจะได้นิทาน 1 เรื่อง : แม้ว่านิทานจะเป็นการเล่าเรื่องสั้นๆ แต่จุดมุ่งหมายดูเหมือนจะชัดเจน

กว่าจะได้นิทาน 1 เรื่อง

แม้ว่านิทานจะเป็นการเล่าเรื่องสั้นๆ แต่จุดมุ่งหมายดูเหมือนจะชัดเจน คือ กระตุ้นให้ผู้ฟังได้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง จนนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ ดังนั้น การจะเขียนนิทานออกมาได้สักเรื่องจึงต้องมีขั้นตอน

1. วางวัตถุประสงค์ในการเขียน การเขียนนิทานไม่แตกต่างจากการเขียนนิยายหรือเขียนอ่านอื่นๆ คือ ต้องมีการวางวัตถุประสงค์ที่ต้องการว่า เขียนเพื่อให้ใครอ่าน ต้องการให้คนอ่านได้ข้อคิดอะไรหลังจากอ่านจบ

2. วางพล็อตเรื่อง เพื่อให้รู้ว่า จะเริ่มต้นอย่างไร มีจุดตรงกลาง จุดพีคของเรื่อง ต้องน่าสนใจ จึงจะมีอิทธิพลต่อผู้ฟังได้ พล็อตเรื่องนิทานที่ดี ทำให้อยากอ่านจนจบ

3. เลือกตัวละครที่ใช้ให้เหมาะแก่ผู้ฟัง เด็กเล็กอาจชอบนิทานที่มีตัวละครเป็นสัตว์ และสนุกมากกว่าเป็นชีวิตของผู้คน ตัวละครแนวเทพนิยายสามารถกระตุ้นให้เกิดจินตนาการมากกว่าเป็นต้น

4. ต้องมีศิลปะในการเล่าเรื่อง เมื่อได้ทั้งวัตถุประสงค์ มีพล็อต ได้ตัวละครแล้ว ต้องมีศิลปะในการเล่า เปิดเรื่องอย่างไรให้น่าสนใจ ชวนติดตาม เล่าอย่างไรให้รู้สึกสนุกและมีส่วนร่วมในนิทานนั้น จนสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้รู้สึกอยากทำตามในสิ่งที่ตัวละครทำ

5. ศิลปะในการเขียน การเล่าก็อย่างหนึ่งเพราะมีน้ำเสียงช่วยให้มีสีสันต่อผู้ฟัง แต่การเขียนนั้นต้องมีภาษาจินตนาการมาผสม เพื่อให้ผู้อ่านสร้างภาพในใจได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อ

ทำอย่างไรให้เรื่องสั้นๆ กระทบใจและประทับอยู่ในใจผู้อ่าน ไม่ง่ายเลยกว่าจะได้นิทานออกมาสัก 1 เรื่อง ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์

 

บทความโดย ณิชกมล เตชะงามสุวรรณ

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ