ในวันที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์นี้ หลายท่านคงทราบกันดีแล้วว่า ผู้คว้ารางวัลชมนาด ครั้งที่ 13 เวทีที่เปิดโอกาสให้เฉพาะนักเขียนหญิงคือ คุณปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล คุณหมอนักเขียนเจ้าของผลงาน "ต้นไม้ของแวมไพร์" วรรณกรรมแฟนตาซีที่ตั้งคำถามถึงชีวิต ความตาย และการเป็นอมตะ เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจจนอยากเข้าไปพูดคุยถึงจุดเริ่มต้นของนวนิยายเรื่องนี้
แนะนำตัวและหนังสือเรื่องที่เขียน
ชื่อปริมพัชร์ เขียนเรื่องต้นไม้กับแวมไพร์ เป็นนักเขียนหน้าใหม่ เขียนเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ก่อนหน้านี้ก็ทำงานเป็นกุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจไม่เคยเขียนแนวนิยายอย่างนี้มาก่อน เรื่องนี้ก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก อาจจะบังเอิญเล่น facebook ทั่วๆไปแล้วก็ไปเห็นเหมือนถาม-ตอบ มีคนมาโพสต์ถามว่า "จะมีเหตุผลอะไรมั้ยที่แวมไพร์จะยอมสูญเสียความเป็นอมตะของตัวเอง?" แล้วก็ทุกคนก็มารุมตอบกัน "ก็เมื่อแวมไพร์รักมนุษย์" "เมื่อแวมไพร์อยากอยู่กับมนุษย์" "มีคนที่รักมากๆ พอถึงเวลาหนึ่งเมื่อคนๆ นั้นจะตาย แวมไพร์ก็จะยอมตายตาม" เราก็อ่านๆ ไป คือทุกคนตอบเหมือนกันหมดเลย
เราก็เลยสงสัยว่ามันจำเป็นไหม ทำไมนิยายต่างๆ หรือภาพยนตร์ ที่เต็มไปด้วยแวมไพร์ที่รักกับมนุษย์ แล้วทำไมมันจำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเหรอ? ถ้าโลกที่มันมีแวมไพร์ มันก็ควรมีสิ่งอื่น อมนุษย์ (non-human) ตนอื่นๆ บ้าง ก็เลยคิดเล่นๆ ในหัว เราก็ไปดูว่ามันมีสิ่งมีชีวิตหรืออมนุษย์อะไรที่มันน่าจะพอจะเป็นที่อายุยืนมากๆ เราก็ดูไปเรื่อยๆ จนไปเจอเหมือนสิ่งหนึ่ง "รู้ไหมสิ่งมีชีวิตที่แบบอายุยืนที่สุดในโลกก็คือเป็นต้นไม้ต้นหนึ่ง" เราก็เลยมองว่าต้นไม้มันน่าสนใจดีนะ ต้นไม้ก็อาจจะมีอะไรสิงสถิตย์อยู่ เหมือนเป็นภูตต้นไม้ ก็เลยสร้างตัวละครนี้ขึ้นมา เหมือนเราก็ค่อยๆ สร้างเรื่องเรื่อยๆ
ประมาณสามปีที่แล้ว ได้มีโอกาสเขียนเรื่องสั้น ในกลุ่มเรื่องสั้นเล็กๆ ซึ่งเขียนเหมือนเรื่องย่อของเรื่องนี้เลย เป็นเรื่องต้นไม้ของแวมไพร์ แต่เป็นฉบับเรื่องสั้น เพื่อนๆในกลุ่มก็มองเรื่องนี้น่าสนใจนะ ฟีดแบคค่อนข้างดี มีคอมเม้นท์หนึ่งบอกว่า “เหมือนมันยังไม่รู้จักตัวละครไม่มากพอ มันน่าจะเป็นนิยาย ตัวละครคู่นี้มันควรมีความผูกพันที่ยาวๆ กว่านี้” เลยคิดว่ามันน่าสนใจ จึงค่อยๆ คิดมาเรื่อยๆ ตลอดสามปีนี้ คิดแต่ไม่ได้เริ่มเขียน แต่มาเริ่มเขียนจริงจังต้นปีนี้ เขียนเสร็จจริงก็ประมาณเมษายน 2567 รวมแล้วใช้เวลาสามถึงสี่เดือน แต่ตอนนั้นมันมีทุกอย่างพร้อมอยู่ในหัวเราแล้ว เลยใช้เวลาไม่นานมาก
ตอนแรกไม่ได้รู้ได้ซ้ำว่าจะเขียนได้สำเร็จหรือเปล่า เหมือนคิดไปเรื่อยๆ ว่าเราอยากจะให้เรื่องมันเป็นยังไง เหมือนตอนเด็กๆ ชอบนิทาน "พันหนึ่งราตรี" หรือ "อาหรับราตรี" ซึ่งเป็นแนวเรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่า เรารู้สึกว่าตัวละครของเรามันเป็นนักเล่าเรื่อง ชอบสไตล์การเล่าเรื่องแบบนั้นก็เลยใช้หลักการเดียวกัน แต่จุดที่ยากคือต้องคิดเรื่องราวแต่ละเรื่องที่ซ้อนกันอยู่ในนั้น คล้ายๆ กับเราต้องเขียนเรื่องสั้นจำนวนมาก แอบยาก ต้องคิดนิทานหรือเรื่องสั้นเยอะๆ และนำมามาโยงกัน
จุดเริ่มต้นของการเขียน
ตอนเด็กๆตั้งแต่ประถมคือรู้ตัวว่าตัวเองอยากจะเป็นนักเขียน ตอนเด็กๆ เราอ่านนิยาย อ่านหนังสือ ดูหนัง การ์ตูน เยอะมาก หนังสืออ่านทุกเล่มเท่าที่มีในห้องสมุด หนังสือที่ชอบตอนเด็กคือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต มานั่งเปิดดูเล่นๆก็สนุกแล้ว
จนลองเขียนเล่นๆ เขียนลงสมุด แต่รู้ตัวอยู่แล้วว่าเราอยากจะเป็นนักเขียน ตอนมัธยมปลาย อยากสอบเข้าอักษรศาสตร์ แต่เราเรียนสายวิทยาศาสตร์ ก็ไม่รู้ว่าจะเข้ายังไงแต่ก็อยากเรียนคณะอักษรศาสตร์เอกไทย แต่พ่อแม่อยากให้ ไปเรียนหมอ ไปเรียนคณะทำให้พ่อแม่ครอบครัวมีความภาคภูมิใจอะไรต่างๆ ตอนนั้นก็ไม่ได้อยากเรียนหมอแล้ว แต่ทุกคนเชียร์ให้ไปสอบ แต่พอเข้าไปเรียนหมอจริงๆ ส่วนตัวเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความเป็น perfectionist นิดๆ อาจจะไม่ได้เยอะมากแต่เรารู้สึกว่าถ้า "เราเข้าไปเรียนแล้วเราก็ต้องไปให้สุดสิ" เราก็ต้องทำให้มันเต็มที่
ช่วงเรียนปีหนึ่ง ปีสอง ก็ยังมีแต่งนิยายอยู่ แต่แต่งไม่จบ เขียนบทความ เขียนเรื่องสั้น ให้นิตยสารของมหาวิทยาลัย แล้วพอขึ้นปีสูงๆ ก็เริ่มห่างหาย อย่าว่าแต่เขียนนิยายเลย อ่านก็ไม่ได้อ่าน ไม่ได้ดูหนัง แทบจะไม่ได้เสพสื่ออะไรต่างๆ ในงานวรรณกรรมเลย ในตอนนั้นก็เลยทิ้งความฝันเรื่องเป็นนักเขียนไปเลย จึงคิดว่า ในเมื่อชีวิตจะไม่ได้ไปทางด้านการเขียน ก็ไปอีกทางหนึ่งได้
ถึงจะไม่ได้ไปอ่านหนังสือนิยาย ไม่ได้ดูซีรีย์ แต่สิ่งที่เราดูคือคนไข้ บางครั้งเราได้สบตากับความตาย ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่เข้มข้นมาจากสิ่งนั้น และยิ่งเมื่อเราเป็นหมอเด็ก รู้สึกว่าเด็กเป็นสิ่งมีชีวิตที่อัศจรรย์มาก เค้ามีความหวัง รู้สึกดี จุดเริ่มต้นของเราแม้ไม่ได้มาอยากเรียนมากเลย ไม่ได้มีความฝันว่าอยากเป็นหมอ แต่พออยู่ๆ ไปเรารู้สึกว่า คุ้มค่าเหมือนกันที่เราอยู่ตรงนี้ได้ หลังจากนั้น ได้ไปศึกษาต่อปริญญาเอก จนเป็นหมอเด็กโรคหัวใจจนถึงปัจจุบัน
กลับมาเริ่มเขียนช่วงไปทำงานหลายๆ ที่ ช่วงนั้นจะมีเวลาค่อนข้างเยอะ งานที่ไปรับตามโรงพยาบาล บางครั้งเป็นช่วงกลางคืน บางครั้งเป็นช่วงกลางวัน ทำให้เริ่มอยากกลับมาเขียน ความฝันที่เราโยนทิ้งไปตอนนั้น คืออยากเป็นนักเขียน จึงได้มีโอกาสไปสมัครกับคลาสการเขียนของ "ปราย พันแสง" มีเพื่อนๆ มาเขียนเยอะแยะ เหมือนโพสต์กันในกลุ่ม Line ทำให้ได้ประสบการณ์จากคลาสนั้นค่อนข้างเยอะ ยิ่งเขียนยิ่งรู้สึกว่า "นี่แหละสิ่งที่เราอยากทำ"
พอเวลาเราได้เขียน เหมือนเราเข้าไปอยู่ในโลกอีกใบ ในภวังค์ ในตัวตนที่เหมือนเราไม่ได้สัมผัสมานานแล้ว เรารู้สึกมีความสุขกับสิ่งนี้ จากเพื่อนในกลุ่มคลาสที่เรียน ก็ขยับ เป็นกลุ่ม facebook ที่โพสต์เกี่ยวกับเรื่องสั้น เขียนตามอารมณ์ ไม่ได้เอาไปพิมพ์เผยแพร่ที่ไหน ไม่ได้ไปส่งประกวด จนทำให้เกิดไอเดีย ต้นไม้ของแวมไพร์ ขึ้นมาในครั้งหนึ่งตอนนั้น
การเดินทางของตัวเอกดูเหมือนจะเป็นการค้นหาตัวตนกับโลกธรรมชาติ คิดว่าเส้นทางของแวมไพร์นี้มีความคล้ายกับผู้คนในยุคนี้อย่างไรบ้าง
ในฐานะนักเขียน มองว่าความเป็นอมตะ มีข้อดีหรือข้อเสียอะไรบ้าง และทำไมถึงเลือกตัวละครแวมไพร์ในการดำเนินเรื่องนี้
จริงๆข้อดีมันก็เยอะมากๆ อยากทำอะไรก็ทำ กินอะไรก็กินอาจจะเป็นชีวิตที่หลายคนปรารถนา แต่ว่าข้อเสียมีอีกหลายอย่าง บางคนอาจไม่ชอบการจากลา ต้องเจอคนที่รักและจากลาไปเรื่อยๆ เมื่อผูกพันกับใครสุดท้ายคนนั้นก็ตาย เมื่อผูกพันกับคนใหม่ก็ตายอีก บางคนอาจจะไม่ชอบจุดนั้น ส่วนตัวเองคิดว่า สิ่งที่เป็นข้อเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการเป็นอมตะ ก็คือความประมาท เราอาจจะใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้คิดว่ามันต้องแสวงหา หาทางครุ่นคิดปรัญชากับชีวิต เพราะไม่ตาย จะไปคิดเรื่องโลกหลังความตายไปทำไม?
เหมือนกับทางพุทธจะมี พรหม เหนือกว่าเทวดา เหมือนทำสมาธิมาก ไปเกิดในชั้นพรหม เป็นพรหมระดับสูงที่ "อากิญจัญญายตนฌาน" กับ "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" คือเป็นพรหมที่แบบอายุยืนยาวมาก ยาวแบบเหมือนช่วงนิรันดร์ ซึ่งพรหมในชั้นนี้ ก็จะเป็นพรหมชั้นที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุธรรม เหมือนพระพุทธเจ้าตอนท่านตรัสรู้ใหม่ๆ ก็กลับไปหาอาจารย์ของท่าน ไปสอนธรรมะ ปรากฏรู้ว่าท่านบรรลุ เป็นพรหมในสองชั้นนี้ไปแล้ว คือไม่สามารถบรรลุธรรมได้แล้วเพราะชีวิตเค้ายาวเกินไป ยาวจนไม่สามารถเข้าใจความอนิจจัง หรืออะไรต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ จนกว่าเค้าจะหมดอายุขัยจากพรหมชั้นนั้นแล้วมาเกิดชั้นอื่น ถึงจะมีโอกาสที่จะบรรลุธรรมได้อีก เหมือนสาวกที่ตรัสรู้ชุดแรกของพระพุทธเจ้าก็เลยไม่ใช่พระอาจารย์ของท่านแต่เป็นปัญจวัคคีย์ อันนี้คือตามพระพุทธประวัติ
พอเป็นอมตะยาวๆ ก็เลยไม่ได้ตระหนักว่า วันหนึ่งเราจะต้องเสื่อมสลายได้ หรือไม่เข้าใจความเป็นอนิจจัง ที่คิดว่าเป็นจุดที่เป็นข้อเสียสุดๆ ของการเป็นอมตะ
มาทางพุทธศาสนา นับถือศาสนาพุทธค่อนข้างลงลึกตั้งนาน อย่างในเรื่องก็จะมีการใช้ชื่อบทต่างๆเป็นศัพท์นิโรธ เราก็รู้จักมานานแล้วก็นับถือศาสนาพุทธ ชอบเรียนรู้และเคารพศาสนาอื่น ไม่ได้ปิดกั้น อาจจะไม่ได้ทำตามพิธีกรรมของเค้า แต่ชอบเรียนรู้หลักคำสอนของเค้า ศาสนาอื่น หรือปรัชญาอย่างอื่น ที่จริงเรื่องต้นไม้ของแวมไพร์นี้ ในเรื่องเป็นแนวพุทธแต่ไม่ได้อยากให้ยึดว่าเป็นเรื่องพุทธศาสนา ในเรื่องจะมีสัญลักษณ์หรืออะไรต่างๆ หลายอย่าง ตอนเขียนก็คิดเหมือนกันว่าหมายถึงอะไรสื่อถึงอะไร มีการใช้คำของพุทธเข้ามาใส่ แต่จริงๆไม่อยากให้จำกัดว่ามันเป็นปรัชญาทางพุทธ
นวนิยายเรื่องนี้มีพูดถึงการดำรงชีวิตและแนวคิดทางปรัชญา นักเขียนนำเสนอผ่านตัวละครในเรื่องนี้หรือสนใจแนวคิดทางปรัชญาใดมากที่สุด
ไม่เชิงปรัชญาเท่าไหร่ จะมีแนว quantum physic มีอะไรหลายอย่างที่อธิบาย ปรากฏการณ์ได้อย่างน่าสนใจ รู้ได้ไงว่าเวลามันเส้นตรง เช่น เส้นเวลาในเรื่องนี้ อาจจะโดนกลบด้วยความแฟนตาซี แต่เส้นเวลาของในเรื่องต้นไม้ของแวมไพร์ ไม่ใช่เส้นตรง มันทับซ้อน มีทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ซ้อนไปซ้อนมา เชื่อมโยงกันไปมา บางคนตอนฝันก็เชื่อมโยงไปอนาคต โลกมันมีแค่มิติที่มนุษย์มองเห็นจริงๆหรือ? เป็นการตั้งคำถามในเชิงที่ทำให้รู้สึกมันเปิดการมองของเรา มนุษย์เราตัวเล็ก เป็นอะไรที่นิดเดียว เราอาจจะอยู่ในโลกจำลองสมมุติอะไรสักอย่าง หรืออาจจะมีมิติที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้หรือเรารู้จักโลกในสามมิติ แต่จริงๆอาจจะมีมิติอย่างอื่นที่เล็กมากๆ ที่มันอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วแต่เราไม่ได้นึกถึงมัน ไม่ได้สัมผัสมัน
เหมือนเรามองเสาไฟฟ้า เราเห็นเส้นสายไฟ เป็นเส้นยาว แต่ถ้าเราซูมเข้าไปใกล้ๆ มีนก มีมด มีมิติความกว้างของสายไฟอยู่ ซึ่งถ้าเราใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป เราจะไม่สามารถรับรู้ถึงมิตินั้น ทั้งๆ ที่มันอยู่กับเราตลอด ทฤษฎีหรือแง่คิดมันทำให้เราเห็นโลกในมุมที่มันเปลี่ยนไป
ใช้เวลาในการสร้างสรรค์ ทำการค้นคว้าเรื่องราวนวนิยายนี้อย่างไร? ซึมซับจากการอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ สารคดี ซีรีส์ มากแค่ไหน (มีเรื่องไหนเด่นเป็นพิเศษหรือไม่) เพื่อให้องค์ประกอบที่เขียนรู้สึกสมจริงและดึงดูดผู้อ่าน
สิ่งที่ค้นคว้าเยอะๆ จะเป็นพวกรายละเอียดต่างๆ เช่น ในเรื่อง จะมีฉากอยู่บนเรือ ก็ไปค้นว่าเรือสมัยก่อนเค้าแล่นได้กี่กิโลเมตรต่อวัน กินอะไรกันบนเรือ มีกินพวกเนื้อแห้ง ข้าวโพดตากแห้ง เราก็หาว่ามังกรที่เค้าเชื่อมีอาหารอะไรบ้าง มีตอนหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับถุงมือก็ไปนั่งดูว่าสมัยก่อน เค้าอบถุงมือด้วยสมุนไพรเพื่อกลบกลิ่นสาบของหนัง นำมาใส่ในจุดเล็กจุดน้อย บางครั้งเวลาเราจินตนาการเอง เราอาจจะนึกไม่ถึงเหมือนกัน บางทีลองหาข้อมูลไปมันน่าสนใจสนุก ประวัติศาสตร์ก็จะมีอะไรที่น่าสนใจ
มีฉากหรือยุคสมัยที่ชอบเป็นพิเศษในหนังสือเล่มนี้
ที่ชอบที่สุดก็คือช่วงที่ไปอยู่ในปราสาทตอนกลางๆ เรื่อง ส่วนตัวคือชอบมาก คือ "เมืองไร้ร่าง" อ่านแล้วรู้สึกสบายใจดี ตอนในความฝัน "เรื่องฝันประหลาด" หรือตอน "นักกวี" เขียนอยู่แล้วไปอาบน้ำ ทำให้คิดขึ้นมาเลยหยุดอาบน้ำ แล้วนั่งพิมพ์ในมือถือ เร็วมาก อยู่ๆ มันก็ผุดขึ้นมา ตั้งแต่ต้นจนจบ แต่แค่จังหวะแปบเดียวเขียนออกมาเป็นหนึ่งเรื่องเลย แต่บางตอนก็นานมาก
แบ่งเวลาการทำงานแพทย์ ครอบครัว ชีวิตส่วนตัว และการเขียนอย่างไร? มีคำแนะนำหรือเทคนิคที่อยากจะบอกต่อหรือไม่อย่างไร
เห็นคำถามข้อนี้ก็จะบอกว่าก็ยังแบ่งไม่ค่อยดีเท่าไหร่ บอกตรงๆเลย แต่ถ้าในภาพรวม ปัญหาส่วนตัวของเราเกี่ยวกับติด social media บางครั้ง ถ้าเครียดเรื่อวงาน คิดเนื้อเรื่องไม่ออก เราก็จะวิ่งเข้าหา facebook เปิด youtube เผื่อไอเดียจะมาแต่ไหลยาว ต้องพยายามควบคุมตัวเอง ช่วงท้ายๆ เรื่อง ต้องใช้สมาธิในการเขียนมากๆ ต้องเปิด airplane mode ไปเลย ช่วยทำให้งานเราเร็วขึ้นเยอะ ช่วยทำให้เราบริหารเวลาได้ดีขึ้น
การทำงานในวงการแพทย์ โดยเฉพาะในการทำงานด้านกุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ ส่งผลต่อการเขียนอย่างไร โดยเฉพาะในการสร้างเรื่องราวที่เกี่ยวกับการมีชีวิต ความตาย และความเป็นอมตะในนวนิยายเรื่องนี้
ต้องบอกว่ามีส่วนอย่างมาก เราเห็นชีวิตหลายรูปแบบ อย่างหมอเด็กมันเป็นอะไรที่เห็นคนๆหนึ่ง เห็นตั้งแต่เค้าเกิด เติบโต ผันเปลี่ยนขึ้นมาจนไปถึงตายก็มี บางครั้งเห็นแล้วเรารู้สึกว่าเวลาเราพูดถึงคำว่าเด็ก วัยเด็กมันไม่ใช่ช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงคำว่าความตาย มันไม่ได้มาคู่กัน เหมือนเด็กก็จะนึกถึงความสดใส นึกถึงพลังชีวิต หรืออะไรในแง่บวกมากกว่า แต่สำหรับเราเรารู้สึกชีวิตมันถูกพรากได้ง่ายมากๆ เราไม่มีทางรู้ ไม่ใช่ว่าอายุเท่านี้แล้วจะไม่ตาย มันไม่ได้สนหรอกว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ แข็งแรงหรือไม่
มันทำให้เรารู้สึกว่าในขณะเดียวกันก็เอาแน่ไม่ได้ในอีกด้านนึง ในด้านตรงข้าม คือเด็กเป็นสิ่งมีชีวิตที่อัศจรรย์ เพราะว่าพลังชีวิตเค้าเยอะมากเค้าสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ดีมาก บางครั้งการดูแลคนไข้เด็กทำให้เรารู้สึกว่า มันก็ยังเหลือความหวัง เราไม่ควรหมดหวังอะไรง่ายๆ
ในเรื่องนี้จะเต็มไปด้วยความหมดหวัง เต็มไปด้วยความสิ้นหวัง อยากให้อ่านเรื่องนี้แล้วตีความหลายๆ รูปแบบ ถ้าในมิตินึงมันอาจจะเป็นเรื่องเศร้า แต่อีกมิตินึงมันเป็นเรื่องของการตีความต่อว่าตัวละครตัวนี้จริงๆแล้วที่เค้าทำไป มีเหตุผลอะไร มีทั้ง element ใหญ่ๆ สิ่งที่เราเห็นจากการทำงาน มันทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตมันเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ ตัวละครบางตัว ต้นเรื่องเป็นอย่างนึง พอตอนท้ายเรื่อง พอเจอเหตุการณ์อะไรมันก็เปลี่ยนทุกอย่างไปเลย หรือตอนต้นของเรื่อง การไปเรียนในโรงเรียนนักล่าแวมไพร์ ใช้ฟีลของห้องผ่าศพ ใส่กลิ่นอายของเรียนแพทย์ หรืออย่างการล่าแวมไพร์ต้องใช้ลิ่มตอกหัวใจอันนั้นก็ใช้ anatomy ของการทำหัตถการที่เรียกว่า Pericardiocentesis เหมือนเจาะน้ำจากเยื่อหุ้มหัวใจ ก็ค่อนข้างเชื่อมโยงกับสิ่งที่ตัวเองทำ ฉากของแม่เฒ่า จริงๆ ก็อิงจากการแพทย์ปัจจุบันค่อนข้างเยอะ ยาฆ่าเชื้อ แต่เรามาเขียนให้มันดูแฟนตาซีลงไป
ในฐานะที่ทำงานทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่น วัฒนธรรมที่แตกต่างเหล่านี้ได้หล่อหลอมมุมมองในฐานะนักเขียนอย่างไร และส่งผลต่อเรื่องราวที่เลือกเล่าอย่างไร?
อาจจะไม่ได้ต่างมาก พออยู่ที่ญี่ปุ่นเราอาจจะอยู่ในโซนที่ไม่ได้อยู่ในตัวเมืองมาก เราจะอยู่กับธรรมชาติมากขึ้น ค่อนข้างเงียบๆ ได้สัมผัสกับธรรมชาติกับตัวตนภายในมากขึ้น ทำให้ได้เรียนรู้บางอย่าง เรื่องของจักจั่น อิงมาจากเรื่องที่เราเรียนรู้จากคนญี่ปุ่นโดยตรง ช่วงหน้าร้อนจักจั่นจะเยอะมากส่งเสียงดัง เค้าจะรู้ข้อมูลเกี่ยวกับจักจั่นเยอะมาก เป็นคนธรรมดา ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง แต่เหมือนเค้ารู้ว่าเวลาลอกคราบ ตอนกลางคืนมีกิจกรรมพาเด็กๆไปดูจักจั่นลอกคราบกัน จักจั่นก็เป็นปรัชญาชีวิตนึงที่มันอยู่กับคนญี่ปุ่นด้วยว่า ชีวิตมันแสนสั้น จักจั่นอยู่ใต้ดินนานมากเป็นแบบหลายปี ตั้งแต่ 5-10 ปี หรือนานสุดคือ 17 ปี แล้วมันขึ้นมาบนดินลอกคราบในเวลาอันสั้น ใช้ชีวิตแปบเดียวแล้วก็ตาย ก็แค่นี้ เหมือนเป็นปรัชญาชีวิตที่เราเรียนรู้จากการที่เราฟังแล้วคุยกับคนญี่ปุ่นมา มันกระตุ้นเรา ทำให้เราได้ไอเดียขึ้น บางทีมันมีรายละเอียดที่เรามองข้ามไปเยอะมาก
การเดินทางของตัวเอกดูเหมือนจะเป็นการค้นหาตัวตนกับโลกธรรมชาติ คิดว่าเส้นทางของแวมไพร์นี้มีความคล้ายกับผู้คนในยุคนี้อย่างไรบ้าง?
ตัวละครแวมไพร์เองจะค่อยๆเปลี่ยนไปทีละนิด จนมันถึงจุดนึงที่ผ่าน threshold แล้วก็จะไม่ย้อนกลับไปแล้ว ก็เหมือนมนุษย์เรา ที่มีช่วงวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ ช่วงเด็กๆเราอาจจะรู้สึกสนุกกับอะไรต่าง เราไม่ได้นั่งครุ่นคิดอะไรมากมายพอเราโตขึ้นมาถึงจุดนึง ซึ่งเราก็ไม่รู้ตัวเท่าไหร่ ก็จะมีอยู่จุดหนึ่งที่เราเริ่มมานั่งคิดเรื่องต่างๆมากขึ้น หาแก่นสาร หาอะไรมากขึ้นในชีวิต แต่ของแวมไพร์ก็จะช้าๆ ค่อยๆ มาเรื่อยๆ เค้าสนุกกับชีวิตเค้าค่อนข้างยาวนาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางเรื่องที่ค่อยๆสกิดใจ ทีละนิดทีละน้อย จนมาถึงจุดที่มันแตก threshold เป็นศัพท์การแพทย์กระตุ้นเส้นประสาท พอโดนแล้วจะเกิดความเปลี่ยนแปลงเยอะขึ้นและสำคัญ เป็นช่วงในหนังสือเล่มนี้คือการเล่าการเปลี่ยนไปของตัวแวมไพร์ค่ะ
ถ้าเอาตรงๆ สำหรับเราการเปลี่ยนแปลงก็คือมาจากตัวละครต้นไม้มากกว่า ก่อนหน้านี้แวมไพร์อาจจะไม่ได้คิดถึง เค้าใช้ชีวิตมาโดยที่ไม่ได้คิดถึงเรื่องของตัวต้นไม้ของตัวอาเคเซียมากเท่าไหร่ แต่จนถึงสิ่งนึงที่เค้าเริ่มรู้สึกว่าเค้าเริ่มรู้สึกว่าเค้าควรจะหวนกลับไปสู่บ้านของเค้ามากขึ้น มีเรื่องหลายๆเรื่องหรือว่าความคิดหลายๆ ความคิดอะไรต่างที่ทำให้เค้ารู้สึกว่าเค้าควรจะหวนกลับสู่จุดเริ่มต้นของเค้า ตัวละครต้นไม้ เหมือนเป็นตัวประกอบมากๆ แทบไม่มีบท ซึ่งจริงๆก็แอบยากนิดนึง มันเป็นตัวที่แทบไม่มีบทแต่มันอยู่ในชื่อเรื่องนะมันควรจะสำคัญมากๆนะ แต่มันอยู่ในห้วงคำนึงอยู่ในตัวเอกที่เป็นแวมไพร์ตลอดเวลา เพียงแต่ถึงวันหนึ่งที่เค้าเริ่มรู้ว่าเค้าควรจะต้องกลับไปหาสิ่งที่เป็นบ้านของเค้าเมื่อไหร่
เป็นตัวละครที่ไม่ได้ไปไหนเลย และก็ไม่ได้ปรากฎอยู่ในเรื่องเลย ปรากฎ แค่ตอนต้นกับตอนจบ แต่จริงๆ แล้ว การเดินทางของเค้ามันมีความหมายกับตัวแวมไพร์มากกว่าที่คิด เราจะทำยังไงที่ทำให้ละครอาเคเซียหรือต้นไม้ไม่ได้หายไป เค้ายังปรากฏขึ้นมานิดทีละหน่อย อาจจะไม่ได้ปรากฎเป็นตัวๆ แต่ยังอยู่ในความรู้สึก ความทรงจำตลอดเวลา ตอนที่เราอ่านหนังสือนาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนด์ Narcissus and Goldmund ของ Hermann Hesse ในตอนแรกคือเรามีเรื่องในหัว เรียบเรียงไว้หมดแล้ว แต่ตอนนั้นมันก็ยังรู้สึกเขียนอะไรก็ไม่ออก นึกไม่ออกแล้วพอไปอ่านหนังสือเล่มนั้น แล้วรู้สึกแบบมันมีแก่นอะไรบางอย่างที่เรารู้สึกประทับใจมาก ส่วนหนึ่งเหมือนกับว่าตัวละครเอก เค้าเดินทางแต่เค้าก็ยังมีใครสักคนที่อยู่กับเค้า ประทับใจในความรู้สึกของเค้าตลอดเวลาอย่างนี้ คล้ายๆ กันในส่วนนั้น เรารู้สึกว่าพอได้พลัง เรารู้สึกได้แรงบันดาลจากจุดนั้นมา มันสามารถทำให้เราลงมือต่อของเราได้
นักเขียนมีความคล้ายกับแวมไพร์ กับ ต้นไม้มากน้อยแค่ไหน
ส่วนตัวก็คงคล้ายๆกับนักเขียนส่วนใหญ่ คือเอาบางส่วนของตัวเองใส่ในตัวเอก สำหรับเราคืออาศัยคำถามหลายๆ อย่างที่มันอยู่ในใจในระหว่างการเดินทาง ส่วนตัวเป็นคนชอบการเดินทาง เราก็ย้อนกลับมามองว่าถ้าเราเป็นอมตะเราจะทำอะไรบ้าง สงสัยจะไปเที่ยวไปเรื่อยๆ ลองกินโน่นกินนี่ สัมผัสประสบการณ์ต่างๆ ไหนๆ ถ้าไม่ตายก็ไปรอบโลกไปเลย เราค่อยๆ สร้างตัวละครขึ้นมาจากความชอบ แนวคิดต่างๆ ก็มาจากเสี้ยวประสบการณ์หรือความสงสัย ความคิดของเรา
ส่วนตัวต้นไม้อาจะไม่ค่อยเหมือนมาก แต่ว่าต้นไม้เป็นเหมือนตัวละครที่ค่อนข้างบอบบางและ ค่อนข้างน่าทนุถนอม จะเป็นเรื่องของตัวตนภายในบางอย่างที่เรารู้สึกแบบมันพร้อมที่จะแตกสลายได้ง่าย เป็นตัวละครที่ค่อนข้างเปราะบาง
สุดท้ายนี้มีอะไรที่อยากจะฝากทิ้งท้ายทุกคนหรือไม่
ทิ้งท้ายก็คือขอบคุณทุกคนที่มีโอกาสอ่านหนังสือเรื่องนี้ รู้สึกดีใจมากๆ เป็นหนังสือที่ใส่พลังเข้าไปเขียนเยอะมาก พอเขียนเสร็จก็ดีใจ มันไปไกลกว่าที่คิด และค่อนข้างกดดันเลยทีเดียว เล่มต่อๆไปเราจะเขียนได้ขนาดนี้มั้ย เราก็คงไม่ไปกดดันตัวเอง ไม่ไปคาดหวังหรืออะไรมาก จะเขียนในสิ่งที่อยากจะเขียน เขียนในสิ่งที่เราจะสื่อออกมามากกว่า พวกรางวัลซึ่งมันเป็นปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ เราไปควบคุมกรรมการ ควบคุมผู้ที่ส่งประกวดแข่งกับเราไม่ได้
ขอบคุณทีมรางวัลชมนาด ทีมคณะกรรมการทีมทุกๆ คนที่มีส่วนกับรางวัลชมนาด ในการจัดรางวัลดีๆ นี้ขึ้นมาและทำให้ได้นักเขียนได้มีพื้นที่ในการแสดงออกถึงผลงานของตัวเอง
ขอบคุณพี่อีกคนหนึ่ง ชื่อพี่ภู่ จากอักษราลัย (Auksaralai) เค้ามีทั้งสำนักพิมพ์ด้วยที่ทำด้วยมือ หนังสือทำด้วยมือ ตอนแรกจะพิมพ์หนังสือกับพี่เค้า พี่เค้าก็อ่านให้เราและบอกว่า เธอไปส่งประกวดรางวัลชมนาดเถอะ พี่ยืนยันให้เธอส่ง ดังนั้นใครอยากจะพิมพ์หนังสือทำมือ ก็ฝากอักษราลัยบุ๊คส์ด้วย
ส่วนของงานเขียนที่กำลังวางแพลนไว้ตอนนี้ก็คือมีเรื่องของบทกวี ยังไม่รู้ว่าจะเขียนจบหรือเปล่า แต่ตอนนี้ก็มีไอเดียเรื่องบทกวีอยู่ 2 โปรเจค มีวรรณกรรม อีก 3 โปรเจค ฟุ้งมาก ไม่รู้ว่าจะคิดจบหรือเปล่า วรรณกรรมโปรเจ็กในหัว ชึ้นหนึ่งเป็นแนว sci-fi และเกี่ยวกับการแพทย์อีกชิ้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพวก boy love / girl love มีพล็อตที่มีอยู่ในหัว ต้องดูต่อไปว่าจะเขียนจบไหม