Doug McMillon ประธานและซีอีโอของ Walmart ยักษ์ใหญ่ในยุทธจักรค้าปลีกระดับโลก มีต้นกำเนิดในสหรัฐฯ เมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว ด้วยจุดขาย “กลยุทธ์ราคา” กระทั่งสามารถขยายอาณาจักรออกไปทั่วโลกกว่า 20 ประเทศ มีสาขารวมกันกว่า 11,000 แห่ง มีลูกค้าไม่ต่ำกว่า 260 ล้านคนต่อปี ซึ่งก่อนหนานี้เกิดวิกฤตและทำให้ปิดตัวลงหลายสาขา แต่ทุกวันนี้ Walmart พยายามปรับตัวและสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์จนมียอดขายมากขึ้น
เราลองไปเปิดหนังสือหนังสือเล่มโปรดของเขาว่ามีเล่มไหนส่งผลถึงถึงกลยุทธ์การปรับตัวของเขาหรือไม่
Human + Machine: Reimagining Work in the Age of AI เขียนโดย Paul R. Daugherty และ H. James Wilson
"คน" กับ "AI" คือหนังสือในการทำความเข้าใจกับเทคโนโลยี เพื่อการเตรียมรับกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 และการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับสมองกล แนวทางของผู้เขียน "พอล ดอร์เฮอร์ตี้" และ "เอช เจมส์ วิลสัน" ในเรื่อง "Missing Middle" และ "MELDS" เป็นหลักการที่ช่วยในการคิดใหม่ เพื่อให้มนุษย์ทำงานร่วมกับ "AI" อย่างมีประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนี้จึงจำเป็นสำหรับผู้นำในการคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นในยุค AI รวมถึงคนที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันทุกคน ว่าจะต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้โลกในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นโลกที่ "คนกับ AI ก้าวไปด้วยกัน" เหมาะสำหรับผู้นำองค์กร นักธุรกิจ นักบริหาร และผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทุกคน
Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions
ผลงานการเขียนร่วมกันระหว่าง
-Brian Christian นักเขียนชาวอเมริกัน ที่เคยเขียนหนังสือ Bestseller อย่าง The Most Human Human (2011) (เล่มนี้มีข่าวว่าสำนักพิมพ์ salt เอาไปแปลแล้ว)
-Tom Griffiths ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ(psychology and cognitive science) ที่ UC Berkeley ผู้อำนวยการ UC Berkeley’s Computational Cognitive Science Lab
คนเขียนเอาหลักคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างสนุกสนาน และน่าสนใจมาก มีเรื่องให้เอาไปเล่าในวงสนทนากับเพื่อนๆได้อย่างสนุกสนาน เราจะรู้สึกแปลกใจกับผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ ที่บางครั้งใช้สามัญสำนึกคิดไม่ได้ แต่คณิตศาสตร์ตอบปัญหาเหล่านั้นออกมาเป็นตัวเลขให้เราได้
The Undoing Project: A Friendship That Changed Our Minds เขียนโดย Michael Lewis
เล่มนี้ก็เป็นการเล่าเรื่องของที่มาที่ไปของการศึกษาและสร้างแขนงวิชาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และการร่วมมือกันระหว่าง Daniel Kahneman กับ Amos Tversky ทั้งในมหาวิทยาลัยและในสมรภูมิ (ทั้งคู่ทำงานให้กับกองทัพอิสราเอล)
Change by Design: How Design Thinking Transforms Organizations and Inspires Innovation เขียนโดย Tim Brown
หนังสือ Change by Design เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารและองค์กรธุรกิจต่างๆ มี Design thinking หรือความคิดเชิงออกแบบ เพื่อนำองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ไปสู่ความเป็นเลิศและแตกต่างที่สามารถครองใจผู้บริโภคได้อย่างเหนียวแน่นมุ่งหวังให้ผู้บริหารหรือองค์กรธุรกิจปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และคิดทะลุกรอบ จนได้นวัตกรรมที่ดีเยี่ยมและออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการชนิดที่นอกจากตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้แล้วยังให้อะไรเกินกว่าที่ผู้บริโภคคาดหวังได้ด้วย ซึ่งในที่สุดจะทำให้ผู้บริโภคได้รับ “ประสบการณ์” ที่ดีจากการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการนั้นจนเกิดความจงรักภักดีในแบรนด์
การออกแบบไม่ได้หมายความถึงแค่การทำให้ผลิตภัณฑ์มีรูปลักษณ์สวยงาม แต่คือการเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าหรือบริการออกมาได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง ดังนั้นกระบวนการเริ่มแรกที่สำคัญคือ “การเข้าใจอย่างถ่องแท้” ในความต้องการของผู้บริโภค
ทว่ากระบวนการที่จะได้มาซึ่ง”ความเข้าใจอันถ่องแท้” ในความต้องการของผู้บริโภค ไม่อาจได้มาด้วยวิธีวิจัยการตลาดแบบเดิมๆ ที่แค่ออกไปสอบถามผู้คน แต่คือการที่ทีมงานจะต้องออกไปสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนด้วย เช่นการขึ้นรถไฟใต้ดินของแต่ละคนเป็นอย่างไร เริ่มจากออกจากบ้าน จนมาถึงรถไฟใต้ดิน หรือหากต้องการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาล ทีมงานก็ต้องลงทุนไปเป็นคนไข้ด้วยตนเอง (เรียกว่าวิธีการเอาใจเขา (คนไข้)มาใส่ใจเรา)
Between the World and Me เขียนโดย Ta-Nehisi Coates
หนังสือเล่มนี้ ติดอันดับขายดีในอเมริกา และยังเป็นหนังสือแนะนำของมหาวิทยาลัย Tulane และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีก 9 แห่ง เป็นจดหมายของเด็กวัยรุ่นชาย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูปความคิดของเขาเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ มีเรื่องราวตัวอย่างโศกนาฏกรรมของ Ferguson และ Trayvon Martin
Shoe Dog: A Memoir by the Creator of Nike เขียนโดย Phil Knight
เรื่องราวการก่อเกิดแบรนด์ระดับตำนานครั้งแรก จากผู้ฝังหัวใจและวิญญาณให้กับ Nike
ในปี ค.ศ.1963 หลังจากการศึกษาจากวิทยาลัยธุรกิจมาหมาดๆ ฟิล ไนต์ ขอยืมเงินห้าสิบดอลล่าร์สหรัฐจากพ่อของเขา เพื่อตั้งบริษัทซึ่งมีภารกิจง่ายๆ เพียงอย่างเดียว คือ นำเข้ารองเท้าวิ่งคุณภาพสูงในราคาย่อมเยาจากประเทศญี่ปุ่น ไนต์ทำเงินได้แปดพันดอลล่าร์ในปีแรกที่เริ่มทำธุรกิจจากการขายรองเท้าบนรถยนต์พลีมัธ แวเลียนต์ของเขา ทุกวันนี้ยอดขายประจำปีของไนกี้มีมูลค่ากว่าสามหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในยุคแห่งธุรกิจสตาร์ตอัพนี้
ไนกี้ของไนต์ถือเป็นมาตรฐานชั้นเลิศ และเครื่องหมายสวูชถือเป็นหนึ่งในสัญญาลักษณ์ที่คนทั่วโลกจดจำได้ทันที นี่เป็นครั้งแรกที่ไนต์เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยงอันน่าหวาดเสียวทั้งหลายที่เขาพบเจอในระหว่างทาง อุปสรรคที่โถมปะทะ คู่แข่งที่ไร้ความปราณี บรรดาผู้ที่กังขาและเกลียดชัง และนายธนาคารผู้เป็นปรปักษ์ รวมถึงชัยชนะอันน่าปลาบปลื่ม และการรอดอย่างหวุดหวิดหลายครั้งหลายครา