เคล็ดลับการตั้งชื่อเรื่อง : ของ คุณกฤษณา อโศกสิน

เคล็ดลับการตั้งชื่อเรื่อง

      คุณสุกัญญา ทําให้นามปากกาทุกนามปากกาจรดอยู่ในใจของนักอ่านตั้งแต่แรกเห็น ความประณีตพิถีพิถันตั้งแต่แรกเริ่ม เห็นได้จากการชื่อเรื่องของเธอมักปรากฏในลักษณะของ “ภาพพจน์” ในหลายรูปแบบ บางครั้งก็ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่อลังการราวกับว่าออกจะเกินไปกว่าสิ่งที่เป็นอยู่จริง แต่ก็กินใจลึกซึ้งนัก เช่น จําหลักไว้ในแผ่นดิน หนึ่งฟ้า ดินเดียว บางครั้งก็เพิ่มเติมการอ้างอิงถึงสิ่งที่มีอยู่เดิมในวัฒนธรรม ทางวรรณศิลป์ของชาติอยู่แล้ว เป็นความเชื่อ เป็นตํานาน เป็นนิยาย เป็นคําประพันธ์เก่า เป็นเรื่องเล่าเก่า เช่น ข้ามสีทันดร เรือมนุษย์ บุษบก ใบไม้ น้ำท่วมเมฆ ขุนหอคํา หรือสร้างจากคําที่มีความขัดแย้งทางอารมณ์ สูงแบบตรงกันข้าม เช่น ไฟหนาว ไฟพ่าย ระบํามาร คาวน้ำค้าง หรือสร้าง จากความเปรียบที่เห็นภาพได้อารมณ์ เช่น บ้านขนนก วิมานไม้ฉำฉา ชิงช้า ดอกบานชื่น หน้าต่างบานแรก เสื้อสีฝุ่น เวิ้งระกํา เข็มซ่อนปลาย เพลงบิน ใบงิ้ว เวียงแว่นฟ้า ตะเกียงแก้ว หรือแม้แต่คําธรรมดาๆ แต่ก็เลือกสรรแล้ว ให้สอดคล้องกับแก่นเรื่อง เมื่ออ่านไปแล้วกลับมาพิจารณาชื่ออีกครั้งก็จะ รู้สึกถึงความลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น สมมุติว่าเขารักฉัน หนึ่งห้องหัวใจ ภมรเนื้อใน เป็นต้น

 

มีวิธีการในการตั้งชื่อเรื่องอย่างไร

     “ถ้าได้เนื้อหาของเรื่องก่อน แล้วตั้งชื่อทีหลัง ก็จะลําบากมาก บางเรื่องชื่อเรื่องเกิดขึ้นมาก่อน อย่างเช่น บ้านขนนก วันใดวันหนึ่งดิฉันอ่านกวีนิพนธ์อยู่ ก็เกิดความบันดาลใจวูบขึ้นมาเป็นชื่อเรื่องว่า บ้านขนนก แต่ยังไม่มีเนื้อหานะคะ จนกระทั่งวันหนึ่ง คุณนันทวัน หยุ่น มาบอกว่า มีเรื่องน่าเขียนอยู่ในหนังสืองานศพ เธอก็เอามาให้อ่าน และก็บอกดิฉันว่า เรื่องนี้น่าเขียนนะ ในหนังสืองานศพจะมีรายละเอียดทั้งหมด พอดิฉัน

 

     อ่านจบก็ทราบเลยว่า นี่คือเรื่อง บ้านขนนก ก็เลยได้นวนิยายเรื่องนี้มา สําหรับดิฉัน ประทับใจมาก ร้องให้เหมือนกัน คนอ่านก็เยอะมากที่ร้องไหเ เขียนเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว...

 

     แต่บางเรื่องก็คิดเนื้อหาได้ก่อน อย่าง เวียงแว่นฟ้า หนึ่งฟ้า ดินเดียว ก็คิดเนื้อหาได้ก่อนถึงจะตั้งชื่อเรื่อง แรกที่เดียวดิฉันก็นึกว่าจะตั้งชื่อให้ เป็นล้านนาได้อย่างไร ก็นึกได้ว่าต้องมีคําว่า เวียง” แล้วก็นึกต่อว่า ล้านนา” เป็นอาณาจักรที่อยู่ทางเหนือ เป็นเมืองที่เล็กกว่ากรุงเทพฯ เข้าลักษณะพานเล็กที่วางอยู่บนพานใหญ่ ก็เลยได้คําว่า แว่นฟ้า” มาสวม เข้ากับคําว่า เวียง” เป็น เวียงแว่นฟ้า” เรียกว่าเป็นคําเฉพาะกิจจริงๆ ส่วนคําว่า หนึ่งฟ้าดินเดียว นี่ก็คิดจากการที่สยามสามารถดึงอาณาจักร ล้านนาเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ เสมือนเชื่อมฟ้าและดินเข้าด้วยกัน ก็คิดไปสิบกว่าชื่อ แล้วคัดเอา 5-6 ชื่อ ส่งให้บรรณาธิการเลือก บรรณาธิการ ก็เลือกชื่อนี้

 

     การตั้งชื่อบางทีก็ใช้เวลานาน บางทีก็ไม่นาน ถ้าเป็นเรื่องของชีวิต ครอบครัวทั่วไป บางทีก็ยาก หลายเรื่องคิดไม่ออก อย่าง พญาไร้ใบ ที่ตัวเอกเป็นลูกกําพร้า เศรษฐีเก็บมาเลี้ยง แต่กลับเกิดความคับแคนในบ้าน ของเศรษฐี คิดไปคิดมาก็สะดุดตาต้นพญาไร้ใบ พอเห็นลักษณะ เลยว่า บุคลิกของผู้ชายที่ขาดความรักความอบอุ่นคนนี้ตรงกับไม้ต้นนี้ คือมันมีแต่กิ่งระเกะระกะ ลําต้นสวย ตั้งตรง แปลกตา แต่ไม่มีใบ มันตั้งอยู่ในกระถางตรงหน้าต่างที่ดิฉันนั่งเขียนหนังสืออยู่ ก็เลยได้ความคิดชื่อมันแล่นขึ้นมากระทบใจอย่างแรง ส่วน บันไดไม้รัก (เรื่องมีต่อเนื่องกัน) ก็นานมากกว่าจะได้ชื่อนี้ เดิมจะหาชื่อสมุนไพรอย่าง ไฟเดือนห้า” (มาจากมะไฟเดือนห้า) แต่ไปซ้ำกับชื่อของคนอื่น ก็เลยต้องหาชื่อใหม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องของคนที่กลัวคน เวลารักก็รักไม่สุดหัวใจ เขาเคยผิดหวังจากผู้หญิงที่โตมาด้วยกัน ก็เก็บความรักนี้ไว้เป็นความลับ เลยต้องหานางเอกให้ใหม่ เป็นจิตแพทย์ นางเอกก็จะเป็นคนจูงเขาขึ้นบันไดแห่งความรัก ซึ่งถ้าชื่อบันไดแห่งความรักก็ไม่ได้อีกเพราะเป็นชื่อที่คนอื่น ตั้งแล้ว ก็เลยใช้ บันไดไม้รัก เพราะไม้รักก็เป็นชื่อสมุนไพรชนิดหนึ่ง

 

     ก็มีอีกหลายเรื่องค่ะ กว่าจะได้ชื่อนี่เป็นเดือนๆ เหมือนกัน เพราะ ไม่ต้องการตั้งชื่อซ้ํากับใคร ถ้าทราบก็จะเลี่ยงทันที นอกจากใจเกิดไปตรงกัน เข้าเอง อย่างเรื่อง หนามดอกไม้ ก็ซ้ํากับชื่อของ “รงค์ วงษ์สวรรค์” โดยไม่ได้เจตนา”

 

จากบทสัมภาษณ์ในหนังสือ ที่ระลึกงานมอบรางวัล นักเขียนอมตะ ประจำปี  2562

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ