สิ่งที่เงินไม่สามารถซื้อได้ อย่างความรัก มิตรภาพ ความอบอุ่นและความทรงจำ ช่วยเติมเต็มชีวิตให้สมบูรณ์
โดยทั่วไป “การสอนเรื่องเงินทองให้ลูก” คนส่วนใหญ่มักสอนความสําคัญของเงิน การคํานวณค่าใช้จ่าย และการบริหารเงิน ที่พ่อแม่ให้ไป
ในกรณีของฉัน แทนที่จะสอนลูกๆ ใช้เงินซื้อของ ฉันเริ่มจากการสอนสิ่งที่เงินหาซื้อไม่ได้ก่อนค่ะ เงินทองเป็นสิ่งสําคัญก็จริง แต่การพึ่งพาเงินมากเกินไป เราเป็นทาสของเงิน มีคนหลายคนที่ต้องสูญเสียสิ่งสําคัญในชีวิต เพราะเงิน
ดังนั้นก่อนอื่นต้องสอนลูกว่า “แม้ไม่มีเงินก็มีเรื่องสนุกๆ เยอะแยะ” และ “มีสิ่งต่างๆ มากมายที่สําคัญกว่าเงินทอง”
ครอบครัวของเราปกติแล้วจะไม่ได้ให้ค่าขนมไปใช้จ่ายอย่างอิสระหรอกค่ะ ส่วนของขวัญก็ให้กันแค่ปีละสองครั้ง ซึ่งก็คือของขวัญ วันคริสต์มาสจากซานตาคลอส และของขวัญวันเกิดจากพ่อและแม่ค่ะ
ฉันอยากสอนให้ลูกๆ เล่นโดยใช้ร่างกายและสมองมากกว่า ซื้อของเล่นให้ค่ะ ดังนั้นฉันมักจะหาวิธีเล่นกับลูกโดยใช้ร่างกายตั้งแต่เขายังเด็กๆ
อย่าง “นิราเม็กโกะ* หรือการแข่งทําหน้าตลก” “ดารุมะซัง กะ โครนดะ** หรือเกมดารุมะซังล้มแล้ว” หรือเล่นเอามือชนมือกันที่เรียกว่า “โอชิ ซูโม่” บางทีก็ “แข่งขันไฮกุ” โดยผลัดกันอ่านลอนไฮกุ*** และเล่น “มาราธอนสุภาษิต” แข่งกันว่าใครรู้จักสุภาษิตมากกว่ากัน เมื่อทุกคนมารวมตัวกันไม่ว่าที่ไหนหรือเมื่อไร เราจะเริ่มเล่นอะไรแบบนี้ด้วยกัน
การเล่นเกมแบบนี้เป็นได้ทั้งการออกกําลังกายและการฝึกสมอง ถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยค่ะ ลูกๆ ของฉันเล่นเกมพวกนี้ โดยไม่เบื่อเลย ตอนช่วงเรียนอนุบาลและประถมพวกเขาชอบเล่น หมากรุก ไพ่ และไพ่อูโน่กันมากค่ะ เราไม่เล่นอะไรที่ต้องใช้เงินเยอะ อาจมีบ้างที่เราไปสวนสนุกกันทั้งครอบครัว แต่จะไม่เคยไปเล่นเกมที่ เกมเซ็นเตอร์เลย
การเล่นอะไรโดยไม่ใช้เงินเป็นนิสัยติดตัวลูกๆ ของฉันเสียจน พวกเขากลายเป็นเด็กที่ไม่ค่อยอยากได้อะไรเท่าไร เวลาไปร้านของเล่น แล้วเห็นเด็กงอแง “ซื้ออันนี้ให้หน่อย!” เรื่องแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับ ครอบครัวเราเลยค่ะ
พวกเขามักพูดว่า “ของเล่นเดี่ยวเดียวก็เบื่อ ไม่เอาหรอก” บางที เวลาออกไปเที่ยว แล้วบอกลูกๆ ว่า “ซื้อของฝากกลับไปคนละชิ้นดีกว่า” พวกเขาเลือกกันนานมาก และสุดท้ายก็เลือกแต่ของชิ้นเล็กๆ ราคาไม่แพงตลอดค่ะ
ลูกๆ ของฉันจะได้รับเงินแค่ปีละสองครั้งเท่านั้น คือตอนปีใหม่กับวันตรุษจีน เป็นเงินของขวัญวันปีใหม่จากพ่อแม่และญาติๆ ค่ะ
เงินทั้งหมดที่ได้ค่อนข้างเป็นเงินก้อนใหญ่ ดังนั้น ฉันจึงบอกว่า “ดึงส่วนที่อยากใช้เอาไว้ ส่วนที่เหลือแบ่งเป็นเงินเก็บไว้” แล้วก็ จะเอาเงินส่วนหนึ่งให้เจ้าตัวถือไว้ ส่วนที่เหลือก็เก็บเป็นเงินออม
ครอบครัวของเราไม่ได้ให้เงินค่าขนมลูกเลยจนกระทั่งพวกเขาเรียนมัธยมปลาย เมื่อเวลาต้องการใช้เงิน เช่น ออกไปเที่ยวกับเพื่อน ซื้อของขวัญวันเกิดให้เพื่อนหรือซื้อของฝากตอนไปทัศนศึกษา ฉันก็จะ ให้เงินเป็นครั้งๆ ไป
บางครั้งฉันลองถามลูกๆ ว่า “ไม่สะดวกหรือเปล่า?” ลูกๆ ต่าง บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่รู้สึกว่าไม่สะดวกอะไรเลยฮะ ไม่ได้จําเป็นต้องใช้เงินอะไรขนาดนั้น อีกอย่างตอนจําเป็นต้องใช้ค่อยขอก็ได้” ลูกๆ คงเข้าใจตั้งแต่เล็กว่า “เวลาที่ได้ใช้กับครอบครัวนั้นมีค่ามากที่สุด
สิ่งที่เงินไม่สามารถซื้อได้ อย่างความรัก มิตรภาพ ความอบอุ่นและความทรงจํา ช่วยเติมเต็มชีวิตให้สมบูรณ์ การสอนหรือไม่สอน เรื่องนี้ตั้งแต่ยังเล็กทําให้การรับรู้เรื่องเงินของลูกแตกต่างไป
แม้ดูเหมือนว่าเราอยู่ในโลกที่มีความเข้าใจผิดๆ ว่า เงินคือทุกสิ่ง เพียงแค่มีเงิน จะทําอะไรก็ได้” แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป คนเรามีชีวิตที่สนุกสนานโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินและไม่เป็นทาสของเงินได้ เราจําเป็นต้องสอนเรื่องเงินกับการใช้ชีวิตแบบนั้นลูกๆ ของเราค่ะ
*นิราเม็กโกะ หรือการแข่งทําหน้าตลก วิธีเล่นคือจะร้องเพลงของเกมนี้ แล้วตอนจบ ของเพลงจะทําหน้าตาประหลาดใส่กัน ใครหัวเราะก่อนคนนั้นแพ้ **ดารุมะซัง ก๊ะ โครนดะ หรือเกมดารุมะซังล้มแล้ว วิธีเล่นคือจะมีคนหนึ่งเป็นยักษ์หันหลัง ให้ผู้เล่นคนอื่นที่พยายามเข้าไปแปะยักษ์ เมื่อยักษ์พูดประโยค “ดารุมะซัง ก๊ะ โครนดะ” แล้วหันมาหา ผู้เล่นทุกคนต้องหยุดนิ่งกับที่ห้ามขยับ หากขยับจะถูกให้อออกจากเกม ***ไฮกุ คือบทกวีญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง เป็นบทกลอนขนาดสั้น หนึ่งบทมี 17 พยางค์ เขียนเป็น 3 วรรค 5 พยางค์ 7 พยางค์ และ 5 พยางค์