7 พ.ย.ปี 1665 กำเนิด London Gazette หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุด : วางจำหน่ายเป็นครั้งแรก

7 พ.ย.ปี 1665 กำเนิด London Gazette หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุด

 

     วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1665  (พ.ศ. 2208) London Gazette หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดและยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน วางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในชื่อ "The Oxford Gazette"

 

     ในปี 1641 รัฐสภาล้มสตาร์แชมเบอร์คอร์ตอันแสนทารุณ และมีการเรียกร้องเสรีภาพทางความคิดมากขึ้น ในวันที่ 24 พ.ย. 1646 จอห์น มิลตัน (John Milton) กวีได้พิมพ์อาริโอปากิติกา (Areopagitica) ด้วยความคับแค้นใจในบรรษัทผู้ค้าหนังสือ (Stationers Company) ที่กีดขวางการพิมพ์จุลสารเรื่องการหย่าร้าง Areopagitica มีชื่อเสียงอย่างมากในการเรียกร้องเสรีภาพทางการพิมพ์ซึ่งต่อมาก็มีนักหนังสือพิมพ์อีกหลายคนที่เดินตามรอยนี้ เช่น วิลเลี่ยม วอลวีย์น (William Walwyn) เฮนรี่ โรบินสัน (Henry Robinson) ริชาร์ด โอเวอร์ตัน (Richard Overton) และจอห์น ลิลเบิร์น (John Lilburne) ในสมัยของเขาหนังสือของมิลตันไม่ก่อให้เกิดผลอันใดนัก เพราะคําพูดของเขาไม่ค่อยแพร่หลาย จนอีกนับร้อยปีต่อมาที่ชาวโลกได้ หยิบยกคําพูดของเขามาใช้ในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอเมริกัน
 

      การปลงพระชนม์พระเจ้าชาลส์ที่ 1 โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) ได้ขึ้นมามีอํานาจ และอนุญาตให้มีการพิมพ์ได้ แต่เฉพาะสิ่งพิมพ์งานบริหารของรัฐ เช่น Mercurius Politicus : A Perfect Diurnal และ Publick Intelligencer
 

     การกลับมาของพระเจ้าชารล์สที่ 2 (1660-1685) ในปี 1660 ก่อให้เกิดระบบผูกขาดภายใต้ผู้ควบคุม คือ เฮนรี่ มัดดิแมน (Henry Muddiman) และโรเจอร์ เลสตรอน์จ (Roger h’ Estrange) ในระหว่างนี้ จดหมายข่าวเขียนด้วยมือแบบโบราณเป็นสื่ออย่างเดียวที่แพร่ข่าวสารด้วยเสรีการพิมพ์ หนังสือพิมพ์ไม่สามารถทําได้เพราะอาจถูกปิดแท่นพิมพ์ การท้าทายเจ้าหน้าที่โดยการออกหนังสือเถื่อนจึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
 

     อย่างไรก็ตาม ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชารล์สที่ 2 อีกเช่นกันที่วิวัฒนาการหนังสือพิมพ์ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง โดยการพิมพ์ Oxford Gazette ในปี 1665 ที่ออกซฟอร์ดมีมัดดิแมนเป็นผู้จัดทํา 
 

     เมื่อพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์เสด็จหนีโรคระบาด (กาฬโรค) ไปจากลอนดอน Oxford Gazette เป็นวารสารแรกที่เป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้ จริง โดยการพิมพ์สัปดาห์ ละ 2 ฉบับ โดยเจ้าหน้าที่ของราชสํานักหลังจากตีพิมพ์ได้ 24 ฉบับ ก็เปลี่ยนชื่อเป็น London Gazette เมื่อราชสํานักย้ายกลับมาสู่เมืองหลวงวารสารนี้พิมพ์อยู่จนถึงศตวรรษที่ 20 ในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของราชสํานัก

 

 

 

อ้างอิงจาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/watchpuppy/2007/05/17/entry-1


 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ