เพชรลดา เฟื่องอักษร : งานเขียนต้องให้ประโยชน์กับผู้อื่น ไม่ผิดศีลธรรม

เพชรลดา เฟื่องอักษร

 

     เพชรลดา เฟื่องอักษร อดีตครู และนักข่าว ที่ผลันตัวมาเป็นนักเขียนเต็มตัว มีผลงานเรื่องสั้นกว่า 500 เรื่อง และนวนิยายกว่า 100 เรื่อง ซึ่งได้นำมาทำเป็นละครโทรทัศน์อยู่หลายเรื่อง นอกจากนี้ยังมีหนังสือประเภทสารคดี และการดูแลสุขภาพอีกด้วย

 

     ชีวิตก่อนเริ่มเส้นทางนักเขียน ก่อนหน้ามาเป็นนักเขียนเต็มตัว คุณเพชรลดา เป็นคุณครูอยู่ทางภาพอีสาน ด้วยความชอบอ่านนิตยสาร และมีใจรักในการเขียนกลอน จึงส่งไปยังนิตยสารขวัญเรือน สกุลไทย ได้ค่าตอบแทนกลอนละ 500 บาท และเกิดประสบอุบัติเหตุ จึงเลิกทำอาชีพครู และได้มาอยู่ที่กรุงเทพฯ และเริ่มเขียนหนังสือ นามปากกา “แดง อารดา” เขียนทั้งบทกวีและเรื่องสั้น ในนิตยสารหลายเล่ม

 

     เริ่มต้นเส้นทางนักข่าว สัมภาษณ์และทำข่าวศิลปิน นักร้อง นักแสดง และไปรอต้นฉบับจากนักเขียน จนเริ่มรู้สึกว่าเงินเดือนนักข่าวในช่วงนั้นน้อยกว่านักเขียน ที่เขียนเรื่องแค่สองตอนก็ได้เงินเท่านักข่าวทั้งเดือน จึงอยากเป็นนักเขียนเต็มตัว  ก่อนเริ่มต้นเขียนหนังสือนวนิยายอย่างจริงจัง

 

 

     สร้างแรงบันดาลใจ ก่อนเริ่มเขียนหนังสือหนังสือแต่ละเล่ม ต้องมีแรงบันดาลใจ เช่น นำแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ที่พบเจอ หรือจากเรื่องที่เพื่อนเล่าให้ฟังบวกกับใส่จินตนาการเข้าไป ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนหนังสือ สมัยนั้นบางอาทิตย์เขียนครั้งละ 4 เรื่อง ต้องทำการแยกแฟ้ม รายปักษ์ รายเดือนไว้ บางฉบับต้องเขียนล่วงหน้าเผื่อไว้ และต้องเขียนทีละตอน ที่ละเล่ม

 

     หลักในการเขียนแต่ละเรื่อง คือ ต้องมี พล็อตเรื่องก่อนเพื่อป้องกันการสับสน และเสนอพล็อตเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบให้กับทางบรรณาธิการก่อน ว่าควรปรับไปในทิศทางใด

 

     คติประจำในในการเป็นนักเขียน  จะไม่เปลี่ยนเนื้อเรื่อง ตามกระแสนิยม หรือหากมีการนำนวนิยายไปดัดแปลงเป็นละคร จะมีจุดยืนที่ชัดเจน คือ ไม่เปลี่ยนเนื้อเรื่องและคาแร็กเตอร์ของนักแสดงต้องเป็นไปตามต้นฉบับในหนังสือที่คุณเพชรลดาบรรยายไว้ บวกกับเรื่องที่เขียนต้องไม่ผิดศีลธรรม ไม่มีเนื้อเรื่องที่ยุยงส่งเสริมให้เยาวชนทำสิ่งที่ไม่ดี

 

     สุดท้าย สิ่งที่อยากฝากถึงนักเขียนรุ่นใหม่ที่กำลังเข้ามาบนเส้นทางนี้ คือ อยากให้นักเขียนไม่ใช้ภาษาที่วิบัติ หรือพยายามอย่าให้มีเนื้อที่สุดโต่ง ผิดศีลธรรมจนเกินไป และเรื่องที่เขียนควรสร้างสรรค์ ให้ประโยชน์แก่สังคมเพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่นำไปต่อยอดในการใช้ชีวิตได้

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ