Let one self on ใน “What did my father teach me about life?”
“ป๊าเสียแล้วนะ” (หน้า 1)
เมื่อได้อ่านประโยคนี้ในเรื่อง What did my father teach me about life? ความรู้สึกสับสน เศร้า เสียใจ ตกใจ อธิบายไม่ถูกของตัวละครภายในเรื่องกับผู้วิจารณ์คงไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะชีวิตของ การสูญเสียพ่อที่ดูจะคล้ายคลึงราวกับถอดแบบออกมาจากชีวิตจริง หากแต่ความแตกต่างระหว่างการสูญเสีย คงเป็นการสูญเสียคนละความหมายเท่านั้น
ในขณะที่ What did my father teach me about life? เป็นการเล่าเรื่องราวเรียงร้อยด้วยกลวิธี แบบย้อนอดีต เริ่มจากการเล่าปัจจุบันที่ลูกนอกสมรสทราบข่าวการเสียชีวิตของพ่อ จึงเดินทางมาด้วย ความรู้สึกสับสนงุนงง ไม่รู้จะรู้สึกอย่างไรเนื่องจาก อีกครอบครัวของพ่อนั้นก็ไม่ได้รับรู้ถึงการมีตัวตน ก่อนจะ นำพาเราไปรู้จักความรู้สึกนึกคิดที่แม้จะมีความสับสนแต่ในท้ายที่สุดก็เลือกที่จะปล่อยวาง และให้อภัยพ่อเพื่อ เดินหน้าต่อไป ซึ่งเป็นความแปลกประหลาดใจและน่าสนใจในเวลาเดียวกันสำหรับผู้วิจารณ์
ความแปลกประหลาดใจนั้นคือการกระทำของพ่อภายในเรื่อง ที่ดูจะเป็นผู้ชายที่ล้มเหลวสิ้นเชิงทั้งใน ฐานะคนรักและผู้ชายที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการมีโลกสองใบอย่าง “เห็นรูปพ่อกับพี่ ๆ ดูเป็นอีกโลกหนึ่งที่ไม่มีฉันอยู่ พ่อที่ฉันรู้จักมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน มีภรรยา 2 คน คือแม่ใหญ่กับแม่ของฉัน” (หน้า 1)จากประโยคก็คงตัดสินได้ อย่างง่ายดายว่าไม่มีผู้ชายดี ๆ ที่ไหนมีภรรยา 2 คน การกระทำนี้คงสร้างบาดแผลให้ตัวละครไม่มากก็น้อย ถ้า เป็นคนทั่วไปคงโกรธชนิดไม่เผาผีกันอีกสิบชาติ ซึ่งจะไม่แปลกใจเลยหากตัวละครรู้สึกเช่นนั้น แต่ความแปลกใจ คือตัวละครรู้สึกเพียงแค่ไม่เข้าใจอย่าง “ฉันไม่เข้าใจว่าพ่อมีบ้านเล็กไปทำไม เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นฉันว่ามัน เหนื่อยเกินไป พ่อต้องเดินทางมาหาแม่ทุก ๆ เดือน ใช้ชีวิตแบบมีโลกสองใบมาหลายสิบปี ฉันว่ามันรู้สึกต้องมี ความรู้สึกอึดอัดกันบ้าง” (หน้า 2) หรือ “ความสัมพันธ์ระหว่างฉันกับพ่อเหมือนคนแปลกหน้าที่ใกล้ชิดกัน ที่สุด” (หน้า 1)
จากข้อความข้างต้น ทำให้ผู้วิจารณ์เข้าใจถึงความรู้สึกของลูกเพราะตัวผู้วิจารณ์เองก็ไม่ได้แตกต่างกับ
ตัวลูกภายในเรื่อง ซ้ำยังเข้าใจหัวอกการเป็นลูกนอกสมรสได้อย่างดียิ่งในฐานะคนที่สูญเสียพ่อด้วยคำว่า “ป๊าหย่ากับม๊าแล้วนะ”
ความรู้สึกเหมือนการทรยศหักหลัง สับสน งุนงง การกลายเป็นคนนอก ไม่รู้ว่าจะต้องมีความเสียใจ เมื่อเจอหน้ากันครั้งต่อไปหรือต้องรู้สึกรักเหมือนเดิมไหม เมื่อเรากลายเป็นคนแปลกหน้าแต่ก็ยังมีความสัมพันธ์
แบบพ่อลูก แต่ก็เป็นพ่อลูกแบบที่ครอบครัวของพ่อไม่มีเราอยู่ในนั้น ไม่แตกต่างจากลูกในเรื่องที่รู้สึกสับสน งุนงงกับความเสียใจที่พ่อจากไปรวมถึงสถานการณ์เป็นลูกนอกสมรส
ทั้งนี้ยังเข้าใจที่ลูกให้อภัยพ่อในท้ายที่สุดของเรื่องเห็นได้จาก “แต่อยากให้พ่อรู้ว่าฉันเข้าใจและได้รับ ความรักมาโดยตลอด ขอให้การจากไปในครั้งนี้ไม่มีห่วง ไม่ต้องห่วงอะไรทั้งนั้น ไม่ว่าหนูจะทุกข์หรือสุข มันก็ เป็นเจอ และใช้ชีวิตต่อไป” (หน้า 3) หรือ “ถึงพ่อในวันที่ฉันเติบโตอายุครบ30ปี ขอบคุณที่เลือกจากไปในวันที่ ฉันโตพอจะเข้าใจโลก” (หน้า 3) ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการให้อภัย
แม้อาจจะแปลกสำหรับคนทั่วไปที่รู้สึกว่าทำไมถึงเลือกทำเช่นนั้น ซึ่งเป็นการอภัยอย่างง่ายดายต่อการ กระทำของพ่อ แต่ตัวผู้วิจารณ์เข้าใจดีว่าการเลือกที่จะให้อภัยนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายดายอย่างที่เข้าใจ เพียงแต่ เลือกจะปล่อยวางต่อการกระทำ คงเพราะว่าเราโตพอที่จะไม่หลีกหนีและยอมรับมันในฐานะส่วนหนึ่งของ ตัวตนเรา
ซึ่งตามทฤษฎีจิตวิทยาของ Carl Roger เราเรียกสิ่งนี้ว่า Person-Centered Therapy ที่หากจะ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คงคล้าย ๆ กับการปล่อยวางหรือ Let one self on ซึ่งเป็นการยอมรับและเปิดใจ ให้กับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการปล่อยวาง เพื่อพัฒนาตัวเองให้เติบโตขึ้น ไม่ว่าจะ ผ่านความรู้สึกที่เจ็บปวด ความทุกข์ หรือมีความสุข
การปล่อยวางของ Carl Roger จึงไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธความรู้สึกหรือหลีกหนีใด ๆ แต่เป็น กระบวนการแบบเดียวกับลูกในเรื่อง What did my father teach me about life? ที่เลือกจะเข้าใจ ไม่ ตัดสินการกระทำเหล่านั้น
“ฉันไม่ได้ตัดสินว่าแม่ผิดหรือถูก ไม่ตัดสินว่าการกระทำของทั้งพ่อทั้งแม่ดีหรือไม่ดี เพราะฉันก็ไม่ได้ รับรู้ถึงบริบทตอนนั้น แต่ในเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ฉันเกิดมาแล้ว ฉันก็แค่ยอมรับและใช้ชีวิตของตัวเอง”
เรื่อง What did my father teach me about life? ที่ผู้วิจารณ์รู้สึกแปลกใจกับเรื่องราวในตอนแรก จึงกลายเป็นเรื่องราวที่ผู้วิจารณ์เข้าใจและรับรู้ความรู้สึกของผู้เขียนได้อย่างแจ่มแจ้ง โดยเฉพาะเนื้อเพลง“แค่ ครั้งเดียว”ของ ซีรีส์เรื่องแฟนผมเป็นประธานนักเรียน ที่ตัวละครเลือกใช้ในท้ายเรื่องอย่าง “จดจำทุกเสี้ยวนาที ที่เราได้ข้ามผ่าน เหตุการณ์ที่เหมือนเกิดขึ้นเมื่อวานจะไม่หายไป มันเป็นเหมือนฝันที่เราได้พบ เรื่องราว มากมายช่างโชคดี ที่ไหนไม่ว่าใกล้ไกลก็ไปกับเธอไม่หวั่น ก็เพราะว่าเรามีกันและกันไม่ว่าสุขหรือทุกข์ใจ มันดีแค่ไหนที่เราได้ร่วมเดินทางผ่านมาด้วยกัน มันมีเรื่องราวมากมายที่เจอ ผ่านเรื่องร้ายและดีกับเธอช่างโชค ดีที่มีเราอยู่ข้าง ๆ กัน มันมีแค่ครั้งเดียวที่ช่วงเวลาโชคชะตาให้เรามาพบ สิ่งที่แสนวิเศษที่ฉันเรียกว่าเธอให้เป็น เสี้ยวนาทีใดมองย้อนไปไม่เสียใจ จะเป็นภาพทรงจำที่ตัวฉันจะไม่เสียดายเลย I'll remember us this way มี แค่ครั้งเดียวก็ไม่เสียดายเลย” (หน้า 3)
จึงเป็นเพลงที่แทนความรู้สึกที่อยากจะบอกกับผู้วิจารณ์และผู้อ่านที่ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกไม่มีตัวตน สับสน หลงทาง เป็นลูกนอกครอบครัว หรือแม้กระทั่งมี ความสุขและเผชิญหน้าความทุกข์ ความรู้สึกและประสบการณ์เหล่านี้ไม่ได้เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะบุคคลใดบุคล หนึ่ง แต่ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต มันเปรียบเสมือนการร่วมเดินทางที่เรา อาจจะเจอเรื่องทุกข์ทรมานสับสน จนหลายครั้งเราไม่อาจก้าวข้ามความรู้สึกนั้นได้เสมอไป
การปล่อยวาง ยอมรับ และเผชิญหน้ากับความรู้สึกที่ผ่านเข้ามาโดยไม่หลีกเลี่ยง เป็นส่วนหนึ่งของการ เติบโต เรายอมรับบาดแผลอันเว้าแหว่งจากความทุกข์และความสุขอันเปรียบเสมือนดอกไม้งามที่ผลิบานใน หัวใจ จากคนที่เรารักสักคนทิ้งเอาไว้ ซึ่งล้วนแต่เป็นส่วนประกอบสร้างที่ทำให้เราเป็นตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นผู้ วิจารณ์หรือผู้อ่าน เมื่อได้อ่านเรื่อง What did my father teach me about life? คงทำให้เราได้รู้ว่าเราไม่ใช่ คนที่ต้องปล่อยวางและเผชิญหน้ากับการจดจำ ความเจ็บปวด ความสับสน ความทุกข์ ความสุข อย่างโดด เดี่ยวเพียงลำพัง
Let one self on ใน "What did my father teach me about life?"
บทวิจารณ์โดย ญนันทพร สงดำ
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์ ปีที่ 10