เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย : ถนนคลองกระแชง ริมแม่น้ำเพชรบุรี

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

               บนถนนคลองกระแชง ชุมชนเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี เป็นที่ตั้งของบ้าน ครูมนัส จรรยงค์  นักเขียนชาวไทย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย " บ้านหลังนี้ได้รวบรวมผลงานบางส่วน ของคุณมนัส จัดแสดงไว้พร้อมกับประวัติให้ผู้ที่สนใจได้ลองเข้ามาเยี่ยมชม และเป็นแรงบันดาลใจ ให้สำหรับผู้ที่อยากเป็นนักเขียน

 

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

               

               คุณมนัส เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2450 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องรวม 10 คน ของนายผ่องและนางเยื้อน  จรรยงค์  เดิมบิดามีภูมิลำเนาแถวสะพานเจริญพาศน์ ธนบุรี  รับราชการเป็นผู้ช่วยอัยการที่เรียกกันว่า “แพ่งอัยการ” ภายหลังไปเป็นทนายความอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ส่วนมารดาเป็นบุตรสาวของผู้พิพากษาที่ 2 ในจังหวัดเพชรบุรี        

               การศึกษา เริ่มเรียนหนังสือกับมารดาที่บ้านตั้งแต่อายุ 3 - 4 ขวบ เข้าโรงเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนคามวาสี ต่อมาย้ายมาเรียนโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรีถึงชั้นมัธยมปีที่ 2 บิดาก็นำเข้ามากรุงเทพฯ มาฝากให้อยู่บ้านเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เข้าเรียนที่โรงเรียนสุขุมาลัยแล้วย้ายมาต่อที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระหว่างนั้นชอบเล่นกีฬาและดนตรี ได้ชื่อว่าเป็นนักฟุตบอลที่มีความสามารถคนหนึ่ง     

         

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

 

               การทำงาน หลังจากลาออกจากโรงเรียนไปสมัครเป็นนักแสดงกายกรรมในคณะ 'เป้ง เทียม'ซึ่งเป็นนักพลศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทราวาส เขาออกแสดงไปตามงานรื่นเริงต่าง ๆ อยู่ระยะหนึ่ง จึงเลิก เดินทางกลับบ้านเดิมที่เพชรบุรี ประมาณพ.ศ. 2471 สมัครเข้าทำงานเป็นเสมียนไต่สวนประจำอำเภอ ขณะเดียวกันก็เป็นครูสอนดนตรีไทย มีวงดนตรีออกแสดงหารายได้ ชื่อเสียงความสามารถของเขาขจรกระจายไปทั่วเมืองเพชรบุรี จนเจ้าเมืองให้ไปเป็นครูสอนดนตรีแก่ลูกสาว ซึ่งต่อมารักใคร่ชอบพอกันจนกลายมาเป็นคู่ชีวิตในที่สุด

 

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย              

               พ.ศ.2472  ได้เริ่มเขียนเรื่องสั้นชื่อ “สวรรค์ครึ่งเดือน” เป็นครั้งแรก ใช้นามปากกา “อ.มนัสวีร์” มีความหมายว่า “อ้อมผู้กล้าหาญ” แล้วส่งให้หนังสือพิมพ์เดลิเมล์วันจันทร์” แต่ ป.บูรณปกรณ์ ได้เปลี่ยนชื่อให้เป็น  'คู่ทุกข์คู่ยาก' ในเดือนมิถุนายน 2473  ในปีเดียวกันนั้นได้สมรสกับอ้อม บุนนาค เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เข้าประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 'หลักเมือง' และเขียนเรื่องรักโศกเล่มละ 10 สตางค์ โดยใช้นามปากกา “อ.มนัสวีร์” และ “ฤดี จรรยงค์” อยู่ในแวดวงนักเขียนนักหนังสือพิมพ์อยู่ช่วงหนึ่งก่อนออกไปรับหน้าที่เป็นผู้จัดการร้านค้าแบบสหกรณ์ที่ทัณฑนิคมจังหวัดยะลา หลังจากกลับมาทำหนังสือพิมพ์ ประชามิตร-สุภาพบุรุษ อีก แล้วย้ายประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 'นิกร'กระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็น 'สยามนิกร' ก่อนออกมาเป็นนักเขียนอย่างเดียว นามปากกาที่เขาใช้คือ อ. มนัสวีร์, ฤดี จรรยงค์ และรุ่ง น้ำเพชร เขาเขียนเรื่องสั้นมาไม่ต่ำกว่า 1,000 เรื่อง นวนิยายอีกประมาณ 20เรื่อง เรื่องสั้น 'จับตาย' ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย แปลเป็นภาษาอังกฤษและตีพิมพ์ในหนังสือ 'ชุมนุมบทประพันธ์แห่งเอเชีย' ของสมาคมนักเขียนแห่งออสเตรเลีย(The Followship of Australian Writers)  เมื่อปีพ.ศ. 2501  เรื่องสั้น 'ซาเก๊าะ' ได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2528 สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้ยกย่องมนัส จรรยงค์เป็น 1 ใน 15ของนักเขียนเรื่องสั้นดีเด่นเนื่องในวาระครบ 100 ปีเรื่องสั้นไทย นอกจากนั้น มนัส จรรยงค์ยังเป็นนักเขียนสารคดีที่มีความสามารถคนหนึ่ง ที่สร้างชื่อเสียงให้เขาคือเรื่อง 'ข้าพเจ้าเป็นบ้าไป 36 ชั่วโมง'

 

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

 

               มนัส จรรยงค์ ใช้ชีวิตครอบครัว มีบุตรดัวยกัน 5 คน คือ อมรา วิไลเกษม มัทนา บุนนาค , มนู  จรรยงค์ , อาณัติ  จรรยงค์  และอ้อมน้อย ทวีศักดิ์สกุล  ในช่วงปลายชีวิต ต้องเข้าออกโรงพยาบาลหลายแห่งหลายครั้งหลายหน ครั้งสุดท้ายไปพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลชลประทานปากเกร็ด นนทบุรี จนกระทั่งถึงแก่กรรมด้วยโรคตับเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2508 รวมอายุได้ 58 ปี กับ 5 เดือน

 

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

 

นามปากกา

               - อ. มนัสวีร์, ฤดี จรรยงค์ และรุ่ง น้ำเพชร

งานเขียนครั้งแรก

-    เรื่องสั้นเรื่องแรก 'คู่ทุกข์คู่ยาก' ได้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ 'เดลิเมล์วันจันทร์'  เดือนมิถุนายน 2473 ใช้นามปากกาว่า 'อ. มนัสวีร์'

 

ผลงานรวมเล่ม

 

   นวนิยาย

-    กันยาเทวี

-    เกิดในกระท่อม

-    ฉมวกเหล็ก

-    ดอกแคแดง

-    เทพธิดามือ

-    ธาตุแค้น

-    ประตูทอง

-    ไฟปรารถนา

-    มรสุม

-    ล่องมนุษยโลก

-    เล่ห์โลกีย์

-    เลือดอัสดร

-    สามทมิฬ

-    สายนที

-    แสนแค้น

-    แสนงอน

-    เหยื่ยวทะเล

-    เหยื่อโลกีย์

-    อาชญากรรม

-    จำแลง ฯลฯ

 

   รวมเรื่องสั้น

 

-    เกิดกลางนา

-    คนกรุง

-    คืนวันหนึ่งที่ถนนตะแลงแกง

-    งิ้วไม่มีหนาม

-    จอมขวาน

-    จับตาย

-    ชายเฟือย

-    ซาเก๊าะ

-    ซึงผี

-    เฒ่าลอยลม

-    เฒ่าเสเพล

-    เฒ่าโลกีย์

-    ดอกรัก

-    เหนือหลุมศพ

-    ทะเลวน

-    ทะเลหลับ

-    มือเสือ

-    สลัดเครา

-    สินในเลือด

-    ยาสั่ง

-    เลือดลูกทุ่ง

-    อ้ายแสนเป็นโจร ฯลฯ

 

   สารคดี

 

-    ข้าพเจ้าเป็นบ้าไป 36 ชั่งโมง

-    เดินดลโหนรถเมล์

-    ฝันร้ายในชีวิตของข้าพเจ้า(เรียบเรียงจากบันทึกความทรงจำของพระยาสุรพันธเสนี)ฯลฯ

 

ปัจจุบัน

-    ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2508

 

บ้านคุณมนัส จรรยงค์ ตั้งอยู่บนถนนคลองกระแชง ติดกับวัดพลับพลาชัย ใกล้กับลานสุนทรภู่

เยือนบ้าน มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ