ร้านคิโนะคูนิยะ : ร้านคิโนะคูนิยะ เพิ่มลูกค้าเอาใจคนไทย

ร้านคิโนะคูนิยะ

ร้านคิโนะคูนิยะ

ร้านคิโนะคูนิยะ เป็นร้านหนังสือที่คนไทยหลายคนอาจไม่คุ้นเคยนัก แต่หากเป็นนักอ่านตัวยงแล้วย่อมรู้จักชื่อนี้เป็นอย่างดี ด้วยจุดเด่นที่มีหนังสือและนิตยสารให้ เลือกมากมายและหลากหลายกว่า 80,000 รายการ ซึ่งปีนี้เปิดดำเนินการครบ 10 ปีแล้ว

ร้านหนังสือร้านนี้มีต้นกำเนิดมาจาก ประเทศญี่ปุ่น มีคอนเซ็ปต์การผสมผสาน วัฒนธรรมจากตะวันตกและตะวันออกเข้า ด้วยกัน นำเสนอหนังสือและนิตยสารที่ หลากหลายทั้งภาษาญี่ปุ่น จีน และอังกฤษ เป็นหลัก ต่อมาขยายสาขาสู่ต่างประเทศ เพื่อรองรับลูกค้าญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศต่างๆ

สำหรับประเทศไทยเองร้านคิโนะ- คูนิยะเปิดสาขาแรก ที่ห้างสรรพสินค้า อิเซตัน ย่านราช- ประสงค์เมื่อปี พ.ศ.2535 ต่อมาปี พ.ศ.2540 เปิดสาขาสองที่ห้างสรรพสินค้า ดิเอ็มโพเรียม วาง คอนเซ็ปต์ให้เป็น ร้านหนังสือภาษาอังกฤษที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

การดีไซน์ร้านของทั้งสองสาขาก็แตกต่างกันตามกลุ่มลูกค้า โดยสาขาแรกจับกลุ่ม ผู้อ่านทั่วไปหรือผู้เริ่มเข้าสู่การอ่านตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ การตกแต่งเน้นบรรยากาศ สบายๆ เรียบง่าย แต่มีความคลาสสิกตาม สไตล์ดั้งเดิม

ส่วนสาขาสอง เป็นการประยุกต์ปรัชญาคาเรซันซุย (Karesansi) คือ ปรัชญาที่ ผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกและตะวัน- ออก มีการตกแต่งเพดานร้าน เป็นลูกคลื่น เพื่อแสดงให้เห็นความต่อเนื่องของศาสตร์ ความรู้ต่างๆ โทนสีที่ใช้จะเป็นสีดำกับสีทอง บรรยากาศค่อนข้างเคร่งขรึมเหมาะกับนักอ่านตัวยง

“ร้านสาขาแรกเป็นนักอ่านสมัครเล่น การออกแบบเข้าง่ายออกง่าย สาขาสองคิดว่านักอ่านคนไทยต้องการอะไรที่ลึกลงไป จึง เปิดร้านที่เอ็มโพเรียมรองรับให้เป็นร้านหนังสือภาษาอังกฤษที่ใหญ่ที่สุดในไทย เปิดปีแรก ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก แต่ปีที่สอง ยอดขายเริ่มดีขึ้น คนอ่านมากขึ้น” เป็น คำบอกเล่าของ นางสาวสุธาทิพย์ ใยเยี่ยม ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจบริษัท คิโนะคูนิยะ(ประเทศไทย) จำกัด

แม้มีสาขาน้อยเพียง 2 สาขา ทำให้คนรู้จักไม่มากนัก แต่ด้วยจุดเด่นที่มีหนังสือ ให้เลือกมากมายกว่า 80,000 รายการ คลอบคลุมทุกแขนง ตั้งแต่หนังสือสำหรับ เด็กจนถึงศาสตร์ชั้นสูง ประกอบที่ตั้งร้าน อยู่ใจกลางเมือง และการบริการที่เป็นกันเอง ก็สามารถดึงดูดลูกค้าได้ดีพอสมควร

สำหรับปีนี้เป็นปีที่ 10 ของการเปิด ดำเนินการในประเทศไทย นางสาวสุธาทิพย์กล่าวว่า ทางร้านได้ปรับเปลี่ยนแผนการ ตลาด หันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาด ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้ง การจัดโปร-โมชั่น กิจกรรมส่งเสริมการขาย การสื่อสารกับลูกค้า รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ยังจะเพิ่มสัดส่วนของหนังสือ ภาษาไทยที่สาขาอิเซตัน ให้เป็นร้านหนังสือภาษาไทยขนาดใหญ่ มีคอนเซ็ปต์คล้าย ๆ สาขาเอ็มโพเรียม เพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้า คนไทยให้เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วงนี้ถือเป็นการ ทดสอบตลาด

นางสาวสุธาทิพย์ทิ้งท้ายว่า การแข่งขัน ของธุรกิจร้านหนังสือในปัจจุบันมีสูงมาก แต่ถือว่าเป็นประโยชน์ของผู้อ่าน นโยบาย ของร้านเองในการขยายสาขายังเน้นเปิดเป็นร้านขนาดใหญ่ และต้องตั้งอยู่ทำเลใจกลาง-เมือง ต้องอาศัยการลงทุนสูง มากกว่าการเปิดสาขามากแล้วมาแข่งขันกันเอง ดังนั้นต้องมีการวางแผนเป็นอย่างที่ดี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก www.businessthai.co.th

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ