พาชม Kadokawa Culture Museum : มีอะไรในอาคารรูปร่างประหลาดตาจังหวัดไซตามะ

พาชม Kadokawa Culture Museum

      แอดหลง(ทาง) มาแล้ว รอบนี้แอดหลงมาที่หอสมุดของญี่ปุ่น ที่ใหญ่มากๆติดอันดับในญี่ปุ่น Kadokawa Culture Museum ค่าบัตร 1,400 เยน เข้าได้ทุกชั้น ซึ่งเป็นทั้งห้องสมุด และที่จัดงานนิทรรศการมากมาย แต่แอดจะพูดถึงในส่วนของ ชั้น 4 ที่เป็นในส่วนของห้องสมุด 
 

kadokawa culture museum

แผนผัง Kadokawa Culture Museum แต่ละชั้น

 

     เมื่อมาถึงชั้นสี่ โซนแรกที่เราจะพบคือ โซน Edit Town - Book Street

 

kadokawa culture museum

Edit Town - Book Street


        Book Street ยาว 50 เมตรที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของ Seigow Matsuoka แรงบันดาลใจ ฉายแสง ลมหายใจและ "ชีวิตชีวา" ของหนังสือ หนังสือกว่า 25,000 เล่มถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ทั้งหมด 9 หมวด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ที่นี่เป็นสถานที่ที่ผู้เข้าชมสามารถอ่านโลกได้อย่างแท้จริง พบกับหนังสือใหม่ๆ และสัมผัสประสบการณ์ว่าสิ่งเหล่านี้สร้างแรงบันดาลใจให้กับแนวคิดใหม่ๆ ได้อย่างไร แอดรู้สึกตื่นตาตื่นใจมากกับการจัดวางหนังสือในแต่ละหมวด

 

kadokawa culture museum

หนังสือหลากหลายหมวดในโซน Edit Town - Book Street

 

kadokawa culture museum

kadokawa culture museum

โซน Edit Town - Book Street

 

      มีการจัดวางมุมให้นั่งอ่านหนังสือ ในแต่ละหมวด แอดลองนั่งแล้วให้ความสบายให้ความรู้สึกเหมือนนั่งอ่านหนังสืออยู่ที่บ้านจริงๆ ซึ่งหนังสือที่นี่สามารถ หยิบมาอ่านได้ทุกเล่ม

      เดินถัดจากโซน Edit Town เข้ามาด้านในจะพบกับโซน Bookshelf Theater แอดก็ต้องตกใจ กับชั้นหนังสือที่สูงมากกกกกกกกก ซึ่งแอดไปอ่านมาว่า ห้องสมุดล้อมรอบด้วยชั้นหนังสือสูง 8 เมตร มีหนังสือมากกว่า 20,000 เล่ม 

 

kadokawa culture museum

kadokawa culture museum

โซน Bookshelf Theater

 

       รวมถึงสิ่งพิมพ์ของ KADOKAWA จากคอลเลกชันส่วนตัวของ Genyoshi Kadokawa ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ Kadokawa Shoten (สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอีกบริษัทหนึ่ง ผลิตหนังสือ Manga Light Novel และนิตยสาร Manga), Kenkichi Yamamoto (นักเขียนและนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวญี่ปุ่น),  Rizo Takeuchi (นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น เขาเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากผลงานบันทึกประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในสมัยโบราณและยุคกลาง), Shuzen Hokama (บุคคลที่ได้รับการรับรองเป็นหลักในการสร้างโอกินาว่าศึกษาในฐานะสาขาวิชาการ เขาเป็นผู้นำในด้านการวิจัยเกี่ยวกับโอกินาวา โดยเน้นที่ภาษาดั้งเดิม วรรณกรรม และวัฒนธรรม วัฒนธรรมดั้งเดิมของโอกินาว่ามีความสำคัญเมื่อนึกถึงญี่ปุ่นในฐานะส่วนหนึ่งของเอเชีย)

       นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับกิจกรรมการฉายภาพและเสียงในหัวข้อ "การเล่นและการโต้ตอบกับหนังสือ" ซึ่งจะมีการแสดงแสงสีเสียง ทุกๆ 30 นาที อ่อ และในงานห้ามถ่ายวิดิโอเด็ดขาดนะคะ

 

kadokawa culture museum

กิจกรรมการฉายภาพและเสียงในหัวข้อ "การเล่นและการโต้ตอบกับหนังสือ"

 

       แอดนั่งดูไปสองรอบตื่นตาตื่นใจ แล้วชอบมากๆ พอไฟดับลง ชั้นหนังสือความสูง 8 เมตร จะถูกเสกให้เป็นโปรเจคเตอร์ขนาดยักษ์ ถ่ายทอดเรื่องราวแสงสีเสียงตามหัวข้อจัดแสดง แอดเดินดูหนังสือแต่ละมุมไปเรื่อยๆจนไปพบกับหนังสือของนักวาดการ์ตูนแนวสยองขวัญในดวงใจของแอด เป็นผลงานเรื่องสั้นสยองขวัญที่แอดยังไม่เคยอ่าน ผลงานของ
อุเมซุ คาซึโอะ(Umezu Kazuo)
ปรมาจารย์นักวาดการ์ตูนแนวสยองขวัญชื่อดังของญี่ปุ่น อย่างเรื่องที่แอดเคยอ่านก็เรื่อง ฝ่ามิตินรก(The Drifting Classroom) ซึ่งหนังสือทุกเล่มในโซนนี้ก็สามารถหยิบมาอ่านได้ทุกเล่มเช่นกัน

 

kadokawa culture museum

kadokawa culture museum

ผลงานของ อุเมซุ คาซึโอะ(Umezu Kazuo)

 

แอดเดินดูหนังสือจนเมื่อย ขออนุญาตจบการพาเดินชมเพียงเท่านี้ก่อน หากเพื่อนๆ คนไหนมีโอกาสได้ไปเที่ยวญี่ปุ่น จังหวัดไซตามะ อย่าลืมแวะไปเที่ยวกันได้นะคะ

เวลาเปิด-ปิด : 10.00-18.00 น.

ราคาบัตรเข้าชม และรายละเอียดตามลิงค์นี้เลยจ้า

https://kadcul.com/en/event

หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับอรรถรส ในการอ่าน ไว้พบกันใหม่เมื่อ ‘หลงทาง’  >..<

  

Writer

Ampaporn Borworn