เปิดตัวหนังสือเรื่อง : หัวข้อเสวนา เปิดตัวหนังสือเรื่อง "พ่อ" ภาค 2 โดยผู้เขียน ปองพล อดิเรกสาร

เปิดตัวหนังสือเรื่อง

พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร


กล่าวเปิดงาน สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติ ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติแก่หนังสือเรื่อง "พ่อ" มากันคับคั่งทีเดียว สังเกตว่ามีคนมาเที่ยวชมและซื้อหนังสือมากมาย รู้สึกว่าคนไทยมีความเจริญและมีการอ่านหนังสือกันมากขึ้น เป็นการแสดงถึงความเจริญของมนุษย์เรา โดยเฉพาะคนไทยที่มีวิวัฒนาการสืบต่อมา วิวัฒนาการของหนังสือนั้นการเขียนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดและผู้ที่จะอ่านหนังสือนั้นก็มีความสำคัญมากที่จะวินิจฉัยถึงความดี ความงาม อรรถรสของหนังสือนั้นเป็นประโยชน์มากเพียงใด ผมก็อยากจะกราบเรียนว่า หนังสือเกือบทุกเล่มถ้าอ่านแล้วใช้ความคิดจะมีประโยชน์ ในเรื่องการเขียนถ้ายิ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้เขียนหนังสือมาแล้วก็จะเป็นหลักเป็นบรรทัดฐานของคนให้มีความรู้ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น สุดแท้แต่ละคนจะมีความรู้ความสามารถไปในทางใดบ้าง บางคนมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ บ้างก็มีความรู้ทางเคมี

สำหรับวันนี้มีการเปิดตัวหนังสือเรื่อง "พ่อ" ของคุณปองพล อดิเรกสารในภาค 2 ตอนจบ สำหรับเรื่อง "พ่อ" ภาค 2 นี้ ผมเห็นข้อสังเกตอยู่ว่า คุณปองพลเขียนไว้ว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เลยตั้งแต่ต้นจนจบ จะมีแต่ตอนกลางเท่านั้นที่มีการเพิ่มเติมในส่วนนวนิยายลงไปเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่ตะรุเตามาจนบัดนี้ คุณปองพลได้เขียนหนังสือที่มีประโยชน์มากในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง ประวัติศาสตร์ จะเห็นถึงสิ่งที่คุณปองพลเขียนขึ้นนั้นยังประโยชน์ให้กับทุกคนที่ได้อ่าน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นหนังสือเรื่อง "พ่อ" ทุกคนคงนิยมองค์สมเด็จพระนเรศวรที่ทรงกู้ชาติ แต่ว่าคุณปองพลจะเขียนในเรื่อง "พ่อ" พ่อขององค์สมเด็จพระนเรศวร ทรงมีความสำคัญมากเช่นกัน ทรงปลุกปั้นสมเด็จพระนเรศวรให้เป็นรัฐบุรุษ มีความสามารถในการรบ ในการเมือง ที่ชี้ให้เห็นในแต่ละเรื่องแต่ละบทในหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะหนังสือนี้จะแสดงให้เห็นว่ากิจการทั้งหลาย ด้านการทหารสมัยนี้และอาจจะถึงสมัยต่อไป ได้มีการใช้วิธีการเดียวกับองค์สมเด็จพระนเรศวร เช่นการรบด้วยความว่องไว อย่างนี้เป็นต้น ตามยุทธวิธีการทหารที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง "พ่อ" ของคุณปองพล เป็นต้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างเช่น ตอนนั้นทางพม่าได้ส่งพระยาพสิมมากับพระเจ้าเชียงใหม่ ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา แบ่งออกเป็น 2 กองทัพ คือกองทัพเชียงใหม่ กับกองทัพพระยาพสิม เมื่อ 2 กองทัพรวมกันมีกำลังไพร่พลมากกว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก แต่พระนเรศวรก็สามารถเอาชนะได้ ด้วยการเลือกรบทีละกอง หรือแม้แต่สิ่งต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำในการรบ แม้แต่ทหารเอกของท่านถ้าไม่เชื่อฟังคำสั่งก็สั่งให้ตัดหัว เช่น สั่งให้ถอยทัพ ไม่ถอย ท่านบอกว่าให้เอาหัวมันมา ก็ต้องถอยทัพ แล้วก็ซุ่มโจมตีจนแตกทัพ เป็นต้น วิธีการต่าง ๆ เราจะแลเห็นว่าแม้ในรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระราชวังบวร ซึ่งท่านคงทราบแล้วว่ามีสงครามเก้าทัพ แต่เราก็ชนะมาได้ นี่ก็เหมือนกันกองทัพพม่ามีกำลังพลมากว่าเราถึงเท่าตัว

โดยเลือกกลวิธีในการสกัดกองทัพพม่าให้อยู่กับไหล่เขาไม่สามารถลงมาข้างล่างได้ กองทัพพม่าอยู่บนเขาหาเสบียงไม่ได้ เราก็รบชนะ แสดงให้เห็นว่าวิธีการต่าง ๆ ที่คุณปองพลเขียนในเรื่อง "พ่อ" ทั้งตัวพระมหาธรรมราชา ตั้งอุบายต่าง ๆ ถูกสอนไว้จึงแลเห็นว่าในการเขียนเรื่อง "พ่อ" ขึ้นมานั้นเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ ในโอกาสนี้ที่มีการเปิดตัวหนังสือผมได้มากล่าวในวันนี้ เพื่อจะชี้ให้เห็นแนวทางในการเขียนเรื่องนี้โดยเฉพาะ ผมจะขอกล่าวอีกนิดว่า ในประเทศไทยนี้มีคนสนใจเรื่องภาษามาก และยิ่งคนที่มีความรู้เขียนหนังสือขึ้นมามาก ๆ ก็ยิ่งจะทำให้เป็นประโยชน์กับประเทศไทยมากขึ้น วันนี้ผมขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่มาให้เกียรติกับหนังสือเรื่อง "พ่อ" ในวันนี้ ขอบคุณมากครับ

ฉายสไลด์เบื้องหลังงานเขียน 1 ทศวรรษ Paul Adirex (ปองพล อดิเรกสาร)
ริ่มต้นการเสวนาเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง "พ่อ"

รื่นฤทัย : กราบสวัสดีค่ะ ดิฉันเพิ่งทราบจากในสไลด์ว่าเป็นกัลยาณมิตรของท่าน ก็ถือว่าโชคชะตาได้พัดพาให้ได้มาทำงานร่วมกับท่าน และดิฉันก็เป็นส่วนเล็ก ๆ นิดเดียวที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือท่าน รวมทั้งท่านวิทยากรที่นั่งอยู่บนนี้ด้วย ก็ขอ กราบสวัสดีอีกครั้งหนึ่งนะคะ ในเรื่องราวที่จะพูดตรงนี้ จะเป็นการทำงานของท่าน หลังจากที่ได้ดูสไลด์เบื้องหลังการทำงานของท่านไปแล้ว จะมีผู้ร่วมพูดคุย 2 ท่านด้วยกัน คือคุณพลาดิศัย สิทธิธัญกิจ และ คุณพิมลพร ยุติศรี ท่านวิทยากร 2 ท่านที่อยู่บนเวที มีเรื่องราวที่จะพูดถึงคุณปองพลแตกต่างกัน ดิฉันขอแนะนำวิทยากร 2 ท่านนี้ก่อนค่ะ โดยเริ่มจากสุภาพสตรี คุณพิมลพร ยุติศรี เป็นกรรมการผู้จัดการของ Tuttle Mori Agency ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลซื้อขาย เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ทั่วโลก เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์, ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ซึ่งตอนนี้ก็สนใจจะพิมพ์วรรณกรรมไทยออกไปเผยแพร่ต่างประเทศ และงานของคุณปองพล ก็เป็นที่น่าสนใจ อีกท่านหนึ่งคือคุณพลาดิศัย ท่านเป็นนักเขียนอิสระ เขียนงานมาตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน มาจนถึงบัดนี้มีงานเขียนมากกว่า 100 ชิ้น และยังมีบทความต่าง ๆ มากมาย หนังสือสำคัญ ๆ ที่เขียน เช่นพระบรมรูปทรงม้า สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กัลยาชาวสยามเล่มนี้เล่าเรื่องพระสุริโยทัย เป็นต้น ขอแนะนำเพียงสั้น ๆ ดิฉันขอเรียนเชิญคุณพลาดิศัยเล่าถึงการค้นคว้าข้อมูลของท่านปองพล อดิเรกสาร ที่เราได้ดูจากสไลด์ไปแล้ว ท่านมีการค้นคว้าข้อมูลอย่างมากมาย ดังที่พลเอกประมาณ อดิเรกสารท่านพูดไว้ ถึงเรื่องของการรวบรวมข้อมูลทั้งหลายมาเป็นหนังสือเรื่อง "พ่อ" เล่มนี้ คุณพลาดิศัยจะพูดในแง่มุมน

พลาดิศัย : ขอบคุณครับ ที่จริงวันนี้ตื่นเต้นมาก เพราะว่าเจ้านายในกระทรวงศึกษาธิการมากันมากมาย

รื่นฤทัย : ดิฉันก็ตื่นเต้นไปด้วย

พลาดิศัย : ที่ผมทำงานให้ท่าน ท่านยังไม่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา ตอนนี้ถือว่าท่านเป็นผู้บังคับบังชาสูงสุด ก็เลยทำตัวยากสักนิด สำหรับเรื่องของท่านผมอ่านตั้งแต่ ภาค 1 ถึงภาค 2 ถ้าจะว่าไป การเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ จะมีการเขียนมาช้านาน อย่างเช่น ยาขอบ ลพบุรี หลวงวิจิตรวาทการ ส่วนใหญ่รุ่นเก่าจะเขียนเหมือนแต่งขึ้น แต่ท่านที่เขียนแล้วมีสาระในอดีตมีน้อยมาก นิยายที่มีสาระของตัวละครในประเด็นที่ท่านปองพลพูดในเรื่องพระมหาธรรมราชามาเน้นเรื่อง "พ่อ" ในเรื่องนี้ท่านให้ความสำคัญของพระมหาธรรมราชาอยู่ก่อนแล้วก็มีท่านอาจารย์ประเทือง สุธโยพล ซึ่งเป็นอาจารย์ผมเองสอน ม.8 ได้ให้ความสำคัญกับพระมหาธรรมราชามาก ในขณะนั้นประวัติศาสตร์ที่เรียนไม่มีใครยกย่องพระมหาธรรมราชาที่เราเห็นว่า ทำไมถึงมีพระโอรสที่เข้มแข็ง ทั้ง 2 พระองค์ทั้งพระเอกาทศรถที่ต้องรบพร้อมกัน ในสมัยนั้นพระนเรศวรจะรบคู่กันในกรุงศรีอยุธยา แต่ในประวัติศาสตร์เราเขียนแยกกันไม่ได้รบคู่กัน อย่างพระมหาธรรมราช ถ้าอ่านในพงศาวดารในหลายฉบับไม่ได้ให้ความสำคัญ แล้วเราจะมองเห็นว่าเข้าข้างพม่าเป็นอย่างมากเลย ซึ่งอาจารย์ประเทืองเคยวิเคราะห์ให้ฟังแล้วก็ประทับใจ ซึ่งไม่มีใครเขียนตรงนี้ให้ชัดเจน พอดีท่านปองพลมาเขียนก็รู้สึกยิ้มอยู่ในใจว่ามีท่านมาเขียนอยู่ตรงนี้ เพราะพระมหาธรรมราชาไม่ค่อยมีใครยกย่องตรงนี้จริง ๆ แต่เท่าที่ผ่านมาท่านไม่ได้เปลี่ยนประวัติศาสตร์ แต่ท่านได้เขียนจากร่างนิยายที่เป็นประวัติอ่านดูได้ทุกหน้าในช่วงการเดินเรื่องของประวัติศาสตร์ท่านค้นคว้ามาดี ใช้ทุกเรื่องที่เป็นศาสตร์ของประวัติศาสตร์ ถ้าดูในหน้า 175 จะเห็นท่านใส่ตำแหน่งขุนนางที่ค่อนข้างจะชัดเจนในสมัยอยุธยา ในหน้า 387 ท่านพูดถึงปืน ยิงข้ามแม่น้ำสะโพง ซึ่งปืนนี้ยาวมากเลย ถ้าไปเอามาแล้วจะยิงได้อย่างไร ท่านก็ใช้วิธีเอาเหล็กปักไว้ อยากให้พี่พนมเทียนมาช่วยอธิบายครับ เพราะว่าเก่งเรื่องปืนมาก อย่างตอนเด็กผมจะมีปัญหามาก เรื่องปืนมันยาว แล้วจะยิงได้อย่างไร ซึ่งต้องยิงข้ามแม่น้ำสะโพง 200 เมตร ที่ท่านเขียนสามารถจินตนาการได้ว่า จะต้องเอาเหล็กปักไว้ เห็นภาพชัดเจน เป็นการจินตนาการที่สมจริง อีกเรื่องหนึ่งคือพระราชพิธี ในหน้า 170 พระมหาธรรมราชาเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วต้องไปถวายพระศรีสรรเพชญซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเช่นเดียวกับพระแก้วมรกต ท่านก็สอดแทรกพระราชพิธีเช่นนี้ด้วย ยิ่งยุทธวิธีด้วยแล้วท่านได้ใส่ตำราพิชัยสงครามเอาไว้ เช่น 201-219 อ่านแล้วจะรู้ได้เลยว่า จัดกระบวนทัพอย่างไรซึ่งเป็นสาระที่ค่อนข้างชัดเจน แล้วเรื่องประวัติศาสตร์ถ้าเขียนง่ายคือการย่อพงศาวดารมาเขียนเลย จะง่าย แต่ที่ยากคือเอาสาระประวัติศาสตร์มาจินตนาการให้สมจริง ถ้าอ่านแล้วจะมีความรู้สึกว่าเราทิ้งพ่อคนนี้ไปได้อย่างไร จะรู้สึกจริง ๆ แล้วท่านก็ทำให้เราสมใจว่า พระมหาธรรมราชามีความสำคัญ อันนี้เป็นประเด็นที่ทำให้คนคิดว่าเราทิ้งพ่อคนนี้ไปได้อย่างไร

รื่นฤทัย : ขอบคุณคุณพลาดิศัยมากนะคะ ตามโปรแกรมของเรายังมีนักเขียนอีกท่านหนึ่งที่จะขึ้นมาพูดตรงนี้ คือ คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "พนมเทียน" ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ แต่บังเอิญว่าสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นพิมพ์หนังสือเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนเพิ่งจะเสร็จแบบอุ่น ๆ ส่งไปถึงมือคุณพนมเทียนก็เมื่อวานนี้เอง จึงไม่มีเวลาอ่าน จึงขออนุญาตไม่อยู่บนเวที แต่วันนี้ก็มาให้กำลังใจ ผู้ที่เดินบนถนนสายวรรณกรรมนี้ด้วยกันนะคะ วันนี้ขอให้ที่ประชุมปรบมือแสดงความยินดีและต้อนรับคุณพนมเทียน

กลับมาสู่รายการบนเวทีอีกครั้งนะคะ ยังมีอีกท่านหนึ่งที่จะพูดถึงเรื่องงานของคุณปองพลแต่พูดในอีกประเด็นหนึ่ง คุณพิมลพร มีความสนใจในงานเขียนของ พอล อดิเรกซ์ หรือ ปองพล อดิเรกสารเป็นอย่างมาก ได้อ่านจบไปแล้ว 2 เล่มในเวลาอันรวดเร็ว แล้วก็มองเห็นว่าเป็นวรรณกรรมที่น่าส่งเสริมออกสู่ตลาดเวทีโลกได้ ยิ่งในงานที่คุณพิมลพรทำอยู่ได้พบปัญหาที่ว่า วรรณกรรมของไทยก้าวไปสู่เวทีวรรณกรรมโลกในประเทศอื่นได้ช้า คุณพิมลพรจะมาพูดให้ฟังว่าเกิดเพราะอะไรบ้าง แล้วเราจะได้รู้ว่าเราสามารถแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร

พิมลพร : สวัสดีทุกท่านที่อยู่ในที่นี้นะคะ ดิฉันคิดว่าปัญหาอย่างแรกที่เกิดขึ้น คือนักเขียนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้งานเขียนไปสู่ตัวสำนักพิมพ์ได้ ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง ต้องทำรูปแบบใดบ้าง ประการที่สอง คือ เราเคยเสนองานหลายชิ้นไปให้ต่างชาติแต่เราได้รับการคอมเมนต์ต่าง ๆ กลับมา ไม่ใช่งานเขียนของนักเขียนท่านนั้นไม่ดีนะคะ ทุกชิ้นเป็นที่น่ายกย่อง และมีเสน่ห์ในตัวงานเขียน แต่ว่าจุดที่ชาวต่างชาติให้คำแนะนำมา งานเขียนมีความเป็นสุภาพบุรุษมากเกินไป ทำให้เขานำไปทำการตลาดได้ยาก ถ้าจะมองในแง่การตีพิมพ์ของเขา

รื่นฤทัย : จุดสำคัญในงานวรรณกรรมในแง่สากลเมื่อเผยแพร่ออกไปแล้วไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด วัฒนธรรมใด เมื่ออ่านจากภาษาที่ถ่ายทอดเป็นศัพท์ของเขาแล้วน่าจะเข้าใจสิ่งที่เป็นสาระในตัวเรื่องได้ ไม่ใช่จำกัดอยู่ในวงการแคบ ๆ ประการที่สองคือเราไม่ทราบเลยว่าทิศทาง ที่จะก้าวไปสู่เวทีโลกเป็นอย่างไร การที่มีเอเจนซี่ในการช่วยประคับประคองเป็นสิ่งที่ดี ฯพณฯ ท่านปองพล อดิเรกสาร ท่านเริ่มงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยตั้งใจว่าจะให้วรรณกรรมไทยก้าวไปสู่เวทีโลก ซึ่งต้องอาศัยภาษาเป็นกุญแจการเปิดเวทีวรรณกรรมโลก เพราะฉะนั้นจึงต้องให้ภาษาอังกฤษที่ถือว่าเป็นภาษาสากล ส่วนนักอ่านที่เป็นคนไทยก็มีการแปลเป็นภาษาไทยให้ ซึ่งตรงนี้ก็ประสบความสำเร็จพอสมควร เราจะมีนักเขียนไทยที่เขียนต้นฉบับเป็นภาษาต่างประเทศน้อยมากเลยทีเดียว สิ่งที่คุณพิมลพรพูดนี้ไม่ใช่หมายความว่าทุกคนจะต้องเขียนเป็นภาษาต่างประเทศใช่ไหมคะ การที่นำเสนอเรื่องออกไปอาจจะเป็นภาษาไทย เพียงแต่ว่า ทำเรื่องย่อ การแปลน่าจะเป็นกระบวนการทีหลังถ้าเขาสนใจแล้ว ก็จะถูกถ่ายทอดเป็นภาษาต่าง ๆ ตอนนี้มาถึงประเด็นงานเขียนของคุณปองพล อดิเรกสาร มีอะไรเป็นจุดสนใจที่คุณพิมลพรเห็นว่างานเขียนของท่านน่าจะก้าวไปสู่บนเวทีวรรณกรรณโลกได้

พิมลพร : คือตอนแรกที่ดิฉันไปเจองานเขียนของท่านที่แฟรงก์เฟิร์ตก็สะดุดใจปกหนังสือ ชื่อเรื่อง ชื่อท่าน

รื่นฤทัย : ท่านออกแบบเองและตั้งชื่อเรื่องเองค่ะ

พิมลพร : ซื้อมาเก็บเอาไว้ว่าจะอ่านเมื่อตอนเดินทาง แล้วก็ทิ้งเอาไว้ไม่ได้อ่าน แต่พอคิดว่าถ้าเราจะนำวรรณกรรมท่านออกไปสู่เวทีโลกเราต้องรู้จักงานของท่านเลยคิดว่าจะเอามาอ่านสักบท สองบทเพื่อให้รู้จักงานของท่าน แต่ ดิฉันไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ พออ่านแล้วถึงเช้าเลย ต้องยอมรับว่างานเขียนมีความเข้มข้น แต่ดิฉันใช้ความเป็นส่วนตัวพูดนะคะ การวางโครงเรื่องเป็นสากล ข้อได้เปรียบของท่านคือเขียนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ทำให้ใช้เวลาน้อยลง

รื่นฤทัย : เรื่องที่ได้อ่านแล้วมีเรื่องอะไรบ้างคะ ตอนนี้เรื่องของท่านที่เป็นภาษาอังกฤษมีอยู่ 4 เล่มเรื่องใดที่น่าจะเปิดตัวออกไป จริง ๆ ท่านเปิดของท่านอยู่แล้วนะคะ แต่จะทำให้กว้างขึ้น

พิมลพร : เท่าที่อ่านดูแล้วนะคะน่าจะเป็น ตราบจนสิ้นกรรม ตะรุเตาและแม่โขง น่าจะเป็น 3 เรื่องนี้ที่คิดว่าเป็นความสนใจในวงกว้าง แต่สำหรับเรื่อง "พ่อ" เองก็มีความมั่นใจว่า มีคนที่สนใจในงานลักษณะนี้

รื่นฤทัย : นะคะขอบคุณมากค่ะ ในส่วนของคุณพลาดิศัย พูดถึงในการค้นคว้าหาข้อมูล และคุณพิมลพรพูดถึงในมุมมองที่เป็นสายตาของชาวต่างชาติมีความสนใจอย่างไรบ้าง และเราก็ได้กล่าวถึงคุณพนมเทียนมาแล้ว ฯพณฯท่านปองพล อดิเรกสาร อยากจะให้คุณพนมเทียนพูดอะไรซักนิดหนึ่งค่ะ คงไม่ได้เป็นเรื่องพ่อโดยตรง เพราะท่านยังไม่ได้อ่าน แต่หลังจากที่ได้ดูสไลด์เบื้องหลังการทำงานของท่าน มีอะไรที่จะพูดถึงงานของท่านอย่างไรบ้าง คงจะต้องเรียนเชิญค่ะ

พนมเทียน : สวัสดีครับท่านผู้มีเกีรยติที่เคารพและท่านผู้อ่านที่รัก บทประพันธ์ ของ พอล อดิเรกซ์ หรือ ท่านปองพล อดิเรกสาร ผมเพิ่งมีโอกาสได้อ่านอย่างรีบด่วนกะทันหัน แทบจะไม่มีเวลาได้หลับนอนเลย โดยเฉพาะ "พ่อ" ภาคสอง เพิ่งจะพิมพ์เสร็จแล้วส่งไปให้ผมเมื่อวานนี้เอง ครั้งแรกสุดผมก็รู้สึกหนักใจมาก แต่พอผมเปิดอ่านไปแล้ว ก็รู้สึกว่า "พ่อ" ภาคหนึ่งได้มีการย่อเรื่องราวเอาไว้ใน "พ่อ" ภาค 2 แล้ว จึงไม่ต้องไปเสียเวลาอ่านภาคหนึ่ง พออ่านภาคสองแล้ว แทนที่จะได้หลับได้นอนก็พาลตื่นเลยครับ นี่ผมพูดอย่างนักอ่านคนหนึ่งครับ เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ห่างไกลจากประวัติศาสตร์เลย แต่สามารถนำมาร้อยเรียงได้อย่างเหมาะสมรัดกุมและสวยงามยิ่ง ระหว่างจุดที่หนึ่ง ถึงจุดที่สอง จุดที่สามและสี่เรื่อย ๆ ไป ช่องว่างที่เรารู้กันมาระหว่างที่เรียนประวัติศาสตร์ไม่รู้ที่มาว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านปองพลสามารถจะสร้างเหตุการณ์ สร้างบรรยากาศ และเรื่องราวขึ้นมาให้ต่อเชื่อมกันได้อย่างสมเหตุสมผลที่สุด จนกระทั้งมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องจริงจังที่ท่านได้เขียนขึ้น และสามารถพูดได้ว่าท่านสามารถสร้างนิยายที่มาจากประวัติศาสตร์รัดกุม เฉียบแหลม และขอกล่าวอย่างเต็มปากว่า ท่านนี้เป็นอัจฉริยะอย่างสูง ผมเองในฐานะที่เป็นนักประพันธ์เขียนเรื่องขึ้นมา ผมเคยคิดว่าอยากจะเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนพระนเรศวรมหาราชอย่างที่ท่านได้เขียนมาแล้วนี้ แต่ผมก็ไม่สามารถจะเขียนขึ้นมาได้ เพราะเห็นว่าผมไม่มีความจัดเจน หรือเชียวชาญพอในด้านธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ในสมัยเมื่อ400 ปีกว่า จึงเป็นเรื่องที่ผมไม่สามารถจะเขียนได้คือประวัติศาสตร์ไทย แต่ท่านปองพล อดิเรกสาร ท่านสามารถเขียนได้อย่างแยบยลที่สุด ข้อนี้ทำให้ผมรู้สึกว่า ท่านผู้นี้ทำได้ครับ หลังจากผมได้อ่านชนิดที่ว่า อดตาหลับขับตานอนมา เมื่อคืนนี้ก็ไม่ได้นอนนะครับอ่านจนจบ ก็มีความรู้สึกว่าหลังจาก "พ่อ" ภาค 2 พอสำนักพิมพ์ได้เขียนเป็นบทอวสานไปแล้วนี้ ผมคิดว่ายังไม่อวสานหรอกครับ ผมว่าคงจะมี "พ่อ" ภาค 3 ต่อไปข้างหน้า ผมก็ไม่คิดว่าท่านจะมีเวลามาเขียนต่อไปเมื่อไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมอย่างจะให้ท่านเขียนตอนพิธีปฐมกรรมพระยาละเวงกับตอนที่สำคัญที่สุดคือตอนยุทธหัตถี และล่วงเลยไปจนถึงตอนตีกรุงหงสาวดีจนกระกรุงหงสาวดีย้ายไปอยู่ที่กรุงอังวะ แล้วท่านก็ตามไปที่กรุงอังวะ จนท่านสิ้นพระชนม์ที่เมืองหาญ นี่เป็นประวัติศาสตร์ที่ผมทราบมาอย่างคร่าว ๆ นะครับ จนมาถึงที่นี้ผมอย่างจะบอกว่าหนังสือ "พ่อ" ของคุณปองพลเป็นหนังสือที่อ่านสนุก จะมีขนาดไหนผมไม่ทราบรู้แต่ว่าผมอ่านแล้วสนุก หนังสือทุกวันนี้ที่เขียนออกมาอยากจะให้อ่านแล้วสนุกไม่ใช่อ่านแล้วหลับ หรือว่าอ่านแล้วพับเก็บไม่รู้ว่าจะอ่านต่อเมื่อไร ถ้าหากท่านพอจะหาเวลาว่างได้ "พ่อ" ภาค 3 ก็คงจะออกมาให้พวกเรานักอ่านได้ ชื่นชม ขอขอบพระคุณครับ

รื่นฤทัย : ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งคะคุณพนมเทียน ขออนุญาตเรียกนามปากกานะคะ คุณพนมเทียนเกรงไปเองว่าขึ้นบนเวทีแล้วจะพูดไม่ได้ดี เพราะว่าเวลากะทันหันในการอ่าน แต่จริงแล้วก็ใช้เวลาอ่านตลอดทั้งคืนในการอ่านหนังสือเล่มนี้และก็พูดได้อย่างครบถ้วนในความรู้ลึกของคนที่เป็นนักอ่านและนักเขียนจริง ๆ ค่ะ ต้องขอขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง คงจะได้เห็นว่าแต่ละท่านมีต่างมีทัศนะเกี่ยวกับหนังสือ "พ่อ" ในมุมของแต่ละท่านเองนะคะ ตอนนี้คุณพลาดิศัยมีอะไรจะเพิ่มเติมในแง่ของการค้นหาข้อมูลของท่านค่ะ

พลาดิศัย : ผมอยากจะกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ตรงที่มีแผนที่ประกอบด้วย ท่านต้องไปสำรวจพื้นที่ของแผนที่นี้ด้วยนะครับว่ามันอยู่ตรงไหนอย่างไร เพื่อให้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น เพราะอยากจะแนะนำท่านว่าอันที่จริงน่าจะมีตารางแผนภูมิราชวงศ์ ใส่ตรงด้านหน้า ในการพิมพ์ครั้งที่สอง เพื่อให้การศึกษาประวัติศาสตร์ชัดเจนขึ้น แล้วที่สำคัญในการเขียนท่านมีการสมมุติตัวละคร เช่น หมื่นศรสำแดง คนนี้เก่งทางศร หรือ ขุนโจรพลร้าย และสถานพลแสน ปรากฏอยู่ในนั้นสร้างความสนุกไม่ให้เสียประวัติศาสตร์ ในเรื่องยศขุนนางก็มีความสำคัญในการทำงานด้วย ซึ่งท่านก็ตั้งชื่อเรื่องตามพงศาวดาร ในเรื่องประวัติศาสตร์ให้สนุกนั้นยากนะครับ เพราะมีการกำหนดกรอบประวัติศาสตร์ไว้แล้ว แต่ท่านทำให้สนุกได้ถือว่าท่านเป็นนักเขียนที่เรายอมรับครับ ขอบคุณครับ

รื่นฤทัย : ขอบคุณค่ะ คงถึงช่วงเวลาที่ทุกท่านรอคอย อย่างรู้ว่าจริง ๆ แล้วท่านมีการทำงานอย่างไร มีการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างไร เขียนสิ่งที่อ่านแล้ววางไม่ลงอย่างนี้ คงต้องขอขอบคุณวิทยากรทั้ง 2 ท่านและเราทั้ง 3 คงจะเลือกไปนั่งฟังกันข้างล่าง ขอกราบเรียนเชิญ ฯพณฯ ปองพล อดิเรกสาร ค่ะ

ปองพล :  กราบเรียนคุณพ่อ ประมาณ อดิเรกสาร คุณพ่อตัวจริง ต้องขอขอบคุณทุกท่าน โดยเฉพาะคุณพนมเทียน ที่กรุณามาร่วมงานทั้งคุณพลาดิศัย และคุณพิมลพรที่ได้มาวิจารณ์การทำงานของผม รู้สึกดีใจที่คุณพนมเทียนอ่านหนังสือของผมแล้วไม่ได้นอน แต่แค่คืนเดียว แต่ว่าผมอ่านหนังสือของท่านไม่ได้นอนตั้งหลายคืนเลยทีเดียว 48 เล่มผมอ่านจนจบ ผมอ่านหนังสือของท่าน แล้วบทประพันธ์ของท่านมีผลต่อชีวิตผมมากมาย ทั้งส่วนตัวและการทำงาน ทุกท่านรู้จักเล็กครุฑ ทุกท่านรู้จักชูชัยสายลับในเรื่องนั้น ผมอ่านตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก ใฝ่ฝันเหลือเกินว่าจะไปทำงานในส่วนราชการลับ อ่าน เจมส์ บอนด์ อ่านเรื่องสายลับอเมริกัน ผมอ่านหมดแหละครับ มาถึงประเทศไทยผมทำงานอยู่กระทรวงศาสตรา อยู่ 6 ปีจึงพบคุณพนมเทียน ผมมาอ่านเพชรพระอุมา ชอบเดินป่าเป็นชีวิตจิตใจ งานของท่านมีผลต่อการดำเนินชีวิตของผม ตลอดจนการเป็นนักเขียนด้วย มันซึมซาบไปอย่างไม่รู้ตัว ผมตัดสินใจเขียนเรื่อง "พ่อ" เพราะผมสนใจในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประวัติของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งมีข้อเท็จจริงอยู่ว่าในประวัติศาสตร์พูดถึงพระมหาธรรมราชาในทางที่ไม่คอยดีนัก แต่พอผมไปอ่านประวัติสมเด็จพระนเรศวรตอนที่ พระนเรศวรประกาศอิสระภาพปรากฏว่าท่านยังไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ สมเด็จพระนเรศวรไปประกาศอิสระภาพได้อย่างไรในขณะที่ท่านยังไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งนั่นเป็นจุดที่ผมสนใจขึ้นมา ไปค้นหา หลายท่านอาจจะไม่คุ้นเคยกับสมเด็จพระมหาธรรมราชา แต่ถ้าพูดถึงขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งเป็นน้องของขุนวรวงศากับท้าวศรีสุดาจันทร์ ทุกคนร้องอ๋อเลย ซึ่งขุนพิเรนทรเทพเป็นคนเดียวกับ สมเด็จพระมหาธรรมราชา เพราะฉะนั้นถ้าพูดภาษาชาวบ้านเรียกว่าไม่ธรรมดา เรียกว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการในขณะนั้น ปราบขุนวรวงศากับ ท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ แล้วก็เชิญพระเทียนราชาขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์ โดยไม่คิดถึงผลตอบแทน เมื่อพระเทียนขึ้นครองราชย์ก็ได้ตอบแทนและสถาปนาขึ้นเป็น พระมหาธรรมราชา ปกครองเมืองพิษณุโลกสมัยก่อนนั้นพระมหากษัตริย์ ที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง แต่อุปราชจะครองเมืองพิษณุโลก เป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด แล้วพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดา ให้เป็นพระมเหสีของขุนพิเรนทรเทพหรือพระมหาธรรมราชาด้วย พร้อมทั้งอยู่ที่พิษณุโลกเพราะฉะนั้นเมื่อดูประวัติขององค์สมเด็จพระมหาธรรมราชาแล้วไม่ธรรมดาเลย เมื่อศึกษาแล้วในสมัยนั้นมีนักรบที่เชียวชาญ อยู่ 2 ท่าน คือ บุเรงนองกับพระมหาธรรมราชา ผมใช้คำว่ากินกันไม่ลง คือ เขี้ยวกันทั้งคู่ จากการค้นคว้าของผมเห็นว่า เรายกย่ององค์สมเด็จพระนเรศวรว่ารบเก่งและยกย่องสมเด็จพระเอกาทศรถ เรายกย่องพระสุพรรณกัลยา แต่เราไม่ยกย่องถึงพระชนกชนนีของทั้ง 3 พระองค์ ผมจึงมีแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้ เลยเขียน "พ่อ" ภาค 1 มาจนถึง ภาค 2 ผมเองเรียนว่าผมไม่ได้เปลี่ยนประวัติศาสตร์ เรารู้ตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ตรงกลางเราไม่ทราบว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงวางแผนให้องค์สมเด็จพระนเรศวรอย่างไร ทำไมพระนเรศวรถึงเก่ง เราไม่รู้ว่าทำไมถึงบอกว่าพระยาจักรีถึงทรยศต่อแผ่นดิน ถูกบุเรงนองประหารชีวิต แต่อยากจะบอกว่าในการเขียน ผมชอบประวัติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก ได้อิทธิพลมาจากคุณพ่อของผม ท่านเก็บหนังสือต่าง ๆ ไว้มากมายเกี่ยวกับบุคคลสำคัญ ผมก็ไปเก็บของท่านมาอ่านหมด ทั้งสามก๊ก รามเกียรติ์ ผมอ่านหมดจนเลย ที่มาของผมคือเป็นคนชอบอ่านหนังสือ แล้วผมก็มาค้นคว้าและก็วางเรื่องต่าง ๆ ในการเขียนแต่ละเรื่อง เรามีแรงบันดาลใจในชีวิต ผมนี้ตั้งแต่เขียนหนังสือจะมีความผูกผันกับคนในอดีต ผมเขียนเรื่องแม่โขง เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านประวัติพระอาจารย์มั่น คุณธิดาเป็นศิษย์ของหลวงตามหาบัว ตอนเขาไปที่อุดรผมไปด้วย แล้วหลวงตามหาบัวก็ให้หนังสือมาพิมพ์ประวัติอาจารย์มั่น ตอนนั้นผมยอมรับว่าไม่ค่อยอ่านหนังสือธรรมะมากเท่าไร แต่ตอนนั้นผมอ่านประวัติพระอาจารย์มั่น ผมอ่านจนจบ พระยานาคในน้ำบนบกทิ้งรอยปรากฏเอาไว้ ผมอ่านแล้วก็เชื่อที่มีเหตุต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอาจารย์มั่น ชื่อทางพระของท่านคือ ภูริทัตโต ซึ่งเป็นชื่อของชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่ถวายพระชาติเป็นพระยานาค พระอาจารย์มั่นได้พูดถึงพระยานาคตอนไปธุดงค์พระยานาคจะไปสนทนาธรรมกับท่าน ตอนผมเขียนเรื่องแม่โขงจบ 2 ปีต่อมา ผมก็ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รหัสกล่าวขานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ พระยานาค 1 แปลกนะครับทางขึ้นกระทรวงเกษตรมีพระยานาคตรงทางขึ้น 2 ตัว และตราของกระทรวงเกษตร ก็มีพระพิรุณยืนอยู่บนพระยานาค มันเป็นความผูกพัน

เมื่อผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวร เมื่อครั้นที่พระมหาธรรมราชาประทับที่พิษณุโลก สมเด็จพระนเรศวรทรงประสูติที่พระราชวังจันทร์ ก็มีความเกี่ยวเนื่องกัน ไม่นานมานี้ผมไปที่จ.พิษณุโลก ท่านผู้ว่าพาผมไปที่โรงเรียนพิษณุโลกวิทยาคม ซึ่งสร้างทับพระราชวังจันทร์อยู่ได้ 80 ปี ในที่สุดก็มีความพยายามที่ว่าจะทำอย่างไรให้ย้ายฟื้นฟูพระราชวังจันทร์ขึ้นมา คงต้องย้ายโรงเรียนพิษณุโลกออกไปแล้วบูรณะพระราชวังจันทร์ขึ้นมา ตอนนั้นผมนั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผมก็มาดำเนินการเสนองบประมาณบูรณะพระราชวังจันทร์ เป็นเงิน 400 ล้านบาท ผมเสนอ ครม.อนุมัติไม่มีใครถามสักคำและก็ผ่านรัฐสภา นี่ครับมันมีความแปลก

ซึ่งในความแปลกต่อมาตอนที่ผมนั่งทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ วังจันทร์เกษมเป็นชื่อวังที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาสร้างให้พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถเมื่อท่านเสด็จมาจากพิษณุโลก เรียกว่าวังหน้า ซึ่งวังจันทร์เกษมเมื่อตอนผมเป็นพระยานาค 1 ผมก็ทำงานที่วังจันทร์เกษม ผมคิดว่าจะไปแข่งกับวังน้ำเย็นและวังบัวบาน ตอนที่ผมเขียนผมเป็นรองนายก เขียน 6 เดือนเสร็จ ผมเขียนกลางคืนผมเอาแฟ้มกลับบ้านพอเซ็นแฟ้มเสร็จ 3 - 4 ทู่ม ผมก็นั่งเขียน แล้วที่แปลกคือไม่ง่วง เหมือนมีอะไรไม่รู้มาดลใจ ในห้องพระผมม

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ